ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2021

จิตวิทยาว่าด้วยความเครียด โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

  วิชาหนึ่งในมานุษยวิทยาการแพทย์ที่เรียนมา วิชาย่อยที่ผมชอบคือ จิตวิทยา...ส่วนหนึ่งจากการอ่านทบทวนงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สุดแต่ก็มีมุมมองให้วิพากษ์และตั้งคำถามเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมและความเป็นมนุษย์ หากว่างจะะยอยเอาแนวคิดมานุษยวิทยาการแพทย์ที่เรียนและอ่านมาลง ...ความเครียด (Stress) สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยได้อย่างไร... ความเครียดเป็นแนวความคิดที่มีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต ที่มองว่า ความรู้สึกหรืออารมณ์สามารถส่งผลต่อสุขภาพหรือความเจ็บป่วยทางร่างกายได้ ยิ่งในปัจจุบันแบบแผนของความเจ็บป่วยได้เปลี่ยนแปลงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ (Infectious disease) มาสู่การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดเชื้อและโรคเรื้อรัง ( Non-infectious and Chronic Illness) ที่ทำให้ประเด็นในเรื่องของความเครียดถูกนำมาอธิบายอย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งความเครียดมีข้อสมมติฐานว่า เกี่ยวข้องกับคุณภาพของสิ่งเร้าหรือสิ่งที่มากระตุ้นจากภายนอก เช่น ภาวะกดดันจากการทำงาน หรือความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการอ้างอิงกับเรื่องของการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น การทำงานที่เป็นสาเหตุของความเครี...

แนวคิดทฤษฎีมานุษยวิทยาการแพทย์เชิงวิพากษ์ (Critical Medical Anthropology Approach) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

  แนวคิดทฤษฎีมานุษยวิทยาการแพทย์เชิงวิพากษ์ (Critical Medical Anthropology Approach) พัฒนามาจากการวิพากษ์จุดอ่อนของมานุษยวิทยาการตีความ ซึ่งเน้นอยู่ที่การมองระบบวัฒนธรรมสุขภาพในลักษณะดุลยภาพภายใต้องค์ประกอบที่ก่อร่างเป็นระบบวัฒนธรรมสุขภาพ โดยละเลยความสัมพันธ์ในเชิงของอำนาจที่ดำรงอยู่ท่ามกลางความจริงทางการแพทย์ที่ถูกประกอบสร้างขึ้นมา รวมทั้งขาดการพิจารณาการดำรงอยู่ของการครอบงำอุดมการณ์ทางการแพทย์ในสังคม เพราะอำนาจและความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบบวัฒนธรรมสัมพันธ์กับโครงสร้างที่กำหนดให้กลุ่มหรือสถาบันในสังคมมีอำนาจแตกต่างกัน (โกมาตร,2549:27) ดังเช่นที่ Bear (1997) ยืนยันถึงการขาดความใส่ใจในการพิจารณาโครงสร้างเชิงสังคมของประสบการณ์และการตีความหมายที่เป็นปัญหาในการอธิบายของ Byran Good การมองที่ยึดมั่นความเป็นองค์ประธานของความรู้ (Subject of Knowledge) มากกว่าที่จะมองว่าความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างให้มีสถานะเป็นวัตถุแห่งความรู้ (Object of Knowledge)และขุมขังเอาไว้ในประสบการณ์ของมนุษย์ ที่ทำให้การตีความการเจ็บป่วยมีลักษณะของประสบการณ์การตีความภายในตัวขององค์ประธานหรือตัวผู้ป่วยเอง...

มองชุมชนกะเหรี่ยงผ่านแนวคิดทางมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

  Sherry B. Ortner (1984) เขียนใน Theory in Anthropology since the Sixties กล่าวถึงแนวโน้มของแนวคิดทางทฤษฎีที่ก่อต่อขึ้นในงานศึกษาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในช่วงศตวรรษที่ 21 ที่ถูกเรียกว่าเป็นแนว ปฏิบัติการหรือการกระทำการ ( Practice, Action หรือ Praxis ) ที่นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาหันมาให้ความสนใจกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำการและโครงสร้าง... ปฏิบัติการที่ว่า ไม่ได้แค่หมายถึงสิ่งที่ผู้คนกระทำ แต่ทว่าปฏิบัติการหรือการกระทำเหล่านั้นล้วนมีนัยทางการเมือง ทั้งที่เจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจคือ ปฏิบัติการนั้นๆได้ทำการก่อรูประบบ การผลิตซ้ำระบบ และสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อระบบ... ในอดีตการศึกษาทางมานุษยวิทยานั้น ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมในฐานะพื้นที่ของการผลิตซ้ำเชิงคุณค่าและบรรทัดฐานของสังคม ดังที่ออทเนอร์ก็มองว่าพิธีกรรมดังกล่าว ก็คือการกระทำของมนุษย์แบบหนึ่ง แต่ทฤษฎีปฏิบัติการ สนใจศึกษาการผลิตซ้ำวัฒนธรรมในชีวิตปกติประจำวันของมนุษย์ ไม่ใช่แค่เพียงในพิธีกรรมเท่านั้น... ความน่าสนใจคือวิถีปฏิบัติของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีมาก่อนมาตรฐานทางสังคมหลักและกฏหมายที่ถูกกำหนดในปัจจุบัน ...

Who Gets to Study Whom? ในงานศึกษาทางมานุษยวิทยา โดยนัฐุวุฒิ สิงห์กุล

  Who Gets to Study Whom? ใครควรเข้าไปศึกษาใครกันแน่? สนามของนักมานุษยวิทยา สะท้อนการพยามยามทำความเข้าใจผู้คน สังคม วัฒนธรรมอื่น ผ่านการปะทะกันของผู้คนสองวัฒนธรรม ภายใต้ความเป็นพวกเขา พวกเรา หรือความเป็นพวกเขาในพวกเรา ทั้งผู้ศึกษาตะวันตกผิวขาว กับคนพื้นเมือง กลุ่มชาติพันธุ์ในซีกโลกอื่น ตั้งแต่ยุคของการล่าอาณานิคม...ในปัจจุบันแม้ว่าในอดีตจะมีงานที่ซึกษาคนอื่น เพื่อเข้าใจคนอื่นและตัวเรา เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างหลากหลาย ในฐานะของเพื่อนมุษย์ แต่ทว่าวิธีคิดแบบอาณานิคม การเลือกปฎิบัติ การเหยียดผิว เหยียดเพศ ก็ยังคงดำรงอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย ดังเช่นกรณีของ นักศึกษาปริญญาเอกชื่อ Chisomo Kalinga ที่ศึกษาแผนกมานุษยวิทยาการแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจน์ ลอนดอน ตัวเธอต้องการศึกษาวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย เกี่ยวกับเรื่องเล่าในประเด็นเอดส์และเอชไอวีในอเมริกา แต่ก็ไม่มีใครหรือแหล่งทุนไหนที่สนใจและให้ทุนกับเธอ จนกระทั่ง วันหนึ่งมีแหล่งทุนหนึ่งในมหาวิทยาลัย สนใจที่จะให้ทุนเธอทำวิจัย แต่มีเงื่อนไขว่าเธอต้องไปศึกษาที่ Malawi ในแอฟริกา ไม่ใช่ที่อเมริกาซึ่งเป็นประเทศในตะวันตก ทำให้เธอต้อ...

แด่หนุมสาวนักต่อสู้ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 แ ด่หนุ่มสาว... เมื่อผู้ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายการพัฒนาที่ถูกกล่าวอ้างและถูกปฎิบัติในนามของชาติ พวกเขานั้นไม่ได้รู้สึกถึงสิ่งที่ตัวเองได้รับ ดังนั้นพวกเขาอาจไม่ได้รู้สึกผูกพันหรืออินกับคำว่าชาติเสียแล้ว...และมันก็คงเป็นเรื่องยากในการบอกให้ประชาชนเหล่านั้นเสียสละหรือเข้าร่วมพันธกิจต่างๆที่ถูกกล่าวอ้างว่าจะช่วยสร้างความเจริญเติบโตและมั่นคงต่อสิ่งที่เรียกว่าชาติอีกต่อไป.... การลดน้อยถอยลงของอุดมคติหรืออุดมการณ์ จินตนาการว่าด้วยความเป็นชาตินั้น คงไม่ได้เกิดจากปัญหาทางด้านวัฒนธรรมหรือจิตสำนึก แต่สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่คือ เรื่องของความชอบธรรมแห่งรัฐและระบอบการเมืองนั่นเอง... การเคลื่อนไหวของประชาชนในทางการเมือง นับแต่ชาวบ้านในชนบทที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา การถูกอำนาจรัฐและทุน ทำให้พวกเขาหายไปจากพื้นที่การต่อสู้ด้วยวิธีการที่รุนแรง ป่าเถื่อน ดังกรณีที่เกิดขึ้นในยุคที่อ้างถึงภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในช่วงเหตุการณ์ 6 และ14 ตุลาคม ที่แสดงให้เห็นความต้องการเปลี่ยนแปลงของประเทศและสังคมแบบประชาธิปไตย หรือการเคลื่อนไหวในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ถือว่าเป็นการขุมนุมข...

สิ่งที่น่าสนใจในหนังสือ The turning point..ของคาปร้า โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

  Capra เขียน The turning point...ที่พูดถึงและวิพากษ์ทัศนะแม่บทหรือกระบวนทัศน์แบบตะวันตกที่ส่งผลต่อวิธีคิด มุมมองต่อโลก และการนำไปใช้สำหรับจัดระเบียบวัฒนธรรม สังคมและการเมือง...กระบวนทัศน์ดังกล่าวในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติในช่วงศตวรรษที่19-20 ท้ายที่สุดได้นำพามนุษย์ไปสู่ส่งคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ในเอเชีย แอฟริกา ความขัดแย้งและความรุนแรงต่างๆที่ไม่มีวันสิ้นสุดตลอดประวัติศาสตร์ของโลก ความคิดภายใต้ตรรกะแบบครอบงำของตะวันตก เมื่อหันกลับมามองที่วิธีคิดแบบตะวันออก ที่มุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ สรรพสิ่งต่างๆและโลกและเติบโตไปพร้อมกัน จริงๆแล้วทัศนะแบบตะวันออก ก็ไม่ได้ต้องการสถาปนาตัวเองเป็นทัศนะแม่บทใหม่ที่เข้ามาแทนที่ทัศนะแบบตะวันตก หากแต่ขอเป็นทัศนะทางเลือกแห่งอนาคต... คาปร้า พูดถึงวิกฤตการณ์ทางวัฒนธรรม ว่าการที่เราจะเข้าใจเรื่องนี้ เราต้องใช้ทัศนะมุมมองที่กว้างที่สุด ลึกที่สุด ทั้งการเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโครงสร้างสังคมที่อยู่นิ่งตายตัว เป็นการมองโลกและโครงสร้างทางสังคมในลักษณะที่เปลี่ยนแปลงเป็นพลวัตรไม่หยุดนิ่ง.... การปรับมุมมมอง ในเรื่องวิกฤตการณ์ว่าคือเหรียญอีกด้านหนึ่งของการเ...

บ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยง โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

  บ้านเรือนและสถาปัตยกรรมของชุมชนกะเหรี่ยงมีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติ ทั้งการใช้วัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายนำมาใช้เป็นโครงสร้างของบ้าน ผนัง ฝ้าเพดาน หลังคา รวมถึงบันได และพื้นบ้าน ในขณะเดียวกันพื้นที่ปลูกบ้าน หรือการปลูกบ้านก็จะต้องเสี่ยงทายโดยการบอกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ เช่นเดียวกับการหาพื้นที่เพาะปลูก.. ความสัมพันธ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์มิติทางจิตวิญญาณกับธรรมชาติ ชาวกะเหรี่ยงมีวิธีการเลือกพื้นที่ปลูกบ้านที่เชื่อมโยงกับความอ่อนน้อมถ่อมตนของพวกเขาต่อธรรมชาติ การเลือกทำเลตั้งบ้านหรือเพาะปลูกขึ้นอยู่กับสิ่งเหนือธรรมชาติยินยอมหรืออนุญาต มากกว่าที่ตัวเองจะสามารถกำหนดได้เอง การเลือกพื้นที่ปลูกบ้านจะต้องไม่ปลูกทับลําห้วย (ที่คี่ขวาจุ) ต้นน้ํา (ทีคี่) จอมปลวก หรือการปลูกบ้านใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่เกิดขึ้นบริเวณบ้านจนเงาทับตัวบ้าน ชาวกะเหรี่ยงก็มักจะขยับขยายออกไปอยู่ในท่ีแห่งใหม่เพื่อให้ไม่เบียดเบียนต้นไม้ จนมีคํากล่าวว่ากะเหรี่ยงมีความรู้สึกต่อธรรมชาติ ส่ิงแวดล้อมเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนคนในยุค ปัจจุบันท่ีถ้าจะสร้างบ้านก็จะตัดต้นไม้ทิ้ง...

ความเจ็บป่วยกับสังคม โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ร่ างกาย : ความเจ็บป่วยทางร่างกายและความเจ็บป่วยทางสังคม บทความเรื่องบนความเจ็บป่วยและความรุนแรงเชิงโครงสร้าง มุมมองจากข้างล่าง( On Suffering and Structural Violence : A View from Below) เขียนโดยนายแพทย์และนักมานุษยวิทยา อย่าง Pual Farmer ซึ่งปรากฏในหนังสือชื่อ The anthropology of politics. A Reader in Ethnography,Theory and Critique (2002) ที่มี Joan Vincent เป็นบรรณาธิการ บทความชิ้นนี้เป็นงานของ Paul Farmer แพทย์และนัก มานุษวิทยาที่สนใจมองลงไปที่ความเจ็บป่วยที่ไม่ได้มีสาเหตุหรือเกิดจากตัวเชื้อโรค อย่างที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเชิงกายภาพและชีววิทยา พยายามอธิบายเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ที่เรียกภาวะความผิดปกติ โดยมีเชื้อโรค ทั้งจากไวรัสและแบคทีเรีย เป็นตัวแปร สําคัญที่ทําให้เกิดภาวะการเจ็บป่วยของมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว.... แต่ Paul Farmer กลับมองว่า สาเหตุของโรคภัยเจ็บที่มนุษย์กําลังเผชิญอยู่ มีนัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย และเป็นสาเหตุ สําคัญที่ทําให้คนตกอยู่ในสภาวะผิดปกติ มีเชื้อโรคและเกิดภาวะที่เรียกว่าความ “เจ็...