The idea that some lives matter less is the root of all that is wrong with the world.” (
Paul Farmer, Pathologies of Power (2005))
ความคิดที่ว่าชีวิตบางคนมีค่าน้อยกว่าคือรากเหง้าของทุกสิ่งที่ผิดพลาดในโลกนี้
“…specific inequalities, entrenched in our social and economic structures, shape not only who gets sick but who has access to care.”(Paul Farmer, Infections and Inequalities (1999))
ความไม่เท่าเทียมที่ฝังรากในโครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจไม่เพียงกำหนดว่าใครจะป่วย แต่ยังรวมถึงว่าใครจะได้รับการดูแลรักษา นี่คือภาพสะท้อนความรุนแรงเชิงโครวสร้างในระบบสุขภาพ
“For me, human rights are not only an ethical obligation. They are also a social contract, one that society makes with all its members. These rights are breached when the suffering of some is ignored while the comfort of others is prioritized.”(Paul Farmer, To Repair the World (2013))
Farmer มองว่า สิทธิมนุษยชนไม่ใช่เพียงแค่ภาระทางจริยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญญาทางสังคมที่สังคมทำไว้กับสมาชิกทุกคน สิทธิเหล่านี้ถูกละเมิดเมื่อความทุกข์ทรมานของบางคนถูกมองข้าม ในขณะที่ความสะดวกสบายของบางคนกลับถูกให้ความสำคัญ”) Farmer เน้นว่าการไม่สนใจคนชายขอบหรือผู้ด้อยโอกาสถือเป็นการละเมิดสัญญาทางสังคม
“Global health equity is not a dream, but an imperative. It’s about ensuring that every person, regardless of geography or wealth, has the opportunity to lead a healthy and productive life.”(Paul Farmer, Reimagining Global Health (2013))
ความเท่าเทียมในสุขภาพระดับโลกไม่ใช่ความฝัน แต่เป็นสิ่งจำเป็น มันคือการทำให้มั่นใจได้ว่าทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือมีฐานะใด มีโอกาสที่จะมีชีวิตที่สุขภาพดีและมีประสิทธิภาพ” Farmer แสดงถึงความสำคัญของความยุติธรรมในระบบสุขภาพโลก
“Medicine is a social science, and politics is nothing but medicine on a large scale.”
การแพทย์คือสังคมศาสตร์ และการเมืองคือการแพทย์ในระดับมหภาค Farmer ใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าการแพทย์และการเมืองเกี่ยวพันกัน และการแก้ปัญหาสุขภาพต้องมีมิติทางการเมืองด้วย
ในความเป็นจริง การช่วยเหลือผู้ป่วย การรักษาผู้ป่วย ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด สถานะทางเศรษฐกิจสังคมแบบใดอย่างเสมอภาคเท่าเทียมเป็นสิ่งที่สะท้อนจริยธรรมทางการแพทย์และความเป็นมนุษย์ที่กระทำระหว่างกันมากที่สุด ในขณะที่สิ่งนี้เป็นเป้าหมายสูงสุด ที่เราต้องการหมอที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ แต่การช่วยเหลือคนบางกลุ่ม บางครั้งถูกมองว่าเป็น “ภาระงบประมาณ” ของประเทศนั้นในการดูแลรักษาและป้องกันโรค ความย้อนแย้งกันนี้ มันถูกเชื่อมโยงเข้ากับสิ่งที่เรียกว่าอคติทางชาติพันธุ์ ….
เมื่อวาน ผมสอนหัวข้อชาติพันธุ์ในชีวิตประจำวัน หยิบยกอคติทางชาติพันธุ์ในชีวิตประจำวันมาให้นักศึกษาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนทบทวนและตรวจสอบ อคติของเรา ที่เกิดขึ้นกับคนอื่น ชาติพันธุ์อื่นๆ ความคิดเกี่ยวกับแรงงานข้ามขาติ …ทั้งความรู้สึกร่วมกับข่าว ทัศนคติ คำพูด ภาษากาย ขยับออก ไม่เดินเข้าใกล้ การไม่พูดถึง ไม่อยากพูดถึง และอื่นๆล้วนสะท้อนอคติ ที่เกิดจาก ภาพจำ ประสบการณ์ส่วนตัว การถูกเลี้ยงดูจากครอบครัว ถูกสอนในโรงรียน การอ่านหนังสือ ดูภาพยนต์ ดูโฆษณา และสื่อต่างๆ เหล่านี้ ล้วนทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าอคติ ..ผมหยิบนกประเด็นข่าวเกี่ยวกับดราม่าการรักษาพยาบาลของต่างด้าวฝนประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน ผมดีใจที่ นักศึกษาพูดถึงเรื่องมนุษยธรรม และเสนอมุมมองต่อการจัดการเรื่องนี้ ให้เกิดประโยชน์กับคนทุกกลุ่ม โดยเอาบริบทของพื้นที่ ข้อเท็จจริงมาพิจารณา…ข้อสรุปที่ได้คือ
การมองบริบทของระบบสาธารณสุขและข้อจำกัดขององค์กรนัันๆ เช่น โรงพยาบาลรัฐมักต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดของงบประมาณ ทรัพยากร และจำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรผู้ใช้บริการจำนวนมาก ขณะที่โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลเอกชนมุ่งเน้นเรื่องผลกำไรและการให้บริการที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง จึงมีทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหนือกว่า แต่ในบางครั้งสิ่งนี้อาจทำให้ความเป็นมนุษยธรรมในแง่ของ “การช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียม” ถูกลดทอนลง
ในขณะที่ อุดมการณ์ของแพทย์ในพื้นที่ชายแดนนั้น แพทย์ในพื้นที่ชายแดนหรือพื้นที่ที่มีข้อจำกัดสูงมักต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ “ความจำเป็นเร่งด่วน” ของผู้ป่วยโดยไม่แบ่งเชื้อชาติหรือสัญชาติ ภายใต้แรงจูงใจทางมนุษยธรรม ในพื้นที่เหล่านี้ แพทย์มักตระหนักถึงความเปราะบางของชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มคนข้ามชาติหรือผู้ลี้ภัยที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ในประเทศของตน รวมถึงประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองและการใช้งบประมาณการช่วยเหลือคนข้ามชาติบางครั้งถูกมองว่าเป็น “ภาระงบประมาณ” ของประเทศ ทั้งที่ในความเป็นจริง การช่วยเหลือดังกล่าวมักสะท้อนจริยธรรมทางการแพทย์และความเป็นมนุษย์มากที่สุด
เราคุยกันในเรื่องมุมมองเชิงจริยธรรมและมนุษยธรรม
แพทย์ทุกคนได้รับการสอนเรื่องมนุษยธรรมและจริยธรรม แต่การนำไปปฏิบัติอาจถูกปรับให้เข้ากับบริบท เช่น ในโรงพยาบาลเอกชน ความสำคัญอาจเปลี่ยนจาก “การช่วยเหลือทุกคน” ไปเป็น “การให้บริการที่ดีที่สุดสำหรับผู้จ่ายเงิน” ในขณะที่แพทย์ชายแดนมักถูกขับเคลื่อนโดย “จริยธรรมทางการแพทย์” ในการช่วยชีวิตโดยไม่คำนึงถึงพรมแดนหรือสถานะสัญชาติ
ข้อเสนอแนะและทางออกที่ช่วบกันคิด
1.การปรับนโยบายและงบประมาณ รัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณสำหรับคนชายขอบและคนข้ามชาติในพื้นที่ชายแดน รวมถึงความชัดเจนของคนต่างด้าว หรือคนข้ามชาติ เพราะบางคนไม่ได้อยู่ฝั่งพม่า แต่พวกเขาอยู่เมืองไทยมานานโดยไม่มีบัตร โดยยึดหลักมนุษยธรรมเป็นหัวใจสำคัญ
2.ส่งเสริมความเข้าใจทางสังคม การให้ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับความสำคัญของมนุษยธรรมในบริบทสาธารณสุข เช่น การช่วยเหลือคนข้ามชาติสามารถลดการแพร่กระจายของโรคในภาพรวมได้ รวมถึงความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันภายใต้คงานมหลากหลาย เข้าใจบริบท เข้าสจผู้คน
สนับสนุนแพทย์ในทุกระดับ และในทุกรูปแบบ
เพิ่มทรัพยากรและการสนับสนุนแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐและชายแดน เพื่อให้พวกเขามีศักยภาพในการทำงานอย่างเต็มที่ รวมถึงการใช้องค์ความรู้พื้นบ้านเข้าไปส่งเสริมงาน เช่น หมอตำแยชาวบ้าน ผดุงครรภ์โบราณ ที่จะลดภาระของแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์
คลาสเมื่อวานเป็นคลาสที่สนุกมาก เพราะมีหลายสาขามาเรียน ไม่ใช่มีเพียงมานุษยวิทยา ยังมีโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ เอกไทย เอกฝรั่งเศส ได้เห็นมุมมองเยอะเลยจากการแลกเปลี่ยน..
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น