26 มิถุนายนของทุกปี ในระดับโลก ถือว่าเป็น “วันช่วยเหลือเหยื่อจากการทรมานสากล” (International Day in Support of Victims of Torture) ในเมืองไทยเรียกว่า “วันต่อต้านการทรมานสากล” ผมลยนึกถึงงานชิ้นนี้ เพราะเมื่อตอนสอนวิชามานุษยวิทยาเรื่องร่างกายเคยรีวิวงานเอาไว้..
หนังสือ The Body in Pain: The Making and Unmaking of the World (1985) โดย Elaine Scarry ถือเป็นงานวิเคราะห์ทางปรัชญาและวรรณกรรมที่สำรวจธรรมชาติของความเจ็บปวดและการทรมาน โดย Scarry สำรวจวิธีที่ความเจ็บปวดที่สามารถทำลายโลกของบุคคลและวิธีที่ภาษาสามารถสร้างหรือทำลายโลกของเราได้เช่นกัน หนังสือแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ ดังนี้
ส่วนแรกของหนังสือ คือภาค The Unmaking of the World โดย Scarry มองว่า ความเจ็บปวดและการทำลายล้าง Scarry อธิบายว่าความเจ็บปวดมีลักษณะที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด มันทำลายความสามารถของบุคคลในการสื่อสารและเชื่อมโยงกับโลกภายนอก ความเจ็บปวดทำให้บุคคลสูญเสียความเป็นตัวเองและทำให้โลกของพวกเขาถูกทำลายโดยสิ้นเชิง
ในส่วนนี้ยังพูดการทรมาน โดย Scarry วิเคราะห์วิธีที่การทรมานถูกใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมและทำลายบุคคล การทรมานทำให้ผู้ถูกทรมานสูญเสียความสามารถในการสื่อสารและทำให้พวกเขารู้สึกว่าโลกของพวกเขาถูกทำลายอย่างสมบูรณ์
ส่วนที่สองของหนังสือ คือ The Making of the World คือ การสร้างโลกด้วยภาษา โดย Scarry สำรวจวิธีที่ภาษาสามารถสร้างและฟื้นฟูโลกของบุคคล ความสามารถในการสื่อสารความเจ็บปวดและประสบการณ์ต่าง ๆ ผ่านภาษามีบทบาทสำคัญในการสร้างและรักษาโลกของเรา
ในส่วนนี้มีการกล่าวถึงประเด็นเรื่องการสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์ โดย Scarry อธิบายว่าการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมและศิลปะเป็นวิธีที่มนุษย์สามารถฟื้นฟูโลกของตนเองหลังจากประสบความเจ็บปวดหรือการทำลายล้าง
ประเด็นสำคัญ คือความเจ็บปวดเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากความเจ็บปวดทำให้บุคคลสูญเสียความสามารถในการสื่อสารและทำลายความเชื่อมโยงกับโลก ในขณะที่การทรมานเป็นวิธีที่รัฐหรือผู้มีอำนาจใช้ในการควบคุมและทำลายบุคคล ดังนั้นการทรมานทำให้ผู้ถูกทรมานสูญเสียความเป็นตัวเองและทำให้โลกของพวกเขาถูกทำลาย
ในขณะเดียวกัน เราจะพบว่า ภาษามีบทบาทสำคัญในการสร้างและฟื้นฟูโลกของบุคคล ความสามารถในการสื่อสารและแบ่งปันประสบการณ์ผ่านภาษาสามารถฟื้นฟูและสร้างสรรค์โลกใหม่ ดังนั้้นการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมและศิลปะเป็นวิธีการฟื้นฟูหลังจากประสบความเจ็บปวด โดยมนุษย์ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อฟื้นฟูและสร้างโลกของตนใหม่หลังจากประสบความเจ็บปวดหรือการทำลายล้าง
Elaine Scarry มีมุมมองและตัวอย่างเชิงรูปธรรมหลายตัวอย่างที่อธิบายเกี่ยวกับความเจ็บปวดและการทรมาน อาทิเช่น
1. การทรมานเป็นเครื่องมือในการควบคุม
Scarry อธิบายกรณีการทรมานในระบบการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะในรัฐเผด็จการ เธอให้ตัวอย่างของการทรมานในคุกต่างๆ ที่ผู้ถูกทรมานสูญเสียความสามารถในการสื่อสาร และผู้ทรมานใช้ความเจ็บปวดเป็นเครื่องมือในการทำลายความเป็นตัวตนและความเชื่อมั่นของผู้ถูกทรมาน
2. การทำลายล้างผ่านความเจ็บปวด
Scarry ให้ตัวอย่างของผู้ป่วยที่ประสบความเจ็บปวดอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง โดยความเจ็บปวดนี้ทำให้พวกเขาสูญเสียความสามารถในการสื่อสารและเชื่อมโยงกับโลกภายนอก สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าความเจ็บปวดสามารถทำลายความเป็นตัวตนและโลกภายในของบุคคลได้อย่างไร
3. การสร้างโลกใหม่ผ่านภาษาและการสร้างสรรค์
Scarry พูดถึงงานศิลปะและวรรณกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความเจ็บปวดและประสบการณ์ของผู้คน ตัวอย่างเช่น วรรณกรรมที่เขียนขึ้นหลังสงครามหรือหลังจากประสบกับความทุกข์ทรมาน ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เหล่านี้ได้
4. การใช้ภาษาของผู้ถูกทรมาน โดยตัวอย่างที่ Scarry ให้คือการที่ผู้ถูกทรมานพยายามใช้ภาษาและสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อสื่อสารความเจ็บปวดของตน แม้ว่าความเจ็บปวดจะทำให้ยากต่อการสื่อสาร แต่ความพยายามนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาษาที่ยังคงสามารถสร้างความหมายและเชื่อมโยงกับผู้อื่นได้
5. การทรมานในระบบเผด็จการ โดย Scarry กล่าวถึงกรณีของระบบเผด็จการที่ใช้การทรมานเพื่อควบคุมและข่มขู่ประชาชน ตัวอย่างเช่น การทรมานในระบอบการปกครองของอาร์เจนตินาในช่วง "Dirty War" ซึ่งรัฐบาลทหารใช้การทรมานเพื่อขจัดความขัดแย้งและควบคุมกลุ่มคนที่ต่อต้านรัฐบาล ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการทรมานทำให้ผู้ถูกทรมานสูญเสียความสามารถในการสื่อสารและสร้างความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน
การถูกทำให้รู้สึกไม่มีค่าและสูญเสียความเป็นมนุษย์ ทำให้โลกของพวกเขาถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง
6. การทรมานทางจิตวิทยาโดย Scarry อธิบายถึงการทรมานที่ไม่ใช่แค่ทางกายภาพ แต่ยังรวมถึงทางจิตวิทยา สภาวะทางจิตใจด้วย เช่น การใช้การกักขังเดี่ยวหรือการข่มขู่ ซึ่งสามารถทำลายจิตใจและความสามารถในการสื่อสารของผู้ถูกทรมานได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ต้องขังที่ถูกกักขังในห้องเล็กๆ โดยไม่มีแสงสว่างหรือการติดต่อกับโลกภายนอก
7.การสร้างโลกใหม่ผ่านศิลปะและวรรณกรรมโดย Scarry ยกตัวอย่างของนักเขียนและศิลปินที่ใช้ผลงานของพวกเขาเพื่อสะท้อนและสื่อสารประสบการณ์ความเจ็บปวด ตัวอย่างหนึ่งคือ Franz Kafka ที่ใช้วรรณกรรมเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกของการถูกกดขี่และความเจ็บปวดที่ไม่มีวันจบสิ้น
8.การใช้ภาษาเพื่อฟื้นฟู โดย Scarry ยกตัวอย่างของผู้รอดชีวิตจากการทรมานที่พยายามใช้ภาษาเพื่อบรรยายความเจ็บปวดของพวกเขา ตัวอย่างเช่น ผู้รอดชีวิตจากการทรมานในสงครามเวียดนามที่เขียนบันทึกหรือบทกวีเพื่อสื่อสารประสบการณ์ของพวกเขา
หนังสือของ Scarry ใช้ตัวอย่างเหล่านี้เพื่ออธิบายถึงวิธีที่ความเจ็บปวดและการทรมานสามารถทำลายความเป็นตัวตนและโลกของบุคคล และวิธีที่ภาษาและการสร้างสรรค์สามารถใช้เพื่อฟื้นฟูและสร้างโลกใหม่ได้
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น