ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Who Gets to Study Whom? ในงานศึกษาทางมานุษยวิทยา โดยนัฐุวุฒิ สิงห์กุล

 Who Gets to Study Whom?

ใครควรเข้าไปศึกษาใครกันแน่?
สนามของนักมานุษยวิทยา สะท้อนการพยามยามทำความเข้าใจผู้คน สังคม วัฒนธรรมอื่น ผ่านการปะทะกันของผู้คนสองวัฒนธรรม ภายใต้ความเป็นพวกเขา พวกเรา หรือความเป็นพวกเขาในพวกเรา ทั้งผู้ศึกษาตะวันตกผิวขาว กับคนพื้นเมือง กลุ่มชาติพันธุ์ในซีกโลกอื่น ตั้งแต่ยุคของการล่าอาณานิคม...ในปัจจุบันแม้ว่าในอดีตจะมีงานที่ซึกษาคนอื่น เพื่อเข้าใจคนอื่นและตัวเรา เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างหลากหลาย ในฐานะของเพื่อนมุษย์ แต่ทว่าวิธีคิดแบบอาณานิคม การเลือกปฎิบัติ การเหยียดผิว เหยียดเพศ ก็ยังคงดำรงอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย
ดังเช่นกรณีของ นักศึกษาปริญญาเอกชื่อ Chisomo Kalinga ที่ศึกษาแผนกมานุษยวิทยาการแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจน์ ลอนดอน ตัวเธอต้องการศึกษาวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย เกี่ยวกับเรื่องเล่าในประเด็นเอดส์และเอชไอวีในอเมริกา แต่ก็ไม่มีใครหรือแหล่งทุนไหนที่สนใจและให้ทุนกับเธอ จนกระทั่ง วันหนึ่งมีแหล่งทุนหนึ่งในมหาวิทยาลัย สนใจที่จะให้ทุนเธอทำวิจัย แต่มีเงื่อนไขว่าเธอต้องไปศึกษาที่ Malawi ในแอฟริกา ไม่ใช่ที่อเมริกาซึ่งเป็นประเทศในตะวันตก ทำให้เธอต้องปรับเปลี่ยนงานวิจัยมาสู่การศึกษาเปรียบเทียบสองประเทศแทน...
ย้อนกลับไปที่ตัวของ Kalingma เธอย้ายตามพ่อแม่จากมาลาวี มาสหรัฐอเมริกาเมื่ออายุได้ 8 เดือน เธอเติบโตที่อเมริกา และมีฐานะเป็นพลเมืองอเมริกา เธอจึงต้องการศึกษาวิจัยในประเทศอเมริกา แต่อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำเธอว่า เธอควรศึกษากับกลุ่มคนที่ไม่ใช่คนขาว หรืออยู่ในชุมชนคนขาว แต่เป็นกลุ่มคนดำในมาลาวีที่บ้านเกิดของพ่อแม่เธอจะดีกว่าและเหมาะสมกว่า เธอก็พยายามโต้แย้งและเน้นว่าการให้ทุนทำวิจัยควรเปิดกว้างและหลากหลาย มากกว่าจะสร้างข้อจำกัดเพียงเพราะเธอเป็นนักศึกษาปริญาเอก ผิวดำและเป็นผู้หญิง....
ข้อถกเถียงของเธอ ได้นำไปสู่การพินิจพิเคราะห์ กฏเกณฑ์และภาระหน้าที่ทางวิชาการของหน่วยงานทางการศึกษาว่า สิ่งที่เราเชิดชูความเป็นมนุษย์และคุณค่าทางวัฒนาธรรม แท้จริงแล้วยังคับแคบมาก และตอกย้ำอคติและความไม่เท่าเทียม รวมถึงวิธีคิดแบบcolonialism...ทำไมคนดำจะศึกษาคนขาวไม่ได้และคนดำที่เป็นคนที่อาศัยอยู่ในประเทศของคนขาว เป็นพลเมืองในปะเทศนั้น ทำไมต้องถูกกีดกันกับการศึกษาและทำความเข้าใจคนขาวในประเทศที่พวกเขาอยู่...
ย้อนกลับไปกับคำว่ากล่าวว่า แท้จริงแล้วใครควรจะเข้าไปศึกษาใคร การศึกษานั้นเขามองชุมชนและกลุ่มคนที่เขาลงไปศึกษาอย่างไร การไปศึกษามุ่งเน้นการทำความเข้าเพื่ออะไร เป็นการเคารพ แก้ปัญหาหรือใช้อำนาจเข้าไปครอบงำ จัดการ ตามวิธีคิดแบบอาณานิคม
งานของนักมานุษยวิทยาคนสำคัญ อย่างเช่น มาลีนอฟสกี้ นักมานุษยวิทยาชาวโปแลนด์ในช่วงปี 1922 เรื่อง Agonault of western pacific ที่อธิบายถึงงานชาติพันธุ์วรรณนาบนดินแดนที่ห่างไกลระหว่างชนพื้นเมืองกับคนขาวชาวยุโรป ต่อมาเมื่อประเทศอเมริกาเติบโตและเป็นผู้นำในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 พวกเขาได้ใช้ประโยชน์จากมานุษยวิทยาวัฒนธรรมทางด้านการเมืองและการทหาร บ่อยครั้งก็สร้างการคุกคามที่เลวร้ายและไร้จริยธรรมในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 เช่น กรณีสงครามเวียดนาม ในช่วงต่อมาการศึกษาทางมานุษยวิทยาถือว่าเติบโตภายใต้แนวคิดแบบ Area study ซึ่งก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ามรดกทางความคิดแบบยุคล่าอาณานิคมก็ยังคงแทรกตัวอยู่จนปัจจุบัน...
ในขณะเดียวกัน ความรู้ที่เคยถูกผูกขาดโดยนักวิจัย ผิวขาว ตะวันตก ได้ถูกท้าทายและตั้งคำถาม เกิดกระแสแบบสะท้อนย้อนคิด วิพากษ์ เกิดกระบวนการสร้างความรู้จากท้องถิ่น มากกว่าคนนอก หรือมีลักษณะร่วมกันระหว่างคนนอกคนใน ชาวบ้านกับนักวิจัย ที่เปลี่ยนฐานคิดจากการมองชาวบ้านเป็นผู้ถูกศึกษามากกว่าผู้ศึกษา “the studied not the studier” หรือ ชาวบ้าน กลุ่มคนพื้นเมือง ได้กลายเป็นทั้งผู้ถูกศึกษาและผู้ศึกษาไปพร้อมกันด้วย “Both researchers and researched” ซึ่งเป็นการพยายามทำให้เห็นการทำลายความคิดแบบอาณานิคม....
ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านมานุษยวิทยาในอเมริกา แม้ว่าเราจะพบความหลากหลายของคนดำ คนลาตินอเมริกา คนเอเชีย คนที่เป็นคนพื้นเมืองอินเดียนแดงที่เข้ามาเรียนเพิ่มมากขึ้น แต่เพียงแค่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เหลือกว่า80 เปอร์เซ็นต์ก็คือคนอเมริกันผิวขาวหรือคนยุโรปผิวขาวมากกว่า และแน่นอนว่านักมานุษยวิทยาเหล่านี้ต้องการไปศึกษาสังคมอื่นที่แตกต่างและล้าหลังกว่าตัวเอง
ในขณะที่ kalinga บอกถึงสิ่งนี้ว่า เธอไม่เคยพบนักเรียนผิวขาวบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองและสังคมวัฒนธรรมของตัวเอง จริงอยู่ที่เธอเกิดในมาลาวีในช่วงอายุ 1-8 เดือน แต่ชีวิตในประเทศที่เธอถูกเลี้ยงดูและเติบโตมาคือเมริกา .....
ปัจจุบันกระแสการศึกษาทางมานุษยวิทยา ย้อนกลับมาทำสนามในสังคมที่ตัวเองเติบโตคุ้นชิน หรือเรียกว่ามานุษยวิทยาทีบ้าน (บ้านเกิดเมืองนอน) บ้านที่มีวัฒนธรรมซึ่งเรามักจะคิดว่าตัวเองรู้ดีที่สุด เข้าใจที่สุดแต่แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามและเราไม่ได้เข้าใจบ้านของเราทั้งหมดอย่างแท้จริง ภายใต้กระบวนทัศน์ที่ก้าวข้ามจากการศึกษาสังคมอื่นด้วยสายตาของคนอื่น กับการหันเหมาสู่การศึกษาสังคมของตัวเองด้วยความเข้าใจและวิพากษ์สังคมของตัวเองน่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจความซับซ้อนของปัญหา และทำให้นักมานุษยวิทยามีฐานะที่เป็นคนในแท้จริง มากกว่าการเป็นคนในเทียม...
กรณีของ Kalinga การมองว่า Kalinga เป็นคนผิวดำมีต้นกำเนิดจากประเทศมาลาวี น่าจะดีสำหรับการทำวิจัยที่ตัวเธอถูกมองว่าเป็นคนใน ทั้งที่ในความจริงเธอเติบโตในอเมริกา หรือนักศึกษาบางคนที่อยู่ในกัมพูชาและต้องการทำวิจัยที่บอร์เนียว อินโดนีเซีย ก็จะโดนคำถามว่ามีคนรู้จักหรือครอบครัวอยู่ที่บอร์เนียวไหม รวมถึงความจริงที่นักศึกษามานุษยวิทยาผิวสี หรืเอเชียมักจะโดนตั้งคำถามเหล่านี้ มากกว่านักศึกษาผิวขาว อเมริกาหรือยุโรปที่มักจะได้ทุนไปทำงานวิจัยในวัฒนธรรมที่แตกต่างจากตัวเอง...
กรณีข้างต้น นำไปสู่ข้อถกเถียงกันได้เยอะ ในเรื่องของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และวาทกรรม สิ่งเหล่านี้ถ้าเรามองด้วยแนวคิดแบบอาณานิคมที่บอกว่ามันคือสิ่งที่เป็นมรดกตกทอดมาในปัจจุบัน แม้แต่การให้ทุนศึกษาทางมานุษยวิทยา ระหว่างกลุ่มคนที่แตกต่างหลากหลายที่เข้ามาเรียนในคณะที่ศึกษาและทำความเข้าใจ สังคม วัฒนธรรมและความเป็นมนุษย์...
เอาเป็นว่าคำถามที่ว่าใครควรจะศึกษาใคร ไม่ควรจะไปตกกับดักวิธีคิดแบบคู่ตรงกันข้ามระหว่างการวิจัยของตะวันตกกับไม่ใช่ตะวันตก แต่การวิจัยมันควรจะต้องมองทั้งสองด้าน อย่างที่เราเคยบอกว่า “เราศึกษาคนอื่น วัฒนธรรมสังคมอื่น เพื่อทำความเข้าใจ วัฒนธรรม สังคมเราและตัวเอง” การอ่อนน้อมถ่อมตน เรียนรู้และเชื่อมโยงเพื่อสร้างพลังของการอธิบาย สุดท้ายเราต้องวิพากษ์ ให้เห็นพลวัตรของอำนาจ ความแตกต่าง และความไม่เท่าเทียมที่เป็นความจริงของโลกใบนี้....

Sujira Singkul, ร.ต.ชำนาญ สิงห์กุล และคนอื่นๆ อีก 18 คน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...