ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มองชุมชนกะเหรี่ยงผ่านแนวคิดทางมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 Sherry B. Ortner (1984) เขียนใน Theory in Anthropology since the Sixties กล่าวถึงแนวโน้มของแนวคิดทางทฤษฎีที่ก่อต่อขึ้นในงานศึกษาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในช่วงศตวรรษที่ 21 ที่ถูกเรียกว่าเป็นแนว ปฏิบัติการหรือการกระทำการ ( Practice, Action หรือ Praxis ) ที่นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาหันมาให้ความสนใจกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำการและโครงสร้าง...

ปฏิบัติการที่ว่า ไม่ได้แค่หมายถึงสิ่งที่ผู้คนกระทำ แต่ทว่าปฏิบัติการหรือการกระทำเหล่านั้นล้วนมีนัยทางการเมือง ทั้งที่เจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจคือ ปฏิบัติการนั้นๆได้ทำการก่อรูประบบ การผลิตซ้ำระบบ และสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อระบบ...
ในอดีตการศึกษาทางมานุษยวิทยานั้น ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมในฐานะพื้นที่ของการผลิตซ้ำเชิงคุณค่าและบรรทัดฐานของสังคม ดังที่ออทเนอร์ก็มองว่าพิธีกรรมดังกล่าว ก็คือการกระทำของมนุษย์แบบหนึ่ง แต่ทฤษฎีปฏิบัติการ สนใจศึกษาการผลิตซ้ำวัฒนธรรมในชีวิตปกติประจำวันของมนุษย์ ไม่ใช่แค่เพียงในพิธีกรรมเท่านั้น...
ความน่าสนใจคือวิถีปฏิบัติของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีมาก่อนมาตรฐานทางสังคมหลักและกฏหมายที่ถูกกำหนดในปัจจุบัน โดยเฉพาะนโยบายป่าไม้ที่ดินของรัฐ พร้อมกับการกระทำต่างๆที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตามวิถีดั้งเดิมครั้นบรรพบุรุษ และปรับให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศราษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม รวมทั้งการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในสถานการณ์ปัจจุบันจึงอาจเป็นการกระทำที่สร้างสังคมหรือวัฒนธรรมหรือทางเลือกใหม่ๆท่ามกลางวิกฤตการณ์ปัจจุบัน....
เช่นเดียวกับบิแอร์ บูดิเยอร์ (Bourdieu,1977) กล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่ายุทธวิธีหรือยุทธศาสตร์ (Strategy) ที่มองว่าจริงอยู่ที่สังคมมีบรรทัดฐานเป็นกรอบทั่วไป แต่ในระดับปฏิบัติการแล้วนั้น ผู้กระทำการอาจต่อรองที่จะไม่ทำตามข้อกำหนดหลักของสังคม แต่แสวงหาหนทางที่แตกต่างหรือใกล้เคียงกับแนวทางหลักของสังคม ซึ่งเชื่อมโยงกับเงื่อนไขเฉพาะและการสร้างสรรค์ของผู้กระทำการเอง...
ชาวกะเหรี่ยงที่อยู่ในพื้นที่รอยต่อของเขตป่าภายใต้โครงสร้างของอำนาจ ทั้งในระดับรัฐ อาทิ นโยบายเรื่องป่าไม้ที่ดิน การรุกคืบของระบบทุนนิยมกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยว จนไปถึงโครงสร้างในระดับโลกที่เชื่อมโยงกับสภาวะโลกร้อน ความมั่นคงปลอดภัยทางอาหาร ความหลากหลายทางชีวิภาพและอื่นๆ.....
ในขณะที่ชีวิตประจำวันของชาวกะเหรี่ยง อาศัยและดำรงอยู่ในพื้นที่ป่า เป็นทั้งผู้อาศัย ผู้ใช้ประโยชน์และพึ่งพิงป่าอย่างเกื้อกูล มีวิถีชีวิตเป็นของตัวเอง ทั้งการทำไร่หมุนเวียน การทำพิธีกรรมไหว้เจดีย์และนับถือเจ้าวัดที่สัมพันธ์กับความเชื่อดังเดิมและเชื่อมโยงกับความเคารพเป็นมิตรกับดิน น้ำและป่า ซึ่งการปฎิบัติการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องดำเนินตามกรอบกำหนดของนโยบายหรือแผนแม่บทด้านป่าไม้ที่ดินและนโยบายชาติพันธุ์ของรัฐเสมอไป แต่พวกเขาสามารถสร้างสรรค์ ตีความใหม่ และสร้างลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมในแบบของตัวเอง และวัฒนธรรมดังกล่าวก็สามารถเป็นต้นแบบและรูปแบบให้กับชุมชนชาติพันธุ์อื่นๆและกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน หันมาให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในการจัดการ ฟื้นฟู ดูแลรักษาวัฒนธรรมของตัวเอง และสามารถอยู่ร่วมกันกับป่า ที่จะนำไปสู่กระบวนการจัดการป่าและพัฒนาอย่างยั่งยืน....
วัฒนธรรมใหม่อาจเกิดขึ้นโดยนำเอาวัฒนธรรมเก่ามาปรับเปลี่ยนและไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโดยการเปลี่ยนแปลงอำนาจของกลุ่มสังคม เพราะวัฒนธรรมไม่ได้ผูกติดกับพื้นที่หรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างตายตัวอีกต่อไป
ดังเช่นคำพูดชาวกะเหรี่ยงภูเหม็นที่พูดว่า "บ้านภูเหม็นเปิดรับทุกคนที่จะเข้ามาแลกเปลีย่นเรียนรู้และอยากศึกษาวัฒนธรรม ใครจะเข้ามาเรายินดีต้อนรับ ถ้าเคารพในวัฒนธรรมและอยากเรียนรู้วัฒนธรรมของคนกะเหรี่ยง"
****
ผมดีใจและภาคภูมิใจกับวันพรุ่งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญของชุมชนกะเหรี่ยงภูเหม็นและชื่นชกับภาคีเครือข่ายที่ร่วมกันทำงาน ภายใต้การจัดการด้วยรูปแบบพิเศษภายใต้มติครม. 3 สิงหาคม 2553 เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยที่ดินทำกิน และฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมกะเหรี่ยง ภายใต้พื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น ...ในไม่ช้าผมจะได้กลับลงไปขอความรู้และเรียนรู้กับพ่อแม่พี่น้องกะเหรี่ยงที่ภูเหม็นอีกครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...