ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แด่หนุมสาวนักต่อสู้ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 แด่หนุ่มสาว...

เมื่อผู้ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายการพัฒนาที่ถูกกล่าวอ้างและถูกปฎิบัติในนามของชาติ พวกเขานั้นไม่ได้รู้สึกถึงสิ่งที่ตัวเองได้รับ ดังนั้นพวกเขาอาจไม่ได้รู้สึกผูกพันหรืออินกับคำว่าชาติเสียแล้ว...และมันก็คงเป็นเรื่องยากในการบอกให้ประชาชนเหล่านั้นเสียสละหรือเข้าร่วมพันธกิจต่างๆที่ถูกกล่าวอ้างว่าจะช่วยสร้างความเจริญเติบโตและมั่นคงต่อสิ่งที่เรียกว่าชาติอีกต่อไป....
การลดน้อยถอยลงของอุดมคติหรืออุดมการณ์ จินตนาการว่าด้วยความเป็นชาตินั้น คงไม่ได้เกิดจากปัญหาทางด้านวัฒนธรรมหรือจิตสำนึก แต่สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่คือ เรื่องของความชอบธรรมแห่งรัฐและระบอบการเมืองนั่นเอง...
การเคลื่อนไหวของประชาชนในทางการเมือง นับแต่ชาวบ้านในชนบทที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา การถูกอำนาจรัฐและทุน ทำให้พวกเขาหายไปจากพื้นที่การต่อสู้ด้วยวิธีการที่รุนแรง ป่าเถื่อน ดังกรณีที่เกิดขึ้นในยุคที่อ้างถึงภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในช่วงเหตุการณ์ 6 และ14 ตุลาคม ที่แสดงให้เห็นความต้องการเปลี่ยนแปลงของประเทศและสังคมแบบประชาธิปไตย หรือการเคลื่อนไหวในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ถือว่าเป็นการขุมนุมของชนชั้นกลาง ที่เรียกว่าม๊อบมือถือ จนมาถึงการเคลื่อนไหวหลังฟองสบู่ช่วงปี 2540 ที่ประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่ก็มีสิ่งที่น่าคิดว่าในช่วงเวลาดังกล่าว การเคลื่อนไหวกับน้อยและไม่มีพลังอำนาจมากเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะความล่มจมทางเศรษฐกิจเกิดกับชนชั้นที่ร่ำรวย เศรษฐี ไม่ใช่คนชนบท ชาวไร่ชาวนา ผลกระทบกับคนชนชั้นกลางและเศรษฐี ไม่ได้เป็นผลกระทบเดียวกับพวกเขา เพราะพวกเขาก็ยังคงจน ถูกกดขี่ และถูกอำนาจที่เกิดจากรัฐและกลุ่มทุนในนโยบายการพัฒนาตลอดเวลา...
ยิ่งในช่วงหลังๆ การแบ่งแยกกลุ่มคน ที่สัมพันธ์กับปัญหาและภาพของความเหลื่อมล้ำในประเทศมีความชัดเจนมากขึ้น การเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบเหลือง แดง ยิ่งช่วยตอกย้ำให้เห็นความห่างไกลจากความเป็นชาติ ในฐานะที่ทุกคนยึดเป็นสังกัด เป็นจินตนาการร่วมและเป้าหมายร่วมแห่งผลประโยชน์ที่ควรกระจายอย่างสมดุลและเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
การเคลื่อนไหวของหนุ่มสาวในปัจจุบัน ...น่าสนใจว่าพวกเขาเป็นผลผลิตของพ่อแม่ที่มาจากชนชั้นที่หลากหลาย ที่มีประสบการณ์และล้วนก็ต่างเผชิญหน้ากับปัญหาอันหลากหลายในช่วงยุคสมัยของพวกเขาที่เปลี่ยนผ่านมา ลูกของพวกเขาจึงเป็นผลผลิตจากกลุ่มคนที่หลากหลายในชาติ ลูกของชนชั้นกลาง ลูกของนักธุรกิจ ลูกของนักการเมือง ลูกของพ่อค้าแม่ค้า ลูกของแรงงานในโรงงาน ลูกของขาวไร่ชานา ลูกของกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่ว่าพวกเขาจะมาจากชนชั้นไหนก็ตาม แต่พวกเขาก็รับรู้ถึงปัญหาทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองที่กระทบกับตัวเขาและครอบครัวไปจนถึงประเทศชาติ สิ่งที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการแลกเปลี่ยน รับรู้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆระหว่างกัน ก็คือโซเชีย มีเดีย มีการใช้ไลน์ ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค เพจต่างๆ ในการแชร์ข่าว ข้อมูลระหว่างกัน...สิ่งเหล่านี้คงจะตอบคำถามได้ประการหนึ่งว่า พวกเขาเติบโตมาจากการสัมผัสชีวิตและปัญหาของครอบครัว สังคมที่อยู่รายล้อมพวกเขาในคลื่นของยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่าน การเห็นความไม่เท่าเทียม ความเหลื่อมล้ำ การจำกัดเสรีภาพหลายๆอย่างในชีวิตการเรียนและการทำงาน ระเบียบกฏเกณฑ์บางอย่างที่ไม่เคยถูกตั้งคำถามในคนรุ่นพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เสื้อผ้า หน้าผม ค่าเทอม จริยธรรมของผู้สอน เรื่องเพศและอื่นๆ แต่คนรุ่นใหม่เริ่มมีคำถาม...
ความน่าเบื่อในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ก็คือการกล่าวอ้างผลประโยชน์ของชาติและการถ่วงดุลอำนาจ ที่ไม่เคยมีอยู่จริง นำไปสู่การแสวงหาแนวทางการมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตยแบบตรงๆ ที่สามารถแสดงออกถึงการมีอำนาจของประชาขนโดยไม่ผ่านตัวแทน การเมืองแบบชาวบ้าน การเมืองในออนไลน์ การเมืองข้างถนนหรือฟุตบาธและอื่นๆ...
ปัจเจกชนเสรี ย่อมไม่ต้องการดำรงตำแหน่งใดๆ หรือต้องสร้างองค์กร ต้องสร้างพรรค เข้ามาช่วงชิงอำนาจกับพรรคการเมืองเก่าๆ หากแต่เพียงต้องการแสดงออกซึ่งเจตจำนงและสิทธิในการรักษาวัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิทธิอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต โดยไม่ถูกละเมิดหรือรุกล้ำ
ดังนั้นคำว่าชาติ อาจต้องนิยามใหม่ว่าชาติคือ พื้นที่ที่ประกอบด้วย ความแตกต่างหลากหลาย คนที่หลากหลาย ชุมชนที่หลากหลาย เพศที่หลากหลาย ไม่ใช่คนเพียงบางกลุ่มที่ผูกขาดสิ่งที่เรียกว่าชาติ...
ผมว่าสังคมเรายังมีความหวัง เราไม่เคยละทิ้งความหวัง แม้บางครั้งดูเหมือนว่ามันจะมืดมน อับแสงไปบ้าง แต่เราต้องหวังและสร้างสังคมให้มีความเท่าเทียมของความเป็นมนุษย์...
เราอยู่ในสังคมอุดมปัญญา การใช้เหตุผล เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างสำคัญ... เสียงชาวบ้าน เสียงชนชั้นกลาง เสียงคนจน เสียงคนไร้บ้าน เสียงLGBTQ+ เสียงของหนุ่มสาว และเสียงอื่นๆ ....ผู้มีอำนาจจงรับฟังเถิด หากเสียงนั้นจะมากหรือน้อย ดังหรือไม่ดัง ฟังเขาหน่อยว่าเขาพูดอะไร คิดอะไร ชัยชนะในการเลือกตั้ง ที่ท่านอ้างถึงความชอบธรรมในการตัดสินใจ การพัฒนาเชิงนโยบายในทุกเรื่อง บางครั้งพบว่าสร้างปัญหาต่างๆตามมา หรือส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนไม่ว่าจำนวนมาก หรือจำนวนน้อยก็ตาม ท่านก็ต้องรับฟัง ปรับปรุง แก้ไขและยอมถอยเพื่อให้ชาติดำเนินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
แด่หนุ่มสาว....
****ภาพประกอบ อาจไม่เกี่ยวกับที่แสดงพลังกันเมื่อวาน แต่โยงกับวิถีคิดของตัวเองตอนทำงานพัฒนากับชาวบ้านในพื้นที่ ตอนเรียนจบใหม่ๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...