หนังสือ Animal Intimacies: Interspecies Relatedness in India’s Central Himalayas (2018 ) โดย Radhika Govindrajan หนังสือ ความผูกพันกับสัตว์ หรือ “Animal Intimacies” เป็นหนังสือเชิงชาติพันธุ์วรรณาที่สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ในบริบทของชุมชนชนบทในเขตภูเขาหิมาลัยของอินเดีย หนังสือเล่มนี้พิจารณาถึงวิธีที่มนุษย์และสัตว์ปฏิสัมพันธ์กันในมิติทางสังคม วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ โดยเชื่อมโยงกับความเชื่อท้องถิ่น ศาสนา และการดำรงชีวิต
Govindrajan ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับ Multispecies Ethnography (การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์) และ Posthumanism ( ลดการมองมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และให้สัตว์เป็น ผู้กระทำการที่สำคัญ) และ Ecofeminism (ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์มักเชื่อมโยงกับบทบาทของผู้หญิงในสังคม)
เพื่อวิเคราะห์ว่าสัตว์มีบทบาทสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์และอัตลักษณ์ในชุมชน
แนวคิดสำคัญในหนังสือ เช่นความคิดเรื่อง Interspecies Intimacy ที่มองว่า สัตว์ไม่ได้เป็นเพียงวัตถุที่มนุษย์ใช้ประโยชน์ แต่เป็น “ผู้ร่วมสร้างความสัมพันธ์” ที่มีบทบาทสำคัญในชีวิตมนุษย์ ดังตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรและวัวในพื้นที่ ซึ่งไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจ แต่ยังมีมิติทางจิตวิญญาณและอารมณ์ ความคิดเรื่อง Multispecies Kinship ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่ามนุษย์และสัตว์สร้างครอบครัวและความผูกพันร่วมกัน ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงกับแพะ ซึ่งสะท้อนความรู้สึกเป็นเพื่อนแท้ในบริบทที่ผู้หญิงมักถูกกดขี่ทางสังคมและสุดท้ายความคิดเรื่อง Ethics of Care ที่การดูแลสัตว์ในชุมชนไม่ใช่แค่เรื่องหน้าที่หรือผลประโยชน์ แต่เป็นส่วนหนึ่งของวิธีคิดเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน
ตัวอย่างเชิงรูปธรรมที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้ เช่น
1. วัวในพิธีกรรมทางศาสนา ในหมู่บ้านแถบหิมาลัย ชาวบ้านมองว่าวัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ พวกเขาเลี้ยงดูวัวด้วยความเอาใจใส่และมองว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว การฆ่าวัวเพื่ออาหารเป็นเรื่องต้องห้าม แต่การบริโภคนมวัวถือว่าเป็นพรจากเทพเจ้า
2. แพะในฐานะเพื่อนแท้ ดังเช่นผู้หญิงคนหนึ่งในหมู่บ้านแถบหิมาลัย พึ่งพาแพะของเธอเป็นทั้งที่ระบายความรู้สึกและแหล่งความมั่นคงทางอารมณ์ ในขณะเดียวกันแพะก็เป็นแหล่งรายได้และอาหาร เธอเชื่อว่าแพะของเธอสามารถ “ฟัง” และเข้าใจความรู้สึกของเธอ
3. เสือดาวกับความกลัวผสมความเคารพ ชาวบ้านหิมาลัยเล่าถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกับเสือดาว ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นทั้งศัตรูที่อันตรายและผู้พิทักษ์ของป่า
4.การสื่อสารกับสัตว์ในพิธีกรรม ชาวบ้านในแถบหิมาลัยเชื่อว่าพวกเขาสามารถ “พูดคุย” กับสัตว์ผ่านพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การทำพิธีเพื่อขอให้แพะปลอดภัยจากโรคระบาด หรือการขอพรจากวัวก่อนเริ่มการเก็บเกี่ยวพืชผล ชาวบ้านเชื่อว่าสัตว์สามารถ “ตอบสนอง” ต่อคำอธิษฐานหรือพฤติกรรมที่แสดงความเคารพต่อพวกมันได้
5. การเลี้ยงแพะเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวในบางครอบครัว ผู้หญิงที่ไม่ได้มีลูกจะเลี้ยงแพะเหมือนลูกของตนเอง เธอจะพูดคุยกับแพะ ให้อาหารพิเศษ และแต่งตั้งชื่อให้แพะเหมือนสมาชิกในครอบครัว การดูแลแพะในลักษณะนี้แสดงถึงมิติทางอารมณ์และการสร้างความผูกพันระหว่างมนุษย์และสัตว์
6. การยอมรับ “เอเจนซี่” ของสัตว์ในวิถีชีวิตประจำวัน ชาวบ้านเล่าว่าสัตว์เลี้ยง เช่น วัว มักจะ “เลือก” ว่าจะยอมให้ใครดูแลหรือจะปฏิเสธอาหารจากบางคน โดยพวกเขามองว่าสิ่งนี้เป็นตัวตนและการแสดงออกของสัตว์
7 บทบาทของเสือดาวในระบบนิเวศและความเชื่อ เสือดาวเป็นสัตว์ที่มีบทบาทสำคัญในทั้งมิติของระบบนิเวศและความเชื่อทางศาสนา ชาวบ้านบางคนมองว่าเสือดาวเป็น “วิญญาณผู้ปกป้อง” ของป่า แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการปกป้องชีวิตมนุษย์จากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น การโจมตีของเสือ
8. การฆ่าสัตว์ในเชิงพิธีกรรม มีบางเหตุการณ์ที่การฆ่าแพะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อขอฝนหรือป้องกันโรคระบาด ชาวบ้านไม่มองว่าสิ่งนี้เป็นการใช้ความรุนแรงต่อสัตว์ แต่เป็นการแสดงความเคารพต่อสัตว์และการบูชาธรรมชาติ โดยการฆ่าสัตว์ในลักษณะนี้ต้องมีความระมัดระวังอย่างสูงเพื่อให้เป็นไปตามความเชื่อ
9. การดูแลสัตว์แก่ ชาวบ้านหลายคนเลือกที่จะเลี้ยงดูวัวหรือแพะที่แก่ชรา แม้ว่าพวกมันจะไม่สามารถผลิตนมหรือทำงานได้แล้ว เพราะพวกเขามองว่าสัตว์เหล่านี้ได้ทำประโยชน์ให้ครอบครัวมาตลอดชีวิต การดูแลพวกมันจึงเป็นการตอบแทนและสร้างบุญกุศล
10. การร่วมมือระหว่างคนกับสัตว์ในงานเกษตร
ในการไถนา ชาวบ้านเชื่อว่าวัวไม่ได้เป็นเพียงแรงงาน แต่เป็น “เพื่อนร่วมงาน” ที่มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการเพาะปลูก พวกเขาจะมีพิธีขอบคุณวัวในช่วงสิ้นสุดฤดูเพาะปลูก
ข้อความที่น่าสนใจที่สะท้อนมุมมองและปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์ เช่น
“Intimacy is not just about closeness but also about the ability to be vulnerable together. Humans and animals share vulnerabilities in ways that shape their lives and relationships. (ความใกล้ชิดระหว่างมนุษย์และสัตว์ไม่ได้อยู่ที่การอยู่ใกล้ชิดกันทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแบ่งปันความเปราะบางและความรู้สึกในการใช้ชีวิตร่วมกัน)
“Animals are not only part of human households but also active participants in the moral and social worlds of the communities they inhabit.” (สัตว์ในหมู่บ้านไม่ใช่เพียงส่วนหนึ่งของครัวเรือนเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทในโลกทางจริยธรรมและสังคมด้วย)
”In the hills, people often refer to their goats as daughters, their cows as mothers, and their dogs as brothers. These kinship terms are not metaphorical; they embody real bonds of care and affection.“ (ในหิมาลัย ชาวบ้านเปรียบฝูงแพะว่าคือลูกสาว การเรียกสัตว์ด้วยคำที่ใช้ในความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ได้เป็นเพียงการเปรียบเปรย แต่แสดงถึงสายใยความสัมพันธ์ที่แท้จริง)
”Living with animals also entails conflict, negotiation, and a constant balancing act between the needs of humans and those of nonhuman beings.” สะท้อนมิติของความขัดแย้งและการปรับตัวระหว่างมนุษย์และสัตว์ในการดำรงชีวิตร่วมกัน
“The ways people treat animals are often seen as a reflection of their moral character. Kindness to animals is equated with kindness to humans.”(วิธีการปฏิบัติต่อสัตว์ในหมู่บ้านถือเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคล)imals are not just about appeasing gods; they are about acknowledging the interconnectedness of all beings in the cosmos.” (พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ไม่ได้มีเพียงจุดประสงค์เพื่อบูชาเทพเจ้าเท่านั้น แต่ยังเน้นถึงความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในจักรวาล)
“A cow is not simply a source of milk; she is a being who has contributed to the family’s survival and well-being in multiple ways, including emotional support.” (วัวไม่ได้เป็นเพียงแหล่งของน้ำนม แต่ยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทในด้านจิตใจและความมั่นคงของครอบครัว)
People in the hills often describe killing a goat for a ritual as an act of reverence, where the goat’s life is taken with gratitude and prayer.”(การฆ่าสัตว์ในพิธีกรรมเป็นสิ่งที่สะท้อนความเคารพในสัตว์ และกระทำด้วยความรู้สึกขอบคุณ)
“The lives of animals are entangled with human lives, and these entanglements shape both human and nonhuman worlds.
ข้อความนี้ในหนังสือบอกว่ามนุษย์และสัตว์ต่างมีผลกระทบต่อกันและกันในเชิงวัฒนธรรมและชีวิตประจำวัน ที่สะท้อนแนวคิดแบบ Entanglement
“Caring for animals is not only about providing for their physical needs but also about recognizing their individuality and agency.” (การดูแลสัตว์ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการตอบสนองความต้องการทางกาย แต่ยังเกี่ยวข้องกับการรับรู้ถึงตัวตนอำนาจและบทบาทของสัตว์ด้วย)
“People often spoke of animals as if they were extensions of their own families, and the emotions they felt for them went beyond utilitarian or economic concerns.”
ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ในหิมาลัยไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการใช้ประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ แต่มีมิติทางสังคมและอารมณ์ร่วมด้วย
“When a leopard killed a goat, villagers would mourn the loss but also acknowledge the leopard’s right to survival in the shared landscape.” ข้อความชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างมนุษย์และสัตว์ป่า ซึ่งไม่ได้ถูกมองในฐานะศัตรูอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของการอยู่รอดในการแชร์ภูมิศาสตร์ร่วมกัน เฉกเช่น เมื่อเสือดาวฆ่าแพะ ชาวบ้านจะโศกเศร้าจากการสูญเสีย แต่ในขณะเดียวกัน เสือดาวก็มีสิทธิ์ที่จะดำรงอยู่เหมือนกัน
ข้อความเหล่านี้สะท้อนให้เห็น ความใกล้ชิดระหว่างมนุษย์และสัตว์ บทบาทของสัตว์ในความสัมพันธ์ทางสังคม มุมมองต่อสัตว์ในฐานะ ‘ญาติ’ หรือ ‘ครอบครัว ความตึงเครียดระหว่างการอยู่ร่วมกันของคนกับสัตว์บทบาทของสัตว์กับการสร้างจริยธรรมในชุมชนและ สัตว์กับพิธีกรรม ความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจและจิตวิญญาณ การปฏิบัติที่สะท้อนถึงการเคารพในสัตว์
Radhika Govindrajan ใช้การศึกษาชาติพันธุ์วรรณาเพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ในมิติที่ลึกซึ้งและหลากหลาย ทั้งในเชิงวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และจิตวิญญาณของชาวหิมาลัย
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น