มานุษยวิทยาเศรษฐกิจ Economics Anthropology and Stone Age Economics ผ่านงานของ Shalin โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล
มานุษยวิทยาเศรษฐกิจ : Economics Anthropology and Stone Age Economics
“Economic systems are cultural constructions, deeply embedded in social relations.”(Shalins,1972)
“The hunter-gatherer is perhaps the original affluent society.” (Shalins,1972)
“Scarcity is not an intrinsic condition of human existence but a social construct.”(Shalins,1972)
“The modern economy, in its pursuit of more, often produces less satisfaction.” (Shalins,1972)
“Exchange is not just economic; it is a social and cultural process.” (Shalins,1972)
Marshall Sahlins ท้าทายแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ โดยเขามองว่าสังคมล่าสัตว์และเก็บของป่าไม่ได้ “ยากจน” หรือ “ขาดแคลน” อย่างที่นักเศรษฐศาสตร์และนักมานุษยวิทยาหลายคนเข้าใจ แต่พวกเขาเป็น “สังคมมั่งคั่งดั้งเดิม” ที่มีลักษณะสำคัญคือการตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานโดยไม่เน้นการสะสมหรือบริโภคเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ Sahlins ยังท้าทายกรอบความคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่มองว่าทรัพยากรมีจำกัดและมนุษย์มีความต้องการไม่สิ้นสุด โดยเขาเสนอว่าในสังคมดั้งเดิม เช่น ชุมชนล่าสัตว์-เก็บของป่า ความมั่งคั่งไม่ได้มาจากการสะสมทรัพย์สิน แต่เกิดจากความพอเพียงและการใช้ชีวิตที่สมดุลกับธรรมชาติ
แนวคิดนี้เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ “ความยากจน” และ “ความมั่งคั่ง” โดยมองว่าความมั่งคั่งไม่จำเป็นต้องหมายถึงการมีสิ่งของมากมาย
ดังนั้น สังคมล่าสัตว์ไม่ได้ยากจน แต่เป็น “สังคมมั่งคั่งดั้งเดิม” (The Original Affluent Society) เพราะพวกเขาสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานได้อย่างง่ายดายโดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในแต่ละวัน
แนวคิดนี้ทำลายอคติที่ว่า “สังคมดั้งเดิม” เป็นสังคมที่ด้อยพัฒนา และชี้ให้เห็นว่า “ความขาดแคลน” เป็นผลผลิตของสังคมเศรษฐกิจตลาด
สังคมดั้งเดิม เช่น ชนเผ่าล่าสัตว์-เก็บของป่า มีความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยไม่ต้องพึ่งพาการสะสมทรัพย์สินหรือวัตถุเหมือนในสังคมทุนนิยม แนวคิดนี้จึงเป็นบทวิจารณ์ต่อความโลภและการบริโภคนิยมในโลกสมัยใหม่
Sahlins แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจในสังคมดั้งเดิมไม่สามารถแยกออกจากวัฒนธรรม ความเชื่อ และระบบสังคมได้ เช่น การแลกเปลี่ยนในระบบ Kula Ring ที่สร้างพันธะสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนโดย แนวคิดนี้ช่วยให้ผู้อ่านมองเศรษฐกิจในฐานะระบบที่ผสานรวมกับมิติทางสังคมและวัฒนธรรม
ในหนังสือชิ้นสำคัญของเขาในงานเรื่อง “Stone Age Economics” (1972) นับเป็นผลงานสำคัญของ Marshall Sahlins ที่นำเสนอการศึกษาเศรษฐกิจของสังคมล่าสัตว์และเก็บของป่า โดยท้าทายมุมมองดั้งเดิมที่มองว่าสังคมเหล่านี้เป็น “สังคมที่ขาดแคลน” (Scarcity Society)
คำสำคัญที่เขาใช้ไม่ว่าจะเป็น Affluence (ความมั่งคั่ง) Scarcity (ความขาดแคลน Minimalism (ความเรียบง่าย) ล้วนเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก
แนวคิดหลักในหนังสือ เช่น “The Original Affluent Society” (สังคมมั่งคั่งดั้งเดิม) โดย Sahlins เสนอว่าสังคมล่าสัตว์และเก็บของป่าไม่ได้ขาดแคลนทรัพยากร แต่มีการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมและเพียงพอ คนในสังคมเหล่านี้ใช้เวลาน้อยในการทำงาน และยังคงมีเวลาว่างสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การพักผ่อนและการเข้าสังคม ความมั่งคั่งของพวกเขามาจากการมีความพึงพอใจกับความต้องการที่น้อยกว่าของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่
แนวคิดเรื่อง Reciprocity (การแลกเปลี่ยนแบบสมานฉันท์) ซึ่งเป็นแนวคิดจาก Marcel Mauss ถูกขยายต่อในหนังสือเล่มนี้ โดย Sahlins แบ่งรูปแบบการแลกเปลี่ยนออกเป็น 3 ประเภท คือ1. Generalized Reciprocity คือการให้โดยไม่หวังผลตอบแทนทันที เช่น ในครอบครัว 2. Balanced Reciprocity คือการแลกเปลี่ยนที่มีเงื่อนไขและเวลาคืน เช่น การแลกเปลี่ยนระหว่างเพื่อนบ้าน 3.Negative Reciprocity คือ การแลกเปลี่ยนแบบแสวงหาประโยชน์ เช่น การต่อรองซื้อขาย คำสำคัญที่เห็นได้ขัดในแนวคิดทางเศรษฐกิจของเขาคือ Reciprocity (การแลกเปลี่ยน) และSocial Relationship (ความสัมพันธ์ทางสังคม) ที่เป็นหัวใจสำคัญของมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ
แนวคิดเรื่อง Subsistence Economy (เศรษฐกิจเพื่อยังชีพ) โดยเชื่อมโยงตัวอย่างจาก สังคมล่าสัตว์-เก็บของป่ามุ่งเน้นการผลิตเพื่อการบริโภคเองมากกว่าการสะสมหรือการผลิตเพื่อการค้า โดยเศรษฐกิจเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับระบบตลาดแบบสมัยใหม่ และเน้นความยั่งยืนของทรัพยากร คำสำคัญที่เห็นในเรื่องนี้คือ คือคำว่า Subsistence (การยังชีพ) กับคำว่า Sustainability (ความยั่งยืน)
ตัวอย่างที่น่าสนใจเช่น สังคมล่าสัตว์-เก็บของป่าในออสเตรเลีย ที่คนในสังคมชนเผ่ามีวิธีการหาอาหารที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้เวลาทำงานประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อวันเพื่อให้ได้อาหารเพียงพอ หรือระบบการแลกเปลี่ยนในหมู่บ้านชนเผ่าแปซิฟิกใต้ ตัวอย่างเช่นการแลกเปลี่ยนแบบ Kula Ring ในหมู่เกาะ Trobriand ที่การแลกเปลี่ยนของขวัญมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหมู่บ้าน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนของชนเผ่าในแอฟริกา ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าและของขวัญระหว่างชนเผ่าเพื่อรักษาสันติภาพและความสัมพันธ์ทางสังคม
ในงานนี้ชี้ให้เห็นสิ่งที่เรียกว่าสังคมแห่งความมั่งคั่ง
(Affluent Society )ที่สังคมที่มีความพึงพอใจในความต้องการพื้นฐาน โดยความมั่งคั่งในบริบทนี้ไม่ได้หมายถึงการสะสมทรัพย์สินหรือทรัพยากร แต่มาจากความพึงพอใจในสิ่งที่มีและการมีชีวิตที่เพียงพอกับความต้องการพื้นฐาน ในสังคมล่าสัตว์ในออสเตรเลียใช้เวลาเพียง 4-5 ชั่วโมงต่อวันในการหาอาหาร เช่น การล่าสัตว์หรือเก็บพืชผล และใช้เวลาที่เหลือในกิจกรรมพักผ่อนหรือเข้าสังคม พวกเขาไม่จำเป็นต้องสะสมอาหารหรือทรัพย์สินมากมาย เพราะสามารถพึ่งพาธรรมชาติที่มีอยู่อย่างเพียงพอ ดังข้อความในหนังสือว่า “The world’s most primitive people have few possessions, but they are not poor. Poverty is a social status, and it exists only in relation to a standard of wealth.” ที่หมายถึงความยากจนไม่ได้เกิดจากการไม่มีทรัพย์สิน แต่เป็นการนิยามที่ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของความมั่งคั่งในสังคมหนึ่ง ๆ
คำว่าหายากขาดแคลน ( Scarcity ) เป็นสิ่งที่สะท้อนแนวคิดที่มองว่าทรัพยากรมีไม่เพียงพอ มีจำกัด ซึ่ง Sahlins วิพากษ์มุมมองเศรษฐศาสตร์ที่มองว่าทรัพยากรในสังคมมนุษย์มีจำกัดเสมอ โดยเขาเสนอว่าสังคมล่าสัตว์ไม่ได้เผชิญกับ “ความขาดแคลน” เพราะพวกเขามีความต้องการที่ต่ำและสามารถตอบสนองต่อความต้องการนั้นได้ง่าย
ตัวอย่าง ชาวKung ในทะเลทรายคาลาฮารีมีแหล่งอาหารที่เพียงพอ เช่น ผลไม้ เมล็ดพืช และสัตว์ป่า ถึงแม้ว่าจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่นักวิชาการมองว่ามีทรัพยากรจำกัด พวกเขาไม่ได้สะสมอาหารเกินความจำเป็น เพราะรู้ว่าธรรมชาติจะมีให้พวกเขาในวันถัดไป
ดังคำในหนังสือว่า “The notion of scarcity is a social construct; for hunter-gatherers, it simply does not apply.” ที่สะท้อนว่าแนวคิดเรื่องความขาดแคลนเกิดจากมุมมองของเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ แต่ไม่เหมาะสมกับการอธิบายสังคมล่าสัตว์ในยุคบุพกาล
ส่วนคำว่าการแลกเปลี่ยนต่างตอบแทน( Reciprocity ) คือการแลกเปลี่ยนในรูปแบบต่าง ๆ คำว่าเพียงพอ พอแก่การดำรงชีวิต( Subsistence) การผลิตเพื่อการยังชีพ และคำว่าการจ่ายตอบแทนกลับคืน (Redistribution) การกระจายทรัพยากรในชุมชนอย่างทั่วถึง
คำว่าความเรียบง่าย (Minimalism) ความเรียบง่ายหมายถึงการดำเนินชีวิตที่เน้นการตอบสนองความต้องการพื้นฐานโดยไม่เน้นการสะสมหรือการบริโภคเกินความจำเป็น ตัวอย่าง สังคมล่าสัตว์อย่างเผ่า Hadza ในแทนซาเนียไม่เก็บสะสมสิ่งของหรืออาหาร พวกเขาใช้สิ่งที่มีในธรรมชาติอย่างพอเพียงและยั่งยืน
ชนพื้นเมืองเหล่านี้จึงสะท้อนความเรียบง่าย ผ่านการมีเครื่องมือเพียงไม่กี่อย่าง เช่น หอกหรือเครื่องมือทำอาหารที่พกพาง่าย เพื่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน ดังข้อความในหนังสือว่า “Less is more in a hunter-gatherer society; the less you have, the less you need to worry about.” ที่มีความหมายคือการมีทรัพย์สินน้อยเป็นข้อได้เปรียบในสังคมล่าสัตว์ เพราะลดความยุ่งยากและแรงกดดันในการดูแลหรือสะสมความมั่งคั่งเพื่อนำไปสู่ความขัดแย้ง
ดังนั้น ในชีวิตประจำวันของสังคมเหล่านี้ทำให้เราเห็นคุณค่าของความเรียบง่ายและการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน ซึ่งตรงข้ามกับลักษณะการบริโภคนิยมในสังคมปัจจุบัน และสรุปได้ว่า ความมั่งคั่ง คือการมีชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ใช่การสะสม ส่วนความขาดแคลน เป็นมุมมองที่เกิดจากกรอบคิดของเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งไม่เหมาะสมกับการอธิบายสังคมดั้งเดิมและความเรียบง่าย คือความสามารถในการดำรงชีวิตโดยใช้ทรัพยากรในระดับที่เหมาะสม ดังนั้นงานของ Shalin จึงมีความน่าสนใจคือ
1.การท้าทายแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตก
2.การนิยามใหม่เรื่องความมั่งคั่งและความขาดแคลน
3.การวิเคราะห์ระบบการแลกเปลี่ยนที่หลากหลา
4. การวิพากษ์สังคมทุนนิยม
5.การเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับวัฒนธรรมและสังคม
6.การใช้ตัวอย่างเชิงลึกจากชนเผ่าต่าง ๆ ทั่วโลก
หนังสือเล่มนี้มีความสำคัญในฐานะงานที่ท้าทายมุมมองเดิม ๆ และช่วยให้เราเข้าใจเศรษฐกิจผ่านกรอบคิดทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งยังคงมีอิทธิพลต่อมานุษยวิทยาเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น