ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จาก ethnography to Appnography นัฐวุฒิ สิงห์กุล

โลกเปลี่ยน ปฎิสัมพันธ์ของผู้คนเปลี่ยน วิธีการทำงานก็เปลี่ยนไป ในฐานะคนทำงานAcademic ต้องอ่าน เมื่ออ่านแล้วเขียน เพื่อเก็บประเด็นทำเล่มเต็มต่อไป การวิจัยและสนามออนไลน์ทำให้ผมนึกถึงคำว่า “digital ethnography” “cyberethnography” หรือ”discourse-centred online ethnography “internet ethnography” “ethnography on the internet” “ethnography of virtual spaces” (Murthy, 2008 ,Burrel, 2009, Robinson & Schulz, 2009, Androutsopoulos, 2008 ) ในการศึกษาในพื้นที่ออนไลน์แล้วแต่จะเรียกกันในแต่ละสำนัก เวลาเราพูดถึงพื้นที่เหล่านี้ เราจะเห็นการปะทะกันของ สิ่งต่างๆบนพื้นที่ของอินเตอร์เน็ต อาทิมโนทัศน์เรื่องพื้นที่ออนไลน์ กับ พื้นที่ออฟไลน์ คอมพิวเตอร์ กับโทรศัพท์มือถือ ความจริงในสังคมเสมือนจริง (Virtual reality) กับความจริงทางวัตถุ (Material reality) พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographical space) กับพื้นที่ ไซเบอร์ (Cyberspace) และอื่นๆ รวทั้งกิจกรรมและดำรงอยู่ในพื้นที่ออนไลน์ทีมีลักษณะเป็นความจริงของการประกอบสร้างทางสังคม (social construction) ที่ถูกประกอบสร้างและดำรงอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ทางสังคม ตัวเราในฐานะผู้กระทำการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตจนกลายเป็นชีวิตที่สอง (Second life) ของเราไป ในขณะเดียวกันเรายังพบข้อถกเถียงในพื้นทีออนไลน์ การเคลื่อนไหวทางสังคมในประะด็นเรื่องเพศ การต่อต้านความรุนแรง เรื่องเชื้อชาติ สีผิว การถกเถียงแนวความคิดชายเป็นใหญ่ และอื่นๆ กิจกรรมเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา สุขภาพ การบันเทิงและพักผ่อนหย่อนใจ การ สร้างเครือข่ายและชุมชน อีกทั้งพื้นที่ออนไลน์ยังสะท้อนการสร้างและการนำเสนอตัวตน อัตลักษณ์ของกลุ่มต่างๆต่อสาธารณะ หากเราเข้าใจญาณวิทยาของสิ่งเหล่านี้ เราก็สามารถออกแบบระเบียบวิธีวิจัยได้อย่างเหมาะสมในการทำงานชาติพันธุ์วรรณาในยุคโควิด หรือการศึกษาหรือสืบค้นความสัมพันธ์ระหว่างแนวปฏิบัติในการเขียนรูปแบบใหม่ของคนหนุ่มสาวกับการพัฒนาอัตลักษณ์บน Twitter ทีเราจะพบว่ามีคนรุ่นใหม่เข้าร่วมปฏิบัติการในการเขียนแบบใหม่ๆ 3 แนวทาง (การทวีตสด การใช้แฮชแท็ก และการแชร์ข้อมูล) ในรูปแบบพิเศษดังกล่าวเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ตามแนวทางของสตรีนิยมในพื้นที่โซเชียลมีเดียนี้ ที่นำพวกเขาเข้าไปสู่การเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับประเด็นความเคลื่อนไหวแบบสตรีนิยม เช่น เรื่องช่องว่างค่าจ้าง เพื่อมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคม หรือเช่นกรณีการสนับสนุนการดูแลด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิง และเพื่อให้คำปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการแก่เพื่อนฝูง เป็นต้น ดังนัน Twitter สามารถเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับคนหนุ่มสาวในการบ่มเพาะความคิดแบบสตรีนิยม ผมสนใจมอง twitter ในฐานะพื้นที่การฝึกปฏิบัติทางด้านภาษาในบริบทของการเคลื่อนไหวของสตรีนิยมบน Twitter ได้ทำให้Twitter กลายเป็นสื่อหลักสำหรับการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง และเป็นแหล่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาที่ใช้สื่อดิจิทัลกับการสร้างเอกลักษณ์ การมองพื้นที่ออนไลน์เสมือนพื้นที่ของการแสดงความสัมพันธ์และการกระทำทางสังคม เป็นพื้นที่ที่สะท้อนความหมายของสังคม การทำวิจัยออนไลน์ทำอย่างไรจะไม่ให้เป็นเพียงการวิจัยหน้าจออย่างเดียว แต่ต้องผสมผสานวิธีการศึกษาทางกายภาพ การสังเกตการณ์ในชีวิตประจำวันด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นอีเมล ข้อความแชท ข้อความสั้น ก็ต้องเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ออนไลน์และออฟไลน์ได้ รวมทั้งการสร้างความค้นเคยสนิทสนม การทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นคนคุ้นเคยได้อย่างไรในการเก็บข้อมูลภาคสนาม ปัญหาคือเมือผู้ศึกษาและทำสนามออนไลน์โพสต์ นักชาติพันธุ์วิทยาหลายคนมักจะถูกทิ้งให้รอคำตอบ เพื่อที่จะเรียนรู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรและจะต้องเปลี่ยนแปลงการทำงานของตัวเองอย่างไร ดังเช่นงานมานุษยวิทยาในช่วงโควิด มีลักษณะของ Anthropology From Home หรือในแบบที่เปลี่ยนแปลงจาก ethnography สู่ 'appnography' ที่เป็นคำที่ถูกใช้ในงานของ Cousineau และคณะ (2019) ในบทความชื่อ ‘Appnography: Modifying Ethnography for App-Based Culture’ ที่อยู่ในหนังสือ Digital Dilemmas: Transforming Gender Identities and Power Relations in Everyday Life. แม้ว่าชาติพันธุ์วิทยาดิจิทัลจะดูเหมือนเป็นสิ่งที่ต้องทำเมื่อต้องอยู่บ้านตามลำพัง ห่างไกลจากงานภาคสนาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะทำได้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถบันทึกงานสนามได้โดยการทำแบบดิจิทัลบางส่วนหรือทั้งหมด ไม่ใช่นักมานุษยวิทยาทุกคนที่ยอมรับในความเป็นชาวดิจิทัลที่อาจปรับตัวให้เข้ากับการทำชาติพันธุ์วิทยาที่บ้านผ่านระบบดิจิทัลได้ เช่นเดียวกับงานภาคสนามที่ไม่ใช่ดิจิทัลซึ่งก็อาจมีปัญหาในแง่ของความสัมพันธ์ได้ ความถูกต้องน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้รับ แม้ว่าจะเห็นหน้าค่าตากันก็ตาม แต่ก็มีบางสิ่งที่ผู้ให้ข้อมูลปิดบังหรือไม่เล่า หรืองานดิจิตัลที่เป็นแบบนิรนามในตัวบุคคลก็อาจจะกล้าบอกเล่า ความจริงมากกว่าการต้องเจอหน้าคุยกัน... งานภาคสนามดิจิทัลต้องใช้เวลาและยังมีข้อผิดพลาดหรือจุดอ่อนมากมายให้ได้เรียนรู้ ซึ่งก็มีการพยามพัฒนาระเบียบวิธีการเพื่อแก้ปัญหาจุดอ่อนเหล่านี้ แต่ก็ถือเป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ที่ท้าทายในช่วงเวลาที่เราอาจไม่มีทางเลือกมากนักในการทำงานสนาม ..หากเราในฐานะนักมานุษยวิทยาต้องการทำงานภาคสนามด้านชาติพันธุ์วิทยาต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้…

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...