วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2566

ความเจ็บป่วยและความทุกข์ทางสังคม กับความเชื่อ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ความทุกข์ทรมานทางสังคม คือความเจ็บป่วยรูปแบบหนึ่ง และมันเชื่อมโยงกับการเยียวยาความเจ็บป่วยของตัวเองผ่านความเชื่อบางอย่าง… Paul Farmer แพทย์และนักมานุษวิทยา สนใจมองลงไปที่ความเจ็บป่วยที่ไม่ได้มีสาเหตุหรือเกิดจากตัวเชื้อโรค อย่างที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเชิงกายภาพและชีววิทยา พยายามอธิบายเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ที่เรียกภาวะความผิดปกติ โดยมีเชื้อโรค ทั้งจากไวรัสและแบคทีเรีย เป็นตัวแปร สําคัญที่ทําให้เกิดภาวะการเจ็บป่วยของมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว.... แต่ Paul Farmer กลับมองว่า สาเหตุของโรคภัยเจ็บที่มนุษย์กําลังเผชิญอยู่ มีนัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย และเป็นสาเหตุ สําคัญที่ทําให้คนตกอยู่ในสภาวะผิดปกติ มีเชื้อโรคและเกิดภาวะที่เรียกว่าความ “เจ็บป่วย” ซึ่งถือเป็นการอธิบายความเจ็บป่วยที่มีมิติทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่ไม่ใช่วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว ........ Pual Farmer กล่าวว่า คนทุกคนบนโลกรู้ว่าความทุกข์ทรมานมีอยู่จริงในชีวิตประจําวันของเรา ตัวอย่างเช่น เวลาเราปวดท้องหรือปวดหัว จนแทบทําอะไรไม่ได้ อาการเหล่านี้ปรากฏให้เห็นทางร่างกาย ไม่ว่าการยืนทรงตัวไม่อยู่น้ำตาไหลพราก นอนบิดตัวไปมา ด้วยความรู้สึกปวดที่อยู่ข้างใน นอกจากนี้ยังมีทุกข์ทางจิตใจที่ส่งผลต่อร่างกาย เช่นการพลัดพรากจากคนที่เรารัก จนกินไม่ได้นอนไม่หลับ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือความ ทุกข์ทรมานที่มนุษย์ทุกคนล้วนต้องเผชิญ แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือแม้ว่าเราจะรู้ว่าความทุกข์ ทรมานมีอยู่และดํารงอยู่ในชีวิตของมนุษย์ แต่คําถามที่ยากจะตอบก็คือ เราจะนิยามมันอย่างไร ว่าความทุกข์ทรมานที่แท้จริงนั้นคืออะไรกันแน่ ในเมื่อแต่ละคนก็มีความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีสาเหตุเบื้องหลังของความทุกข์ทรมานที่แตกต่างกันด้วย .... ในชุมชนต่างๆของประเทศที่กำลังพัฒนา ความเจ็บป่วยเป็นที่รับรู้กันว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ เช่น สิ่งเหนือธรรมชาติ (เช่น พระเจ้า/ อัลลอฮ์ผู้ทรงฤทธานุภาพ วิญญาณธรรมชาติ และตัวแทนมนุษย์ของสิ่งเหนือธรรมชาติ) ธรรมชาติ (เช่น สุขอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางชีวภาพและจิตใจ) และสาเหตุทางสังคม ( เช่น ความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ประสบการณ์ความรุนแรง การสนับสนุนและความเป็นหนึ่งเดียวกันในครอบครัว และ การละเมิดข้อห้ามทางสังคม) ***มนต์ดำ สุขภาพจิต การเยียวยาและการรักษา*** การตีตราในทางสังคม มีความสัมพันธ์อย่างมากเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมานทางสังคม ในประเทศที่กำลังพัฒนา เข่น ในประเทศอินโดนีเซีย ตัวอย่างของความเชื่อทั่วไปในทางสังคม ว่าการประพฤตินอกรีต นอกกรอบมันส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่ใกล้ชิดกับพระเจ้า หรือไม่ได้สวดอ้อนวอนพระเจ้าอย่างเพียงพอ ดังนั้นพวกเขาจึงถูกลงโทษเพราะบาปของพวกเขาเอง และนั่นคือสิ่งมี่ทำให้เขาทุกข์ทรมาน อดอยากและยากจน รวมถึงมุมมองอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ความเชื่อที่ว่าคนป่วยทางจิตถูกปีศาจเข้าสิงซึ่งทำให้พวกเขาเปลี่ยนพฤติกรรม ได้ยินเสียง หรือประสบกับอาการประสาทหลอน หรือมีภาวะทางสุขภาพจิต ภายใต้คำอธิบายพื้นบ้านเกี่ยวกับมนต์ดำ ไสยศาสตร์ ที่เป็นคยรมเขื่อแบบดั้งเดิม หรือความเชื่อที่ถูกสร้างจึเนมาใหม่ เพื่อแก้ปัญหาให้กับคนยากจนและคนชายขอบ ที่มีความคิดและการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ อาจส่งผลให้ผู้คนเหล่านี้ ถูกทำร้าย ถูกรังเกียจจากชุมชน และไม่สามารถรับการรักษาพยาบาลตามอาการของพวกเขาได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ โดยคนเหล่านี้ ผู้ที่มีประสบการณ์ควรมทุกข์ทรมาน จากโครงสร้างทางสังคม ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน การถูกเลือกปฏิบัต อาจได้รับการแนะนำจากเพื่อนและครอบครัวให้รู้จักกับ “หมอ” และหมอผี ซึ่งอ้างว่าสามารถรักษาหรือเยียวยาความทุกข์ทรมานของพวกเขาได้ การรักษาที่ได้รับการส่งเสริมโดยหมอผี โดยสิ่งหนือธรรมชาติเหล่านี้รวมถึงการปฏิบัติเช่นการดื่มสมุนไพรแบบดั้งเดิม การอาบน้ำที่ผสมด้วยดอกไม้ หรือการบำบัดด้วยธูปหรือการนวด รวสถึงการสวดมนต์อ้อนวอน การเซ่นสรวงบูชา และอื่นๆ บางคนถูกส่งไปหาผู้รักษาทางจิตวิญญาณ ซึ่งแนะนำให้อ่านตำราทางศาสนา อดอาหาร ตักบาตร หรือสวดมนต์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันเพื่อบรรเทาอาการความทุกข์ทรมานทางร่างกาย จิตใจ และสังคมที่เกิดขึ้น ในสังคมบ้านเรา ภาวะความเจ็บป่วย ทุกข์ทรมานทางสังคม เกิดขึ้นไก้กับคนทุกชนชั้น ไม่ว่จะร่ำรวยหรือยากจน คนเหล่านี้ต่างหันมาพึ่งพาไสยศาสตร์ มนต์ดำ และความเชื่อนอกกระแส (บางครั้งถูกมองว่านอกรีต) ไม่สนใจที่มา ไม่สนใจประวัติศาสตร์หรืออดีตของสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าตำนานจะแท้หรือจะเทียม เพราะพวกเขาสนใจปัจจุบัน และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น การให้ความหมาย และการประกอบสร้างสิ่งต่างๆให้เป็นอะไรก็ได้ อย่างครูกายแก้ว ที่ถูกสร้างความหมายอย่างหลากหลาย อสูรเทพ เทพกึ่งมนุษย์ บรมครูผู้เรืองเวท ผู้บำเพ็ญตบะกึ่งมนุษย์กึ่งนก พ่อใหญ่หรือเวตาล ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำให้คนเชื่อถึฃความพิเศษ เหนือธรรมชาติ เหนือคนธรรมดา ในสังคมที่เน้นความรวดเร็ว เร่งรีบ ของความร่ำรวย ความสำเร็จ เทพองค์แล้วองค์เล่า ยักษ์ตนแล้วตนเล่า เทวาดา หริอฤษีองค์แล้วองค์เล่า ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ความสุขสบาย ความสำเร็จก็ยังไม่มา ป้ญหาแท้จริงไม่ใช่การที่คนเราไม่เชื่อศาสนา หรือภาวะความไร้เหตุผล ความงมงาย ความนิยมไสยศาสตร์และมนต์ดำ รสนิยมความชื่นชอบในสายมู แต่มันเป็นเรื่องของความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกัน ความอยากได้อยากมี ภายใต้ระบบทุนนิยมและปัญหาในทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสร้างปัญหามากกว่าที่ทำให้คนเราต้องหันมาเยียวยารักษาความเจ็บป่วยของตัวเองด้วยสิ่งเหล่านี้ ***สังคมเราก็เป็นแบบนี้ คนจนถูกใช้อำนาจ คนรวยมักจะเป็นผู้ใช้อำนาจ คนจนมักจะติดคุกเร็วกว่าคนรวย หากมีกรณีการกระทำความผิด ความรุนแรงของการกระทำความผิดก็ต่างกัน คนจนเท่านั้นที่ผิดแต่คนรวยบางคนรอดคุกหรือถูกชี้ว่าไม่ผิด ....เช่นเดียวกับความทุกข์ทรมานและความเจ็บป่วยของคนจน คนไร้อำนาจ ที่ถูกกระทำจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรม และตอกย้ำโครงสร้างของความไม่เท่าเทียมแบบปกติ ที่ทำให้ผู้คนในสังคมมองเรื่องเหล่านี้อย่างเป็นปกติ ไร้ความรู้สึก ไร้คำถาม ไร้การต่อสู้ต่อรองต่อเรื่องของอำนาจและความไม่เท่าเทียมในสังคม...ที่สำคัญทำอย่างไรเราจะมองคนให้เป็นคนที่เท่าเทียมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...