มานุษยวิทยากับตำนานพื้นบ้าน…มองผ่านเรื่องเล่าชาวกะเหรี่ยง
ผมในฐานะนักมานุษยวิทยาชอบฟังเรื่องเล่า นิทานจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่มีความหลากหลาย เพราะเรื่องเล่าเหล่านี้ มีเหตุผลและที่มา ถึงสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะตำนานการเกิดโลก การเกิดมนุษย์ อย่างตำนานน้ำเต้าปุง ตำนานหมาเก้าหาง ตำนานปู่แสะย่าแสะ ปู่สังกะสาย่าสังกะสี ตำนานพระพุทธเจ้ากับข้าว ใครสำคัญกว่ากัน ตำนานพิบื่อโหย่ว นิทานเรื่องเสือสมิงกับกระสวยทอผ้า และอื่นๆในกลุ่มชาวกะเหรี่ยงก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
หากจะอธิบายในเชิงแนวคิดทฤษฎี ก็อดจะนึกถึงแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างของเฟอดิน็องต์ เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Suassure) ที่มองว่าระบบของโครงสร้างทางภาษา ที่ครอบคลุมอยู่เหนือกระบวนการทางวัฒนธรรมทั้งหมด เช่น ระบบเครือญาติ นิยายปรัมปรา ตำนาน นิทาน การแต่งกาย การทำอาหาร เข่นเดียวกับสัญญะแบบหนึ่ง ดังนั้นวัฒนธรรมก็เช่นเดียวกับภาษา สเตร๊าท์ ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองดั้งเดิมพบว่า การปฏิบัติในชีวิตประจำวันของมนุษย์อยู่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่าโครงสร้าง ดังนั้นการศึกษาแบบแผนทางวัฒนธรรมของเขา เป็นสิ่งที่คล้ายกับการศึกษาภาษาศาสตร์ ดังเช่นงานชิ้นสำคัญของเขาเรื่อง Anthropology and Myth ที่รวบรวมนิทานของชนเผ่าอินเดียแดงมากกว่า100เรื่อง หรือหนังสือขื่อ Totemism ที่แสดงให้เห็นโครงสร้างและความคิดของมนุษย์ผ่านระบบโทเทมพืชและสัตว์ที่นับถือ ผ่านการกิน ไม่กินพืชสัตว์ชนิดนั้น หรือการจัดลำดับวงษ์วานของสัตว์ที่นับถือของชนพื้นเมือง
ประเพณีของบรรดาชนพื้นเมืองแต่ละเผ่าหรือตระกูลที่ต้องนำของจากธรรมชาติมาเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวหรือเครื่องหมายประจำเผ่า (Totem)เครื่องหมายนี้อาจจะเป็นสัตว์หรือพืช ไม้แกะสลักหรือหินก็ได้ โดยเชื่อว่าจะช่วยปกป้องเผ่าที่มันเป็นตัวแทน ชนเผ่าที่มีสัญลักษณ์เป็นสัตว์ชนิดใดจะไม่ฆ่าสัตว์นั้น ขณะที่เผ่าที่ใช้พืชเป็นสัญลักษณ์ก็เช่นเดียวกัน เสาที่แกะสลักรูปประหลาดตั้งอยู่ใกล้กลุ่มกระโจมของอินเดียนแดงในอเมริกาเหนือในฐานะสัญลักษณ์ประจำเผ่า ขณะที่ชาวอะบอริจิ้นในออสเตรเลียมักมีสัญลักษณ์ประจำเผ่าเป็นสากล อาจกล่าวได้ว่า “การนำพืชสัตว์สิ่งของมาเป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่า ไม่ใช่ความเชื่อ งมงาย ประหลาด ในเรื่องเหนือธรรมชาติ แต่เป็นตัวอย่างพื้นฐานของตรรกะในการคิด ดังนั้นสัญลักษณ์ประจำเผ่าก็คือรูปแบบการจัดแบ่งประเภทของธรรมชาติ และใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการคิด
ตัวอย่างเช่น สัญลักษณ์ประจำเผ่า (Totemism) ที่มีคู่แย้งระหว่างมนุษย์กับไม่ใช่มนุษย์ ดังเช่นมุมมองของมนุษย์ในวัฒนธรรม ที่มองเรื่องของสูง ของต่ำ เชื่อมโยงจากสูงลงต่ำ จากเทพเจ้า สัตว์ พืช ที่ปรากฏในนิทานปรัมปรา และสัญลักษณ์ประจำเผ่า
จิตของมนุษย์ทำงานโดยอิงกับแม่แบบคู่แย้ง ดัง/เงียบ ดิบ/สุก เปลือย/สวมเสื้อผ้า สว่าง/มืด ศักดิ์สิทธิ์/สามัญ และอื่นๆ ซึ่งจิตของมนุษย์ทำงานอย่างเป็นตรรกะ (ซึ่งเกี่ยวโยงกับวัฒนธรรม) ได้ลอกเลียนธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่นทำไมเราเลือกสีเขียว เหลืองและแดง มาใช้ในระบบสัญญาญจราจร โดยอิงกับข้อเท็จจริงของธรรมชาติ ที่ว่ารหัสสีสัญญาณสำหรับ ไป-ระวัง-หยุดนั้น เลียนแบบโครงสร้างของสีสเปรคตรัม ที่จัดระดับของสีตามความยาวและสั้นของคลื่น สีแดงมีความยาวของคลื่นยาว สีเขียวมีความยาวของคลื่นสั้น ส่วนสีเหลืองอยู่ตรงกลาง เป็นต้น
จากการศึกษาเลวี่ สเตร๊าท์ศึกษา พบว่า ผู้ชายเผ่าเนกริโท(Negrito)สามารถจดจำและจำแนกชื่อต้นไม้ได้ถึง 450 ชนิด นก 75 ชนิด และ มด 20 ชนิด เด็กจากเผ่าตุยกุย (Tyukyu) สามารถบอกชนิดและเพศของต้นไม้จากเศษเปลือกไม้ที่พบ หรือบอกได้จากการดมกลิ่นหรือดูจากความแข็งของเนื้อไม้ว่าเป็นต้นไม้ชนิดใด อินเดียนเผ่าโคฮุยลา (Coahuila) ที่รู้จักพืชที่กินได้ถึง 60 กว่าชนิด และสมุนไพรที่เป็นยาอีก 28 ชนิด ชนเผ่าโฮปี(Hopi)รู้จักพืชถึง 350 ชนิด และเผ่านาวาโฮ (Navaho)รู้จักพืชที่ 500 ชนิด เป็นต้น
คนเผ่าพื้นเมืองอินเดียนโบราณดั้งเดิมมีความรอบรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางชีวภาพเป็นอย่างมาก คือ รู้จักธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาติ จึงสามารถพัฒนาความรู้เป็นมากกว่าเรื่องของประโยชน์ใช้สอยเฉพาะหน้า (Use)รวมถึงตอบความอยากรู้ของชุมชนที่สั่งสมถ่ายทอดกันมาหลายชั่วคนเช่น เผ่าเฮ็ลมีนี(Helmene)และเผ่าไอคูเท (Iakoute)รู้ว่า หากกินแมงมุมกับหนอนขาวก็จะแก้ปัญหาเรื่องเป็นหมันได้ หรือรู้จักใช้อุจจาระหมีแก้โรคท้องผูก เป็นต้น
สิ่งดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า การเป็นหนึ่งเดียวและการอยู่ร่วมกันของคนกับธรรมชาติ มากกว่าการทำลายล้าง การอยู่เหนือ หรือความต้องการเอาชนะธรรมชาติอย่างที่นิยมคิดกันในระบบความคิดของคนสมัยใหม่
ความคิด ความเชื่อของคนส่วนใหญ่ที่ว่าคนเผ่าโบราณดั้งเดิมล้าหลังเนื่องจากไม่มีวิธีการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการหาความรู้แบบวัตถุวิสัย (Objective Knowledge) ซึ่งเลวี่ สเตร๊าท์ไม่เห็นด้วย เนื่องจากความคิดของคนโบราณอยู่บนฐานของการสังเกต เปรียบเทียบ เป็นความรู้เชิงรูปธรรมที่มีโลกแห่งความเป็นจริงรองรับไม่แตกต่างจากองค์ความรู้ของคนสมัยใหม่ เป็นการจัดประเภทแยกแยะธรรมชาติรอบตัวอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าพืช สัตว์ สิ่งของ…
เลวี่ สเตร๊าท์ บอกว่า หากไม่เอาความคิดหรือมาตรฐานของวิทยาศาสตร์มาเป็นตัวกำหนดตัดสินแล้ว ไสยศาสตร์คือระบบความคิดแบบหนึ่งที่มีฐานะไม่แตกต่างไปจากวิทยาศาสตร์ ไสยศาสตร์หรือควาทเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติถือเป็นวิธีคิดที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง และไม่อาจเปรียบเทียบกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ เพราะคนละชุดความคิดกัน
การศึกษานิทานของเลวี่ สเตร๊าท์ ที่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับนิทานปรัมปราที่น่าสนใจคือ นิทานปรัมปรา เป็น “ภาษา” หรือ “รหัส” พิเศษ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการ “อ่าน” หรือ “ถอดรหัส” ด้วยวิธีการเฉพาะ ผ่านการตีความของผู้เล่านิทาน สังคมที่นิทานเหล่านี้ปรากฏหรือบอกเล่า
เรื่องเล่าเกี่ยวกับ ...ขวัญและบันไดของชาวกะเหรี่ยง...
สำหรับชาวกะเหรี่ยงนั้น ความเชื่อเรื่องขวัญนั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะขวัญเป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์มีสภาวะปกติ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย หากขวัญไม่อยู่รักษาร่างกายแล้ว ร่างกายก็จะไม่มีชีวิตอยู่ได้ หากขวัญไม่อยู่กับร่างต้องทำพิธีเรียกขวัญเชิญขวัญกลับเข้ามา...ในร่างกายของชาวกะเหรี่ยง มีความเชื่อว่ามีขวัญทั้งหมด 7 ขวัญ โดย ขวัญจำนวนหกขวัญมีทั้งขวัญดี ขวัญร้าย เป็นขวัญที่มักเดินทางออกไปจากร่างกาย ไปท่องเที่ยว เดินทางไปในที่ต่างๆ ทั้งในความจริง ความฝัน ขวัญที่ 7 ทำหน้าที่ปกปักรักษาดูแลร่างกายของชาวกะเหรี่ยงโผล่วโดยไม่ไปไหน ดังนั้นก่อนลงมือกินข้าว ชาวกะเหรี่ยงโผล่วจะต้องกินข้าวเปล่า 3 คำและตามด้วยน้ำเปล่า..เพื่อเสริมสร้างพลังให้กับขวัญที่ 7 ที่อยู่กับเนื้อตัวร่างกายของชาวกะเหรี่ยงโดยไม่หนีหายไปไหน ก่อนที่จะเริ่มลงมือทานอาหารพร้อมกับข้าวปกติ..ขวัญในความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง มีอยู่ในคน พืช สัตว์และสิ่งของ เช่น แม่โพสพหรือพิบื่อโหย่วกับขวัญข้าว หรือพิธีกินข้าวใหม่มีการเอาข้าวไปถวายให้ตาไฟ มีด จอบเสียม ขวานและอื่นๆที่มีบุญคุณต่อการเพาะปลูกและทำอาหารหล่อเลี้ยงชีวิตชาวกะเหรี่ยงด้ายเหลือง เป็นต้น
หรืออีกตัวอย่างหนึ่งเช่น ความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงโผล่วปรากฏอยู่อย่างมากมายในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องบันไดบ้านที่มีขั้นบันไดเป็นเลขคี่ ขนาดของหัวบันไดซ้ายขวาที่ยาวสั้นไม่เท่ากัน ที่เกี่ยวโยงกับนิทานปรัมปราตำนานของสามีที่พบภรรยาตัวเองนอนกับชายชู้และใช้มีดไล่ฟันชายชู้ที่วิ่งหนีลงบันได จนกระทั่งบันไดมีลักษณะคล้ายถูกมีดฟันจนยาวสั้นไม่เท่ากัน ความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณร้าย การป้องกันการทำร้ายจากการเล่นของ หรือการป้องกันการมีคนมาเหยียบหัวบันไดบ้าน ที่ชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อว่าหากมีคนมาเหยียบหัวบันไดบ้านจะส่งผลให้การทำมาหากินยากลำบากครอบครัวนั้นจะไม่เจริญ หรือพิธีกรรมที่เกี่ยวโยงกับหัวบันไดในช่องที่เป็นรูไม้ไผ่บริเวณหัวบันไดยังใช้สำหรับใส่ฟันน้ำนมเด็กที่หลุดและเชื่อว่าฟันของเด็กคนนั้นจะสามารถงอกขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการที่คนกะเหรี่ยงในยุคก่อนก็นิยมฝังรกไว้ใต้ฐานบันไดหรือใต้บ้านเรือนเพื้อแสดงถึงถิ่นฐานหรือแผ่นดินเกิดด้วย ดังนั้นชาวกะเหรี่ยงจึงนิยมสร้างบันไดให้ทางซ้ายสูงกว่าด้านขวา โดยเมื่อเวลาเหยียบบนไบไดขั้นสุดท้าย ระดับของร่างกายเมื่อยืนตรง ปลายบันไดทางด้านซ้ายมือที่ยาวสุดจะอยู่ที่ระดับหน้าอก ในขณะที่ปลายบันไดทางด้านขวามือที่ต่ำกว่าจะอยู่ที่ระดับบริเวณสะดือพอดี.. ความเชื่อเหล่านี้ล้วนมีความน่าสนใจ และสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม การให้ความหมาย วิธีคิดและการปฎิบัติของชาวกะเหรี่ยง..
*ที่มาของข้อมูลนิทาน มาจากการสัมภาษณ์ เจ้าวัดอ้วน เยปอง และเจ้าวัดมองตะลีตะ บ้านพุเม้ยง์ (ภูเหม็น) ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี
**บรรณานุกรมภาษาไทย
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2545) สัญวิทยา ,โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์ . กรุงเทพฯ : วิภาษา.
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (2527) ไม่มีสังคมใดเหนือกว่าสังคมอื่น:ทรรศนะในการศึกษามานุษยวิทยาของ Claude Levi Strauss” วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. ปีที่2 ฉบับที่2 (กุมภาพันธ์) 60-76.
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (2533) “เค้าโครงความคิดเรื่องโครงสร้าง ในการศึกษานิทานปรัมปรา ของโคลด เลวี่-เสตราส์” วารสารธรรมศาสตร์. ปีที่17 ฉบับที่1 (มิถุนายน)45-79.
***บรรณานุกรมภาษาต่างประเทศ
Hawkes Terence[1977]. “ Linguistic and Anthropology” “Science of Sign” In Structuralism and Semiotics ,Methuen and co Ltd.
Hugh J.Silverman[1994] “French Structuralism and After De Saussure,Levi-Strauss,Barthes,Foucault” P.391-408.In Continental Philosophy in The 20th Century edited by Richard Kearney,Routledge history of Philosophy volume8
Levi-Strauss,Claude[1987] “Introduction to the work of Marcel Mauss” Transleted by Felicity Baker Routledge and Kegan Paul London.
Levi-Strauss,Claude[1976] “Structural Anthropology Volume1 Transleted from the French by Monique Laution ,Basic Book Inc Publisher Newyork.
Levi-Strauss,Claude [1963]. “ Introduction History and anthropology”P.1-27 “Effective of Symbol”P.187-205and “Structural Analysis in Linguistics and in Anthropology” P.31-79 In Structural Anthropology Volume 2 Transleted from Franch by Claire Jacobson and Brooke Grundfest Schoepf,Basic Book.
Levi-Strauss Claude[1984] “Anthropology and Myth Lecture 1951-1982” Transleted by Roy Willish,Basil Blackwell.
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น