หนังสือสำคัญเล่มหนึ่งในแวดวงมานุษยวิทยาการแพทย์ที่น่าสนใจเล่มหนึ่ง คือหนังสือชื่อ “The Colonial Life of Pharmaceuticals: Medicines and Modernity in Vietnam” โดย Laurence Monnais สำรวจบทบาทของยาและการแพทย์ในบริบทของลัทธิอาณานิคม โดยเน้นกรณีศึกษาของเวียดนามในช่วงยุคอาณานิคมฝรั่งเศสและช่วงเวลาหลังจากนั้น หนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวคิดที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ, ยา, และความทันสมัย (modernity) ในบริบทสังคม-วัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจง
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นเพียงประวัติศาสตร์ของการแพทย์ในเวียดนาม แต่ยังเป็นการวิเคราะห์เชิงลึกว่าอำนาจ, วัฒนธรรม, และสุขภาพเชื่อมโยงกันอย่างไ รชักชวนให้เราตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทของการแพทย์ในบริบทของการเมืองโลก เช่น การแพทย์ในยุคโลกาภิวัตน์ หรือการต่อสู้เพื่อสิทธิเข้าถึงยาในประเทศกำลังพัฒนา
ความน่าสนใจคือการเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และการเมือง Monnais ใช้กรณีศึกษาของเวียดนามเพื่อสำรวจว่าการแพทย์และยาส่งผลกระทบต่ออัตลักษณ์และอำนาจทางการเมืองอย่างไร
รวมทั้งบทเรียนสำหรับยุคโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบัน ยังคงมีการใช้ยาและการแพทย์เป็นเครื่องมือทางการเมือง เช่น การแจกจ่ายวัคซีนในวิกฤตโควิด-19 หนังสือช่วยให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ที่ยังคงส่งผลในยุคนี้
แนวคิดสำคัญในหนังสือ
1. อาณานิคมเภสัชกรรม (Pharmaceutical Colonialism) โดย Monnais พูดถึง “อาณานิคมแห่งเภสัชกรรม” ซึ่งหมายถึงวิธีที่ลัทธิอาณานิคมใช้ยาและความรู้ทางการแพทย์เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองและวัฒนธรรม ดังนั้น ยาถูกใช้ไม่เพียงเพื่อรักษาโรค แต่ยังเพื่อควบคุมประชากร และเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนา
2. การแพทย์และความทันสมัย (Medicine and Modernity ) โดย Monnais ชี้ให้เห็นว่ายาและการแพทย์ในเวียดนามไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่มาพร้อมกับอาณานิคม แต่ยังเป็นพื้นที่ที่ชาวเวียดนามตอบสนอง ปรับตัว หรือแม้แต่ต่อต้านสิ่งที่อาณานิคมนำมา แนวคิดเรื่อง “modernity” ถูกสร้างและเจรจาผ่านการใช้งานยาที่มาจากตะวันตก
3. การปรับตัวและการต่อรองของท้องถิ่น (Local Adaptation and Resistance)
ชาวเวียดนามไม่ได้รับยาและการแพทย์แบบตะวันตกอย่างเฉยเมย พวกเขานำยาไปผสมผสานกับการแพทย์พื้นบ้านและสร้างระบบการดูแลสุขภาพในแบบของตนเ
Laurence Monnais ใช้กรณีศึกษาเฉพาะเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจอาณานิคม ยา และการแพทย์สมัยใหม่ในเวียดนาม Monnais ใช้ตัวอย่างเชิงรูปธรรมที่น่าสนใจ ดังนี้
1. การนำยาเข้ามาในยุคอาณานิคม
Monnais แสดงให้เห็นว่าฝรั่งเศสได้นำยา เช่น ควินิน (quinine) ซึ่งใช้รักษาโรคมาลาเรีย มาเป็นเครื่องมือควบคุมสุขภาพของแรงงานในอาณานิคม การแจกจ่ายยาเหล่านี้เชื่อมโยงกับการแสดงอำนาจและอิทธิพล
การนำยาเข้ามาเพื่อควบคุมโรคในยุคอาณานิค มีตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น กรณียาควินิน (Quinine) และการควบคุมมาลาเรียซึ่งในยุคอาณานิคมฝรั่งเศส มาลาเรียเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อแรงงานในพื้นที่ เช่น การสร้างทางรถไฟหรือการทำเหมือง ยาควินินซึ่งผลิตในแอฟริกาใต้ ถูกแจกจ่ายให้แรงงานชาวเวียดนามเป็นมาตรการควบคุมสุขภาพ ในขณะเดียวกันแรงงานบางคนปฏิเสธการใช้ยาควินินเพราะเชื่อว่าเป็นยาที่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง หรือคิดว่ายามีเจตนาร้ายในการทำให้คนพื้นเมืองอ่อนแอ
โรงพยาบาลและการแจกจ่ายยา ฝรั่งเศสสร้างโรงพยาบาลในเมืองใหญ่ เช่น ฮานอย และไซง่อน เพื่อนำการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามา ชาวเวียดนามถูกกระตุ้นให้มาใช้บริการเพื่อสร้าง “ความทันสมัย” ในขณะที่ผู้คนบางกลุ่มเข้ารับบริการในโรงพยาบาล ชนบทห่างไกลยังคงนิยมใช้การแพทย์แผนโบราณ เนื่องจากความไม่ไว้วางใจในเจตนาของฝรั่งเศส
2. การแพทย์แบบผสมผสาน (Hybrid Medicine) ดังเช่น ตัวอย่างของชาวเวียดนามที่นำยาแผนปัจจุบันมาใช้ร่วมกับการแพทย์พื้นบ้าน เช่น การใช้สมุนไพรในขณะที่บริโภคยาเม็ดจากฝรั่งเศส เพื่อรักษาโรคบางชนิด ยาเหล่านี้ยังถูกตีความใหม่ผ่านกรอบความเชื่อของวัฒนธรรมท้องถิ่น
การแพทย์แบบผสมผสานจึงผนวกรวมเรื่องของการตีความใหม่ของยาแผนปัจจุบันในวัฒนธรรมเวียดนาม โดยยาแผนปัจจุบัน เช่น ยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะ ถูกนำมาใช้ร่วมกับยาสมุนไพรในระบบการรักษา ชาวเวียดนามปรับเปลี่ยนการใช้ยาตามความเชื่อทางวัฒนธรรม เช่น การใช้ยาตะวันตกเพื่อบรรเทาอาการเฉพาะหน้า แต่หันกลับไปพึ่งสมุนไพรสำหรับการฟื้นฟูระยะยาว ตัวอย่างเช่นยาแอสไพริน ถูกมองว่าเป็นยา “มหัศจรรย์” ในหมู่ประชากร แต่ก็ถูกใช้อย่างระมัดระวังเมื่อมีความเชื่อว่าการใช้ยามากเกินไปอาจทำลายสมดุลในร่างกาย
การแพทย์พื้นบ้านยังคงรักษาความสำคัญ แม้การแพทย์สมัยใหม่จะเป็นเครื่องมือของอาณานิคม แต่ชาวเวียดนามยังรักษาวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมไว้ เช่น การนวด การใช้สมุนไพรท้องถิ่น การใช้รากไม้สมุนไพรร่วมกับยาฝรั่งเพื่อรักษาโรคไข้
3. การต่อต้านการแพทย์แบบอาณานิคม Monnais ใข้กรณีของการปฏิเสธการรักษาในโรงพยาบาลของฝรั่งเศส เนื่องจากความไม่ไว้วางใจในเจตนาของผู้ปกครองอาณานิคม นอกจากนี้ ยังมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น การปฏิเสธการซื้อยาแผนปัจจุบัน แม้ว่ายาจะมีประสิทธิภาพก็ตาม
การต่อต้านและการตีความใหม่ในช่วงหลังยุคอาณานิคมพบความน่าสนใจคือ หลังจากเวียดนามประกาศเอกราช การแพทย์แผนตะวันตกยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐ แต่ถูกแปรเปลี่ยนบทบาท ยาไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจอาณานิคมอีกต่อไป แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการพึ่งพาตนเองของรัฐ ตัวอย่างเช่น โครงการพัฒนาการผลิตยาภายในประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงการนำเข้า เช่น การผลิตยาปฏิชีวนะที่จำเป็นในยุคสงครามเวียดนาม ความเชื่อมโยงกับการเมืองสมัยใหม่ยาและการแพทย์ถูกใช้เพื่อแสดงให้เห็นถึง “ความก้าวหน้า” ของรัฐใหม่ โดยเฉพาะในชนบท มีการตั้งคลินิกในพื้นที่ห่างไกลที่เข้าถึงยาสมัยใหม่พร้อมกับการฝึกบุคลากรทางการแพทย์
4. เภสัชกรรมหลังยุคอาณานิคม
หลังการสิ้นสุดของอาณานิคม ยายังคงเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัย แต่ถูกแปรเปลี่ยนไปในบริบทใหม่ เช่น การผลิตยาภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาตะวันตก
จากกรณีศึกษาในหนังสือเล่มนี่ ทำให้เราสามารถเห็นการเชื้อมโยงแนวคิดสำคัญ คือ
1. การเจรจา (Negotiation) Laurence Monnais แสดงให้เห็นว่าชาวเวียดนามไม่ได้เป็นผู้รับวัฒนธรรมตะวันตกอย่างนิ่งเฉย แต่พวกเขาเจรจาและปรับตัว เช่น การใช้งานผสมผสานระหว่างยาแผนโบราณและยาแผนปัจจุบัน
2. อำนาจและการแพทย์ (Power and Medicine) Monnais ใช้กรณีของเวียดนามเพื่อแสดงว่า การแพทย์และยาถูกใช้อย่างไรในฐานะเครื่องมือทางการเมืองและวัฒนธรรม
3. ความเป็นสมัยใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะ (Localized Modernity) แม้ว่าการแพทย์แผนตะวันตกจะนำมาเพื่อสร้างความทันสมัย แต่ชาวเวียดนามได้ตีความและปรับให้เข้ากับบริบทของตนเองได้อย่างลงตัว
ก่อนนอนเติมอาหารสมอง และลง Blog เพื่อความเป็นมานุษยวิทยาสารธารณะ
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น