วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

การแลกเปลี่ยนแบบ MOKA ในสังคมปาปัวนิวกินี โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล


การแลกเปลี่ยนแบบ MOKA ในสังคมปาปัวนิวกินี
 หมูที่ถูกใช้ในพิธีที่เรียกว่าMOKA หมูและสิ่งของต่างๆจะถูกรวบรวมเพื่อพิธีกรรมนี้

                          หมูจะถูกฆ่าและชำแหละเนื้อมาทำเป็นอาหารเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้มาร่วมงาน
 ผู้ชายของชนเผ่าในปาปัวที่ต้องการจะเป็นๅBig Man เพื่อให้ได้การยอมรับผ่านการจัดงานMOKA



การแลกเปลี่ยนแบบนี้ถูกบรรยายโดย Joel Robbins and Holly Wardlow (2017) ที่กล่าวถึงชาว Melpa ที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูงภาคกลางในเขตปาปัวนิวกินี ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองชาวปาปัวนิวกีนีที่ประกอบอาชีพทำเกษตรกรรมและมีพิธีกรรมที่เกี่ยวการการเฉลิมฉลองว่าด้วยเรื่องหมู(pig feast system) โดยผู้ชายในสังคมที่นี่มีความคาดหวังว่าจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่หรือผู้นำที่เรียกว่า "Big Men" โดยการที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้คุณจะต้องพิสูจน์ตัวคุณเองว่าคุณมีความกล้าหาญในสงคราม(warfare)และในการแข่งขันในพิธีเฉลิมฉลองการให้ของขวัญ(competitive gift-giving ceremonies) ที่เรียกว่า “MOKA”
          เป้าหมายของ Moka  คือเรื่องของการให้มากกว่าการรับ โดยความคิดและการปฏิบัติดังกล่าวนำไปสู่การให้ที่มากกว่าสิ่งที่ผู้รับสามรถจะจ่ายตอบแทนกลับคืนได้ (the recipient can repay ) เมื่อมีการจัดหาและระดมสิ่งของและสินค้าได้เพียงพอแล้วโดยเฉพาะหมู ซึ่งผู้จัดงานก็มีความต้องการที่จะได้รับความช่วยเหลือจากหลายคนเพื่อให้การรวบรวมและการจัดงานสำเร็จ  การติดต่อการเจรจาและการหว่านล้อมจึงเป็นวิธีการหรือเครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้ได้สิ่งของและหมูมาร่วมงานที่มากขึ้น  จำนวนของหมูอาจจะมีตั้งแต่หลักสิบจนถึงหลักร้อยแล้วแต่ความสามารถของผู้จัดงานเฉลิมฉลองและการรวบรวมสิ่งของอาจใช้เวลายาวนานเป็น10ปีก็ได้ ในแต่ละครั้งของการจัดงานMoka แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางสังคม(Social relationship)ในระดับที่มากที่สุด
การจัดงาน Moka ไม่ใช่แค่เพียงรักษาสถานภาพของความเป็น Big Man เท่านั้น แต่ยังเป็นการเชื่อมโยงเครื่องข่ายของเครือญาติ (network of kinship)ทั้งหมดและพันธมิตรที่นำไปสู่ความสัมพันธ์ในเชิงของการตอบแทนซึ่งกันและกันที่มีความซับซ้อนหลากหลาย (many complex reciprocity relations) นี่คือสิ่งที่แสดงอย่างชัดเจนว่า Moka ไม่ใช่เพียงรูปแบบการให้ของขวัญที่ใหญ่โตอย่างเดียวแต่มันคือการรวบรวบการแลกเปลี่ยนของขวัญที่มีความหลากหลาย ผู้ช่วยเหลือทุกคนจะถูกให้ชื่อและการช่วยเหลือของเขาจะถูกขานและแสดงออกมา ผู้คนจำนวนมาก  ผู้คนที่เป็นผู้รับจะได้รับสินค้าหรือสิ่งของจากผู้จัดงาน
การแลกเปลี่ยนแบบอุปถัมภ์ (Clientage)
              การแลกเปลี่ยนแบบอุปถัมภ์เป็นลักษณะประเภทของการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างหนึ่งที่กระทำผ่านการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ  ภายใต้ความมั่นคั่งและความมีอิทธิพลอำนาจของผู้อุปถัมภ์(Patron) ได้ให้ของขวัญและความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนอาหาร การใช้ประโยชน์จากที่ดิน และอื่นๆ ผู้รับการอุปถัมภ์(Clients)จะมีลักษณะที่มั่งคั่งน้อยกว่าหรือไร้อำนาจ โดยผู้รับอุปถัมภ์ไม่เคยคาดหวังว่าตัวเองจะสามารถจ่ายกลบคืนของขวัญให้กับผู้อุปถัมภ์ในความมีเมตตาได้ แต่สามารถตอบแทนอย่างอื่นได้ เช่นการทำงานให้กับผู้อุปถัมภ์ การรับใช้ การเป็นแรงงานในภาคการผลิต เป็นต้น ดังนั้น ผู้รับการอุปถัมภ์จึงเป็นผู้ที่ยอมจำนวน(subservient) การจ่ายตอบแทนกลับคืนพร้อมกับความจงรักภักดีและการให้บริการ(loyalty or service) นี่คือแนวโน้มที่นำไปสู่การสูญเสียศักด์ศรี(dignity)ของผู้รับการอุปถัมภ์ ดังนั้นความสัมพันธ์ทั้งหมดในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนนี้มีผลกระทบอย่างลึกซึ้งอยู่บนชีวิตของผู้ถูกอุปถัมภ์และความสามารถ ความมั่นคงและ พลังอำนาจของผู้อุปถัมภ์









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...