ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตั้งคำถามกับการได้มาซึ่งข้อมูลสนามของนักมานุษยวิทยาผู้อ้างว่าเป็นคนใน โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 

การตั้งคำถามกับการได้มาซึ่งข้อมูลสนามของนักมานุษยวิทยาผู้อ้างว่าเป็นคนใน

ผมนึกถึงหนังสือเก่าเล่มหนึ่ง ชื่ออิชิคนสองโลกที่เป็นงานเขียนของ เทโอโดร่า โครเบอร์ แฟนของนักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกันที่ชื่อ Alfred Kroeber ที่ทำให้เราเห็นความสัมพันธ์ของนักมานุษยวิทยาอเมริกันกับชาวอินเดียนอเมริกันพื้นเมืองที่ชื่ออิชิ ที่มีชีวิตเหลือรอดภายใต้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โหดร้าย ชีวิตของเขาถูกเขียนและเรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือ..

สอดคล้องเมื่อเร็วๆนี้มีการพาดหัวข่าวของ CNN ว่า UC Berkeley removes the name on a school building over an anthropologist's controversial past ที่เขียนโดย Lauren M. Johnson
ในเนื้อหาของข่าวบอกว่ามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ มีการรื้อถอนป้ายตัวอักษรที่จารึกบนตัวอาคารที่เป็นชื่อของสิ่งก่อสร้างในอาคารทาง
มานุษยวิทยาที่เรียกว่า Kroeber Hall ที่นำเอาชื่อของนักมานุษยวิทยาคนสำคัญอย่างอัลเฟรด โครเบอร์มาตั้งชื่ออาคารที่เป็นพิพิธภัณฑ์นี้ เนื่องจากมีข้อถกเถียงโต้แย้งในทางประวัติศาสตร์ต่อการทำงานของเขาเกี่ยวกับชนพื้นเมืองอเมริกัน( Native American) ในฐานะนักมานุษยวิทยา
อัลเฟรด โครเบอร์ เกิดในปี1876 เป็นผู้มีคุณูปการสำคัญในการก่อร่างสร้างพื้นฐาน การศึกษามานุษยวิทยาในอเมริกาตะวันตก (America West) โดยคณะกรรมของมหาวิทยาลัยมีข้อเสนอให้มีการปลดชื่อของเขาออกจากอาคาร รวมทั้งปฎิเสธการปฎิบัติการทางการวิจัย ที่เป็นสาเหตุของการคัดค้านโต้แย้งของคนพื้นเมืองอเมริกันต่องานของเขาในหลายๆประเด็น โดยผู้คนในสังคมปัจจุบันได้รับรู้เข้าใจว่าการปฏิบัติของเขาบางอย่างเป็นสิ่งที่น่าตำหนิติเตียนและผิดกฏหมายด้วย
ข้อเสนอดังกล่าวได้ยกกรณีของการเก็บรวบรวมวัตถุของชนพื้นเมือง การอ้างเกี่ยวกับวัตถุในหลุมฝังศพอันศักดิ์สิทธิ์ของบรรพบุรุษคนอเมิกันอินเดียนและชนพื้นเมืองอื่นๆ ที่วัตถุทางวัฒนธรรมล้วนมาจากหลุมฝังศพของพวกเขา โดยปราศจากการยินยอมพร้อมใจทั้งจากกลุ่มชนเผ่าและปัจเจกบุคคลที่สืบทอดมรดก
อีกทั้งชื่อของโครเบอร์ยังเกี่ยวพันกับ ชาวอินเดียนพื้นเมืองคนหยึ่งที่เหลือรอดจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ชื่อ IShi (อิชิ) ที่ร่างกายของเขาถูกจัดวางในลักษณะเช่นเดียวกับนิทรรศการที่มีชีวิต (living exhibition) ในพิพิธภัณฑ์ทางโบราณคดีในปัจจุบัน ข้อมูลทั้งหมดถูกนำเสนอและขอความเห็นจากบุคลากรของชุมขนในมหาวิทยาลัย ที่พบว่าจำนวน 85เปอร์เซ็นต์จากการสำรวจ เห็นด้วยให้มีการเปลี่ยนชื่อ
ในขณะที่ศาสตราจารย์ Nancy Scheper Huges อาจารย์คณะมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ ได้แสดงความความไม่เห็นด้วยและไม่พอใจผ่าน บล๊อกของเธอต่อการถอดชื่อของโครเบอร์ออกจากอาคารทางมานุษยวิทยา
โดยเธอมองว่าโครเบอร์อาจจะมีข้อผิดพลาดหลายอย่างในอดีต หรือกรณีของการผ่าและเก็บรักษาร่างกายของอิชิ แต่กรณีนี้ก็ทำให้เขารู้สึกไม่สบายใจตลอดช่วงชีวิตของเขา ในการกระทำที่ผิดพลาด และตัวของโครเบอร์ก็ไม่ใช่พวกNeo colonialist หรือพวก Racist แต่อย่างใด ในเรื่องของการเปลี่ยนชื่อควรพิจารณาอย่างรอบด้าน และต้องพูดคุยกับนักมานุษยวิทยา ตัวแทนขุมชนพื้นเมืองในแคลิฟอเนีย หรือผู้นำก่อนจะตัดสินใจดำเนินการถอดชื่อหรือเปลี่ยนชื่อ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับโครเบอร์ที่เสียชีวิตไปหลายสิบปีแล้ว รวมทั้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทำการตัดสินใจอย่างรอบด้าน
ผมว่ากรณีนี้มันน่าสนใจและควรระมัดระวังกับการทำงานสนามของเราในแง่ที่ นักมานุษยวิทยาต้องเคารพกลุ่มคนที่ตัวเองศึกษา เคารพในความเป็นมนุษย์ เพราะสิ่งที่ทำในอดีต จะเป็นสิ่งที่ได้รับการตรวจสอบในปัจจุบันและอนาคตถึงสิ่งที่ตัวเองทำ


Sujira Singkul, ร.ต.ชำนาญ สิงห์กุล และคนอื่นๆ อีก 68 คน
ความคิดเห็น 15 รายการ
ถูกใจ
แสดงความคิดเห็น
แชร์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...