ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เทคโนบอดี้ (techno bodies) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ความสุขของผมคือการได้อ่านและเอามาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ...มีงานสองชิ้นที่น่าสนใจคือThe Body in medical ของ Julia Twigg และบทความ Cybog manifesto ของ Donna Haraway งานทั้งสองชิ้นจะทำให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีกับร่างกายที่สร้างให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Gendered Body

นับตั้งแต่การพัฒนาศาสตร์ว่าด้วยกายวิภาคและการชำแหละผ่าพิสูจน์ร่างกายที่เสมือนเป็นเทคนิคของการเก็บรักษาความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ ...การจัดหาร่างกายในช่วงศตวรรษที่18-19 จึงเป็นความสำคัญจำเป็นในการพัฒนาความรู้ทางการแพทย์..ที่นำไปสู่การแก้ไขกฏหมายและความเชื่อทางศาสนา ที่สร้างร่างกายของมนุษย์ไม่ใช่สมบัติของพระเจ้า แต่กลายเป็นวัตถุของความรู้ ที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างโลก รัฐ พลเมือง ความยากจนความร่ำรวย และการครอบครองอวัยวะของผู้ตาย ที่สะท้อนธุรกิจการค้ามนุษย์ การค้าอวัยวะในกลุ่มประเทศโลกที่สามที่ยากจน...ทำให้เราเห็นการพัฒนาของความรู้ด้านการศัลยกรรม การปลูกถ่ายอวัยวะหรือผ่าตัดอวัยวะ ที่เชื่อมโยงกับการบริจาค การซื้อขาย ที่เชื่อมโยงความรู้ทางการแพทย์ บทบาทของรัฐและตลาดในการจัดการควบคุมสิ่งเหล่านี้
การแพทย์เน้นย้ำอยู่บนการเป็นร่างกายเชิงวัตถุของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่ห่างไกลจากประสบการณ์เกี่ยวกับเนื้อตัวร่างกายของผู้คนเอง เมื่อพวกเขาถูกดึงเข้าไปสู่วงจรของความเจ็บป่วยและการดูแลทางสุขภาพ...
ในโลกของเทคโนโลยีได้ทำให้เกิดการเขื่อมโยงภาวะที่เรียกว่า Symbiosis คือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่อยู่รวมกัน หรืออินทรีย์ในร่างกายที่มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน กับBionic คือส่วนของร่างกายที่เป็นอิเลคทรอนิกอยู่ร่วมกัน...เทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้สร้างร่างกายเชื่อมโยงกับวัตถุสมัยใหม่มากขึ้น เช่น สีของคอนแทคเลนส์ เทคโนโลยีการดูดไขมัน ร่างกายที่ฝังชิ้นส่วนบางอย่างที่รับและส่งต่อข้อมูลไปยังคอมพิงเตอร์หรือระบบสื่อสารไร้สายที่เรียกว่า wireless body ที่เปลี่ยนแปลงมิติในคำอธิบายสิ่งที่เรียกว่าร่างกายธรรมชาติหรือ Natural body สู่ Material body การผสมรวมกันระหว่างร่างกายกับเทคโนโลยี เครื่องจักรดังกล่าวเข้ามาทำหน้าที่เช่นเดียวกับอวัยวะในร่างกาย
เทคโนบอดี้ (techno bodies) ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ภายใต้วาทกรรททางการแพทย์สมัยใหม่ ที่พยายาม ควบคุมสอดส่องการบริโภคสิ่งต่างๆของมนุษย์ ทั้งน้ำตาล ไขมัน เกลือ คาเฟอีน นิโคติน แอลกอฮอล์ สเตียรอยด์ ไปจนถึงครีมกันแดด ที่เชื่อมโยงกับระดับความเข้มข้นของสิ่งเหล่านี้ในร่างกายภายใต้ electronic scale การทดสอบระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องวัดความดันโลหิต ดัชนีมวลรวมของร่างกาย เป็นต้น เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้เราสามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ในร่างกายและรับรู้เกี่ยวกับความจริงของร่างกายตัวเองที่ถูกสร้างขึ้น ความรู้สมัยใหม่ได้สนับสนุนกับแยกส่วน การแตกตัวของอวัยวะในร่างกาย ความลื่นไหลของร่างกาย รหัสทางพันธุกรรม ที่ทำให้เราสอดส่องควบคุมตัวเอง มีความสำนึกรู้เกี่ยวกับตัวเอง ที่สะท้อนว่าร่างกายกลายเป็นวัตถุของการระมัดระวังและควบคุมอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน ทั้งหมดที่กล่าวมาทำให้เราหันมาตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับอัตบักษณ์ทางเพศสภาพ เมื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถทำลายรื้อสร้างร่างกายเดิมและอวตารร่างกายใหม่ ซึ่งไม่ใช่แค่ในนวนิยาย หนังหรือเกมแต่ยังในชีวิตจริงด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...