มองความเป็นแม่และอนามัยเจริญพันธ์ุ ผ่านมุมมองมานุษยวิทยาวิทยาการแพทย์ จาก งานของ Wallace โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล
หนังสือ Anthropologies of Global Maternal and Reproductive Health (2021) โดย Lauren J. Wallace เป็นหนังสือที่นำเสนอการศึกษาด้านสุขภาพมารดาและการเจริญพันธุ์ในบริบทโลกาภิวัตน์ โดยใช้มุมมองทางมานุษยวิทยา หนังสือเล่มนี้เจาะลึกถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง วัฒนธรรม และสังคมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมารดาและระบบอนามัยเจริญพันธุ์ทั่วโลก พร้อมทั้งสำรวจผลกระทบจากนโยบาย การพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่ส่งผลต่อระดับชุมชนและชีวิตปัจเจกบุคคล
ความสำคัญของหนังสือ ช่วยให้เข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพมารดาและการเจริญพันธุ์กับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ส่งเสริมการตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในการวางแผนนโยบายด้านสุขภาพ รวมทั้งช่วยให้นักวิจัย นักพัฒนา และผู้กำหนดนโยบายตระหนักถึงผลกระทบของแนวทางปฏิบัติระดับโลกที่มีต่อชุมชนท้องถิ่น
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจประเด็นด้านสุขภาพโลก มานุษยวิทยาการแพทย์ และการพัฒนาสังคมในบริบทของความยุติธรรมทางเพศและสุขภาพ
เนื้อหาสำคัญในหนังสือปนะกอบด้วย
1. มุมมองทางมานุษยวิทยาหนังสือเน้นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ความไม่เท่าเทียมทางสังคม และบทบาทของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนในระบบสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์
2. กรณีศึกษาที่หลากหลาย หนังสือรวบรวมกรณีศึกษาจากภูมิภาคต่าง ๆ เช่น แอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของวัฒนธรรมและโครงสร้างทางสังคมในแต่ละพื้นที่ เช่น การเข้าถึงบริการสุขภาพมารดาในพื้นที่ชนบท หรือความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอดในบริบทท้องถิ่น
3. แนวคิดสำคัญ
Reproductive Justice (ความยุติธรรมด้านอนามัยเจริญพันธุ์) การวิเคราะห์ว่าผู้หญิงแต่ละกลุ่มมีความสามารถหรือข้อจำกัดในการควบคุมร่างกายของตนเองอย่างไร
Global Health Governance ผลกระทบของนโยบายโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพในระดับท้องถิ่น
Embodied Experiences: การตั้งครรภ์และการเจริญพันธุ์ในฐานะประสบการณ์ที่สะท้อนวัฒนธรรมและโครงสร้างสังคม
ตัวอย่างเชิงรูปธรรมจาก “Anthropologies of Global Maternal and Reproductive Health” นำเสนอกรณีศึกษาที่แสดงถึงความซับซ้อนของบริบทสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นสุขภาพมารดาและการเจริญพันธุ์ทั่วโลก ตัวอย่างเชิงรูปธรรมที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้ เช่น
1. กรณีศึกษาใน Sub-Saharan Africa: มีการอธิบายว่าสตรีในชนบทของแอฟริกามักประสบปัญหาในการเข้าถึงบริการสุขภาพมารดา เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ และความเชื่อดั้งเดิมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับการรักษา
การคลอดบุตรในชนบทของ Sub-Saharan Africa บริบทในหลายประเทศของ Sub-Saharan Africa เช่น เคนยาและยูกันดา ผู้หญิงในชนบทมักเผชิญกับความท้าทายในการเข้าถึงบริการสุขภาพมารดา เช่น คลินิกฝากครรภ์หรือโรงพยาบาล
ประเด็นปัญหาเกิดจากโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ: ถนนขรุขระหรือขาดพาหนะที่เหมาะสมทำให้การเดินทางไปยังสถานพยาบาลเป็นเรื่องยาก รวมทั้งการขาดบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะโรงพยาบาลหรือศูนย์สุขภาพในพื้นที่ชนบทมักมีเจ้าหน้าที่จำกัด หรือบางครั้งไม่มีหมอผู้เชี่ยวชาญด้านการคลอดเลย
อิทธิพลขอฃความเชื่อดั้งเดิม ในบางชุมชน มีความเชื่อเกี่ยวกับการคลอดในบ้านที่ผูกพันกับวัฒนธรรม เช่น ความเชื่อว่าการคลอดในโรงพยาบาลอาจนำโชคร้ายมาสู่ครอบครัว
การเตัวอย่างข้าไปหนุนเสริมหรือแก้ปัญหาดังกล่าว เช่น ตัวอย่างโครงการช่วยเหลือจาก NGOs ที่จัดตั้ง “Birth Waiting Houses” ใกล้โรงพยาบาล เพื่อให้ผู้หญิงที่กำลังจะคลอดสามารถรออยู่ในที่พักที่ปลอดภัยก่อนคลอดได้ ซึ่งแม้โครงการดังกล่าวจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาได้ แต่ก็ยังเกิดคำถามเกี่ยวกับวิธีการที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความอ่อนไหว ทางวัฒนธรรมและมุมมองของผู้หญิงในพื้นที่ในการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
2. โครงการอนามัยเจริญพันธุ์ในอินเดีย
หนังสือกล่าวถึงโครงการที่เน้นการวางแผนครอบครัวและการใช้ยาคุมกำเนิด โดยตั้งคำถามถึงการละเลยความต้องการและมุมมองของผู้หญิงในท้องถิ่น
โครงการควบคุมประชากรในอินเดีย ซึงบริบทในอินเดีย รัฐบาลได้ดำเนินโครงการวางแผนครอบครัวมาตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เพื่อควบคุมประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในชนบท
ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นคือการมุ่งเน้นเชิงนโยบาย และผลลัพธ์ เชิงปริมาณมากเกินไป โครงการจำนวนมากเน้นการแจกจ่ายยาคุมกำเนิดและการทำหมัน โดยไม่พิจารณาถึงผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจของผู้หญิง รวมถึงพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ความคาดหวังของครอบครัว ในหลายชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ผู้หญิงถูกกดดันให้มีลูกชายคนแรกก่อนที่จะพิจารณาใช้วิธีควบคุมการเจริญพันธุ์รวมถึงความไม่สมดุลของอำนาจระหว่างเพศชายกับหญิง สามีกับภรรยา เช่น ผู้หญิงอาจไม่มีสิทธิ์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับร่างกายตนเอง เนื่องจากสามีหรือสมาชิกครอบครัวมีอิทธิพลมากกว่า
การแก้ปัญหา หนึ่งในโครงการที่หนังสือเล่มนี้พูดถึงคือการพยายามปรับนโยบายให้เหมาะสมกับบริบท โดยเน้นการให้ความรู้และการสนับสนุนการเลือกอย่างอิสระแทนการบังคับ แม้การปรับปรุงจะช่วยลดความตึงเครียดระหว่างชุมชนและรัฐได้บางส่วน แต่ยังมีความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมบางอย่าง
3. บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ วิเคราะห์ว่าการแทรกแซงขององค์การอนามัยโลก (WHO) หรือ NGOs บางแห่ง อาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างแนวปฏิบัติระดับสากลกับค่านิยมในท้องถิ่น
การใช้มาตรฐานระดับโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย การแทรกแซงด้านสุขภาพมารดามักได้รับอิทธิพลจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น WHO หรือ UNFPA
ประเด็นปัญหาก็คือ ความขัดแย้งระหว่างมาตรฐานระดับโลกและท้องถิ่น เนื่องจากแนวทางขององค์กรระดับโลกอาจไม่ได้คำนึงถึงบริบททางศาสนาและวัฒนธรรมในท้องถิ่น เช่น กฎหมายห้ามทำแท้งในฟิลิปปินส์ ที่สวนทางกับเป้าหมายการลดการเสียชีวิตของมารดา รวมทั้งการขาดความเข้าใจในความเปราะบางและอ่อนไหวต่อบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ในบางโครงการ องค์กรระดับโลกเน้นเป้าหมายเชิงตัวเลข เช่น การลดอัตราการเสียชีวิตของมารดา แต่ละเลยความต้องการและมุมมองเชิงวัฒนธรรม
การแก้มีไขปัญหา เช่น มีการพัฒนาโครงการที่ปรับใช้แนวทางการดูแลแบบผสมผสาน เช่น การฝึกอบรมหมอตำแยพื้นบ้านให้ทำงานร่วมกับระบบสุขภาพ เกิดการผสานความร่วมมือระหว่างความรู้สมัยใหม่และความรู้ดั้งเดิมช่วยสร้างความไว้วางใจในชุมชนและปรับปรุงคุณภาพการบริการ
แนวคิดที่ได้จากตัวอย่างเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นการดูแลสุขภาพมารดาและอนามัยเจริญพันธุ์ไม่ใช่เพียงเรื่องของการแพทย์ แต่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง รวมทั้งการเข้าใจบริบทวัฒนธรรมเป็นสิ่งจำเป็นในการออกแบบและดำเนินโครงการ โครงการระดับโลกควรมีความยืดหยุ่น และเปิดรับความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่ หนังสือเล่มนี้ช่วยให้ผู้อ่านเห็นมุมมองที่ซับซ้อนของระบบสุขภาพและการเจริญพันธุ์ทั่วโลก พร้อมนำเสนอกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาที่ใส่ใจความหลากหลายและความเป็นธรรม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น