วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564

ความจริงของชนเผ่า ความจริงของนักมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เรื่องน่าอับอายของชนเผ่าในอูกันดา  ที่ถูกเข้าใจผิดมามากกว่า 40 ปี ...จนถูกศึกษาและทำให้เห็นความจริงในอีกแง่มุมหนึ่ง เขียนโดย Carly Cassella ชื่อ Uganda is infamous ‘selfish’ tribe has been misunderstood for almost 40 year . 

ชนเผ่า IK ในอูกันด้าเป็นชนเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนหุบเขาเล็กๆ ชื่อ KIDEPO ชื่อเสียงของเมืองนี้เป็นที่รู้กันดีของประเทศว่ามีข้อจำกัดของการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาด้านต่างๆและความแห้งแล้ง

ในปี 1960 นักมานุษยวิทยา ชื่อ Colin Turnbull ได้ตีพิมพ์หนังสือที่บรรยายเกี่ยวกับชนพื้นเมืองIK และเน้นย้ำ ประทับตราหรือชี้ให้เห็นลักษณะพิเศษของชนพื้นเมืองนี้คือ ความไม่เป็นมิตร ความไม่รู้จักแบ่งปัน ความเห็นแก่ตัว และชนพื้นเมืองนี้ถูกตั้งฉายาว่า the loveless people หรือชนเผ่าที่ไร้หัวใจ 

ในความจริงชนเผ่านี้ ต้องช่วยเหลือตัวเองอย่างมาก ภายใต้ภาวะของการดิ้นรนต่อสู้ต่อความอดอยากและความแห้งแล้ง ที่มากกว่าชุมชนอื่นๆข้างเคียง

Turnbull ได้เข้ามาวิจัยชุมชนในช่วงปี 1960-1967 และเสนอสมมติฐานว่า ชนเผ่า IK บ่มเพาะความเป็นปัจเจนชนนิยมตั้งแต่เด็กจนถึงบั้นปลายชีวิต พวกเขาละทิ้งเด็ก และขโมยอาหารของคนแก่ที่กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในชุมชน  อันที่จริง คำตอบของ Turnbull ที่อยู่ภายใต้การสังเกตการณ์ของเขาในสนาม และสิ่งที่เขาอ้างว่าชนเผ่า IK มีวัฒนธรรมของการเห็นแก่ตัวที่มากกว่าสังคมอื่นๆ เป็นข้อเสนอที่ถูกปฎิเสธในการศึกษาต่อๆมา แท้ที่จริงแล้วสภาวะความเห็นแก่ตัวมันคือผลผลิตของความอดอยากขาดแคลน (productive of famine) และการปรับตัวทางวัฒนธรรมต่อความอดอยาก (Cultural adaptation to scarcity ) 

นักวิจัยหลากสาขาได้เข้าไปสำรวจและศึกษาชนเผ่า IK ดังเช่น นักมานุษยวิทยาชื่อ Lee Cronk จากมหาวิทยาลัย Rutgers university New-Brunswickได้ทำการทดลองพฤติกรรมของชนเผ่าเกี่ยวกับความเห็นแก่ตัว โดยการออกแบบเกมส์เพื่อวัดพฤติกรรมดังกล่าว เปรียบเทียบกับสังคมต่างๆทั่วโลก พบว่าใน 100 คน ของกลุ่มตัวอย่าง ผลการทดสอบไม่แตกต่างจากคนในสังคมอื่นๆ ดังนั้นพฤติกรรมการเห็นแก่ตัวก็มีในมนุษย์ทุกสังคมไม่ใช่เพียงชนเผ่า IK เท่านั้น

ต่อมานักมานุษยวิทยาอย่าง Cathryn Townsend ได้ทุนไปทำวิจัยและไปอาศัยอยู่กับชุมชนพิ้นเมือง IKในช่วงปี 2016  งานภาคสนามของเขาได้ทำให้เขาค้นพบพฤติกรรมของความเอื้ออาทรของชนพื้นเมือง IK ที่เรียกว่า ‘Tomora marang ‘ หรือความหมายคือ มันคือสิ่งดีที่เราได้แบ่งปัน (it’a good to share) รวมทั้งในข่วงฤดูที่แห้งแล้ง ขาดแคลน ไม่มีผลผลิตในไร่นา ฝนไม่ตก แห้งแล้ง หรือโรคระบาด แต่ชาว IK กลับแบ่งปันผลผลิตที่เขาเก็บไว้หรืออาหารป่าที่หามาได้แก่กันในชุมชน 

ดังนั้นสิ่งที่เรามองเห็นได้จากข้อเขียนชิ้นนี้คือ ภาวะเงื่อนไขของพฤติกรรมของมนุษย์ที่ลื่นไหล ในบางภาวะที่ความเอื้ออาทรเสื่อมสลายลง พร้อมกับการเกิดขึ้นของภาวะความเห็นแก่ตัวอย่างที่สุด ที่เกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัด ความเสี่ยงและภาวะตึงเครียดทางสังคม  ในขณะเดียวกันพวกเขาก็พร้อมจะเอื้ออาทรเพื่อให้ภาวะความมั่นคงของชุมชนดำรงอยู่ได้

****นักมานุษยวิทยาต้องพยายามทำความเข้าใจความหมายจากมุมของคนที่เราศึกษา ไม่สร้างภาพตัวแทนให้กับกลุ่มที่ศึกษาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง และต้องทำความเข้าใจผ่านการให้ความหมายต่อพฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออกอย่างแท้จริง... การไม่มีอคติทางชาติพันธุ์ ที่สร้างความเหนือกว่าด้อยกว่าทางวัฒนธรรม และยอมรับว่าพฤติกรรมแบบนี้ก็พบได้ในมนุษย์ในทุกสังคมแม้ในสภาวะปัจจุบัน

ไม่มีสังคมชุมชนใด มนุษย์หรือกลุ่มคนใด เหนือกว่าคนอื่น พวกเขามีเหตุผลในการกระทำ ซึงเป็นเหตุผลเช่นเดียวกับคนกลุ่มอื่น เพียงแค่เป็นเหตุผลคนละชุดกันเท่านั้นเอง...



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...