…ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเราเองกับผู้อื่น และในเทคโนโลยีของการครอบงำตนเอง ประวัติศาสตร์ของวิธีที่ปัจเจกบุคคลกระทำต่อตนเอง (ทั้งเขาหรือเธอ); ผมสนใจในเทคโนโลยีของตนเอง และประวัติศาสตร์ของปัจเจกบุคคลในฐานะที่เป็นประธานของการกระทำของตนเอง”
คำกล่าวนี้สรุปแนวคิดสำคัญในงานของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) ซึ่งเน้นศึกษาว่า “ตัวตน” หรือ “ปัจเจกบุคคล” ถูกสร้างและกระทำต่ออย่างไร ทั้งในระดับที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นและในระดับที่บุคคลกระทำต่อตนเองผ่านกระบวนการที่เขาเรียกว่า “เทคโนโลยีของตนเอง” (technologies of the self)
1. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเองและผู้อื่น
ฟูโกต์สนใจว่าโครงสร้างทางสังคม อำนาจ และสถาบัน (เช่น ศาสนา การศึกษา และกฎหมาย) มีบทบาทอย่างไรในการหล่อหลอมตัวตนของบุคคล ผ่านกระบวนการที่เขาเรียกว่า การครอบงำจากภายนอก (external domination) เช่น การตั้งมาตรฐานหรือบรรทัดฐานที่ควรปฏิบัติตาม
2. การกระทำต่อตนเอง (technologies of self) ในอีกแง่หนึ่ง เขาให้ความสำคัญกับวิธีที่บุคคล “ปฏิบัติต่อตนเอง” หรือสร้างตัวตนขึ้นมาเองในเชิงศีลธรรม จิตวิทยา หรือทางจิตวิญญาณ เช่น การตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวเอง การฝึกฝนความคิด หรือการสะท้อนตัวตน ฟูโกต์มองว่านี่เป็นรูปแบบของ อำนาจที่เรานำมาใช้กับตัวเอง (self-governance) ซึ่งมีรากฐานมาจากการที่สังคมมอบบรรทัดฐานบางอย่างให้กับเรา แล้วเราตีความหรือปรับใช้มัน
3. ประวัติศาสตร์ของปัจเจกบุคคล (history of the subject)
ฟูโกต์ต้องการศึกษาว่า “ตัวตน” หรือ “ปัจเจกบุคคล” มีวิวัฒนาการหรือถูกสร้างขึ้นมาอย่างไรในแต่ละยุคสมัย ผ่านบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น แนวคิดเกี่ยวกับเพศ ศีลธรรม หรือการดำรงชีวิตในยุคกรีกโบราณ ยุคคริสตจักรยุคกลาง และยุคปัจจุบัน ล้วนสะท้อนวิธีที่คนในยุคนั้น มองตนเองและผู้อื่น ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
โดยสรุป ฟูโกต์สนใจว่าตัวตนของมนุษย์ไม่ได้เป็นสิ่งที่ “คงที่” หรือ “ธรรมชาติ” แต่เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการทางสังคม การครอบงำจากภายนอก และการสร้างจากภายในที่ซับซ้อนตลอดประวัติศาสตร์
Foucault’s Intellectual ‘Tools’: The Archaeology of Knowledge
Michel Foucault พัฒนาแนวทาง “Archaeology of Knowledge” ซึ่งเป็นวิธีการทางปัญญาที่มีรากฐานเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับ ทฤษฎีภาษา โดยเฉพาะความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างและสัญญะในภาษา นี่คือแนวคิดและวิธีการหลัก
1. Archaeology of Knowledge คืออะไร?
คำตอบคือ Archaeology of Knowledge เป็นวิธีการที่ใช้ศึกษาความรู้ (knowledge) โดยวิเคราะห์ว่า ระเบียบของภาษาและวาทกรรม (discourse) ในยุคต่าง ๆ สร้างขึ้นอย่างไร โดยเน้นการเปิดเผย โครงสร้างของความคิด ที่ซ่อนอยู่ในประวัติศาสตร์ ศึกษาว่าความรู้ถูกกำหนดโดยกฎเกณฑ์และเงื่อนไขทางภาษาและสังคมอย่างไร
วาทกรรม (discourse) ไม่ใช่แค่การสื่อสารด้วยคำพูด แต่เป็นระบบของกฎและแนวคิดที่กำหนดสิ่งที่ถือว่าเป็น “ความรู้” อีกทั้งภาษาไม่ใช่ตัวแทนของความเป็นจริงที่ตายตัว แต่มันกำหนดวิธีที่เรามองโลก
2. ความเชื่อมโยงกับทฤษฎีภาษา
Foucault นำหลักการจาก Ferdinand de Saussure และนักโครงสร้างนิยม (Structuralism) มาใช้ เช่น ภาษากำหนดความหมายเช่นเดียวกับที่ Saussure เสนอว่า signifier และ signified เชื่อมโยงกันอย่างพลการ (arbitrary), Foucault เสนอว่า discourse เป็นสิ่งที่กำหนดความหมายและความรู้ มากกว่าจะสะท้อนความจริงแบบตรงไปตรงมา
เครือข่ายของความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับวาทกรรมได้ความหมายจากการเป็นส่วนหนึ่งของระบบหรือโครงสร้าง ไม่ใช่จากคำหรือประโยคโดดๆ
3. วิธีการทาง Archaeology
Foucault ใช้แนวทาง Archaeology เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์ระบบความรู้ในแต่ละช่วงเวลา โดยมีขั้นตอนดังนี้ การระบุหรือบ่งชี้วาทกรรม (Discourse Identification) โดยการ วิเคราะห์ข้อความหรือสัญญะในภาษา เช่น เอกสาร ประวัติศาสตร์ หรือคำพูด รวมทั้งระบุว่าอะไรคือ “วาทกรรมที่โดดเด่น” (dominant discourse) ในยุคสมัยนั้น
การศึกษากฎเกณฑ์ที่กำหนดวาทกรรม ค้นหากฎที่กำหนดว่าสิ่งใดสามารถถูกพูดถึงหรือเป็นความรู้ได้ตัวอย่างเช่น กฎที่ทำให้เรื่องสุขภาพจิตถูกมองว่าเป็น “โรค” ในยุคหนึ่ง เป็นต้น
การเปิดเผย ‘เงื่อนไขของความเป็นไปได้’ (Conditions of Possibility) ศึกษาว่าเงื่อนไขทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองในยุคนั้น ๆ อนุญาตให้เกิดวาทกรรมเฉพาะแบบใด รวมถึงการวิเคราะห์ช่องว่างและความเงียบในวาทกรรม พิจารณาว่าสิ่งใดถูกละเว้น (excluded) หรือถูกปิดกั้นไม่ให้เป็นความรู
แนวคิดโบราณคดีแห่งความรู้ในมุมมองของฟูโกต์มุ่งเปิดเผย กฎและโครงสร้างที่ซ่อนอยู่ ซึ่งกำหนดขอบเขตของความคิดและการกระทำในยุคสมัยนั้น ๆ แนวคิดนี้เตือนเราว่าเสรีภาพทางความคิดไม่ได้มีอยู่โดยสมบูรณ์ เพราะความคิดและการพูดของเราถูกกำหนดโดยโครงสร้างทางภาษา วาทกรรม และสถาบันที่เรามักไม่รู้ตัวว่ากำลังปฏิบัติตาม
ตัวอย่างการใช้ Archaeology of Knowledge เช่น ในงาน “The Birth of the Clinic” Foucault วิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของการแพทย์สมัยใหม่ โดยชี้ให้เห็นว่าการมอง “โรค” และ “ผู้ป่วย” ถูกกำหนดขึ้นโดยเงื่อนไขทางวาทกรรมที่เปลี่ยนไปในยุคศตวรรษที่ 18 เชื่อมโยงกับงาน Madness and Civilization ฟูโกต์วิเคราะห์ว่าความคิดเกี่ยวกับ “ความบ้าคลั่ง” ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไรผ่านกฎเกณฑ์ทางสังคมและสถาบัน รวมทั้งชี้ให้เห็นว่าการจำแนกพฤติกรรมบางอย่างว่า “บ้า” ไม่ได้เป็นธรรมชาติ แต่ถูกกำหนดขึ้นผ่านวาทกรรมของเหตุผลและการแพทย์ อีกทั้งยังเปิดเผยว่ากฎเหล่านี้จำกัดวิธีที่ผู้คนคิดเกี่ยวกับ “ความเจ็บป่วยทางจิต” โดยกำหนดให้ต้องอยู่ในกรอบของการแพทย์
ในหนังสือ Discipline and Punish ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจาก “การลงโทษร่างกาย” สู่ “การควบคุมจิตใจ”
โดยยุคก่อนสมัยใหม่ การลงโทษเน้นที่การทำร้ายร่างกายอย่างเปิดเผย เช่น การประหารชีวิตในที่สาธารณะ หรือการทรมานเพื่อเป็นการข่มขู่และสร้างความกลัว ตัวอย่าง การประหารด้วยการแขวนคอหรือเผาทั้งเป็น เป็นการแสดงอำนาจของรัฐให้ประชาชนเห็น
ในยุคสมัยใหม่ทการลงโทษเปลี่ยนไปเน้นการ “ควบคุม” และ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” ของผู้คน
ดังนั้นอำนาจไม่ได้ใช้ความรุนแรงตรง ๆ แต่ใช้การสอดส่อง การควบคุมชีวิตประจำวัน และการฝึกฝน (discipline) การลงโทษเริ่มเคลื่อนย้ายจากที่สาธารณะไปสู่พื้นที่ปิด เช่น เรือนจำ โรงพยาบาล และโรงเรียน
แนวคิด Panopticon สัญลักษณ์ของการสอดส่องในสังคมสมัยใหม่ โดย Foucault ใช้แนวคิดของ Panopticon ซึ่งเป็นเรือนจำที่ออกแบบโดย Jeremy Bentham คำว่า Panopticon คือเรือนจำที่มีหอคอยกลาง โดยผู้คุมสามารถมองเห็นนักโทษได้ทุกเวลา แต่ตัวผู้คุมเองไม่จำเป็นต้องถูกมองเห็น แนวคิดนี้สร้างขึ้นจากสถานการณ์ที่นักโทษรู้สึกว่าถูกเฝ้าดูตลอดเวลา แม้ในความเป็นจริงผู้คุมอาจไม่ได้เฝ้าดูอยู่เลย
สิ่งที่เรามองเห็นคือ ความสำคัญของ Panopticon ในเชิงสังคม Panopticon กลายเป็นต้นแบบของ “สังคมแห่งการสอดส่อง” (Surveillance Society) ที่รัฐและสถาบันต่าง ๆ ใช้ควบคุมประชาชน ผู้คนเรียนรู้ที่จะควบคุมพฤติกรรมของตนเอง เพราะรู้สึกว่าตนกำลังถูกจับตามอง
แนวคิดเรื่องระเบียบวินัย” (Discipline) และการสร้างร่างกายที่เชื่อฟัง Foucault อธิบายว่าระเบียบวินัยเป็นเทคนิคของอำนาจที่ถูกนำมาใช้ควบคุมร่างกายมนุษย์ในสังคม ผ่านสถาบันต่าง ๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ทหาร และเรือนจำ ใช้กระบวนการฝึกฝน (training) เพื่อสร้างร่างกายที่มีประสิทธิภาพและเชื่อฟัง ตัวอย่างเช่น การฝึกทหารให้เดินแถวเป็นระเบียบ การกำหนดตารางเวลาในโรงเรียน หรือการรักษาโรคในโรงพยาบาล ดังนั้นระเบียบวินัยนี้ทำให้ร่างกายมนุษย์กลายเป็น “เครื่องจักร” ที่ถูกควบคุมโดยระบบ
ฟูโกต์ใช้คำว่า “วินัย” (Discipline) หรือ “อำนาจทางวินัย” (Disciplinary Power) ในแง่ของ รูปแบบหนึ่งของอำนาจ ที่ไม่จำกัดแค่ในสถาบันหรือเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่มันคือวิธีการที่อำนาจถูกใช้ในรูปแบบต่างๆ ผ่านชุดของ เครื่องมือ, เทคนิค, กระบวนการ, ระดับการใช้, และเป้าหมายต่างๆ ซึ่งมีการประยุกต์ใช้ในหลายๆ ด้าน เช่น การศึกษาหรือการควบคุมทางสังคม
เป้าหมายของการใช้วินัย คือ การสร้าง ร่างกายที่เชื่อง หรือ “docile bodies” ที่สามารถถูกควบคุม, ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และทำงานตามสิ่งที่สังคมต้องการ โดยผ่านกระบวนการฝึกฝนและควบคุมตัวเองอย่างต่อเนื่อง
การปกครองและอำนาจแบบใหม่ที่เรียกว่า Biopower ในงาน Discipline and Punish ยังปูพื้นฐานแนวคิดเรื่อง Biopower (อำนาจชีวภาพ) คำว่า Biopower คืออำนาจที่มุ่งควบคุมชีวิตมนุษย์ในระดับจุลภาค เช่น สุขภาพ การเจริญพันธุ์ ความรู้ทางชีววิทยา
รัฐใช้อำนาจนี้เพื่อจัดระเบียบประชากร ไม่ว่าจะผ่านการแพทย์ นโยบายสาธารณสุข หรือการศึกษา เป็นต้น
ในมุมมองของฟูโกต์ คือ การตัดสินบุคคลไม่ใช่จากการกระทำที่ถูกต้องหรือผิดโดยตรง แต่จากการเปรียบเทียบการกระทำของพวกเขากับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่มีลำดับชั้น เช่น การจัดลำดับความปกติของการกระทำ ซึ่งจะทำให้เกิดการจำแนกแยกระหว่าง ร่างกายที่ปกติ และ ร่างกายที่ผิดปกติ (normal and abnormal bodies)
ฟูโกต์ชี้ว่า เราถูก ยึดโยง ให้เข้าไปอยู่ในระบบการตัดสินที่ละเอียดและแทรกซึมในทุกด้านของชีวิต ผ่าน การลงโทษขนาดเล็ก (micro-penalties) ซึ่งอาจเป็นเรื่องของเวลา กิจกรรม คำพูด รูปร่าง หรือแม้กระทั่งเรื่องเพศ ระบบเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้การลงโทษที่รุนแรง แต่เป็นการ ลงโทษที่ละเอียดและต่อเนื่อง ซึ่งมีผลให้คนเริ่มปรับตัวเองตามความคาดหวังของสังคม เช่น การควบคุมกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน การพูด หรือการแสดงออกทางร่างกายและเพศ
การใช้วินัย ไม่เพียงแต่เป็นการลงโทษความไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ แต่ยังเป็นการสร้าง “ความผิดปกติ” หรือการทำให้สิ่งที่ไม่ปกติกลายเป็นสิ่งที่ควรได้รับการปรับปรุงหรือถูกลงโทษ การลงโทษนี้ส่งผลให้บุคคลพยายามปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมกับสิ่งที่สังคมกำหนดว่าคือ “ความปกติ” (normalcy) ผ่านการประเมินอย่างละเอียดในทุกๆ ด้านของชีวิต
เหมือนเรามองคนคนคนหนึ่งแล้วบอกว่าผอมไป เรามีเกณฑ์ชุดหนึ่งในหัวของเรา
ตัวอย่างในชีวิตจริงของแนวคิดใน Discipline and Punish
1. กล้องวงจรปิด (CCTV)
การติดกล้องวงจรปิดในพื้นที่สาธารณะทำให้ผู้คนรู้สึกว่ากำลังถูกเฝ้าดู และพวกเขาปรับพฤติกรรมให้เป็นไปตามกฎโดยไม่จำเป็นต้องมีการบังคับโดยตรง
2. ตารางเวลาในโรงเรียนและที่ทำงาน:
ตารางเวลาและระเบียบในโรงเรียนหรือที่ทำงานสะท้อนถึงแนวคิดของการฝึกฝนและควบคุมชีวิตประจำวัน
3. การตรวจสอบสุขภาพ
การที่รัฐเก็บข้อมูลสุขภาพประชากร เช่น การฉีดวัคซีน การควบคุมโรคระบาด แสดงถึงการใช้อำนาจในเชิงชีวภาพ (Biopower)
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น