ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

..ขวัญและบันไดของชาวกะเหรี่ยง... โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ..ขวัญและบันไดของชาวกะเหรี่ยง...

สำหรับชาวกะเหรี่ยงนั้น ความเชื่อเรื่องขวัญนั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะขวัญเป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์มีสภาวะปกติ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย หากขวัญไม่อยู่รักษาร่างกายแล้ว ร่างกายก็จะไม่มีชีวิตอยู่ได้ หากขวัญไม่อยู่กับร่างต้องทำพิธีเรียกขวัญเชิญขวัญกลับเข้ามา...ในร่างกายของชาวกะเหรี่ยง มีความเชื่อว่ามีขวัญทั้งหมด 7 ขวัญ โดย ขวัญจำนวนหกขวัญมีทั้งขวัญดี ขวัญร้าย เป็นขวัญที่มักเดินทางออกไปจากร่างกาย ไปท่องเที่ยว เดินทางไปในที่ต่างๆ ทั้งในความจริง ความฝัน ขวัญที่ 7 ทำหน้าที่ปกปักรักษาดูแลร่างกายของชาวกะเหรี่ยงโผล่วโดยไม่ไปไหน ดังนั้นก่อนลงมือกินข้าว ชาวกะเหรี่ยงโผล่วจะต้องกินข้าวเปล่า 3 คำและตามด้วยน้ำเปล่า..เพื่อเสริมสร้างพลังให้กับขวัญที่ 7 ที่อยู่กับเนื้อตัวร่างกายของชาวกะเหรี่ยงโดยไม่หนีหายไปไหน ก่อนที่จะเริ่มลงมือทานอาหารพร้อมกับข้าวปกติ..
นอกจากนี้ ความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงโผล่วปรากฏอยู่อย่างมากมายในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องบันไดบ้านที่มีขั้นบันไดเป็นเลขคี่ ขนาดของหัวบันไดซ้ายขวาที่ยาวสั้นไม่เท่ากัน ที่เกี่ยวโยงกับนิทานปรัมปราตำนานของสามีที่พบภรรยาตัวเองนอนกับชายชู้และใช้มีดไล่ฟันชายชู้ที่วิ่งหนีลงบันได จนกระทั่งบันไดมีลักษณะคล้ายถูกมีดฟันจนยาวสั้นไม่เท่ากัน ความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณร้าย การป้องกันการทำร้ายจากการเล่นของ หรือการป้องกันการมีคนมาเหยียบหัวบันไดบ้าน ที่ชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อว่าหากมีคนมาเหยียบหัวบันไดบ้านจะส่งผลให้การทำมาหากินยากลำบากครอบครัวนั้นจะไม่เจริญ หรือพิธีกรรมที่เกี่ยวโยงกับหัวบันไดในช่องที่เป็นรูไม้ไผ่บริเวณหัวบันไดยังใช้สำหรับใส่ฟันน้ำนมเด็กที่หลุดและเชื่อว่าฟันของเด็กคนนั้นจะสามารถงอกขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการที่คนกะเหรี่ยงในยุคก่อนก็นิยมฝังรกไว้ใต้ฐานบันไดหรือใต้บ้านเรือนเพื้อแสดงถึงถิ่นฐานหรือแผ่นดินเกิดด้วย ดังนั้นชาวกะเหรี่ยงจึงนิยมสร้างบันไดให้ทางซ้ายสูงกว่าด้านขวา โดยเมื่อเวลาเหยียบบนไบไดขั้นสุดท้าย ระดับของร่างกายเมื่อยืนตรง ปลายบันไดทางด้านซ้ายมือที่ยาวสุดจะอยู่ที่ระดับหน้าอก ในขณะที่ปลายบันไดทางด้านขวามือที่ต่ำกว่าจะอยู่ที่ระดับบริเวณสะดือพอดี.. ความเชื่อเหล่านี้ล้วนมีความน่าสนใจ และสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม การให้ความหมาย วิธีคิดและการปฎิบัติของชาวกะเหรี่ยง..
ที่มา : เจ้าวัดอ้วน เยปอง และเจ้าวัดมองตะลีตะ บ้านพุเม้ยง์ (ภูเหม็น) ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...