ยามเช้า …เห็นกระรอกเมือง วิ่งไล่ตฃจับกัน จากสายไฟที่เชื่อมบ้านเชื้อมตึกแต่ละหลังเข้าด้วยกัน ในบ้านหลังหนึ่งที่มีต้นไม้ใหญ่ที่นานจะเป็นที่อาศัยของกระรอก หรืออาจจะพักอาศัยในฝ้าเพดานหลังคาบ้าน หลังใดหลังหนึ่ง
หากมองภายใต้กรอบมุมมองแบบ Animal Science อธิบายถึงพฤติกรรมตามธรรมชาติ (Innate Behavior) กระรอกเป็นสัตว์ที่ชอบปีนป่ายและเคลื่อนที่ในระดับสูงเพื่อหลีกเลี่ยงผู้ล่า อาจจะเป็นคน สุนัขและอื่นๆ โดยการเคลื่อนที่ตามต้นไม้หรือสิ่งสูง ๆ ในธรรมชาติ โดยในเขตเมือง สายไฟกลายเป็นทางเลือกแทนกิ่งไม้หรือต้นไม้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
ความเชื่อมโยงกับแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย ซึ่งกระรอกมักใช้สายไฟเป็น “ทางด่วน” เพื่อเดินทางไปยังแหล่งอาหาร เช่น ผลไม้ในบ้านเรือน หรือไปยังที่อยู่อาศัยของมันที่อาจอยู่ในพื้นที่สูง เช่น หลังคา ตึกต่างๆ มุมมองว่าด้วยการปรับตัว (Adaptation) โดยกระรอกปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ได้ดี และสายไฟเป็นโครงสร้างที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของมัน กระรอกถือว่าเป็นสัตว์ที่มีประสาทสัมผัสและการทรงตัวที่ยอดเยี่ยม กระรอกมีหางที่ช่วยในการทรงตัว รวมถึงเล็บที่ยึดเกาะกับพื้นผิวที่ลื่นได้ดี เช่น สายไฟ ต้นไม้ หรือกำแพง
ในเชิงกรอบคิดแบบ Post-humanism การวิเคราะห์พฤติกรรมกระรอกอาจพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกระรอก มนุษย์ และวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่นสายไฟ เราอาจมองได้ว่ากระรอกและสายไฟไม่ได้ดำรงอยู่แบบแยกจากกัน แต่เป็นส่วนหนึ่งของโลกที่สภาพแวดล้อมธรรมชาติและมนุษย์สร้างหลอมรวมกัน ดังนั้นการที่กระรอกไต่สายไฟสะท้อนถึงการสร้าง “ความสัมพันธ์ใหม่” ระหว่างกระรอกและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยสายไฟกลายเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์ชีวิตของมัน ในอีกด้านหนึ่งสายไฟในฐานะโครงสร้างที่มนุษย์สร้างนั้น สายไฟไม่ได้มีไว้แค่ตอบสนองการใช้งานของมนุษย์ แต่ยังกลายเป็นพื้นที่ของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสายพันธุ์ เช่น กระรอกใช้สายไฟเป็นพื้นที่สัญจร หรือแม้แต่เป็นส่วนหนึ่งของ “การปรับตัวร่วม” รวมถึงสะท้อนสิ่งที่เรียกว่าการกระจายอำนาจ (Decentering the Human) ที่ลดบทบาทของมนุษย์ในฐานะศูนย์กลาง โดยพิจารณาว่าสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สายไฟ ไม่ได้มีความหมายเพียงเพื่อการใช้ของมนุษย์ แต่ยังส่งผลต่อชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อย่างกระรอก กระแต กิ้งก่า นก เป็นต้น สุดท้ายเราสามารถมองได้ว่าสายไฟสามารถถูกมองว่าเป็น “actor” หรือผู้มีบทบาทในเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ สายไฟทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงที่ช่วยให้กระรอกและสิ่งแวดล้อมของมันปรับตัวเข้าหากันในโลกที่มนุษย์ครอบงำ
สรุปได้ว่า กระรอกไต่สายไฟเพราะมันเลียนแบบพฤติกรรมตามธรรมชาติของการปีนป่ายต้นไม้และใช้เส้นทางที่ปลอดภัยจากผู้ล่าในพื้นที่เมือง อีกทั้งการที่กระรอกไต่สายไฟสะท้อนถึงการปรับตัวร่วมระหว่างกระรอกและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยสายไฟกลายเป็นพื้นที่ที่มีความหมายในมุมมองของกระรอก ไม่ใช่เพียงแค่ระบบโครงสร้างไฟฟ้าของมนุษย์ แต่เป็นส่วนหนึ่งของ “โลกที่ใช้ร่วมกัน” ระหว่าง วัตถุ คน พืช กับสัตว
ข้อคิดสำคัญก็คือทั้งสองมุมมองต่างช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมกระรอกได้ในบริบทที่แตกต่างกัน มุมมอง Animal Science เน้นที่กลไกทางชีวภาพและพฤติกรรมและมุมมอง Post-humanism เน้นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและการอยู่ร่วมกันระหว่างสายพันธุ์ในโลกที่เชื่อมโยงกัน
ก่อนกลับ …สัมผัสธรรมชาติในเมือง
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น