ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติศาสตร์เพศวิถีของฟูโก โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ประเด็นเรื่องเพศวิถีและร่างกาย ในหนังสือเรื่อง history of sexuality volume1 เล่มนี้ต้องให้นักศึกษาอ่านเป็นจุดเริ่มต้นก่อนไปvolumeอื่นๆ..

The history of sexuality volume I : An introduction มิเชล ฟูโกเริ่มต้นบทนำ ใน We other victorians ที่ตั้งคำถามและปะทะกับการศึกษาประวัติศาสตร์ของเพศวิถีที่เริ่มต้นจากสมมติฐานหรือวิธีคิดว่าด้วยการบังคับควบคุม หรือ Repressive Hypothesis ด้วยวิธีการเปิดเผยให้เห็นการจัดวางตัวเองของวาทกรรมเรื่องเพศในสังคมสมัยใหม่ตั้งแต่ศตวรรษที่17 เป็นต้นมา กระบวนการจัดวางระบอบความรู้ รูปแบบของอำนาจที่เปิดเผยให้เห็นเทคนิคของอำนาจที่หลากหลายรูปแบบ ภายใต้รูปแบบของการเปลี่ยนเรื่องเซ็กส์ไปสู่วาทกรรม ...
ภายใต้เทคนิคของการสารภาพบาปหรือการสารภาพผิด การบอกเล่าทุกสิ่งทุกอย่างของปัจเจกบุคคลออกมา ภายใต้ความรู้สึกผิด ผ่านกระบวนการสารภาพ การเปลี่ยนแปลงที่เคลื่อนจากการสารภาพบาปต่อหน้าบาทหลวงในโบสถ์ ภายใต้กฏของการตรวจสอบตัวเอง ที่เชื่อมโยงกับการทำให้ร่างกายเนื้อหนังมังสากลายเป็นที่มา จุดกำเนิด แหล่งกระตุ้น รวมทั้งบ่อเกิดของความชั่วร้าย การละเมิดกฏเกณฑ์ทางศีลธรรม ความเสี่ยงทางด้านสุขภาพทางเพศ การเคลื่อนผ่านจากพื้นที่ทางศีลธรรมสู่พืนที่ของเหตุผล
การสารภาพบาปที่เกิดจากพฤติกรรมการละเมิดข้อห้ามต่างๆ เพื่อบ่งชี้การกระทำของตัวเอง เป็นการสะท้อนให้เห็นจุดเริ่มต้นของความปรารถนาและแรงปรารถนานั้นก็ถูกจัดการและเปลี่ยนรูปของมันให้กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่าวาทกรรม
ในยุคสมัยใหม่การเปลี่ยนการสารภาพบาปในโบสถ์สู่การสารภาพบนเตียงของจิตแพทย์ ที่สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของความรู้และอำนาจ เพศวิถี ความปรารถนาในเรื่องเพศ ก้าวเข้าสู่พื้นที่ของความรู้และเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ และการเมืองของรัฐ ที่เข้าไปจัดการและสอดส่องในชีวิตประจำวัน ร่างกายและเพศวิถีของผู้คนได้เชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองทั้งในแง่ของความรู้ทางประชากร การสมรส กาคุมกำเนิด การมีเพศสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงไปยังสถาบันและพื้นที่ต่างๆทางสังคม ทั้งโรงเรียน ครอบครัว รูปแบบของการจัดห้องเรียน ห้อนอน ลักษณะนักเรียน การสร้างตารางเวลาในการนอน การเรียนและกิจกรรมต่างที่เหมาะสม เป็นต้น การสร้างความรู้เรื่องเพศกับวิทยาศาสตร์ที่อธิบายความผิดปกติและความเบี่ยงเบนเรื่องเพศที่เชื่อมโยงทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม ภายใต้แนวคิดแบบ scientia sexualis วิทยาศาสตร์ว่าด้วยเพศ
ประเด็นที่น่าสนใจในเล่มนี้ยังมีเรื่องให้ถกเถียงอีกมากทั้งภาวะอัตตา ความเป็นองค์ประธาน การทำให้เงียบหรือไร้เสียงภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ครอบงำและแทรกซึมผ่านวาทกรรม ที่สร้างสิ่งที่เราสามารถพูดได้ ไม่สามารถพูดได้ สิ่งที่เราควรจะพูดและห้ามพูดโดยเฉพาะเรื่องเพศ ฟูโกไม่เชื่อว่าโลกมีความเงียบที่แท้จริงหากการตัดสินใจที่จะไม่พูดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความเงียบก็คือความเห็นที่เรามีต่อเรื่องนั้นและมีพลังเท่ากับการเปล่งเสียงพูด มันเป็นกลวิธีหนึ่งในการแสวงหา การสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อสะท้อนความเงียบออกไปให้กังวาน...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...