ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2024

มานุษยวิทยากับภาวะโลกร้อน ตอนที่1 โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ผมกำลังเริ่มร่างไอเดีย การเขียนบทความชิ้นนี้ (ต้องขอบคุณเพื่อนผมคนหนึ่งที่ได้กระตุ้นให้เขียนและเปิดประเด็น) จริงๆผมตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้เอาไว้ 3 ตอน ตอนแรกเป็นการรีวิวแนวคิดเบื้องต้นในเรื่องมานุษยวิทยากับประเด็น Climate Change ความสำคัญและความจำตอนเป็น ตอนที่2 เกี่ยวกับตัวอย่างงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ Anthropology of climate change และตอนสุดท้ายผมจะลองประยุกต์ความคิดนี้กับงานภาคสนามชุมชนกะเหรี่ยงที่ตัวเองศึกษา **ตอนแรก …แนวคิด มุมมองเรื่องมานุษยวิทยาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ….*** จากกรณีที่ผู้คนในหมู่บ้าน Dhye ในเทือกเขาหิมาลัยในเนปาล ซึ่งตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 12,000 ฟุต พวกเขาต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตมาอย่างยาวนาน แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น และพื้นที่ที่ชาวบ้านปลูกพืชผลก็แห้งแล้งและแห้งแล้ง…ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านรวมตัวกันเพื่อตัดสินใจว่าควรอยู่หรือย้าย 17 จาก 26 ครอบครัวตัดสินใจออกจากหมู่บ้าน… Tsering Larkke Gurung หญิงขาวบ้าน Dhye ได้สะท้อนความรู้สึกไว้ในบทสัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ The New York Times ท...

มานุษยวิทยากับโลกร้อน โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ตอนสอง: ทบทวนงานศึกษาและกรณีศึกษาผ่านเลนส์มานุษยวิทยาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักมานุษยวิทยามองว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล้วนเกี่ยวข้องกับความไม่เท่าเทียมกันระดับโลกและความหลากหลายของผู้คนและท้องถิ่น รวมทั้งต้องเข้าใจว่าเรื่องดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ในหลายระดับที่แฝงฝังอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น และมีการแตกแขนงแผ่ขยายออกไปทั่วโลก ศาสตร์ทางมานุษยวิทยาสามารถแสดงให้เห็นว่าเหตุใดการดำเนินการทางการเมืองเพื่อบรรเทาหรือระงับยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงค่อนข้างเงียบเหงาซบเซาและมักไม่มีประสิทธิภาพเท่าใดนัก ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 การอภิปรายเรื่องนี้ได้เปลี่ยนไปสู่การศึกษาวิกฤตการณ์ทางนิเวศ ซึ่งในเวลานั้นมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองและการสร้างมลพิษมากกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ดังที่ Gregory Bateson (1972) ได้ระบุถึงปัจจัย 3 ประการที่ขับเคลื่อนวิกฤตการณ์เหล่านี้ให้เข้มข้นมากขึ้นประกอบด้วย ประการแรก คือผลข้างเคียงที่เกิดจากการทำลายล้างของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น การผลิตยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ประการที่สอง คือ การเพิ่มจำนวนประชากรนำไป...

ยุคของธุรกิจ และทุนนิยม กับวัฒนธรรมสื่อ เมื่อทุกสิ่งถูกทำให้เป็นความบันเทิง โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

“Amusing Ourselves to Death: Public Discourse in the Age of Show Business” เป็นหนังสือสำคัญของ Neil Postman ที่ตีพิมพ์ในปี 1985 โดยวิพากษ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมสื่อ โดยเฉพาะการแปลงสาระสำคัญในสังคมให้กลายเป็นความบันเทิง หนังสือเล่มนี้เจาะลึกถึงผลกระทบของสื่อโทรทัศน์และโซเชี่ยลมีเดียต่อวิธีการสื่อสาร ความคิด และค่านิยมในสังคม 1. แนวคิดหลักของหนังสือที่น่าสนใจ เช่น Postman แย้งว่าในยุคที่โทรทัศน์และวัฒนธรรมความบันเทิงครอบงำ ความสามารถในการถกเถียงเชิงตรรกะและการสนทนาอย่างมีสาระลดน้อยลง โดยเฉพาะเนื้อหาสำคัญ เช่น การเมือง การศึกษา และศาสนา ถูกเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นความบันเทิงมากกว่าการนำเสนอเนื้อหาที่ลึกซึ้ง เราไม่ได้สนใจเนื้อหาของข่าว แต่สนใจว่าใครเป็นพระเอก ผู้ร้าย ใครถูกใครผิดมากกว่า 2. สื่อที่กำหนดวิธีคิด (The Medium is the Message) โดยม Postman ได้รับอิทธิพลจาก Marshall McLuhan และเชื่อว่าสื่อแต่ละประเภทมีผลต่อวิธีคิดและรูปแบบของการสื่อสาร มองการเปลี่ยนผ่านจากยุคการพิมพ์ (print culture) ไปสู่ยุคโทรทัศน์ (television culture) ทำให้ความสำคัญของตรรกะและการอ่านเ...

เทคนิคของร่างกาย The Techniques of the Body” ผ่านงานของ Marcel Mauss โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

แนวคิด “The Techniques of the Body” ของ Marcel Mauss ปรากฏในบทความชื่อเดียวกันที่เขาเขียนในปี 1934 เป็นหนึ่งในงานสำคัญที่บุกเบิกการศึกษาเกี่ยวกับร่างกายในเชิงมานุษยวิทยา โดย Mauss เสนอว่า ร่างกายไม่เพียงแค่เป็นเครื่องมือหรือวัตถุทางชีววิทยา แต่เป็นเครื่องมือทางสังคมและวัฒนธรรมที่หล่อหลอมจากการเรียนรู้ ดังที่ Marcel Mauss บอกว่า “The body is the first and most natural tool of man.” หมายความว่า ร่างกายคือเครื่องมือแรกและเครื่องมือธรรมชาติที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ ซึ่งประโยคนี้สะท้อนถึงความคิดของ Mauss ว่ามนุษย์ใช้ร่างกายในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และวิธีการเหล่านี้ได้รับการปรับแต่งและหล่อหลอมผ่านวัฒนธรรม ดังนั้น เทคนิคเหล่านี้ผูกโยงกับวัฒนธรรม ดังที่ Mauss (1934) บอกว่า “Techniques are not simply mechanical, they are social.” นั่นคือ เทคนิคของร่างกายไม่ได้เป็นแค่กระบวนการเชิงกลไก แต่ยังเป็นผลผลิตของสังคม ประโยคนี้ชี้ให้เห็นว่าเทคนิคต่าง ๆ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ การอุ้มเด็ก ล้วนถูกกำหนดโดยบริบททางสังคมและวัฒนธรรม คนในแต่ละสังคมจึงมีเทคนิคในการจัดการร่างกายที่แตดต่างกัน แม้แต่ในสังค...

เครื่องเล่นพนันในบ่อนคาสิโน ลาสเวกัส กับพฤติกรรมการเสพติดของการเล่น ผ่านงานของ Schuill : ปฎิสัมพันธ์ของคนกับเทคโนโลยีการพนัน โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ระหว่างเดินทางไปทำงาน …ผมกำลังนึกถึงประเด็นเรื่องบ่อนคาสิโนในไทย ที่เชื่อมั่นว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศของเรา ผมกำลังนึกถึงเทคโนโลยีการพนัน เครื่องจักร ที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมของผู้เล่น ที่เรียกว่า สภาวะเสพติดการพนัน และพฤติกรรมเสพติดการพนันของผู้เล่นที่เป็นผลกระทบในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สอนมานุษยวิทยาเศรษฐกิจไม่พูดไม่ได้ … “Addiction is not a bug in the machine; it is the machine’s core logic.” (Schuill,2014) การพนันแบบเสพติดไม่ได้เป็นความผิดพลาดของระบบ แต่เป็นผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้จากการออกแบบ การมองด้วยเลนส์แบบมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ เราสนใจมิติของความสัมพันธ์และวัฒนธรรม ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นมากกว่าการแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่เชื่อมโยงเข้ากับชีวิตประจำวัน ความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยววนโลกทุนนิยมที่สร้างคความสุขได้ด้วยตัวเองผ่านการซื้อเวลา ดังเช่นคำในหนังสือเล่มหนึ่งว่า “Players are not gambling to win money—they are buying time on the machine. (Schuill,2014) ผู้เล่นมองการพนันเป็นการซื้อเวลาและความรู้สึก “อยู่ในเกม” มากกว่าการลงทุนเพื่อผลกำไร ผมนึกถึงหนังสือเล่...

ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจชนเผ่าและชาวนา ในงานของ Cashdan โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

หนังสือ Risk and Uncertainty in Tribal and Peasant Economies (1989) โดย Elizabeth A. Cashdan มุ่งเน้นการศึกษาวิธีการที่สังคมชนเผ่าและสังคมชาวนาในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูงและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยการศึกษานี้จะช่วยให้เราเข้าใจว่าเศรษฐกิจของชนเผ่าและชาวนาไม่ได้เป็นเพียงการจัดการทรัพยากรทางการเงินเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง หนังสือเล่มนี้เป็นแนวมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ ที่มีการศึกษาผลกระทบของความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในสังคมชนเผ่าและชาวนา Cashdan ใช้แนวคิดของความเสี่ยง (risk) และความไม่แน่นอน (uncertainty) เพื่ออธิบายวิธีการที่คนในสังคมเหล่านี้จัดการกับการตัดสินใจทางเศรษฐกิจในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน ซึ่งรวมถึงการเลือกกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การทำเกษตรกรรม การล่าสัตว์ การหาของป่า รวมถึงการพึ่งพาและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติในเชิงคำนึงถึงความเสี่ยงในระยะยาว แนวคิดหลักในหนังสือ ประกอบด้วย 1. Risk and Uncertainty (ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน) Cashdan อธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง “ค...

มานุษยวิทยาเศรษฐกิจ Economics Anthropology and Stone Age Economics ผ่านงานของ Shalin โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

มานุษยวิทยาเศรษฐกิจ : Economics Anthropology and Stone Age Economics “Economic systems are cultural constructions, deeply embedded in social relations.”(Shalins,1972) “The hunter-gatherer is perhaps the original affluent society.” (Shalins,1972) “Scarcity is not an intrinsic condition of human existence but a social construct.”(Shalins,1972) “The modern economy, in its pursuit of more, often produces less satisfaction.” (Shalins,1972) “Exchange is not just economic; it is a social and cultural process.” (Shalins,1972) Marshall Sahlins ท้าทายแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ โดยเขามองว่าสังคมล่าสัตว์และเก็บของป่าไม่ได้ “ยากจน” หรือ “ขาดแคลน” อย่างที่นักเศรษฐศาสตร์และนักมานุษยวิทยาหลายคนเข้าใจ แต่พวกเขาเป็น “สังคมมั่งคั่งดั้งเดิม” ที่มีลักษณะสำคัญคือการตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานโดยไม่เน้นการสะสมหรือบริโภคเกินความจำเป็น นอกจากนี้ Sahlins ยังท้าทายกรอบความคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่มองว่าทรัพยากรมีจำกัดและมนุษย์มีความต้องการไม่สิ้นสุด โดยเขาเสนอว่าในสังคมดั้งเดิม เช่น ชุม...

ในนามของมานุษยธรรม มองสุขภาพและความเจ็บป่วย แบบก้าวข้ามอคติ โดย นัฐสุฒิ สิงห์กุล

The idea that some lives matter less is the root of all that is wrong with the world.” ( Paul Farmer, Pathologies of Power (2005)) ความคิดที่ว่าชีวิตบางคนมีค่าน้อยกว่าคือรากเหง้าของทุกสิ่งที่ผิดพลาดในโลกนี้ “…specific inequalities, entrenched in our social and economic structures, shape not only who gets sick but who has access to care.”(Paul Farmer, Infections and Inequalities (1999)) ความไม่เท่าเทียมที่ฝังรากในโครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจไม่เพียงกำหนดว่าใครจะป่วย แต่ยังรวมถึงว่าใครจะได้รับการดูแลรักษา นี่คือภาพสะท้อนความรุนแรงเชิงโครวสร้างในระบบสุขภาพ “For me, human rights are not only an ethical obligation. They are also a social contract, one that society makes with all its members. These rights are breached when the suffering of some is ignored while the comfort of others is prioritized.”(Paul Farmer, To Repair the World (2013)) Farmer มองว่า สิทธิมนุษยชนไม่ใช่เพียงแค่ภาระทางจริยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญญาทางสังคมที่สังคมทำไว้กับสมาชิกทุกคน สิทธิเหล่านี้ถูกละเมิด...

มานุษยวิทยา สาระสำคัญ การศึกษา และความท้าทาย มองผ่าน Anthropology :Why It Matters ของTim Ingold โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

“Human life is not lived in isolation but in a constant negotiation with the environment and others.” ในปัจจุบัน มีคำสำคัญที่นักมานุษย์ชอบใช้และมักเอ่ยถึงโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการผสมผสานกับสิ่งต่างๆ มากกว่าจะมองความเป็นศูนย์กลางของมนุษย์ และ ผลกระทบจากความทันสมัยและความก้าวหน้า รวมถึง เครื่องมือที่นักมานุษยวิทยาใช้ในการทำความเข้าใจคยามสัมพันธ์ที่ซับซ้อนนั้น เช่น Relationality (ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม) Cultural Diversity (ความหลากหลายทางวัฒนธรรม) Sustainability (ความยั่งยืน) Progress and Development (ความก้าวหน้าและการพัฒนา) Holism (มุมมององค์รวมในมานุษยวิทยา) และEthnography (การศึกษาชาติพันธุ์ วรรณนา และการทำงานภาคสนาม) ผมนึกถึงหนังสือ Anthropology: Why It Matters (2018)ของ Tim Ingold มุ่งเน้นการสำรวจบทบาทและความสำคัญของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในโลกปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้เน้นให้ผู้อ่านเข้าใจว่า “มานุษยวิทยา” (Anthropology) มีความสำคัญอย่างไรในการทำความเข้าใจมนุษย์ในฐานะสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในความสัมพันธ์ร่วมกับโลก หนังสือวิพากษ์แนวคิดที่มองมนุษย์แยก...

แนวคิดของฟูโกต์ ในการศึกษา ความรู้และอำนาจ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

…ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเราเองกับผู้อื่น และในเทคโนโลยีของการครอบงำตนเอง ประวัติศาสตร์ของวิธีที่ปัจเจกบุคคลกระทำต่อตนเอง (ทั้งเขาหรือเธอ); ผมสนใจในเทคโนโลยีของตนเอง และประวัติศาสตร์ของปัจเจกบุคคลในฐานะที่เป็นประธานของการกระทำของตนเอง” คำกล่าวนี้สรุปแนวคิดสำคัญในงานของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) ซึ่งเน้นศึกษาว่า “ตัวตน” หรือ “ปัจเจกบุคคล” ถูกสร้างและกระทำต่ออย่างไร ทั้งในระดับที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นและในระดับที่บุคคลกระทำต่อตนเองผ่านกระบวนการที่เขาเรียกว่า “เทคโนโลยีของตนเอง” (technologies of the self) 1. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเองและผู้อื่น ฟูโกต์สนใจว่าโครงสร้างทางสังคม อำนาจ และสถาบัน (เช่น ศาสนา การศึกษา และกฎหมาย) มีบทบาทอย่างไรในการหล่อหลอมตัวตนของบุคคล ผ่านกระบวนการที่เขาเรียกว่า การครอบงำจากภายนอก (external domination) เช่น การตั้งมาตรฐานหรือบรรทัดฐานที่ควรปฏิบัติตาม 2. การกระทำต่อตนเอง (technologies of self) ในอีกแง่หนึ่ง เขาให้ความสำคัญกับวิธีที่บุคคล “ปฏิบัติต่อตนเอง” หรือสร้างตัวตนขึ้นมาเองในเชิงศีลธรรม จิตวิทยา หรือทางจิตวิญญาณ เช่น การตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวเอง การฝึ...