ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2024

จาก ethnography to Appnography นัฐวุฒิ สิงห์กุล

โลกเปลี่ยน ปฎิสัมพันธ์ของผู้คนเปลี่ยน วิธีการทำงานก็เปลี่ยนไป ในฐานะคนทำงานAcademic ต้องอ่าน เมื่ออ่านแล้วเขียน เพื่อเก็บประเด็นทำเล่มเต็มต่อไป การวิจัยและสนามออนไลน์ทำให้ผมนึกถึงคำว่า “digital ethnography” “cyberethnography” หรือ”discourse-centred online ethnography “internet ethnography” “ethnography on the internet” “ethnography of virtual spaces” (Murthy, 2008 ,Burrel, 2009, Robinson & Schulz, 2009, Androutsopoulos, 2008 ) ในการศึกษาในพื้นที่ออนไลน์แล้วแต่จะเรียกกันในแต่ละสำนัก เวลาเราพูดถึงพื้นที่เหล่านี้ เราจะเห็นการปะทะกันของ สิ่งต่างๆบนพื้นที่ของอินเตอร์เน็ต อาทิมโนทัศน์เรื่องพื้นที่ออนไลน์ กับ พื้นที่ออฟไลน์ คอมพิวเตอร์ กับโทรศัพท์มือถือ ความจริงในสังคมเสมือนจริง (Virtual reality) กับความจริงทางวัตถุ (Material reality) พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographical space) กับพื้นที่ ไซเบอร์ (Cyberspace) และอื่นๆ รวทั้งกิจกรรมและดำรงอยู่ในพื้นที่ออนไลน์ทีมีลักษณะเป็นความจริงของการประกอบสร้างทางสังคม (social construction) ที่ถูกประกอบสร้างและดำรงอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ทางสังคม...

ทุนนิยมสีชมพู (pink capitalism) กับกลุ่ม LGBTQIA+ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

นักศึกษาที่ตัวเองเป็นที่ปรึกษาสารนิพนธ์ สนใจเรื่องDrag Queen และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เป็นเศรษฐกิจสีรุ้งสร้างสรรค์มากกว่าในความคิดของผม ผมนึกถึงแนวคิดหนึ่งที่ชื่อว่า Pink Capitalism ที่จะเป็นไอเดียให้นักศึกษา แนวคิดนี้ผมเขียนลงบล๊อกและในเอกสารประกอบการสอนวิชาเพศวิถี และในอนาคตผมอยากทำวิจัยในเรื่องนี้ ที่เกิดจากประเด็นของนักศึกษาที่ทำเรื่องเหล่านี้ มาเป็นทีมวิจัย ทุนนิยมสีชมพู (Pink Capitalism ) คืออะไร? เราจะเข้าใจและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมนี้ได้อย่างไร? ผลกระทบที่เกิดขึ้นสำหรับพวกเรา นักมานุษยวิทยาและนักจัดการวัฒนธรรมคืออะไร? การขัยเคลื่อนและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม LGBTQIA+ ได้ทำให้เกิดความแพร่หลายของแนวความคิดเรื่องทุนนิยมสีชมพู ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของทุนนิยมที่เชื่อมโยงกับกลุ่มประชากร LGBTQIA+ ที่เรียกว่า ทุนนิยมสีชมพูและโมเดลธุรกิจที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง เช่น การตลาด LGBTQIA+ บาร์ ไนต์คลับ และการบริการรวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและแอปพลิเคชัน ความน่าสนใจคือการนำเสนอโมเดลธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงกลุ่มสาธารณะ LGBTQIA+ เข้ากับศิลปะ และการปรากฏตัวของผู้สร้างสรร...

Cyborg Anthropology มานุษยวิทยาร่วมสมัย

ระหว่างตืนขึ้นมาและนั่งเขียน มคอ.3 ในวิขาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม และมานุษยวิทยาว่าด้วยเพศและเพศวิถี ที่จะสอนในเทอมนี้ มีหัวข้อ หนังสือใหม่ๆอะไรที่น่าสนใจ และจะชวนเด็กอ่าน และจะทำดราฟรวมเล่ม สิ่งที่อ่านในประเด็นต่างๆเพื่อเป็นคู่มือการเรียน และใช้เป็นแนวคิดสำหรับหัวข้อที่ตัวเองรับเป็นที่ปรึกษาทั้ง Dragqueen , transsexual. Female to male , อัคลักษณ์ การสะสมและการบริโภคเสื้อวินเทจ Cyborg Anthropology เป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับการผสมผสานระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยี โดยเน้นการวิเคราะห์ผลกระทบทางวัฒนธรรมและสังคมของการเป็น "ไซบอร์ก" หนังสือหลายเล่มที่น่าสนใจ เช่น หนังสือ Bodies in Technology" by Don Ihde* หนังสือ เล่มนี้สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายมนุษย์กับเทคโนโลยี ผ่านมุมมองทางปรัชญาและการปฏิบัติ หนังสือเล่มนี่มีตัวอย่างที่น่าสนใจหลายประการที่ช่วยให้เข้าใจวิธีที่เทคโนโลยีมีผลต่อร่างกายและประสบการณ์ของมนุษย์ ตัวอย่างเหล่านี้สร้างการเปลี่ยนแปลงทางการรับรู้และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรากับเทคโนโลยี ตัวอย่างที่น่าสนใจบางประการได้แก่: 1. เครื่องมือทางการแพทย์ และอุ...

ผีในมิติทางมานุษยวิทยา

เมื่อมีคนชวนผมให้ไปพูดเรื่องผี ในมุมมองทางมานุษยวิทยาให้หน่อย … หากจะพูดถึงสิ่งที่ ว่าด้วยเรื่องผีผี.. ทำไมความน่ากลัวของผีมันจึงกระตุ้นให้เราอยากดู อยากค้นหามัน ความเชื่อมโยงกับสมอง ความคิด อารมณ์ความรู้ ความตาย ความเจ็บป่วยและสุขภาพ พิธีกรรม มิติทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองในบางสังคม ก็ล้วนแต่ผูกโยงกับเริ้อง ผี วิญญาณและสิ่งเหนือธรรมชาติ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก..เมื่อช่วงเวลาผ่านไป วัฒนธรรมที่หลากหลายได้พัฒนาระบบที่ซับซ้อนสำหรับการทำความเข้าใจและโต้ตอบกับกองกำลังที่แปลกประหลาดและสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็น ตั้งแต่ศตวรรษที่สิบเก้านักมานุษยวิทยาได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของประสบการณ์และความเชื่อที่ไม่ธรรมดาหรือเหนือธรรมชาติที่ผู้ให้ข้อมูลงานภาคสนามเล่าขานถึงพวกเขาทั้งในและต่างประเทศ "วิญญาณ เทพ และเวทมนตร์" เป็นเสมือนบทนำหรือจุดกำเนิดเริ่มต้นสู่มานุษยวิทยาของสิ่งเหนือธรรมชาติ ตั้งแต่หนังสือชิ้นสำคัญคลาสสิตทางมานุษยวิทยาที่สร้างมุมมองทางมานุษยวิทยาที่สำคัญเกี่ยวกับลัทธิShaman(พ่อมด แม่มด หมอผี) และการครอบครองพื้นที่ของวิญญาณ คาถาและเวทมนตร์ และผี วิญญา...

Judith Butler กับการศึกษาเพศวิถี

มานุษยวิทยาว่าด้วยเพศและเพศวิถี(Anthropology of Sex and Sexuality ) ปีนี้ จะให้อ่านงานของ Judith Butler … ระหว่างนั่งทำ มคอ.3 ก่อนเปิดเรียน.. หนังสือเล่มหนึ่งที่น่าสนใจ คือ Senses of the Subject (นอกจากหนังสือ Bodies That Matter) โดย Judith Butler ซึ่ง Sense of Subject เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความต่างๆ ของ Butler ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอัตลักษณ์และการประสบประสบการณ์ผ่านร่างกายและประสาทสัมผัส สาระสำคัญของหนังสือมีประเด็นต่างๆที่ส่งมาเช่น 1. อัตลักษณ์และตัวตน โดย Butler วิเคราะห์ว่าตัวตนของเราถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร ผ่านกระบวนการที่ซับซ้อนระหว่างประสบการณ์ส่วนตัวและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 2. ร่างกายและความรู้สึก Butler สำรวจวิธีที่ร่างกายของเรามีส่วนร่วมในการสร้างความหมายและประสบการณ์ โดยเน้นว่าร่างกายไม่เพียงเป็นสิ่งที่เรามี แต่เป็นสิ่งที่เราทำและสัมผัส 3. ปรัชญาของประสาทสัมผัส โดย Butler ถกเถียงว่าประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนและโลกภายนอก 4. ประสบการณ์และอารมณ์ Butler เน้นถึงบทบาทของอารม...

Sex and Repression in Savage Society ของ Malinowski

วิชามานุษยวิทยาว่าด้วยเพศและเพศวิถี (Anthropology of Sex and Sexuality ) เตรียมเนื้อหาจะสอนอะไรในเทอมนี้ิ เลือกงานคลาสสิค และงานร่วมสมัยให้นักศึกษาอ่าน และถกเถียงกันในประเด็น Sex, Gender และ Sexuality 1 เล่มคลาสสิคที่ผมเลือกคือ หนังสือ Sex and Repression in Savage Society (1937) เขียนโดย Bronisław Malinowski นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง และเป็นงานวิจัยคลาสสิคทางมานุษยวิทยาที่สำคัญและทรงอิทธิพลที่นำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศและการกดขี่ในสังคมป่าดิบในหมู่เกาะโทรเบรียนด์ (Trobriand Islands) สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้ที่ผมคิดว่าน่าสนใจประกอบด้วย 1. การวิเคราะห์โครงสร้างครอบครัวและความสัมพันธ์ทางเพศ โดยมาลินอฟสกี้สำรวจและอธิบายโครงสร้างครอบครัว ความสัมพันธ์ทางเพศ และการแต่งงานในหมู่เกาะโทรเบรียนด์ โดยชี้ให้เห็นถึงวิธีการที่สังคมเหล่านี้จัดการกับเรื่องเพศและการสร้างครอบครัว ซึ่งแตกต่างจากวัฒนธรรมตะวันตกอย่างสิ้นเชิง 2. การวิจารณ์ทฤษฎีของฟรอยด์ โดยมาลินอฟสกี้วิจารณ์ทฤษฎีของซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เกี่ยวกับปมเอดิปัส (Oedipus complex) โดยเสนอว่าปมเอดิปัสไม่เ...

Margaret Mead และผลงานสำคัญของเธอ

ในวิชามานุษยวิทยาว่าด้วยเพศวิถี มีงานของนักมานุษยวิทยาที่สำคัญที่ผมแนะนำให้นักศึกษาอ่าน เพื่อดีเบตเรื่องชีววิทยา กับวัฒนธรรม ในการประกอบสร้างความเป็นเพศ คนที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือ Margaret Mead Margaret Mead เป็นนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงและผลงานของเธอมีความสำคัญและน่าสนใจหลายเรื่อง นี่คือตัวอย่างผลงานที่น่าสนใจของ Mead 1. Coming of Age in Samoa (1928) ถือเป็นงานวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของ Mead โดยเธอได้ศึกษาวัยรุ่นในหมู่เกาะซามัว และพบว่าการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นในสังคมซามัวนั้นไม่เกิดความเครียดและปัญหามากเท่ากับในสังคมตะวันตก ซึ่งผลงานนี้ทำให้เกิดข้อโต้แย้งมากมายเกี่ยวกับบทบาทของวัฒนธรรมและชีววิทยาในการพัฒนามนุษย์ Coming of Age in Samoa ของ Margaret Mead เป็นหนังสือที่มีอิทธิพลมากในวงการมานุษยวิทยา สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ผมคิดว่าแบ่งออกได้เป็น 1.1 ผลกระทบของวัฒนธรรมต่อการเติบโต โดย Mead เน้นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมในการกำหนดพฤติกรรมและประสบการณ์ของวัยรุ่น แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นในสังคมซามัวเป็นกระบวนการที่ราบรื่นและไม่มีค...

การทำความเข้าใจโลกทัศน์ของคนพื้นเมือง

ยังไม่นอนสังเคราะห์งานศึกษาชุมชนกะเหรี่ยง ไทดำ ลาวลุ่ม ลาวเทิง ที่ตัวเองทำ อยากสังเคราะห์ผ่านแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัยมาเป็นงานวิชาการสักชิ้นหนึ่ง เลยหยิบหนังสือชื่อ The Relative Native: Essays on Indigenous Conceptual Worlds เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความหลายเรื่องที่สำรวจแนวคิดและโลกทัศน์ของชนพื้นเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจความคิดและความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกเขาผ่านมุมมองทางชาติพันธุ์วรรณนา หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนโดย Eduardo Viveiros de Castro ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยาชาวบราซิลที่มีชื่อเสียงในด้านการศึกษาชนพื้นเมืองในแอมะซอน โดยเฉพาะชนเผ่า Araweté และแนวคิดเกี่ยวกับ "perspectivism" ในทางมานุษยวิทยาได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2015 สาระสำคัญของหลังสือเล่มนี้ที่ได้ทบทวนมาประกอบด้วย 1. การทบทวนและสำรวจแนวคิดของชนพื้นเมือง ซึ่งการศึกษาในงานชิ้นนี้เน้นการทำความเข้าใจแนวคิดและความเชื่อของชนพื้นเมืองที่มีความหลากหลาย โดยพยายามเข้าใจจากมุมมองของชนพื้นเมืองเอง ไม่ใช่เพียงแค่มุมมองของนักวิจัยหรือคนนอกเท่านั้น 2. การเน้นความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและความเ...

ความสุขในมิติทางเศรษฐศาสตร์

หากถามว่าความสุขคืออะไร ความสุขอยู่ที่ไหน เราจะบาลานซ์ชีวิตกับการทำงานเพื่อสร้างความสุขอย่างไร ก่อนพาลูกสาวไปเที่ยวผ่อนคลาย ผมคิดว่างานชิ้นนี้ ทำให้เห็นตัวอย่างของความสุขว่าเราสร้างความสุขเองได้ก็จริง แต่สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความสุขก็สำคัญ นี่เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ Anthropology of Hapiness ที่ผมพยามสังเคราะห์โดยใช้มุมมองหลายๆศาสตร์ อันนี้ในทางเศรษฐศาสตร์ แต่พรุ่งนี้จะเขียนมิติทางสังคมวัฒนธรรม …สำหรับผมการเขียนงานเพื่อเติมความคิดนี่ล่ะความสุขของผม หากจะลองเอาเลนส์หรือมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ในหนังสือ Happiness: A Revolution in Economics" ของ Bruno S. Frey แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นด้านเศรษฐศาสตร์ แต่หนังสือเล่มนี้ยังมีมุมมองทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับวิธีที่วัฒนธรรมและโครงสร้างสังคมส่งผลต่อความสุข โดยBruno S. Frey ได้นำเสนอแนวคิดใหม่ในด้านเศรษฐศาสตร์ โดยเน้นการศึกษาความสุข (Happiness) เป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างจากแนวทางดั้งเดิมที่มักเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและรายได้เป็นหลัก สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย 1. การวัดความสุข Frey เสนอว่าความสุขสามารถวัดได้ผ...

มานุษยวิทยาว่าด้วยความสุข : Anthropology of Happiness

ขณะนั่งขนส่งมวลชนมาทำงานในวันที่ฝนพรำ นึกถึงเรื่องที่ผมเขียนเกี่ยวกับความสุขเมื่อวาน และมีนักศึกษาบางคนเคยถามผมว่า อาจารย์คิดว่าความสุขคืออะไร ผมก็บอกว่าความสุขของแต่ละคน แต่ละสังคมไม่เหมือนกัน เราไม่สามารถหานิยามที่ชัดเจนของมัน หรือค่าความสุขกลางที่ให้ทุกคนมีมาตรฐานของความสุขที่เหมือนกันได้ และในขณะเดียวกัน เราก็ไม่สามารถตัดสินคนอื่นว่าสิ่งที่เขามีคือความสุขจริงหรือความสุขจอมปลอม เพราะบางทีสิ่งที่ดูเหมือนจริงก็ปลอมสุดๆ สิ่งที่ดูเหมือนว่าจะเป็นความสุขที่เรามองว่าปลอมก็อาจจะเป็นความสุขจริงๆของเขาได้เช่นกัน ..ผมว่าวิชาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมต้องมีหัวข้อนี้ละคุยกัน และผมเคยร่างหัวข้อบทความเกี่ยวกับความสุขของชาวกะเหรี่ยงโพล่วด้ายเหลือง จังหวัดอุทัยธานี…ไว้บางส่วน ผมนึกถึงงานทางด้านมานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความสุข (แม้ว่าจะมีหนังสือหลายเล่มจะเน้นปัจจัยที่สร้างความสุขมากว่าจะมองความจริงว่าในชีวิตมนุษย์มีทั้งสุขและทุกข์ มีความขัดแย้ง มีการต่อสู้ต่อรองกับความสุขตลอดเวลา ) มีหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจ คือหนังสือเรื่อง The Anthropology of Happiness ที่มีบรรณาธิการคือ Yasmi...

สัตว์กับการรักษาโรค : Animal and Medicine สำรวจวัฒนธรรมต่างๆในโลก

เขาว่าเวลาเหนื่อยให้หาหนังสือสนุกๆอ่าน แต่ถ้าขี้เกียจอ่าน แล้วเอาวางบนหัวมันจะซึมเข้าไปในหัว …ซื้อหนังสือใหม่มา เป็นความสนใจส่วนตัวในเรื่องตำนาน ผี และศาสตร์เร้นลับทางจิตวิญญาณ ***สัตว์ กับการแพทย์แบบโบราณและการรักษาความเจ็บป่วย*** หนังสือ "Animal Medicine: A Curanderismo Guide to Shapeshifting, Journeying, and Connecting with Animal Allies" (2021) โดย Erika Buenaflor เป็นการสำรวจความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณระหว่างมนุษย์และสัตว์ตามประเพณีชามานิกของเมโสอเมริกา หนังสือเล่มนี้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น การเดินทางของวิญญาณ การแปลงร่าง และการใช้สัตว์ในพิธีกรรมการรักษาและการทำนาย Erika Buenaflor นำเสนอแนวทางการเชื่อมต่อกับสัตว์วิญญาณเหล่านี้ผ่านการฝึกฝนต่างๆ เช่น การทำสมาธิ การแปลงร่าง และการตีความความฝัน เพื่อเสริมสร้างตนเองและการรักษาให้สมบูรณ์ โดย Buenaflor ได้จัดทำคู่มือแบบสารานุกรม เรียงตามตัวอักษรสำหรับสัตว์ 76 ชนิด โดยอธิบายถึงของขวัญทางจิตวิญญาณของสัตว์แต่ละชนิด การแพทย์ การเปลียนแปลงรูปร่าง และความหมายเชิงสัญลักษณ์เมื่อสิ่งเหล่านี้ปรากฏในความฝันหรือการมองเห็นขอ...