ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เจ้าวัด เจ้าวัตร โบว์คู้ของกะเหรี่ยงโผล่วด้ายเหลือง โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เจ้าวัด หรือเจ้าวัตร หรืออาจจะใช้คำเรียกในภาษากะเหรี่ยงว่า บ้งคู้ (โบว์คู้ ) บ้งมึ้ง(โบว์มื่อ) ในการเรียกเจ้าวัดและแม่ย่าของชาวกะเหรี่ยงด้ายเหลืองที่นับถือเจ้าวัด การปักสะเดิ่งและเจดีย์..

แม้ว่าคำบอกเล่าของเจ้าวัดจะเทียบเคียงลัทธิเจ้าวัดว่ามีลักษณะแบบพราหมณ์ หรือแบบฤาษีมากกว่าจะเชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนาโดยตรง แต่จุดร่วมที่สำคัญคือการมองว่าลัทธินี้เกิดขึ้นก่อนการมีพุทธศาสนา ลัทธิเจ้าวัดเป็นเสมือนต้นไม้ ที่มีกิ่งก้านที่แตกแขนงออกไปในส่วนต่างๆ ส่วนพุทธศาสนามีฐานะเป็น “ผล” ที่เกิดจากกิ่งก้านของต้นไม้ เจ้าวัดจึงมีลักษณะที่ยึดถือข้อบังคับปฎิบัติในการสร้างความบริสุทธิ์การถือศีลอย่างเคร่งครัด คำว่าเจ้าวัด จึงเหมือนคำว่า วัตร หรือการปฎิบัติตามข้อกำหนดเป็นประจำ รวมทั้งการละเว้นการกินสัตว์เลี้ยงบางชนิดเช่นไก่และหมู การนุ่งห่มชุดขาวและการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำในการประกอบพิธีกรรมของชุมชนกะเหรี่ยง รวมทั้งการปฎิบัติในบางพิธีกรรม ที่เอาคติและการปฎิบัติแบบพุทธเข้ามาผสมผสานกับความเชื่อแบบเจ้าวัด เช่นพิธีกรรมความตายที่แสดงให้เห็นการปรับตัวและความยืดหยุ่นทางศาสนา..
งานมานุษยวิทยาคือการค้นหาความหมายที่สะท้อนผ่านความคิดและการปฎิบัติ หากวัฒนธรรมก็คือตัวบท (text) ร่างกายก็คือตัวบท วัฒนธรรมก็มีความหมายเช่นเดียวกับวาทกรรม รวมทั้งศาสนาก็เกี่ยวข้องกับระบบของการให้ความหมาย การสะท้อนภาพความเป็นหนึ่งเดียวและความขัดแย้งทั้งในระดับโครงสร้างสังคมวัฒนธรรม ระดับสถาบัน และระดับปัจเจกบุคคล...
ความเชื่อที่ประกอบสร้างความหมาย และนำไปสู่การรับรู้และการปฎิบัติที่สอดคล้องกับความเชื่อและความหมายนั้นๆ ที่ปรากฎและดำรงอยู่ในชีวิตประจำวัน ในพิธีกรรมและในความสัมพันธ์เชิงอำนาจ..
การสะท้อนพลวัตรทางศาสนา ทำให้เราเห็นความเกี่ยวเนื่อง ความซับซ้อน ความเป็นพหุลักษณ์ ความหลากหลาย การผสมผสานทางศาสนา... โดยมีความเชื่ออื่นๆทั้ง folk religion ,animism, supernaturalism และ non-buddhist belife ..ความน่าสนใจคือภาวะการผสมผสาน การหลอมรวมกันของศาสนา (amalgamation) เช่นเดียวกับภาษาหรือบทสนทนาที่มีความหลากหลาย ที่สร้างหรือก่อให้เกิดอัตลักษณ์ รูปแบบความเชื่อ การให้ความหมายในบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่มีความเฉพาะ..

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...