วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

พอทแลตท์ (Potlatch)วัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนของชนพื้นเมือง โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล


พอทแลตท์ (The Potlatch)
พอทแลตท์คือรูปแบบชองการแลกเปลี่ยนของขวัญที่เป็นการเฉลิมฉลองที่ถูกใช้ในกลุ่มคนพื้นเมืองใน North- Western coast of British Columbia ชนพื้นเมืองTlingit, Haida ,Tsimshianและ Kwakiutl (Kwakwaka'wakw)
เนื่องจากของขวัญทั้งหมดในธรรมเนียมประเพณีของ potlatch ต้องใช้เวลาหลายปีในการเตรียมการ พิธีพอทแลตที่ถูกจัดขึ้นอย่างใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในปี1921 ที่ใช้เวลาเตรียมงานถึง17ปีด้วยกัน ในงานPotlatch ปัจจุบันใช้เวลาเตรียงานประมาณ1ปีและใช้เงินจัดงานประมาณ$10,000.
ความหมายของ POTLATCH จึงหมายถึง การจัดเลี้ยงอาหาร (to feed) หรือการบริโภค( to consume) โดยพิธีดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในช่วงชีวิต(the life cycle) เช่นพิธีกรรมแรกรับ(Initiations) การแต่งงาน (marriages) การสร้างบ้าน (house building,)และพิธีกรรมความตาย(funerals
เหตุการณ์ของความฟุ่มเฟือย (Extravagant event)
จำนวนของอาหารที่มากมาย (Large amounts of food) รวมถึงของขวัญที่ถูกจัดเตรียมไว้ให้กับแขก ดังเช่น หน้ากากและงานศิลปหัตถกรรม (masks and art work made) โดยเจ้าบ้าน(host)ที่จะต้องจัดเตรียมของขวัญให้กับแขก(gifts for the guests)
งานเฉลิมฉลอง

งานเลี้ยงอาหารและแจกของ



ตัวอย่างภาพงานPotlatch ของชาวเผ่าอินเดียน และหน้ากากที่เป็นของขวัญสำหรับผู้ร่วมงาน
ความสำคัญหรือความหมายทางสังคม(Social Significance)ของPotlatch
พอทแลตท์คือระบบของการแลกเปลี่ยนของขวัญ โดยสินค้าเชิงวัตถุ(Material goods) ที่ทำการแลกเปลี่ยนมีจุดมุ่งหมายของการแลกเปลี่ยนเพื่อการรับรู้ทางสังคม(Social Recognition)และนัยทางอำนาจ(power)  ตัวอย่างเช่น ในการให้กลับคืนสำหรับอาหารและสิ่งของ ซึ่งสิ่งที่พวกเขาจะได้รับกลับไปคือสถานภาพทางสังคม(Social status) ความมั่งคั่งของพวกเขา และเชื้อสาย(lineage)ของพวกเขา ดังนั้นพอทแลตท์สัมพันธ์กับภาพของความอวดรวยและเป็นสิ่งที่มีการแข่งขันกันสูงมากในสังคมชนเผ่า (Potlatches become very competitive) โดยความต้องการของผู้นำในการใช้ประโยชน์จากการแข่งขันพอทแลตท์เพื่อที่จะขยับสถานภาพให้สูงมากขึ้นและยืนยันถึงอำนาจของตัวเอง
              ความหมายที่อยู่เบื้องหลังของขวัญเหล่านี้ ประกอบด้วย เรื่องของชนชั้น (Class) การเลือนสถานภาพทางสังคม (Social mobility) สัมพันธ์กับพิธีกรรมเช่นการแต่งงาน( Matrimony) ระบบอุปถัมภ์(Patronage) การใช้จ่าย(employment) ประเด็นของรูปแบบ(issue of style) และธรรมเนียมประเพณีของการให้ของขวัญ(convention of gift-giving) ดังนั้นการแลกเปลี่ยนของขวัญไม่ได้ดำเนินการใสอดคล้องกับกฏของการตลาดแต่สัมพันธ์กับกฏเกณฑ์ทางสังคมขงเรื่องอำนาจ(power) ระบบสัญลักษณ์(Symbol) ธรรมเนียม(convention) มารยาท(Etiquette) พิธีกรรม(ritual) บทบาทและสถานภาพ (role and status)
 อะไรคือสิ่งที่เราเรียกว่าของขวัญ (WHAT IS A GIFT?)
              ของขวัญสัมพันธ์กับ ประเภทชนิดของของขวัญ ผู้ซึ่งจะได้รับของขวัญหรือคนที่เราจะให้ของขวัญคือใคร เมื่อใดที่เป็นโอกาสที่เราจะให้ของขวัญ แล้วเราจะให้ของขวัญอย่างไร สุดท้ายทำไมเราต้องให้ของขวัญเหล่านั้น ให้ไปเพื่ออะไร
อะไรคือผลลัพธ์ที่ตามมาของการไม่ตอบแทนกลับคืน (What are the consequences of not reciprocating?)
              การผูกโยงกับพันธะสัญญาบางอย่าง (bonds of obligation)  มันเป็นเรื่องของการแข่งขันศักดิ์ศรีหน้าตา ความรู้สึกกับความขวัญที่ได้รับว่าเท่าเทียมหรือสูงกว่าต่ำกว่า โดยส่วนใหญ่การแลกเปลี่ยนทางสังคมในประเด็นดังกล่าวมีหน้าที่2อย่างคือ
 (1) การสร้างความผูกโยงกับพันธมิตร (Establish bonds of friendship) ตัวอย่างการเฉลิมฉลองในการแลกเปลี่ยนแบบกูล่า (The ceremonial Kula exchange in Western Pacific) คู่ของการแลกเปลี่ยนกูล่า(the Kula partnership) ให้สิทธิกับผู้ชายทุกคนภายในวงแหวน ทั้งเพื่อที่อยู่ใกล้หรืออยู่ไกลที่เป็นพันธมิตรกัน รวมถึงศัตรูที่อันตรายและเขตแดนอื่นๆที่ต่างกันออกไป
(2) การสร้าง การความเหนือกว่าคนอื่นๆ (Establish superordination over others) ตัวอย่างเช่นพอทแลตท์ในตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกา ที่สัมพันธ์สถานภาพและความเป็นสายตระกูล และช่วงชั้น ระยะห่างจากคนอื่นๆที่ถูกกำหนดโดยส่งครามแห่งทรัพย์สมบัติ(the war of property)
              โดยการแลกเปลี่ยนในกลุ่มเดียวกันนัยยะหนึ่งจะเป็นการเชื่อมโยง การผนึกผสาน ความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและในบางครั้งมันก็ผลิตและตอกย้ำความแตกต่างของสถานภาพด้วย
              เริ่มต้น ปัจเจกบุคคล คือผู้ซึ่งจัดหาและให้บริการเกี่ยวกับรางวัลและสิ่งของไปยังพันธมิตรคนอื่นๆของพวกเขา การการส่งออกซึ่งการแลกเปลี่ยนในพันธะสัญญานี้  ในลำดับต่อมาจะต้องมีการให้ผลประโยชน์กลับคืนกับคนที่ให้ในตอนเริ่มต้น
อะไรคือ Potlatch
พอทแลชคือรูปแบบของการแข่งขัน(Form of competitive)ที่ปฏิบัติผ่านการแจกของ(giveaway practice) โดยชนเผ่า Kwakiutl และชนเผ่าอื่นๆใน the northwest coast of North America เป็นต้น พอทแลชเหมือนสิ่งที่จำลองการสร้างสถาบันทางสังคมในสังคม เช่น ความสัมพันธ์กับลำดับชั้น สถานภาพทางสังคม การแจกจ่ายทรัพย์สมบัติ(distribution of property) ดังเช่น ของขวัญ(Gift) เป็นเรื่องของงานเลี้ยงฉลอง(feast)และการแบ่งปันอาหาร(sharing of food) ซึ่งมีการจัดร่วมกับงานหรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนผ่านสถานภาพ (Change in status)
  
กรณีชาว Kwakiutl หรือชื่อทางการที่มักเรียกกันก็คือ “Kwakwak'awakw  ใน Northwest cost of north America ที่มีการแข่งขันกันจัดงานเฉลิมฉลอง โดยหัวหน้าจะทำการค้นหาและพิสูจน์ตัวเองว่าเขามีค่ามากที่สุดกับตำแหน่งที่เขายึดอยู่ ดังนั้นการแจกของ(give away)หรือทำลาย(destroy)ไม่ว่าจะเป็นผ้าห่ม กล่องใส่น้ำมันปลา เครื่องประดับทองแดงและอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลายุคสมัยพร้อมกับการเข้าถึงการค้าและสินค้าอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง นำไปสู่ภาชนะที่ทำจากดีบุก พวกถ้วยชามเคลือบและโต๊ะสนุ๊ก เป็นต้น
โดยMarvin Harris นักมานุษยวิทยาแนววัฒนธรรมวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์ได้อธิบายว่า พอทแลชคือการทำให้เกิดความสมดุลของจำนวนผลผลิตที่มากเกินไปโดยการแจกจ่ายผลผลิตส่วนเกิน(redistributing surplus) มันทำให้ทุกคนต้องสร้างผลผลิตมากขึ้นและทำงานให้มากขึ้น เพื่อสร้างความปลอดภัยมั่นคงในช่วงที่วิกฤต นักมานุษยวิทยาหลายคนปฏิเสธแนวคิดของมาร์วิน แฮร์ริสและมองว่ามันเป็นการอธิบายในเชิงวัตถุมากเกินไป หากว่าฟังคำอธิบายของคนใน(the emic explanation) เกี่ยวกับการกระทำและการปฏิบัติของพวกเขาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนที่เรียกว่าพอทแลช พวกเขามองว่า มันคือความปรารถนาสำหรับชื่อเสียงเกียรติยศ(the desire for prestige) ในขณะที่คนนอก(an etic explanation)อย่าง มาร์วิน แฮร์ริสมองว่า มันคือสิ่งที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งไม่แปลกเพราะแฮร์ริสเป็นนักมานุษยวิทยาที่ให้ความสนใจและมีจุดยืนเกี่ยวกับวัตถุนิยมเชิงวัฒนธรรม(cultural materialist) ที่มองโครงสร้างพื้นฐานในความจริงทางเศรษฐกิจของชีวิต(the economic realities of life) และการกำหนดภายใต้โครงสร้างส่วนบน(determines superstructure) ในกรณีที่สัมพันธ์กับพิธีกรรม สังคม และการปฏิบัติในเชิงการเมืองหรือความสัมพันธ์ทางอำนาจของพอทแลช
มาร์วิน แฮร์ริส แนะนำว่า ประเภทหรือลักษณะของการปฏิบัติของการตอบแทนและการแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของความซับซ้อนของการจัดลำดับช่องชั้นในเชิงสังคมของสังคมชนเผ่า ซึ่งจะทำให้เราเห็นการเชื่อมต่อของสังคมจากช่วงเวลาแรกเริ่มที่ความก้าวหน้าจากการทำงานที่หนักของหัวหน้าเผ่าไปสู่การจัดการ การขูดรีด เอามูลค่าหรือผลผลิตจากสมาชิก จนในที่สุดจะนำไปสู่การปกครองแบบอาณาจักร กษัตริย์และรัฐในที่สุด
วัฒนธรรมพอทแลช
ในอินเดียนแดงเผ่าควาวิตอล มีการแลกเปลี่ยนโดยการเชื้อเชิญไปกินเลี้ยงและให้ของขวัญในงานพิเศษ เช่นพิธีกรรมการเปลี่ยนผ่านของชีวิต(Rite of passage) เช่น การเกิด ความเป็นหนุ่มสาว กรแต่งงานและความตาย รวมถึงวันปกติธรรมดาที่ไม่ใช่วันพิเศษ การเลี้ยงแบบพอทแลชจัดขึ้นเพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่และความร่ำรวย ยิ่งมีการจัดงานเลี้ยงได้บ่อยแค่ไหนและทำลายข้าวของหรือภาชนะที่มากกว่าก็ถือว่าเขาได้รับเกียรติยศและชื่อเสียงทางสังคมมากแค่นั้น
ในขณะเดียวกันแขกที่ได้รับเชิญไปงานเลี้ยงนั้นจะต้องเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงเพื่อตอบแทนเจ้าของงานเดิมและทำลายข้าวของให้เท่ากับงานที่เคยได้รับเชิญไปหรือทำลายไปในจำนวนที่มากกว่า โดยการเชิญไปงานเลี้ยงไม่ใช่การเชิญไปเพื่อความสนุกสนามแต่ผู้ที่รับเชิญจะปฏิเสธไม่ได้และไม่จัดงานตอบแทนก็ไม่ได้แต่เหมือนเป็นพันธะสัญญาระหว่างกัน เป็นความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ให้และผู้รับ ส่วนการรับสิ่งของจากฝ่ายตรงกันข้าม ผู้รับจะต้องใช้คืนเป็นจำนวน2เท่าในระยะเวลา1ปี กระบวนการของพอทแลชเป็นการบังคับให้ยืมและเป็นเหมือนการลงทุนด้วย สร้างลักษณะของเจ้าหนี้และลูกหนี้
                   สิ่งของที่ใช้ทำลายและสิ่งของที่ให้ในงานพอทแลชมีหลายชนิด เนื่องจากงานพอทแลชจุดมุ่งหมายของงานเพื่อการแสดงความร่ำรวยผ่านการทำลายสิ่งของเครื่องใช้ เช่น  เผาเรือ ทุบหม้อข้าว  ไห ตะกร้า ตลอดจนภาชนะอื่นๆ มีการโยนสิ่งของเผาต่อหน้าแขกและโยนลงทะเล โดยแขกที่มาร่วมงานพวกเชาไม่ได้มารับประทานอาหารเท่านั้นแต่ยังได้รับของจากเจ้าภาพมากมาย ปฏิเสธรับของไม่ได้ สิ่งของอาจเป็นอาหาร ผ้าห่ม เครื่องใช้ งานเลี้ยงอาจจะจัดภายในเผ่าหรือระหว่างเผ่าก็ได้ งานจัดเลี้ยงเพื่อแสดงถึงความมั่งคั่ง ร่ำรวยของเจ้าภาพ ความมีหน้ามีตา ถ้าทำลายข้าวของมากยิ่งดี แสดงถึงความยิ่งใหญ่ถ้าทำลายน้อยเสียหน้า
                   พอทแลชสะท้อนให้เห็นประโยชน์หน้าที่ของพอทแลช  ทั้งเรื่องของการประกาศการเปลี่ยนผ่านสถานภาพและตำแหน่งของคนในสังคม การสร้างความมั่นคง ความเป็นปึกแผ่นและผสานความสัมพันธ์ของคนในเผ่าและระหว่างเผ่า รวมทั้งยังสะท้อนการกระจายทรัพย์สมบัติจากคนหนึ่งไปสู่คนอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...