Sherry Ortner เชื่ออะไร มองชีวิตมนุษย์ในสังคมอย่างไร
Ortner เชื่อในแบบแผน กฏเกณฑ์และบรรทัดฐานที่มีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์หรือเชื่อในศักยภาพของมนุษย์
ความคิดของเธอสะท้อนอิทธิพลของวิธีคิดแบบมาร์กซิสต์ที่มีต่องานของเธอ ที่เชื่อว่าปฏิสัมพันธ์ของผู้คนเป็นส่วนหนึ่งของปฎิสัมพันธ์เชิงอำนาจและการครอบงำทางสังคม
ปฎิบัติการในชีวิตประจำวันจึงแฝงไปด้วยแบบแผนการปฏิบัติการให้คุณค่าที่ผูกโยงกับระเบียบทางสังคม เพื่อนำไปสู่การพิจารณาและการให้ความหมายทางวัฒนธรรมของผู้คน ...
ในงานของOrtner (2006)ชื่อ Anthropology and social theory :Culture,Power and the acting subject.เธออธิบายความเป็นอัตวิสัย (subjectivity) กับ การปฎิบัติทางสังคม (social practice) เธอบรรยาย social action ไม่ใช่ทั้งสิ่งมีชีวิตผู้ถูกกดหนดและผู้กระทำการที่อิสระ ภายนอกขอบเขตของระบบสังคม แต่พวกเขาเป็นบุคึลที่ถูกทำให้เชื่อมโยงหรือทำให้สามารถโดยกฏเกณฑ์ทางสังคมของพวกเขา...
เอเจนซี่ในความคิดของเธอไม่ใช่สิ่งที่ถูกใช้อย่างอิสระภายใต้เจตจำนงที่เสรี(free will) แต่เป็นรูปแบบของการสะท้อนย้อนคิด(reflexive)และกิจกรรมทางสังคมที่มีความรู้สึก (feeling social activity) ภายใต้การเป็นผู้วางยุทธศาสตร์ของผู้กระทำการทางสังคม ที่ปะทะกับโลกที่พวกเขารับรู้ และความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆรอบตัว..
ทฤษฎีเกี่ยวกับปฏิบัติการ (theory of practice) ของปิแอร์ บูดิเยอร์และแอนโทนี่กิดเด้น มีข้อจำกัดในความสามารถที่จะอธิบายเกี่ยวกับการทำงานของอำนาจที่ก้าวผ่านไปสู่เรื่องวัฒนธรรมด้วย เนื่องจากลักษณะที่ไร้ประวัติศาสตร์(ahistorical) และทฤษฎีดังกล่าวก็ไม่เคยเน้นย้ำไปสู่เรื่องของตำแหน่งแห่งที่ของจุดกำเนิดหรือที่มาของผู้กระทำการที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในบริบทเชิงประวัติศาสตร์...
Ortner จึงให้ความสำคัญกับความซับซ้อนเชิงประวัติศาสตร์แห่งภาวะอัตวิสัย การเมืองและการปฎิบัติ (the historical complexity of subjectivity,political and practice)...
Ortner ต้องการให้ทฤษฎีเรื่องผู้กระทำการของเธอยึดโยงกับผู้คนที่มีความคิด มีความรู้สึก ผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์และภายใต้ความเป็นไปได้ในวิถีทางที่ถูกจำกัด ในปฎิบัติการของการถูกครอบงำและยุทธศาสตร์ของความเป็นผู้กระทำการไปพร้อมกัน
เกมคือรูปแบบหรือแบบแผน เป็นกิจกรรมที่ดำเนินอย่างตั้งใจ ภายใต้สคริปต์หรือตัวบททางวัฒนธรรม (cultural script) ที่ถูกดำเนินการโดยปัจเจกบุคคล ในวิถีทางที่เต็มไปด้วยเป้าหมาย วัฒนธรรมอาจจะกำหนดสิ่งที่คนจะต้องทำเช่น ต้องเรียนหนังสือ ต้องมีการศึกษา แต่ตัวองค์ประธานผู้กระทำการ(acting subject) สามารถตัดสินใจว่าจะทำมันอย่างไร เช่น ต้องศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ตัวผู้กระทำการที่เล่น serious games ไม่ใช่ผู้กระทำการที่อิสระแต่ค่อนข้างจะเป็นใครบางคนที่เลือกหยิบตัวบททางวัฒนธรรมและตัดสินใจว่าจะเล่นกับเกมนั้นอย่างไร ผู้กระทำการจึงไม่ใช่ผู้รองรับกับการถูกกระทำ หรือเป็นคนที่มีบทบาทในการตัดสินใจเริ่มแรกของเกม แต่ผู้กระทำการคือผู้มีส่วนร่วมในยุทธศาสตร์ของชีวิตทางสังคม(social life) กฏเกณฑ์ทางสังคมจึงเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับสิ่งที่Ortner กล่าว่า มันคือผลผลิตของคนหลายๆคนที่เล่นอยู่ในserious game ในช่วงเวลาเดียวกัน บ่อยครั้งก็อาจขัดแย้งกับคนอื่นๆ พวกเขาดิ้นรนต่อสู้เพื่อนำไปสู่ชัยชนะในเกมของพวกเขา ภายใต้พื้นที่ที่จำกัด พวกเขาสามารถค้นพบแนวการเล่นและพยายามใช้เกมของพวกเขาเพื่อสร้างพื้นที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับการกระทำในอนาคต...
สิ่งเหล่านี้คือปฎิบัติการที่นำไปสู่เป้าหมายภายใต้โลกของการบีบบังคับควบคุมมันคือการใช้อำนาจเชิงยุทธศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ของการเคลื่อนไหวที่คิดคำนวณที่พยายามจัดวางปัจเจกบุคคลไปสู่วัฒนธรรมและการสร้างอิสระเสรีภาพของปัจเจกบุคคลจากมันด้วยเช่นกัน...
Ortnerใช้คำว่า intentionality (สัมพันธ์กับเรื่องcognitive และemotionalที่นำไปสู่เป้าหมายบางอย่าง) ที่เกี่ยวโยงกับอำนาจของความคิดและจิตใจที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจเจตนา เป็นร่างของความสำนึก อุดมคติ อุดมการณ์ เป้าหมาย เป้าประสงค์ ความต้องการหรือความปรารถนาที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง ที่นำไปสู่การพูด การคิด การกระทำเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ บางครั้งเธอเชื่อมโยงกับคำว่าโครงการ(project) และการตัดสินใจ(determinism) ที่เกี่ยวข้องกับการแสดง(drama) การเข้าไปอยู่ในเกม...ซึ่งคนที่อยู่ในเกมจะต้องเล่นไปตามกฏที่วางไว้อย่างไร แต่พวกเขาสามารถวางแผนหรือวางกลยุทธ์ในเกมนี้ ตัวผู้กระทำการจึงเป็นส่วนหนึ่งของproject ใหญ่ที่เรียกว่าserious game...
ดังนั้น intentionality มีลักษณะของกระบวนการ (process) มันคือลักษณะเชิงกิจวัตรประจำวันในการปฏิบัติการหรือดำเนินการของมนุษย์ เป็นการจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของมนุษย์เช่นเดียวกับผู้กระทำการที่สามารถยอมรับกับตำแหน่งแห่งที่นั้นได้...ภายใต้การพิจารณาเกี่ยวกับปฎิบัติการในชีวิตประจำวัน (routine practice) ในด้านหนึ่ง กับอีกด้านหนึ่งคือภาวะการมีเอเจนซี่หรือความเป็นผู้กระทำการที่สามารถทำให้มองเห็นการกระทำการที่ตั้งใจหรือปรารถนาในด้านอื่นๆของมนุษย์ (internalized action)เช่นเดียวกัน
Self คือสิ่งมีชีวิตทางสังคมที่ถูกให้อำนาจ(Ortner,1996) หรือความสามารถของปัจเจกบุคคลที่เชื่อมโยงกับมิติทางสังคมวัฒนธรรมที่นำไปสู่การกระทำ... ผู้กระทำการที่มีอำนาจ(ไม่เท่าเทียมกัน)จึงมีลักษณะทั้งการครอบงำและการต่อต้าน ภายใต้ความตั้งใจ เป้าหมายและความปรารถนาที่ถูกจัดวางในแนวทางของโครงการ(project) ที่ถูกก่อร่างด้วยเงื่อนไขทางวัฒนธรรม นี่คือผู้กระทำการแห่งโครงการที่มีจุดยืนแน่นอนบนมิติพื้นฐานของความคิดผู้กระทำการ ดังนั้นอำนาจ(power)และโครงการ(project) จึงสะท้อนอยู่ที่ตัวผู้กระทำการ(Agency) ภายใต้ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อน ในความสัมพันธ์ทางอำนาจและความสัมพันธ์ของอัตวิสัยของผู้กระทำการทางสังคม(the subjectivity of social actor) เพื่อแสดงเป้าหมายบางอย่างนี่คือความสัมพันธ์ของ internality และ Agency ในมิติของserious game...
ดังนั้นวัฒนธรรมมันลื่นไหลหลากหลาย (cultural varieble) มากกว่าที่จะเป็นสากล ในขณะที่ภาวะอัตวิสัย (subjectivity) ของมนุษย์ผู้กระทำการก็มีความซับซ้อน(ที่มากกว่าเหตุผลที่เป็นข้อกำหนดพื้นฐานและผลประโยชน์ส่วนตัว)
คุณูปการสำคัญที่เห็นได้จากแนวคิดนี้คือ การทำให้ปรากฏของการเมืองในระดับจุลภาค(micro-politic)ที่เขื่อมโยงกับการทำความเข้าใจพลังอำนาจของสิ่งที่ใหญ่กว่าที่นำไปสู่การก่อรูป และการเปลี่ยนแปลงชีวิตทางสังคมของมนุษย์ การวิเคราะห์สังคมวัฒนธรรมในเรื่อง serious game ของOrtner ก็คือการเริ่มต้นไปหาการก่อรูปของสิ่งที่ใหญ่กว่า(โครงสร้าง) และพยายามถอยหลังกลับไปยังพื้นฐานของเกมที่เข้มข้นจริงจังของชีวิตมนุษย์..ผมชอบงานที่ศึกษาเรื่องคน มองเห็นความเป็นผู้กระทำการ ตัวตนเชิงอัตวิสัย มองเห็นโครงสร้าง และความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เขื่อมโยงกับบริบททางประวัติศาสตร์
****อ้างอิงและอ่านงานของ Sherry Ortner ที่เชื่อมโยงกับแนวคิดข้างต้นได้ตามรายชื่อด้านล่าง
Forthcoming: Serious Games: Rethinking Practice Theory. Duke University Press.
2003. New Jersey Dreaming: Capital, Culture, and the Class of E8. Duke University Press
1999 Life and Death on Mount Everest: Sherpas and Himalayan Mountaineering. Princeton University Press.
1999(ed.) The Fate of CultureE Geertz and Beyond. University of California Press. 1996 Making Gender: The Politics and Erotics of Culture. Beacon Press.
1994 Culture/Power/History: A Reader in Contemporary Social Theory (co-edited with N.B. Dirks and G. Eley), Princeton University Press.
1989 High Religion: A Cultural and Political History of Sherpa Buddhism. Princeton University Press.
1981 Sexual Meanings: The Cultural Construction of Gender and Sexuality (co-edited with Harriet Whitehead), Cambridge University Press.
1978 Sherpas through their Rituals. Cambridge University Press.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น