ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2024

สุขภาพ ความเจ็บป่วยกับมิติเชิงร่างกาย โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Hungry Bodies are socially produced ร่างกายที่หิวโหยเป็นสิ่งที่สังคมผลิตและสร้างความหมายบางอย่างให้เกิดขึ้นกับร่างกายของมนุษย์ มนุษย์มีความต้องการความมีสุขภาพดีที่มาจากอาหารที่ดีและสมบูรณ์เพียงพอ แต่ปัญหาของผู้หิวโหยในส่วนต่างๆของโลกเกี่ยวโยงกับประเด็นที่ว่าด้วยการแย่งชิงทรัพยากร แหล่งทรัพยากรที่ขาดแคลน การขาดเทคโนโลยี ความรู้และการมีจำนวนประชากรที่มากเกินไป ในขณะเดียวกันสิ่งที่น่าสนใจคือปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร ที่ดิน ป่าไม้น้ำ หรือเทคโนโลยี สัมพันธ์กับเรื่องอำนาจ ใครเป็นเจ้าของ ใครมีอำนาจตัดสินใจ ใครทำหน้าที่ใช้และจัดสรรทรัพยากร ที่นำไปสู่ปฎิบัติการด้านอาหารและการผลิต ดังนั้นการพิจารณาถึงสาเหตุดังกล่าวนอกจากจะพิจารณาความเหมาะสมในมิติทางสังคมวัฒนธรรมแล้ว ควรที่จะพิจารณาให้เห็นความสำคัญและความขัดแย้งในมิติเชิงการเมืองด้วย เช่น ทุนข้ามชาติที่ควบคุมเทคโนโลยี การจัดการที่ดินของภาครัฐและการใช้ประโยชน์จากที่ดินและสารเคมีที่เข้มข้นที่เกี่ยวพันธ์กับการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการส่งออก ที่ซึ่งทำลายความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงด้านอาหาร นอกจากนี้ ความหิวโหยมันสัมพัน...

ภาวะ “Back Loop“ วิกฤต โอกาส และการปรับตัว ในยุคแอนโทรโพซีน มองผ่านงาน Stephanie Wakefield โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

หนังสือ “Anthropocene Back Loop: Experimenting with Posthuman Futures” (2020) โดย Stephanie Wakefield เป็นหนังสือที่สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับ Anthropocene (ยุคที่มนุษย์มีอิทธิพลต่อโลกอย่างลึกซึ้ง) และการปรับตัวต่อความไม่แน่นอนในอนาคต โดยนำเสนอกรอบความคิดที่เรียกว่า “back loop” หรือการวนกลับ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดึงมาจากทฤษฎีระบบนิเวศ (ecological systems theory) หนังสือเล่มนี้เป็นการสำรวจความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค Anthropocene ที่มนุษย์กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลหลักต่อสิ่งแวดล้อมและระบบโลก โดย Wakefield นำเสนอกรอบแนวคิด “back loop” เพื่ออธิบายช่วงเวลาวิกฤติในระบบนิเวศที่เกิดขึ้นพร้อมกับโอกาสในการสร้างอนาคตใหม่ที่ไม่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (posthuman futures) แนวคิดสำคัญในหนังสือ 1. Back Loop ของ Anthropocene “Back loops are not merely moments of collapse but are crucial times for experimentation, creativity, and building new futures.” ”ช่วง back loop ไม่ใช่แค่ช่วงเวลาแห่งความล่มสลาย แต่เป็นโอกาสสำคัญในการสร้างสรรค์และทดลองสิ่งใหม่“ แนวคิดเรื่อง Back Loop ของ Wakefield อธิบายว่า “ba...

ความท้าทาย ต่อสิ่งมีชีวิตเทียม Artificial life โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

“Frankenstein remains a timeless critique of the limits of human ambition and the unintended consequences of technological creation.” (Frankenstein ยังคงเป็นคำวิพากษ์ที่ไร้กาลเวลาเกี่ยวกับขีดจำกัดของความทะเยอทะยานของมนุษย์และผลกระทบที่ไม่คาดคิดจากการสร้างสรรค์เทคโนโลยี) “Artificial life challenges us to rethink the boundaries between human and machine, creator and creature.”(ชีวิตเทียมท้าทายเราให้พิจารณาขอบเขตระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ผู้สร้างกับสิ่งที่ถูกสร้าง) “With the power to create life comes the moral obligation to nurture, protect, and respect what we bring into existence.” (เมื่อเรามีพลังในการสร้างชีวิต เรามีภาระทางศีลธรรมที่จะดูแล ปกป้อง และเคารพสิ่งที่เรานำเข้าสู่การดำรงอยู่) “Shelley’s monster is a warning against the hubris of creators who abandon their creations.” (สัตว์ประหลาดใน Frankenstein เป็นคำเตือนต่อความหยิ่งผยองของผู้สร้างที่ทอดทิ้งสิ่งที่พวกเขาสร้างขึ้น) ข้อความจากหนังสือชื่อ Artificial Life After Frankenstein โดย Eileen Hunt Botting เป็นงานวิชาการที่สำ...

ร่างกายและความเจ็บปวด ในมุมมองทางมานุษยวิทยา ผ่านงาน ของ Elaine Scarry โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ผมคิดว่า ผมก็กำลังแปลงความเจ็บปวดให้กลายเป็นพลังสร้างสรรค์ ผมไม่พูดแต่ผมเขียน หนังสือ The Body in Pain: The Making and Unmaking of the World (1985) โดย Elaine Scarry สำรวจประสบการณ์ของความเจ็บปวด (pain) และบทบาทของมันในกระบวนการสร้างและทำลายโลกของมนุษย์ โดยเน้นว่าความเจ็บปวดไม่เพียงแต่ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในบริบทต่าง ๆ เช่น การทรมาน (torture) และการสร้างสรรค์งานศิลปะ ภาษา และวัฒนธรรม แนวคิดสำคัญที่เขาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์นี้เช่น 1. ความเจ็บปวดคือความไร้ภาษา Scarry อธิบายว่า ความเจ็บปวดทำให้ผู้ที่ประสบกับมัน สูญเสียความสามารถในการสื่อสาร และผู้ที่มองเห็นหรือรับรู้ความเจ็บปวดของผู้อื่นก็ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างเต็มที่ ความเจ็บปวดจึงกลายเป็นสิ่งที่ “ไม่สามารถแปลเป็นภาษา” (unsharable) เพราะมันไม่มีการแสดงออกที่แท้จริงในเชิงภาษา ดังนั้นมันสีสิ่งที่เรียกว่าภาวะความเงียบในความเจ็บปวด Scarry ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่เจ็บปวดอย่างหนักมักหมดความสามารถในการใช้ภาษา ความเจ็บปวดจึง “ทำลาย” ภาษาไปพร้อม ๆ กับทำลายตัวตนด้วย 2. ความเจ็บปวดกับการทำลายโลก (Unm...

มานุษยวิทยา กับมุมมองภัยพิบัติ ผ่านงาน The Angry Earth : Disaster in Anthropological Perspective. โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

The Angry Earth: Disaster in Anthropological Perspective (1999)ผู้เขียนคือAnthony Oliver-Smith และ Susanna M. Hoffman เป็นหนังสือที่สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ วัฒนธรรม และภัยพิบัติ โดยให้มุมมองทางมานุษยวิทยาที่เน้นว่า ภัยพิบัติไม่ใช่เหตุการณ์ทางธรรมชาติอย่างเดียว แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ โครงสร้างทางสังคม และวัฒนธรรมของมนุษย์ หนังสือเล่มนี้ใช้กรณีศึกษาจากหลากหลายภูมิภาคทั่วโลกเพื่อแสดงให้เห็นว่าความเปราะบางของชุมชน (vulnerability) และความสามารถในการรับมือ หรือความยืดหยุ่นต่อปัญหา (resilience) เป็นผลผลิตของกระบวนการทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ดังนั้นภัยพิบัติไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่มีรากฐานในโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ผู้เขียนใช้กรณีศึกษาหลากหลายจากทั่วโลกเพื่อแสดงให้เห็นว่า ความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติมักสะท้อนความไม่เท่าเทียมทางสังคม และวิธีการที่ชุมชนต่าง ๆ รับมือกับภัยพิบัติขึ้นอยู่กับบริบททางวัฒนธรรมและทรัพยากรที่พวกเขามี หนังสือเล่มนี้ช่วยให้เราเข้าใจว่าภัยพิบัติไม่ใช่เพียงเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่เป็นปัญหาทางสัง...

แนวคิดมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ ของ Karl Polanyi โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

เตรียมตัวสอนมานุษยวิทยาเศรษฐกิจพรุ่งนี้ กับงานคลาสสิคที่มีพลังชิ้นนี้ Karl Polanyi เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักมานุษยวิทยาที่มีผลงานสำคัญในเรื่องระบบเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางสังคม หนังสือสำคัญของเขาคือ “The Great Transformation: The Political and Economic Origins of Our Time” (1944) หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในผลงานสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์และมานุษยวิทยาในเชิงวิพากษ์ต่อระบบตลาดและเศรษฐกิจร่วมสมัย งานของเขาเป็นผลงานที่มีผลกระทบทางวิชาการอย่างมากในด้านเศรษฐศาสตร์ มานุษยวิทยา และรัฐศาสตร์ โดย Polanyi ให้ความสำคัญกับการอธิบายผลกระทบของระบบตลาดต่อโครงสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจและตัวอย่างเชิงรูปธรรมดังนี้ 1. Karl Polanyi อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบเศรษฐกิจและสังคมของยุโรปช่วงศตวรรษที่ 19–20 จากเศรษฐกิจที่ฝังอยู่ในความสัมพันธ์ทางสังคม (embedded economy) ไปสู่เศรษฐกิจตลาดเสรี โดยเขาโต้แย้งว่าสังคมไม่ควรถูกควบคุมโดยตลาดเสรี เพราะจะนำไปสู่การล่มสลายของสังคมและสิ่งแวดล้อม Karl Polanyi เสนอแนวคิดว่าเศรษฐกิจควรฝังตัวอยู่ในสังคม (re-embeddi...

ผู้ทดลองยา ความเหลื่อมล้ำในมิติสุขภาพ มุมมองทางมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

นักมานุษยวิทยาศึกษาบุคลากรทางการแพทย์กับคนไข้ มาเยอะแล้ว ลองศึกษา คนที่ทดลองยา ให้เรามียารับประทานก็น่าสนใจไม่น้อย …. หนังสือ Adverse Events: Race, Inequality, and the Testing of New Pharmaceuticals (2020) โดย Jill A. Fisher เป็นงานวิจัยเชิงลึกที่มุ่งสำรวจการทดลองยาทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการเชื่อมโยงเรื่องนี้กับประเด็นเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางสังคม เชื้อชาติ และเศรษฐกิจในกระบวนการพัฒนาตัวยาใหม่ โดยหนังสือเล่มนี้มีเป้าหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่าใครเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้และใครได้รับผลประโยชน์ในระบบการทดสอบยาที่ครอบงำด้วยผลประโยชน์ทางการตลาดในระบบทุนนิยม แนวคิดสำคัญที่ผมคิดว่าเราจะได้จากหนังสือเล่มนี้ก็คือ 1. ระบบการทดลองยา ใครเข้าร่วมและทำไมต้องเข้าร่วม? Fisher ชี้ให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมการทดลองยาในสหรัฐฯ มักเป็นคนจากกลุ่มที่เปราะบางทางเศรษฐกิจ เช่น ชาวแอฟริกันอเมริกัน ชาวลาติน และผู้ที่มีรายได้น้อย ดังนั้นการทดลองยามักเสนอค่าตอบแทนที่ดึงดูดผู้ที่ต้องการรายได้เสริม ส่งผลให้การเข้าร่วมการทดลองกลายเป็น “ทางเลือกทางเศรษฐกิจ” สำหรับคนกลุ่มนี้ แม้จะมีความเสี่ยงต่...

ร่างกายหลากมิติ (Body Multiple) ภววิทยาในการปฏิบัติการทางการแพทย์ ในงานของ Annemarie Mol โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

เตรียมสอนมานุษยวิทยาว่าด้วยร่างกาย หรืออีกชื่อ ร่างกายในวัฒนธรรม เทคโนโลยี และสังคม ในหัวข้อ ร่างกายกับการแพทย์ ผมใช้หนังสือเล่มนี้ในการชวนคุยและเปิดประเด็นกับนักศึกษา The Body Multiple: Ontology in Medical Practice (2002) เขียนโดย Annemarie Mol ซึ่งถือเป็นงานเขียนที่ทรงอิทธิพลในวงการมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดยเฉพาะในสายวิชาที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ Annemarie Mol ใช้กรอบแนวคิดของ actor-network theory (ANT) และมุมมองของปรัชญา posthumanism เพื่อสำรวจว่า “ร่างกาย” (the body) ไม่ใช่สิ่งที่มีสถานะเดียว แต่เป็น “พหุสถานะ” “ความจริงหลากสภาวะ“ “พหุภาวะของการดำรงอยู่“ “พหุภาวะของความจริง” แล้วแต่จะใช้กัน แต่คำนี้มันมาจากคำภาษาอังกฤษที่ใช้ในหนังสือว่า“multiple ontologies” ซึ่งถูกกำหนดและสร้างขึ้นผ่านการมองลงไปที่ปฏิบัติทางการแพทย์ในแต่ละบริบท Mol ใช้วิธีการศึกษาที่เรียกว่าชาติพันธุ์วรรณนาหรือ ethnography ในการศึกษาคลินิกที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ในโรงพยาบาลของเนเธอร์แลนด์ โดยเธอแสดงให้เห็นว่าความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ถูกผลิตขึ้นในมิติที่หลากหลาย เช่น ท...

พื้นที่ และสถานที่ กับการประกาศพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

เนื่องในวาระครบรอบ 4 ปี การประกาศพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม หรือพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษ ของชาวกะเหรี่ยงโพล่ว บ้านพุเม้ยง์ อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ผมนึกถึงงานของ Yi-Fu Tuan เรื่อง Space and Place: The Perspective of Experience (1977) Yi-Fu Tuan เป็นนักภูมิศาสตร์มนุษย์ ที่สนใจในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสถานที่และพื้นที่ หนังสือเล่มนี้สำรวจว่า “พื้นที่” (space) และ “สถานที่” (place) ไม่ได้เป็นเพียงลักษณะทางกายภาพ แต่ยังมีมิติทางวัฒนธรรม อารมณ์ และจิตวิทยาที่มนุษย์มอบความหมายให้กับพื้นที่ เขาอธิบายความแตกต่างระหว่าง Space vs. Place ว่า Space หมายถึงพื้นที่ที่กว้างใหญ่ คลุมเครือ และยังไม่มีความหมายชัดเจนิในขณะที่ Place คือพื้นที่ที่ถูก “แปลง” ให้มีความหมาย ผ่านประสบการณ์ ความทรงจำ และการกระทำของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ห้องว่างเปล่า (space) อาจกลายเป็น “บ้าน” (place) เมื่อมนุษย์เข้าไปอยู่และสร้างความผูกพัน ประเด็นที่เป็นหัวใจหลักคือ การสร้างความหมายของสถานที่ โดยมนุษย์สร้างความหมายให้กับสถานที่ผ่านประสบการณ์ เช่น การอยู่อาศัย การทำงาน และพิธีกรรม ทำให้สถานที่สามารถสะท้อ...

ยากับตัวตน มองผ่านการใช้ยาจิตเวช ผ่านหนังสือ Pharmaceutical Self ขอฃ Jenkins และคณะโดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

หนังสือชื่อ Pharmaceutical Self: The Global Shaping of Experience in an Age of Psychopharmacology (2015) บรรณาธิการประกอบด้วย Janis H. Jenkins และ Laurence J. Kirmayer หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมบทความที่สำรวจผลกระทบของยาจิตเวชและยาประเภทอื่น ๆ ที่มีต่อประสบการณ์ส่วนตัวของผู้คน อัตลักษณ์ (self) และความสัมพันธ์ในสังคมในบริบททางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ดังส่วนหนึ่งของหนังสือที่บอกว่า “Psychopharmaceuticals are not merely tools for addressing biological dysfunction but have become embedded in the narratives of identity and selfhood in ways that reshape how individuals understand their emotional and social lives.” (ยาจิตเวชไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการแก้ไ ขความผิดปกติทางชีววิทยา แต่ยังฝังอยู่ในเรื่องเล่าของอัตลักษณ์และความเป็นตัวตน ซึ่งส่งผลต่อวิธีที่บุคคลเข้าใจชีวิตทางอารมณ์และสังคมของตนเอง) คำกล่าวนี้สอดคล้องกับชื่อหนังสือคือ Pharmaceutical Self ที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบของยาต่ออัตลักษณ์และความเป็นตัวตนของผู้ป่วยหรือผู้ใช้ยา แม้ว่าจะเป็นงานชิ้นหนึ่งที่ผมมองว่าเป็นงานมานุษยวิทยาการแพทย...

มานุษยวิทยากับตำนานพื้นบ้าน โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

มานุษยวิทยากับตำนานพื้นบ้าน…มองผ่านเรื่องเล่าชาวกะเหรี่ยง ผมในฐานะนักมานุษยวิทยาชอบฟังเรื่องเล่า นิทานจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่มีความหลากหลาย เพราะเรื่องเล่าเหล่านี้ มีเหตุผลและที่มา ถึงสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะตำนานการเกิดโลก การเกิดมนุษย์ อย่างตำนานน้ำเต้าปุง ตำนานหมาเก้าหาง ตำนานปู่แสะย่าแสะ ปู่สังกะสาย่าสังกะสี ตำนานพระพุทธเจ้ากับข้าว ใครสำคัญกว่ากัน ตำนานพิบื่อโหย่ว นิทานเรื่องเสือสมิงกับกระสวยทอผ้า และอื่นๆในกลุ่มชาวกะเหรี่ยงก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ หากจะอธิบายในเชิงแนวคิดทฤษฎี ก็อดจะนึกถึงแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างของเฟอดิน็องต์ เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Suassure) ที่มองว่าระบบของโครงสร้างทางภาษา ที่ครอบคลุมอยู่เหนือกระบวนการทางวัฒนธรรมทั้งหมด เช่น ระบบเครือญาติ นิยายปรัมปรา ตำนาน นิทาน การแต่งกาย การทำอาหาร เข่นเดียวกับสัญญะแบบหนึ่ง ดังนั้นวัฒนธรรมก็เช่นเดียวกับภาษา สเตร๊าท์ ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองดั้งเดิมพบว่า การปฏิบัติในชีวิตประจำวันของมนุษย์อยู่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่าโครงสร้าง ดังนั้นการศึกษาแบบแผนทางวัฒนธรรมของเขา เป็นสิ่งท...