ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ว่าด้วยการทำงานสนาม ตัวเรา ตัวเขา ปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลสนาม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 

ว่าด้วยการทำงานสนาม ตัวเรา ตัวเขา ปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลสนาม
งานของ Goffman เรื่อง the representation of self in everyday life ได้เปิดพื้นที่ให้ผมทำึวามเข้าใจเรื่องself ก่อนเป็นเบื้องต้น เพราะมันมีความซับซ้อน จะเรียกว่าตัวตนหรืออัตตาก็แล้วแต่.. ในขณะที่อัตวิสัยหรือsubjectivity ที่มีลักษณะที่แตกต่าง เหมือนกันหรือเชื่อมโยงกันค่อยอธิบายทีหลัง..เพราะนิยามที่ใช้อยู่ที่การเลือก เราอ่านงานของใคร เอาของใครมาใช้ ทำไมต้องแนวคิดอันนี้และต้องบอกให้ได้ว่ามันดีกว่าคนอื่นว่าไว้อย่างไร เอามาอธิบายกับปรากฏการณ์ของเราได้มากน้อยเพียงไหน..
ในส่วนของของกระบวนการบ่มเพาะของอัตตา (embodied self) มีสองส่วนที่น่าสนใจ ส่วนแรก เรียกว่า subject of experience หรือองค์ประธานของประสบการณ์ ที่สร้างการตระหนักเกี่ยวกับตัวเองและโลก ที่เรียกว่า “I “ในส่วนที่สองคือ Object of experience ที่เรียกว่า การเป็นวัตถุแห่งประสบการณ์ต่อตัวเองและโลก ที่อาจเรียกว่า “me” หากเชื่อมโยงกับภาวะอัตตวิสัยหรือ subjectivity มันก็มีลักษณะสองด้านคือ มันสามารถถูกให้ลักษณะและสร้างลักษณะบางอย่างได้ในทางกลับกัน อัตวิสัยจึงเป็นกระบวนการทั้ง individualizations และ socialization
ย้อนกลับมาที่งานของ Goffman ชี้ว่าตัวตนและการนำเสนอตัวตนของเราอยู่ภายใต้การจัดการความประทับใจ ในการเลือกหรือตัดสินใจที่จะนำเสนอตัวตน ที่เราต้องการให้คนอื่นรับรู้หรือจดจำ และแสดงออกให้ตรงกับความคาดหวังของสังคมที่พวกเราเป็นสมาชิกอยู่ ...ในทางตรงข้ามเราก็ยังมีตัวตนที่ไม่อยากให้คนอื่นรับรู้ หรือไม่ต้องการแสดงออก ตัวตนเหล่านั้นก็จะไม่ถูกเปิดเผยหรือแสดงออกมาให้คนภายนอกเห็น หรืออาจแสดงออกมาไม่ตรงกับตัวตนที่แท้จริง...
เช่นเดียวกับการแสดงละครเวทีที่กอฟแมนนำเสนอ ที่จะมีทั้งสิ่งที่แสดงหน้าเวที (front stage) ที่เป็นตัวตนแสดงตามบทบาท(fake self) และชีวิตหลังเวที(back stage) พื้นที่หลังเวทีหรือหลังม่านตรงนี้ถือเป็นพื้นที่อิสระ ที่ใช้เก็บรักษาตัวตนที่ซ่อนเร้นเอาไว้ ซึ่งอาจจะเป็นตัวตนที่แท้จริง ไม่ใช่ตัวตนที่แสดงในเวทีตามบทละคร การตีบทแตกของเขาทำให้คนดูเชื่อว่าเจาเป็นตัวละครตัวนั้นจริงและได้รับการยอมรับ
สิ่งที่น่าสนใจคือถ้าตัวตนที่ผู้คนซ่อนเร้นอยู่ (hidden self) อาจเป็นตัวตนที่แท้จริงก็ได้ (real /actual self) ในขณะที่ตัวตนที่นำเสนอออกมาอาจเป็นเพียงผลผลิตของการปรับแต่ง เลือกสรร ในการแสดงออกมาก็เป็นได้
ดังนั้นเราจะเห็นการปะทะกันของตัวตนที่เป็นจริง ตัวตนที่พึงปรารถนา(ideal self ) ตัวตนในจินตนาการ (self image) ตัวตนดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของร่างกาย และการควบคุมทางสังคม รวมถึงความคาดหวังของคนอื่นๆในสังคม สิ่งที่น่าคิดต่อคือ ตัวตนที่เป็นตัวตนจริง (actual self) ไม่ใช่ตัวตนที่ถาวร แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อลักษณะทางกายภาพถูกจัดการ ปรับเปลี่ยน ปรับรูปให้เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อนำมาอธิบายเชื่อมโยงกับโลกในพื้นที่ออนไลน์ การใช้แอพหาคู่ การสื่อสารกันบนโลกออนไลน์ ในสถานการณ์ที่ตัวตนของเรานิรนาม และการเผชิญหน้ากับบุคคลที่เราไม่รู้จัก และคนเหล่านั้นก็ไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับตัวเราเท่าใดนัก การนำเสนอตัวตนของเราต่อคนเหล่านี้ย่อมมีอิสระเสรีภาพมากขึ้น และนำเสนอตัวตนในรูปแบบใหม่ๆที่สร้างสรรค์มากขึ้น โลกออนไลน์ทำให้ร่างกายทางกายภาพไม่เป็นกำแพงหรืออุปสรรคในการนำเสนอตัวตนเพื่อสร้างความสัมพันธ์อีกต่อไป ทั้งรูปร่าง หน้าตา ชื่อ อายุ สถานภาพ ความสามารถ ประสบการณ์ชีวิต การทำงาน เพศวิถี ไลฟ์สไตล์และอื่นๆ ที่สะท้อนความสัมพันธ์ของตัวตน การเลือกแสดงตัวตนที่มีความซับซ้อนหลากหลายมากขึ้นกว่าตัวตนที่ดำรงอยู่จริง
ในวาทะของเชอรี่ ออทเนอร์ ทำให้เราเห็นว่าการมองลงไปที่เรื่องของอัตวิสัย ทำให้เราเข้าใจการดำรงอยู่ของมนุษย์ อัตวิสัยเสมือนหนึ่งพื้นฐานของผู้กระทำการ ภายใต้ความกระเสือกกระสนดิ้นรนของผู้กระทำการที่กระทำ ภายใต้สภาวะที่ถูกกระทำจากโครงสร้างที่กดทับอยู่ ผู้กระทำการถูกกหนดจากความปรารถนาที่ตั้งใจและเชื่อมโยงกับอัตวิสัย อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความหมายที่โยงใยอยู่ในความสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อน
งานสนามเรื่องเพศมีความซับซ้อนและยาก การจะเข้าใจความซับซ้อนนั้นได้ ขึ้นอยู่กับปฎิสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับผู้ที่เราศึกษา (ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้) ความเชื่อถือ ความไว้วางใจ การเปิดเผยความจริง การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง จึงจะนำไปสู่ความรู้ในสนามที่เรานำไปเขียนและวิเคราะห์ได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้อง โดยเฉพาะการสะท้อนหรือนำเสนอเรื่องเล่าของชีวิต ที่อาจจะเป็นความจริงบางส่วน ตัวตนบางลักษณะที่ผู้ใก้ข้อมูลเลือกที่จะแสดงออกและนำเสนอ การสะท้อนย้อนคิดกับปฎิสัมพันธ์ในสนามจึงเป็นสิ่งจำเป็น...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...