ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ร่างกายหลากมิติ (Body Multiple) ภววิทยาในการปฏิบัติการทางการแพทย์ ในงานของ Annemarie Mol โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

เตรียมสอนมานุษยวิทยาว่าด้วยร่างกาย หรืออีกชื่อ ร่างกายในวัฒนธรรม เทคโนโลยี และสังคม ในหัวข้อ ร่างกายกับการแพทย์ ผมใช้หนังสือเล่มนี้ในการชวนคุยและเปิดประเด็นกับนักศึกษา The Body Multiple: Ontology in Medical Practice (2002) เขียนโดย Annemarie Mol ซึ่งถือเป็นงานเขียนที่ทรงอิทธิพลในวงการมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดยเฉพาะในสายวิชาที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ Annemarie Mol ใช้กรอบแนวคิดของ actor-network theory (ANT) และมุมมองของปรัชญา posthumanism เพื่อสำรวจว่า “ร่างกาย” (the body) ไม่ใช่สิ่งที่มีสถานะเดียว แต่เป็น “พหุสถานะ” “ความจริงหลากสภาวะ“ “พหุภาวะของการดำรงอยู่“ “พหุภาวะของความจริง” แล้วแต่จะใช้กัน แต่คำนี้มันมาจากคำภาษาอังกฤษที่ใช้ในหนังสือว่า“multiple ontologies” ซึ่งถูกกำหนดและสร้างขึ้นผ่านการมองลงไปที่ปฏิบัติทางการแพทย์ในแต่ละบริบท Mol ใช้วิธีการศึกษาที่เรียกว่าชาติพันธุ์วรรณนาหรือ ethnography ในการศึกษาคลินิกที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ในโรงพยาบาลของเนเธอร์แลนด์ โดยเธอแสดงให้เห็นว่าความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ถูกผลิตขึ้นในมิติที่หลากหลาย เช่น ทางคลินิก ห้องแล็บ และมุมมองของผู้ป่วย ซึ่งทำให้เราตั้งคำถามต่อความจริง และมิติทางความจริงที่เป็นหนึ่งเดียว แต่มองว่า “ความจริง” ในการแพทย์มีหลายแบบ และการวินิจฉัยโรคต้องคำนึงถึงปฏิบัติการทางสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ผมสนใจคำว่า ontology ว่าคืออะไรในบริบททางความคิดของ Annemarie Mol ในหนังสือ The Body Multiple นั้นคำว่า “ontology” หมายถึง “การดำรงอยู่” (being) หรือ “ธรรมชาติของความเป็นจริง” (reality) ซึ่งไม่ได้ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่แน่นอนหรือคงที่ แต่ถูกสร้างขึ้น (enacted) ผ่าน การปฏิบัติ (practices) ที่เกิดขึ้นในบริบทต่าง ๆ การตั้งคำถามว่า คำว่า Ontology ในบริบทนี้ต่างจากความหมายดั้งเดิมอย่างไร ผมมองว่าความหมายดั้งเดิมในปรัชญา Ontology คือการศึกษาธรรมชาติของการดำรงอยู่และการจัดหมวดหมู่สิ่งต่าง ๆ ว่าอะไรมีอยู่จริง เช่น การตั้งคำถามว่า “สิ่งนี้มีอยู่จริงหรือไม่? แต่Ontology ในบริบทของ Mol มองว่า “ความจริง” หรือ “การดำรงอยู่” ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัวและไม่ขึ้นกับมนุษย์ แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้าง (constructed) ผ่านการปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) มีหลาย ontology เพราะความเข้าใจและการรับรู้โรคนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติที่แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ เช่น ในห้องแล็บ ห้องผ่าตัด หรือชีวิตประจำวันของผู้ป่วย Mol เสนอว่าในโลกความเป็นจริง ไม่ได้มี “ontology” หนึ่งเดียว แต่มีหลาย ontology ที่ เกิดขึ้นพร้อมกัน (multiple ontologies) และ ทับซ้อนกัน (coexist) ในแต่ละบริบท เช่น ในแล็บ โรคหลอดเลือดแดงแข็งถูกนิยามผ่านผลเลือด ในห้องตรวจถูกนิยามผ่านอาการที่ผู้ป่วยบอกแพทย์ ในชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยอาจมองโรคผ่านความเจ็บปวดและข้อจำกัดในชีวิต สรุปคำว่า Ontology ในบริบทนี้คือ “การดำรงอยู่ของสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นจากการกระทำในบริบทเฉพาะ”รวมทั้งเป็นแนวคิดที่เน้นว่า ความจริงและการดำรงอยู่ไม่ได้เป็นสากล แต่มีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่า วัตถุธรรมชาติ (natural objects) เช่น โรค หรือร่างกาย มีหลายมิติของการดำรงอยู่ และทุกมิตินั้นถูกกำหนดโดยการปฏิบัติทางสังคมและการแพทย์ 1. โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ในห้องแล็บ โรคนี้หมายถึงค่าคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูง ในห้องผ่าตัด โรคนี้หมายถึงหลอดเลือดที่ตีบตันที่มองเห็นผ่านการตรวจภาพ ในมุมมองผู้ป่วย โรคนี้หมายถึงความเจ็บปวดหรืออาการหายใจลำบากฝ 2. ร่างกาย ในมุมมองของนักรังสีวิทยา ร่างกายคือชุดของอวัยวะที่มองผ่านภาพเอ็กซ์เรย์ ในมุมมองของผู้ป่วย ร่างกายคือสิ่งที่ให้ความรู้สึกและประสบการณ์ เช่น ความเจ็บปวดหรือความอ่อนแอ แนวคิดสำคัญในหนังสือเล่มนี้ เช่น 1. พหุสถานะของความจริง (Multiplicity of Ontologies) ที่มองว่าร่างกายและโรคไม่ได้มีตัวตนหรือความจริง (ontology) เดียว แต่ถูกผลิตซ้ำในบริบทต่าง ๆ เช่น ในแผนกตรวจโรค ห้องทดลอง หรือบทสนทนากับผู้ป่วย รวมถึงการปฏิบัติทางการแพทย์สร้างร่างกายและโรคขึ้นใหม่ในแบบที่แตกต่างกัน 2. Practices Over Representations Mol ให้ความสำคัญกับ “ปฏิบัติการ” (practices) แทนที่จะมองผ่านกรอบตัวแทน (representations) เช่น ภาพถ่ายหรือคำบรรยายที่เป็นตัวแทนของความเจ็บป่วย 3. การเจรจาต่อรองทางความรู้ (Knowledge as Collaborative) ความรู้เกี่ยวกับโรคเป็นผลผลิตของการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ป่วย แพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และห้องปฏิบัติการ 4. การแพทย์และความสัมพันธ์ทางสังคม โดย ระบบการแพทย์ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องทางเทคนิค แต่ยังเป็นเรื่องของมิติทางสังคม วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ของคนในระบบ ตัวอย่างเชิงรูปธรรมจากหนังสือที่น่าสนใจ เช่น 1. หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ในห้องแล็บ โรคนี้อาจปรากฏเป็นตัวเลขระดับคอเลสเตอรอลหรือภาพถ่ายหลอดเลือด ในห้องตรวจ ผู้ป่วยอาจอธิบายโรคนี้ผ่านความรู้สึกเจ็บปวดขณะเดิน ในมิติการผ่าตัด โรคนี้อาจถูกมองผ่านการตีบตันของหลอดเลือด Mol แสดงให้เห็นว่าแต่ละมิติของโรคนี้มีความเป็นจริงในตัวเอง และไม่สามารถรวมกันเป็น “ความจริง” หนึ่งเดียวได้ 2. การวินิจฉัยและการรักษา Mol ยกตัวอย่างว่าแม้จะมีข้อมูลจากเทคโนโลยีการแพทย์ เช่น การสแกนหลอดเลือด แต่การรักษายังต้องอาศัยการตีความจากผู้เชี่ยวชาญและการสนทนากับผู้ป่วย ความคิดของ Mol ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่า “ร่างกาย” และ “โรค” ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว แต่ถูกประกอบสร้างขึ้นในบริบทเฉพาะ รวมทั้วเขายังเสนอและส่งเสริมการมองการแพทย์ในมิติที่เป็นระบบสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดสำคัญในการศึกษาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาการแพทย์ ข้อความสำคัญในหนังสือ The Body Multiple 1. “Doing ontology means performing practices.” โดย Mol ชี้ให้เห็นว่าการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ “ความจริง” ไม่ได้เกิดจากการค้นพบสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว แต่เกิดจากการปฏิบัติในบริบทต่าง ๆ เช่น การรักษา วินิจฉัย และการสนทนากับผู้ป่วย 2. “The body is not singular; it is enacted differently in different practices.” ร่างกายไม่ได้มีความเป็นจริงเดียว แต่ถูกประกอบสร้างซ้ำผ่านวิธีการทางการแพทย์ เช่น การตรวจเลือด การเอ็กซ์เรย์ หรือการวินิจฉัยจากอาการที่ผู้ป่วยเล่า 3. “Objects are multiple and interrelated, rather than singular and universal.” วัตถุ เช่น โรค หรืออาการเจ็บป่วย ไม่ใช่สิ่งที่คงที่และสากล แต่มันถูกผลิตขึ้นใหม่เสมอขึ้นอยู่กับว่าใครและสิ่งแวดล้อมใดที่กำลังสร้างการ “ปฏิบัติ” ตัวอย่างรูปธรรมเพิ่มเติมจากหนังสือ 1. การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ในโรงพยาบาลเดียวกัน การตรวจและวินิจฉัยโรคเดียวกันอาจมีหลายความหมาย ในห้องแล็บ โรคนี้อาจถูกนิยามจากผลการวิเคราะห์ระดับไขมันในเลือด ในห้องผ่าตัด โรคนี้อาจหมายถึงการตีบตันที่มองเห็นได้ผ่านเครื่องมือส่องหลอดเลือด ในแผนกกายภาพบำบัด โรคนี้ถูกมองผ่านข้อจำกัดในการเดินของผู้ป่วย ในแต่ละกระบวนการให้ “ความจริง” ของโรคในแบบของตัวเอง ซึ่งไม่สามารถแทนที่กันได้ 2. การสนทนาระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ ในการสัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ผู้ป่วยอาจมองว่าโรคนี้หมายถึง “การที่เดินแล้วเจ็บขา” ซึ่งเป็นมุมมองที่แตกต่างจากการตรวจวินิจฉัยในเชิงเทคนิค ผู้ป่วยอาจตั้งคำถามว่า “ความสำคัญของการรักษาอยู่ที่การหายจากอาการเจ็บ หรือการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด?” Mol แสดงให้เห็นว่าความเข้าใจโรคไม่ได้มีเพียงมุมมองเดียว 3. การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีในโรงพยาบาล เทคโนโลยี เช่น เครื่องมือส่องหลอดเลือด สามารถแสดงภาพหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งดูเหมือนเป็น “ความจริงทางกายภาพ” แต่ Mol อธิบายว่า ภาพนี้ก็เป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ วิธีที่เราสร้างความหมายให้กับโรค เมื่อไม่มีเทคโนโลยีเดียวกันในชุมชนชนบท โรคนี้อาจถูกวินิจฉัยและจัดการแตกต่างไปโดยสิ้นเชิง ความสำคัญของ The Body Multiple เป็นกรอบแนวคิดที่ช่วยให้เราเข้าใจว่าระบบการแพทย์และสุขภาพไม่ใช่แค่เรื่องทางวิทยาศาสตร์ แต่ยังเกี่ยวข้องกับมิติทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรม อีกทส่งเสริมั้งยีงชวนท้าทายและส่งเสริมให้ผู้อ่านตั้งคำถามกับ “ความจริง” ทางการแพทย์และการปฏิบัติการรักษา หนังสือเล่มนี้มีความสำคัญในสายงานด้านมานุษยวิทยาการแพทย์ สังคมวิทยา และการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางสุขภาพ ข้อความสำคัญในหนังสือที่สะท้อนความคิดและมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับร่างกาย ธรรมชาติของความจริงปฎิบัติการและเครือข่ายผู้กระทำการ เช่น 1. “What is enacted in practice is not the same everywhere. It differs from one site to another.” (ความจริง (reality) ของร่างกายและโรคถูกผลิตขึ้นในแต่ละบริบทของการปฏิบัติ ) เช่น ห้องตรวจ ห้องแล็บ หรือการสนทนากับผู้ป่วย 2. “The body is not a singular entity, but rather a multiple being that is enacted in and through practice.” (ร่างกายไม่ได้มีความเป็นจริงเดียว แต่ถูกประกอบสร้างขึ้นใหม่ในแต่ละกระบวนการ) เช่น ในการผ่าตัด ร่างกายอาจถูกมองเป็นระบบหลอดเลือด แต่ในมุมมองของผู้ป่วย ร่างกายคือแหล่งที่มาของความเจ็บปวด 3. “Objects are not universal. They are multiple.“ (สิ่งของ หรือวัตถุ (เช่น โรค) ไม่ได้มีความหมายที่เหมือนกันในทุกบริบท แต่มีความหลากหลายและขึ้นอยู่กับการปฏิบัติในสถานการณ์เฉพาะ) 4. “Ontologies are not given, they are made.” (ความจริงหรือการดำรงอยู่ของวัตถุในโลกไม่ได้ถูกกำหนดมาแต่แรก แต่มันถูกสร้างผ่านการกระทำและการปฏิบัติในสังคม) 5. “In medical practice, knowing is not separated from doing.” (ในการแพทย์ การรู้และการปฏิบัติไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ) การตรวจวินิจฉัยโรคหรือรักษาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความรู้ในเวลาเดียวกัน 6. “Reality is not singular; it is enacted.” (ความเป็นจริงไม่ได้มีเพียงแบบเดียว แต่ถูกสร้างขึ้นผ่านการกระทำ) เช่น เทคโนโลยีหรือการตรวจวินิจฉัยของแพทย์สร้าง “ความจริง” ที่แตกต่างจากความรู้สึกของผู้ป่วย 7. “Difference does not always imply conflict; sometimes it is a form of coexistence.” (แม้ว่าจะมีความแตกต่างในมุมมองหรือการปฏิบัติ แต่สิ่งเหล่านี้อาจอยู่ร่วมกันได้โดยไม่จำเป็นต้องขัดแย้ง) 8. “The body multiple is a result of practices that are coordinated.”(ร่างกายหลายมิติเกิดขึ้นจากการประสานกันของปฏิบัติการต่าง ๆ ) เช่น การตรวจเลือด การพูดคุย และการรักษา การนำมุมมองแบบ Ontology ไปใช้วิเคราะห์และปรับใช้ในชีวิตจริง 1. “พหุสถานะ” (Multiple Ontologies) โรคหรือร่างกายมีหลายสถานะที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติที่ต่างกันในบริบทเฉพาะ เช่น มุมมองของแพทย์ ห้องแล็บ และผู้ป่วย ที่เป็นการมองสุขภาพแบบพหุสถานะ (Multiplicity of Health) ในบริบทของบางประเทศ โรคเดียวกัน เช่น โรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง อาจถูกมองต่างกันในระบบโรงพยาบาล ใช้การวินิจฉัยผ่านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในชุมชนชนบท มองผ่านความเชื่อเกี่ยวกับสมดุลร่างกาย เช่น ความร้อนและเย็น ทฤษฏีธาตุ ในบริบทของผู้ป่วย อาจมองว่าโรคนี้คือข้อจำกัดในชีวิตประจำวัน เช่น ความเหนื่อยล้า หรือการเดินไม่สะดวก เป็นต้น 2. การเชื่อมโยงเทคโนโลยีและวัฒนธรรม Mol แสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ได้สร้าง “ความจริงที่สมบูรณ์” แต่สร้างความจริงในแบบเฉพาะเจาะจง เราสามารถวิเคราะห์ว่าเทคโนโลยี เช่น AI หรือแอปสุขภาพ มีบทบาทอย่างไรในการผลิต “ความจริง” ของโรคในมุมมองที่แตกต่างจากการแพทย์พื้นบ้าน 3. การออกแบบนโยบายสุขภาพ ผู้กำหนดนโยบายสามารถใช้กรอบคิดของ Mol ในการออกแบบระบบสุขภาพที่ยืดหยุ่นและตอบสนองต่อ “ความจริง” หลายมิติ เช่น การสร้างแนวทางการรักษาที่คำนึงถึงมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้ป่วย การสร้างความเข้าใจในระบบสุขภาพ ทำให้ผู้กำหนดนโยบายตระหนักว่า “ความจริง” ของสุขภาพและโรคขึ้นอยู่กับบริบท เช่น เทคโนโลยี วัฒนธรรม และความเชื่อของผู้ป่วย 4.ความสัมพันธ์ระหว่าง “การรู้” และ “การกระทำ” การแพทย์ไม่ได้แยกระหว่างความรู้และการปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติในตัวมันเองสร้างความรู้ 5. การอยู่ร่วมกันของความจริงที่หลากหลาย แม้จะมีมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับโรค แต่ระบบการแพทย์สามารถประสานสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกันได้ 6. การออกแบบการรักษา ใช้แนวคิดเรื่อง multiple ontologies เพื่อออกแบบการรักษาที่ไม่ยึดติดกับมุมมองเดียว เช่น ผสมผสานการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์พื้นบ้าน 7. การพัฒนาหลักสูตรการแพทย์ หลักสูตรที่บูรณาการมิติทางสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี เพื่อให้แพทย์มองผู้ป่วยและโรคในหลากหลายมิติ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...