ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สุขภาพ ความเจ็บป่วยกับมิติเชิงร่างกาย โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Hungry Bodies are socially produced ร่างกายที่หิวโหยเป็นสิ่งที่สังคมผลิตและสร้างความหมายบางอย่างให้เกิดขึ้นกับร่างกายของมนุษย์ มนุษย์มีความต้องการความมีสุขภาพดีที่มาจากอาหารที่ดีและสมบูรณ์เพียงพอ แต่ปัญหาของผู้หิวโหยในส่วนต่างๆของโลกเกี่ยวโยงกับประเด็นที่ว่าด้วยการแย่งชิงทรัพยากร แหล่งทรัพยากรที่ขาดแคลน การขาดเทคโนโลยี ความรู้และการมีจำนวนประชากรที่มากเกินไป ในขณะเดียวกันสิ่งที่น่าสนใจคือปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร ที่ดิน ป่าไม้น้ำ หรือเทคโนโลยี สัมพันธ์กับเรื่องอำนาจ ใครเป็นเจ้าของ ใครมีอำนาจตัดสินใจ ใครทำหน้าที่ใช้และจัดสรรทรัพยากร ที่นำไปสู่ปฎิบัติการด้านอาหารและการผลิต ดังนั้นการพิจารณาถึงสาเหตุดังกล่าวนอกจากจะพิจารณาความเหมาะสมในมิติทางสังคมวัฒนธรรมแล้ว ควรที่จะพิจารณาให้เห็นความสำคัญและความขัดแย้งในมิติเชิงการเมืองด้วย เช่น ทุนข้ามชาติที่ควบคุมเทคโนโลยี การจัดการที่ดินของภาครัฐและการใช้ประโยชน์จากที่ดินและสารเคมีที่เข้มข้นที่เกี่ยวพันธ์กับการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการส่งออก ที่ซึ่งทำลายความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงด้านอาหาร นอกจากนี้ ความหิวโหยมันสัมพันธ์กับชนชั้น ความยากจน ความไม่เท่าเทียมในการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม ที่เข้าใจคนเล็กคนน้อย นโยบายของรัฐที่จะต้องขจัดความหิวโหยและความยากจนอย่างแท้จริง หากความหิวโหย คือความเจ็บป่วยแบบหนึ่ง มันก็คงไม่เกี่ยวแค่เรื่องของเชื้อโรคที่ทำให้คนเจ็บป่วยเท่านั้น แต่เป็นความเจ็บป่วยทางสังคมแบบหนึ่งด้วย หัวข้อหนึ่งในการเตรียมการสอนเนื้อหามานุษยวิทยาว่าด้วยร่างกาย นำมาจากบทหนึ่งในหนังสือ “Health, Illness, and the Social Body: A Critical Sociology” โดย Peter E.S. Freund, Meredith B. McGuire, และ Linda S. Podhurst เป็นหนังสือที่สำคัญในสายสังคมวิทยาสุขภาพ โดยนำเสนอแนวคิดและตัวอย่างเชิงวิพากษ์เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพ ความเจ็บป่วย และร่างกายในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจการศึกษาด้านสุขภาพในมุมมองของสังคมวิทยา โดยเฉพาะในด้านวิพากษ์อำนาจ โครงสร้าง และปฏิสัมพันธ์ในสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพและการรักษา หลายบทความทำให้เราเห็นมุมมองเรื่องสุขภาพแเละความเจ็บป่วยดังนี้ 1. มุมมองเชิงสังคมวิทยาต่อสุขภาพและความเจ็บป่วย สุขภาพไม่ได้เป็นเพียงสถานะทางกายภาพ แต่เป็นผลลัพธ์ของปัจจัยทางสังคม เช่น ชนชั้น เพศ อายุ เชื้อชาติ และบริบททางวัฒนธรรม ระบบสุขภาพสะท้อนโครงสร้างอำนาจในสังคม เช่น การควบคุมทางการแพทย์หรือการกดขี่ผู้ป่วยในระบบของการรักษาและการดูแลทางสุขภาพ สุขภาพจึงเป็นมากกว่าความสมบูรณ์ของร่างกาย แต่มันสะท้อนถึงโครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ 2. การแพทย์ในฐานะสถาบันทางสังคม (Medicine as a Social Institution) โดยการวิจารณ์บทบาทของการแพทย์สมัยใหม่ที่มุ่งเน้น “biomedical model” โดยเน้นโรคทางกายและละเลยมิติทางจิตใจและสังคม ( Psycho-Social Model) การแพทย์มีบทบาทในการควบคุมและกำหนดพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การบังคับใช้มาตรฐานสุขภาพ หรือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานหนักในวัฒนธรรมทุนนิยมกับโรคที่เกิดจากความเครียด (Stress-related illnesses) เป็นต้น การแพทย์สมัยใหม่มีอิทธิพลต่อการสร้างความหมายเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น การกำหนดว่าพฤติกรรมใดถือว่า “ผิดปกติ” และต้องรักษา 3. ร่างกายและอัตลักษณ์ (The Body and Identity) การมองร่างกายในฐานะพื้นที่ที่ถูกสร้างขึ้นโดยวัฒนธรรมและการเมือง รวมทั้งอิทธิพลของอุดมคติทางสังคม เช่น ความงาม น้ำหนัก หรือเพศ ต่อสุขภาพจิตและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ตัวอย่างการตลาดเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น อุตสาหกรรมอาหารเสริม และการแพทย์ทางเลือก ที่สร้างอัตลักษณ์ตัวตนของผู้คนทางสุขภาพที่หลากหลาย ในขณะเดียวกันร่างกายมนุษย์ถูกปรับเปลี่ยนและควบคุมโดยระบบสังคม เช่น การกำหนดมาตรฐานความงาม หรือการตรวจสอบร่างกายในที่ทำงาน 4. ความไม่เท่าเทียมด้านสุขภาพ (Health Inequalities) ที่มุ่งเน้นการสำรวจความไม่เท่าเทียมด้านสุขภาพ เช่น การเข้าถึงการรักษา และผลกระทบของชนชั้นสังคม ยกตัวอย่างเช่น ระบบสุขภาพในบริบทต่าง ๆ และผลกระทบต่อกลุ่มชายขอบ เช่น ชนกลุ่มน้อยหรือผู้มีรายได้น้อย ดังนั้นความเจ็บป่วยไม่เพียงส่งผลต่อร่างกายของคน แต่ยังสะท้อนถึงสถานะทางสังคมที่พวกเขาดำรงอยู่ด้วย 5. การวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นการทำให้สุขภาพเป็นสินค้า (Commodification of Health) การทำให้สุขภาพและบริการทางการแพทย์กลายเป็นสินค้าที่ซื้อขายได้ ส่งผลต่อคุณภาพและความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการและผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพ กรณีศึกษาของระบบสุขภาพในสหรัฐอเมริกา ที่แสดงถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงและการเข้าถึงที่ไม่เท่าเทียม การเปลี่ยนสุขภาพให้เป็นสินค้าเปิดช่องให้ผู้บริโภคต้อง “ซื้อสุขภาพ” โดยมีเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่เข้าถึงได้ เช่น ยาและอุปกรณ์การแพทย์ราคาแพง เป็นต้น หนังสือเล่มนี้ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าสุขภาพและความเจ็บป่วยไม่ได้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางชีวภาพ แต่เป็นผลของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและโครงสร้างอำนาจ รวมทั้งยังส่งเสริมการตั้งคำถามต่อระบบสุขภาพปัจจุบันและเปิดมุมมองใหม่สำหรับการวิจัยและการปฏิบัติในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพและสังคมวิทยามานุษยวิทยา ตัวอย่างเชิงรูปธรรมที่น่าสนใจที่เชื่อมโยงกับสังคมยุคปัจจุบัน เช่น 1. ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้แรงงานกับโรคภัย (Work and Illness) ตัวอย่างจาก โรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงาน (Occupational Stress) เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และภาวะซึมเศร้า โดยระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่เน้นผลผลิตสูง ทำให้แรงงานต้องทำงานหนักและละเลยสุขภาพ อาทิกรณีศึกษาเกี่ยวกับ “โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome)” ในกลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2. การตลาดเพื่อสุขภาพ (Health as a Commodity) ใช้การวิเคราะห์กรณีตัวอย่างของอุตสาหกรรมอาหารเสริม เช่น การโฆษณาที่เกินจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ “ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน” ที่นำไปสู่การวิจารณ์การทำให้สุขภาพกลายเป็น “สินค้าฟุ่มเฟือย” ที่เข้าถึงได้เฉพาะผู้มีกำลังซื้อ เช่น การขายโปรแกรมฟิตเนสส่วนบุคคลหรือบริการตรวจสุขภาพแบบพรีเมียมครบวงจร เป็นต้น 3. ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ (Health Inequality) ใช้ตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา กรณีในสหรัฐอเมริกา ผู้ไม่มีประกันสุขภาพต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายมหาศาล และมักไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม หรือผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนา ที่ต้องเผชิญกับอัตราการเสียชีวิตจากการคลอดบุตรที่สูงกว่า เนื่องจากขาดการดูแลก่อนคลอด เป็นต้น 4. การสร้างภาพลักษณ์สุขภาพในสื่อ (Media and Health Perception) มุ่งเน้นวิเคราะห์กรณีของการโปรโมต “รูปร่างสมบูรณ์แบบ” ในสื่อ เช่น ความผอมที่ถูกเชื่อมโยงกับสุขภาพที่ดี ซึ่งทำให้เกิดปัญหาโรคการกินผิดปกติ (Eating Disorders) ในกลุ่มวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน เพื่อเชื่อมโยงกับอุดมคติและความปรารถนาของร่างกายตามสื่อและดาราที่เป็นไอดอล 5. วัฒนธรรมการแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine) ตัวอย่างการเติบโตของการแพทย์แผนทางเลือก เช่น การฝังเข็มและโยคะ ในประเทศตะวันตก โดยการแพทย์ทางเลือกได้รับความนิยมเพราะผู้ป่วยบางกลุ่มรู้สึกว่าการแพทย์แผนปัจจุบันละเลยมิติทางอารมณ์และจิตวิญญาณ…. อ่านก็ได้ไอเดีย ไปขยับงานต่อ …

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...