ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยง โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 บ้านเรือนและสถาปัตยกรรมของชุมชนกะเหรี่ยงมีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติ ทั้งการใช้วัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายนำมาใช้เป็นโครงสร้างของบ้าน ผนัง ฝ้าเพดาน หลังคา รวมถึงบันได และพื้นบ้าน ในขณะเดียวกันพื้นที่ปลูกบ้าน หรือการปลูกบ้านก็จะต้องเสี่ยงทายโดยการบอกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ เช่นเดียวกับการหาพื้นที่เพาะปลูก..

ความสัมพันธ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์มิติทางจิตวิญญาณกับธรรมชาติ ชาวกะเหรี่ยงมีวิธีการเลือกพื้นที่ปลูกบ้านที่เชื่อมโยงกับความอ่อนน้อมถ่อมตนของพวกเขาต่อธรรมชาติ การเลือกทำเลตั้งบ้านหรือเพาะปลูกขึ้นอยู่กับสิ่งเหนือธรรมชาติยินยอมหรืออนุญาต มากกว่าที่ตัวเองจะสามารถกำหนดได้เอง การเลือกพื้นที่ปลูกบ้านจะต้องไม่ปลูกทับลําห้วย (ที่คี่ขวาจุ) ต้นน้ํา (ทีคี่) จอมปลวก หรือการปลูกบ้านใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่เกิดขึ้นบริเวณบ้านจนเงาทับตัวบ้าน ชาวกะเหรี่ยงก็มักจะขยับขยายออกไปอยู่ในท่ีแห่งใหม่เพื่อให้ไม่เบียดเบียนต้นไม้ จนมีคํากล่าวว่ากะเหรี่ยงมีความรู้สึกต่อธรรมชาติ ส่ิงแวดล้อมเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนคนในยุค ปัจจุบันท่ีถ้าจะสร้างบ้านก็จะตัดต้นไม้ทิ้งไปไม่ว่าต้นไม้ใหญ่หรือเล็กก็ตาม...
จากคําบอกเล่าของชาวกะเหรี่ยงที่อุทัยธานีบอกว่าในอดีต ไม้ท่ีนํามาใช้ในการสร้างบ้านจะมีอยู่ 2 ลักษณะ ลักษณะท่ี 1 คือ ต้นไม้ท่ีอยู่ในป่าเบญจพรรณ (เมย์เผ่อ) และป่าดิบ (เมย์ หละก่า) ในไร่ของตัวเอง โดยพืชพันธ์ุไม้จํานวนมากท่ีพบในป่า เช่น ไม้หว้า ไม้ตะเคียน ไม้ยาง ไม้ประดู่ ไม้รัก ฯลฯ ชาวกะเหรี่ยงมักเลือกใช้ไม้ขนาดกลางในการสร้างบ้านเรือนมากกว่าจะเป็นไม้ขนาดใหญ่ หรือพวกตระกูลไม้สูง ไม้ท่ีชาวกะเหรี่ยงใช้สร้างบ้านส่วนมากจะเป็นพวก ไม้ตีนเป็ด ไม้สวอง ไม้เสลา ไม้ยางดง เป็นต้น
ลักษณะที่2 คือ การสร้างบ้านจากไม้ไผ่ โดยชาวกะเหรี่ยงมีคํากล่าวว่า “สมัยก่อนแม้ไม่มีเงิน สักบาทก็สามารถสร้างบ้านด้วยตัวเองได้ ผู้ชายกะเหรี่ยงมีมีดโต้เล่มเดียว ปลูกบ้านได้หน่ึงหลัง สามารถ ฟันไร่ได้จํานวนหลายสิบไร่” เนื่องจากไผ่เป็นพันธ์ุพืชที่ข้ึนอยู่มากมายในพื้นท่ีเพาะปลูกของชาว กะเหรี่ยงรวมถึงบริเวณท่ีอยู่อาศัยก็จะมีการปลูกไผ่เอาไว้หลากหลายชนิดและใช้ประโยชน์ในลักษณะท่ี แตกต่างกัน เช่น ไผ่รวก ไผ่หนาม ไผ่บง ไผ่นวล ไผ่ผาก โดยพื้นที่ในป่าจะมีแหล่งไม้ไผ่จํานวนมาก เช่น “ว๊าบองกล่า” หรือพื้นที่ผ่าท่ีมีไผ่รวกข้ึนอยู่มากมาย “ว๊ามิกล่า” คือพื้นที่ท่ีมีไผ่นวล สองพื้นที่นี้จะต้อง ข้ึนไปบนท่ีสูงหน่อย ส่วนพื้นท่ีใกล้นํ้าจะพบไผ่จําพวก ว๊ามิกล่าหรือไผ่นวลเช่นกัน รวมถึงไผ่ตระกูลใหญ่ อย่าง “ว๊าซู๊กล่า”หรือไผ่หนาม หรือ “ว๊ากะกล่า” คือ พวกไผ่ผาก ไม้จําพวกไผ่จะถูกนํามาใช้ในการสร้าง บ้านและซ่อมแซมบ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยงท่ีสามารถหาได้ในไร่นาและในป่า
ไม้เนื้อแข็งและเน้ืออ่อนเช่นตีนเป็ดกับยางดงท่ีลําต้นกลมสูงจะถูกนํามาใช้เป็นเสาและคาน บางส่วน ในส่วนต้นไผ่ชนิดต่างๆ ชาวกะเหรี่ยงนิยมนํามาทําเป็นส่วนประกอบต่างๆของบ้าน เช่น คาน ผนัง พื้นบ้าน ตามคุณสมบัติต่างๆของไผ่แต่ละชนิด เช่น ไผ่หนามแม้ว่าลักษณะจะไม่ค่อยสวยเพราะกิ่ง ก้านหนามค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับไผ่ชนิดอื่น แต่เนื่องจากต้นใหญ่เนื้อแข็งมักนิยมนํามาทุบให้เป็น แผ่นยาวใช้รองทําพื้นบ้านท่ีใช้สําหรับนั่ง นอน เดิน เพราะเนื้อแข็ง มีความยืดหยุ่นสูง ส่วนไผ่นวลนิยม นํามาใช้ทําส่วนของผนังหรือฝาบ้าน เนื่องจากเน้ือของไผ่นวลมีความเหนียว เน้ือไม้อ่อนตัดและเหลาง่าย ส่วนใหญ่นิยมนํามาจักตอกทําเครื่องจักสาน ไม้ไผ่รวกลําต้นตรงขนาดไม่ใหญ่มาก เน้ือแข็งและมีความ เหนียวจะนํามาทําหลังคาเช่นเดียวกับไผ่นวล หรืออาจจะใช้ลําของไผ่รวกสามารถใช้เป็นโครงของพื้นบ้านก่อนใช้แผ่นไม้ไผ่มาวางเป็นพื้นบ้านได้เช่นเดียวกัน ภูมิปัญญาในการสร้างบ้านของกะเหรี่ยงจะไม่ นิยมใช้ตะปูตอก พวกเขาใช้เพียงการเจาะหรือเซาะไม้ให้เป็นร่องเพื่อนําเอาไม้อีกท่อนมาสอดหรือประกบให้เข้ากัน หรือการใช้เส้นตอกของไม้ไผ่ที่มีความเหนียวมามัดเท่าน้ัน ส่วนหลังคานิยมใช้ใบตองตึง หญ้าคาในการมุง โดยหลังคาจะ 3 ปี เปลี่ยนทีหน่ึง ชาวกะเหรี่ยงด้ังเดิมมักทําใต้ทุนเอาโล่งเอาไว้ซึ่งไม่สูงมากนักประมาณ 1 เมตร ส่วนบันได อาจใช้ไม้ไผ่หรือไม้เน้ือแข็งทําก็ได้ สามารถยกขึ้นลงได้
ในส่วนของพื้นท่ีใช้สอยภายในบ้าน ชาวกะเหรี่ยงสวนมากมักจะจัดพื้นที่ออกเป็นสามส่วน ส่วนแรก คือ ห้องนอนจะอยู่สูงกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆอาจมีประมาณ 1 – 2 ห้อง โดยพ่อแม่อาจนอนรวมกับลูกห้องหนึ่ง หรือลูกๆผู้ชาย ผู้หญิงอาจจะมีการแยกห้องนอนออกไปต่างหาก ส่วนพื้นท่ีที่สองจะเป็นส่วนนั่งเล่น ห้องสำหรับทํากิจกรรมต่างๆ เช่น จักสาน พูดคุย กินอาหาร เป็นต้น ส่วนสุดท้ายจะเป็นห้องครัวท่ีเป็นพื้นที่แยกออกต่างหาก จากห้องอื่นๆ อาจจะอยู่ด้านช้าง ด้านหน้า หรือด้านหลังก็ได้ มักมีการใช้ไม้ไผ่วางเป็นช้ันไว้เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ในการประกอบอาหาร ด้านล่างจะทําเป็นเตาท่ีมีไม้ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วเอาทรายหรือขี้เถ้ามาใส่ให้เต็มเพื่อวางหินสาม เส้า หรือเตาไฟทําอาหาร เป็นต้น บ้านไม้แบบดั้งเดิมยังนิยมทํากันในส่วนของบ้านเจ้าวัด และในศาลาที่ ใช้ในพิธีกรรมบริเวณเจดีย์เจ้าวัดก็จะเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม ใช้วัสดุด้ังเดิมเป็นหลัก..,.
ผมสนใจเรื่องพื้นที่ว่าง ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษระหว่างห้องที่แบ่งสัดส่วนและปกปิดมิดชิด พื้นที่ระหว่างห้องระเบียน ชานบ้าน พื้นที่นั่งเล่น ทำกับข้าว หรือกิจกรรมในครอบคร้ว รวมไปถึงพื้นที่ว่างภายนอกบ้าน ที่ใช้รวมกลุ่ม ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างเครือญาติ ชุมชน พื้นที่ก่อไฟปิ้งปลา ทำขนมจีน ตำข้าว ทำเทียน ทอผ้า ที่แสดงให้เห็นการใช้ประโยชน์ร่วมกันของพี่น้อง เครือญาติ พื้นที่ว่างจึงไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวแต่เป็นพื้นที่ใช้สอยร่วม การแชร์อำนาจในการใช้สอยร่วมกันได้...ความหมายของพื้นที่จึงเกิดจากกิจกรรมของผู้คนในพื้นที่ ที่ก่อรูปความหมายและความสำคัญให้กับตัวพื้นที่ดังกล่าว ตัวพื้นที่หาได้มีความหมายด้วยตัวมันเองไม่...ที่ว่างจึงเป็นการแสดงตัวตนและความหมายที่ไร้ข้อจำกัดและอยู่นอกเหนือโครงสร้างกรอบอาคาร ถ้าในทางสถาปัตยกรรมพื้นที่ว่างคือพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่เฉพาะเจาะจง...
ในพื้นที่ว่างในเมือง ก็มีหลายพื้นที่ที่เราแชร์การใช้สอยร่วมกัน เช่น ลานหน้าห้าง สวนสาธารณะ สนามกีฬา เป็นต้น ในทางตรงกันข้ามเราก็จะเห็นพื้นที่ว่างหลายพื้นที่ ที่ไม่ได้มีการแชร์การใช้พื้นที่ร่วมกัน กลายเป็นพื้นที่ที่มีเจ้าของ มีผู้มีอำนาจเข้ามาครอบครอง ทำให้พื้นที่ว่างเหล่านี้ ไม่อาจสร้างกิจกรรมที่นำไปสู่ความหมายให้กับพื้นที่...
Rene Decart นักปรัชญาฝรั่งเศส บอกว่าที่ว่างไม่ใช่ความว่างเปล่า แต่เป็นพื้นที่ที่ถูกบรรจุด้วยสรรพสิ่ง
ที่ว่าง เป็นพื้นที่นอกเหนือหรือเหลือจากรูปร่าง เป็นองค์ประกอบที่สามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึก..ความหมายที่ถูกวางสัมพันธ์กับประสบการณ์ของมนุษย์ สิ่งที่สร้างได้ รู้สึกได้และออกแบบได้...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...