ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ยุคของแสงสว่างทางปัญญา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ารล่มสลายของอิทธิพลและอำนาจทางความเชื่อทางศาสนาของคริสเตียนในยุโรป ที่แผ่ขยายลัทธิความเชื่อมาตั้งแต่ช่วงยุคกลาง ( Dark Age ) จนกระทั่งถึงยุคของแสงสว่างทางปัญญา หรือยุคของการแสวงหาความรู้ ที่พ้นไปจากตัวพระเจ้า แต่เข้ามาสู่ตัวมนุษย์มากขึ้น (Enlightenment) ในความหมายของเอมมานูเอล ค้านท์ ( Emmanuel Kant ) ที่ปรากฏในบทความ What Is Enlightenment? ของ มิเชล ฟูโก (Michel Foucault) ที่ตอบคำถามของวารสารเยอรมนีฉบับหนึ่งในปี ค.ศ. 1784 ว่า “Enlightenment” หมายถึงทางออก หรือ สภาวะที่มนุษย์จะปลดปล่อยตัวเองจากความเยาว์วัย (Immaturity) ที่ถูกบงการ ครอบงำ หรือชี้นำทางอำนาจ ของผู้ที่อ้างเหตุผล ดังนั้นมนุษย์จึงต้องรับผิดชอบต่อสถานะเยาว์วัยของตัวเอง ด้วยการทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากสถานะดังกล่าวด้วยการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ด้วยการใช้เหตุผลของตัวเอง เพื่อให้ตัวเองปราศจากการถูกครอบงำโดยอำนาจอื่นๆ ผ่านกระบวนการวิพากษ์วิจารณ์ (Critique) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า Enlightenment ในความหมายของ ค้านท์ ก็คือการวิพากษ์วิจารณ์ต่อช่วงเวลาปัจจุบัน หรือความเป็นจริงร่วมสมัย ของมนุษย์ที่อ่อนเยาว์ ไร้เดียงสา ยอมรับในอำนาจของผู้อื่น มากกว่าการใช้เหตุผลของตนเองอย่างอิสระ แต่การวิพากษ์วิจารณ์ช่วงเวลาปัจจุบันของมนุษย์ จะทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาเหตุผลของตนเอง และสามารถปลดปล่อยตัวเอง และทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถค้นหาทางออกจากช่วงเวลาปัจจุบันได้

ระบบเหตุผลที่เป็นหนึ่งเดียว (โดยเฉพาะเหตุผลแบบตะวันตกและวิทยาศาสตร์) ได้นำไปสู่การทำลายและการสลายความคิดและจินตนาการ อันแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ โดยเฉพาะจินตนาการ ความคิด ที่อยู่ตรงกันข้ามกับเหตุผลกระแสหลัก อยู่นอกกรอบ เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ภูตผีปิศาจ รวมถึงงานทางศิลปะ และดนตรีที่อยู่คนละด้าน กับแนวทางของสถาบันทางศิลปะชั้นสูง ในทางตรงกันข้ามปรากฏการณ์ดังกล่าว ได้กลายเป็นสิ่งที่ท้าทายและปะทะกับแนวความคิดของพวกคนชั้นกลาง ( Bourgeois ) และการสั่นสะเทือนความคิดเรื่องเหตุผล โดย ธีโอดอร์ อาโดโน (Theodor Adorno) เรียกช่วงเวลาแตกสลายของระบบเหตุผลว่าเป็นช่วงเวลาของความมืดมน (Era of Darkness)
การสร้างงานศิลปะแบบนอกขนบแบบแผนทางสังคมหรือศิลปะขบถได้ส่งผลกระทบต่อระบบ การครอบงำทางวัฒนธรรม (Cultural Hegemony) ซึ่งชนชั้นนำทางสังคมเป็นผู้กำหนดและควบคุม ที่แยกแยะ ให้ความเห็นว่า ศิลปะแบบใดดีหรือเลว สถาบันดังกล่าวได้สร้างมาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียวและความเชื่อหนึ่งเดียวในการเสพงานศิลปะ ซึ่งพวกมาร์กซิสต์ มองว่าเป็นกระบวนการผลิตซ้ำของชนชั้นปกครอง (Ruling Class) ภายใต้ระบบทุนนิยม และความเชื่อที่ว่าวัฒนธรรมจากชนชั้นผู้นำเป็นสิ่งที่ดีงาม แต่ทว่า ความคิดดังกล่าวก็ถูกสั่นคลอนด้วยศิลปะแบบ avant-garde ที่ท้าทายและเปิดพรมแดนทางความรู้ของมนุษย์ พร้อมไปกับการบั่นทอน กัดเซาะความศรัทธาอย่างเหนียวแน่นในงานศิลปะของชนชั้นปกครอง ซึ่งความคิดเรื่องสุนทรียภาพในการชื่นชมงานศิลปะได้หันกลับเข้ามาสู่จิตใจของมนุษย์มากขึ้น ในฐานะผู้ตีความ ผู้สร้างความหมาย ศิลปะไม่ได้มีคุณค่าในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น แต่ได้กลายมาเป็นเรื่องของจิตใจ และศิลปะได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของรสนิยมของชนชั้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...