ขณะคิดเรื่องการปรับปรุงหลักสูตร และทบทวนตัวเองว่าเรากำลังผลิตนักมานุษยวิทยาแบบไหนออกไปข้างนอก และสิ่งที่เราจะต้องเติมในเนื้อหา วิธีการเรียนการสอนในอนาคต ที่ประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กรภาครัฐและเอกชนในอนาคต ผมใช้หนังสือ Riall Nolan หลายเล่ม หนึ่งในเล่มที่ให้ภาพชัดก็คือ Ethnology, Ethnography and Cultural Anthropology (2003)
Riall Nolan (2003) เขียนในหนังสือ Ethnology, Ethnography and Cultural Anthropology ในหัวข้อ Applied and practicing Anthropology โดยได้จัดแบ่งประเภทของ Anthropologist หรือนักมานุษยวิทยา ที่มีการแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ academic anthropologist, applied anthropologist, และ anthropologist practitioner ซึ่งแต่ละกลุ่มมีบทบาทและวิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1.Academic Anthropologist คือคนที่ทำงานเต็มเวลาในมหาวิทยาลัย พูดง่ายๆคืออาจารย์ที่ทำหน้าที่สอน วิจัยและตีพืมพ์ผลงานทางมานุษยวิทยา Academic Anthropologist เรียกว่า นักมานุษยวิทยาเชิงวิชาการโดยบทบาทของนักมานุษยวิทยาเชิงวิชาการมุ่งเน้นการวิจัยและการสอนในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา พวกเขามักทำการวิจัยเชิงทฤษฎีเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคมมนุษย์
รูปแบบวิธีการทำงานหลักของนักมานุษยวิทยาเชิงวิชาการประกอบด้วยการเก็บข้อมูลภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูล และการเผยแพร่ผลการวิจัยในรูปแบบของบทความทางวิชาการและหนังสือ โดยมีจุดมุ่งหมายมุ่งเน้นที่การสร้างองค์ความรู้ใหม่และการพัฒนาทฤษฎีทางมานุษยวิทยาเพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้นในศาสตร์นี้
2. Applied Anthropologist คือคนที่มีสถานะทั้งเป็นอาจารย์หรือนักวิจัยในสถาบันการศึกษา ที่จัดวางตำแหน่งของตัวเองในการทำงานทั้งในสถาบันการศึกษา ด้านการวิจัย และการตีพิมพ์งานวิชาการ ในด้านหนึ่งก็นำความรู้ไปใช้ในการวิจัย การหาความรู้และการแก้ปัญหาบางอย่าง ภายนอกเวลาของการทำงานในสถาบันการศึกษา หรือการทำโปรเจคข้างนอกสถาบัน
โดยพวก Applied Anthropologist ที่เรียกว่า นักมานุษยวิทยาประยุกต์ มีบทบาทสำคัญคือการนำความรู้ทางมานุษยวิทยามาใช้แก้ไขปัญหาจริงในสังคม เช่น ในด้านสุขภาพ การศึกษา การพัฒนาชุมชน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
รูปแบบวิธีการทำงานคือ พวกเขามักทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐบาล องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร หรือองค์กรเอกชน โดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน โดยมีจุดมุ่งหมายเน้นที่การประยุกต์ใช้ความรู้ทางมานุษยวิทยาเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกในโลกแห่งความจริง โดยการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนและการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดีขึ้น
3. Anthropologist Practitioners อาจเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางมานุษยวิทยา ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ที่นำเอาความรู้ทางมานุษยวิทยาไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในงานของตัวเอง ในประเด็นปัญหาเฉพาะบางอย่าง โดยพวก Anthropologist Practitioner ที่เรียกว่านักมานุษยวิทยาปฏิบัติการ โดยบทบาของนักมานุษยวิทยาปฏิบัติการทำงานในหลากหลายบริบทที่ไม่จำกัดเฉพาะในเชิงวิชาการหรืองานประยุกต์ เช่น ในภาคธุรกิจ การตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการบริการลูกค้า
รูปแบบวิธีการทำงาน พวกเขาใช้วิธีการศึกษาภาคสนาม การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์วัฒนธรรมในการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายมุ่งเน้นการนำความรู้และทักษะทางมานุษยวิทยาไปใช้ในสถานการณ์และบริบทที่หลากหลาย เพื่อสร้างประโยชน์ในเชิงปฏิบัติสำหรับองค์กรหรือชุมชนที่พวกเขาทำงานด้วย
ดังนั้นทั้งสามกลุ่มจะเห็นว่ากลุ่มที่ 1-2 จะเป็นพวกที่มีพื้นฐานบน University -based ส่วนกลุ่มที่ 3 จะเป็นกลุ่มที่เรียกว่า Externally-based หรือนอกสถาบันการศึกษา โดยทั้ง applied anthropologist และ practicing anthropologist มีความคล้ายกันตรงที่ ทั้งสองนักต่างก็ทำงานบนโลกที่แท้จริงของปัญหา (real-world problem) แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ นักมานุษยวิทยาประยุกต์ ทำงานภายใต้สถาบันการศึกษาเป็นพื้นฐาน หรือ university academic แต่ practicing anthropologist มีลักษณะเป็นทั้งที่เป็นนายจ้างตัวเอง บ่อยครั้งทำงานเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นคนที่ถูกจ้างงานเต็มเวลาในองค์กรภายนอก พวกเขาเป็น non-academic anthropologist และส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงานลำพังแต่ทำงานร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ
นักมานุษยวิทยาในแต่ละกลุ่มล้วนนี้มีบทบาทที่สำคัญและสนับสนุนกันและกันในการสร้างความเข้าใจที่ครอบคลุมและการนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่หลากหลายเอาเป็นว่าแนวคิดพวกนี้ถกเถียงกันเยอะทางวิชาการในเรื่องการพยายามแยก บางคนอาจจะบอกว่าเขาเป็นทั้งนักมานุษยวิทยา และนักมนุษยวิทยาประยุกต์ บางคนบอกว่าตัวเองไม่ใช่นักมานุษยวิทยาแต่ใช้แนวคิด วิธีการทางมานุษยวิทยาในการทำงานและการแก้ปัญหา บางคนบอกว่าฉันเป็นนักมานุษยวิทยาและไม่ใช่พวกประยุกต์ ...จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ผมชอบเป็นนักเรียนทางมานุษยวิทยา ที่พร้อมจะเรียนรู้ รู้จักเปิดใจ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนและเคารพต่อผู้คนที่แตกต่างหลากหลายมากกว่า
นอกจากนี้ในหนังสือ "Ethnology, Ethnography and Cultural Anthropology" ของ Riall Nolan (2003) ยังแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับศาสตร์และวิธีการศึกษาทางมานุษยวิทยา โดยมีจุดเน้นที่การสำรวจวัฒนธรรมมนุษย์ผ่านมุมมองต่างๆ ทางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงการใช้วิธีการศึกษาภาคสนามเพื่อตรวจสอบและทำความเข้าใจวิถีชีวิตของกลุ่มคนในสังคมต่างๆ โดยละเอียด สาระสำคัญของหนังสือมีดังนี้เช่น
1. การแนะนำมานุษยวิทยาให้ผู้อ่านรู้จักกับสาขาวิชามานุษยวิทยาในฐานะศาสตร์ที่ศึกษามนุษย์ทั้งในด้านชีววิทยา วัฒนธรรม และพฤติกรรม
2. การอธิบาย Ethnology (ชาติพันธุ์วิทยา) ว่าเป็นการศึกษาและเปรียบเทียบวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อหาความเหมือนและความแตกต่างระหว่างกลุ่มคน โดยอาศัยข้อมูลจากการศึกษา Ethnography ที่ได้มาจากการสังเกตและสัมภาษณ์
3. Ethnography (ชาติพันธุ์วรรณนา) เป็นวิธีการศึกษาภาคสนามที่นักมานุษยวิทยาใช้เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิถีชีวิต ประเพณี และการปฏิบัติทางสังคมของกลุ่มคนที่กำลังศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบใกล้ชิดฃ
4. Cultural Anthropology (มานัษยวิทยาวัฒนธรรม ) เป็นการศึกษาวัฒนธรรมมนุษย์โดยเน้นการวิเคราะห์ระบบความเชื่อ ค่านิยม และประเพณีต่างๆ ของสังคม โดยพิจารณาว่าวัฒนธรรมส่งผลต่อพฤติกรรมและความคิดของมนุษย์อย่างไร
5. วิธีการศึกษาภาคสนาม (Field Work) หนังสืออธิบายถึงขั้นตอนและเทคนิคต่างๆ ในการทำงานภาคสนาม รวมถึงการเก็บข้อมูล การสัมภาษณ์ การสังเกต และการจดบันทึก นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนที่ศึกษาด้วย
6. กรณีศึกษา (Case Study) มีการนำเสนอกรณีศึกษาจากการวิจัยจริงในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและวิธีการทางมานุษยวิทยาในสถานการณ์จริง
7. บทบาทของมานุษยวิทยาในสังคมร่วมสมัย ที่พูดถึงบทบาทของมานุษยวิทยาในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะการนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคม การพัฒนาชุมชน และการทำงานในองค์กรต่างๆ
หนังสือเล่มนี้และหลายเล่มของ Riall Nolan จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับนักศึกษามานุษยวิทยา นักวิจัย และผู้ที่สนใจในการศึกษาวัฒนธรรมและสังคมของมนุษย์ผ่านวิธีการทางมานุษยวิทยา
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น