คำว่า แม่ธรณี นางแผ่นดิน หรือคำว่า Mother Land และ Earth Mother รวมถึงชื่อต่างๆที่แต่ละภูมิภาคเรียก ส่วนคำว่า แม่โพสพ หรือยายข้าว ภาษากะเหรี่ยงพูดว่า พิบื่อโหย่ว
การสืบเชื้อสายฝ่ายแม่ (Matrilinear) ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในสังคมของขาวกะเหรี่ยงด้ายเหลือง โดยการเริ่มต้นพิธีกรรมต่างๆ ต้องบอกกล่าวพระแม่ธรณี ก่อนเริ่มทำพิธีกรรมต่างๆ เช่น การแผ้วถางไร่ การปลูกพืช การไหว้เจดีย์ และอื่นๆ
ตัวแทนของผู้หญิงในพิธีกรรมไหว้เจดีย์ หรือเครื่องนุ่งห่มสีแดงที่ผู้หญิงทั่วไปสวมใส่ถือเป็นสัญลักษณ์ของแม่ย่าและแม่ธรณี บทบาทของแม่ย่าที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม ถ้าหากไม่มีแม่ย่าไม่สามารถทำพิธีกรรมได้ เพราะหากขาดเจ้าวัด แม่ย่าก็สามารถทำพิธีกรรมไหว้เจดีย์ได้ แต่หากขาดแม่ย่า เจ้าวัด (โบ้ว์คู้) ต้องหาแม่ย่า (โบ้ว์มื่อ)มาทำพิธีกรรมจึงจะทำได้ ในบางชุมชนกะเหรี่ยง มีการให้ผํ้หญิงสูงวัยที่ไม่มีสามี( โสด หย่าร้าง สิ้นชีวิต) มาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพิบื้อโหย่ว หรือยายข้าว
ในชุมชนกะเหรี่ยงโผล่วด้ายเหลือ ส่วนใหญ่มักมีลักษณะการแต่งงานมาอยู่กับฝ่ายหญิงการ ตั้งถิ่นฐานตามการสืบเชื้อสายฝ่ายมารดา หรือการอิงกับฝ่ายผู้หญิง เช่น ผู้ชายต้องเข้ามารับเอาด้ายเหลืองตามฝ่ายภรรยา
เจ้าวัดบอกว่า แม่ธรณีคือโลกทั้งใบ คือคนที่มีความสำคัญบนโลก คนก็อยู่บนโลก สัตว์ก็อยู่บนโลก พืชพรรณก็งอกเงยออกจากแผ่นดิน แม่ธรณีจึงป็นสิ่งสำคัญที่สุดของมนุษย์ และเป็นสิ่งสำคัญของชุมขนกะเหรี่ยงด้ายเหลือง ดังคำกล่าวที่ว่า หากพระพุทธเจ้าคือตัวแทนของผู้ชาย ของเจ้าวัด ในขณะที่ผู้หญิงหรือแม่ย่า คือตัวแทนของแม่ธรณี
คำถามสำคัญก็คือ ความเชื่อเรื่องนี้พบในที่อื่นๆในโลกไหม และภาพลักษณ์ของแม่ธรณีหรือเทพีแห่งโลกนั้นเกิดขึ้นในตำนานต่างๆ มีบทบาทเป็นสัญลักษณ์ของการให้กำเนิด การคุ้มครอง และความอุดมสมบูรณ์ของโลก โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของแม่ธรณีกับธรรมชาติและมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันมาตั้งแต่ยุคโบราณ
ความเชื่อเกี่ยวกับแม่ธรณีมีความเชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่องการสืบเชื้อสายทางฝ่ายแม่ในหลายวัฒนธรรม โดยเฉพาะในวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับผู้หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดและผู้สืบทอดตระกูล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการสร้างและเลี้ยงดูชีวิต
ตัวอย่างเชิงรูปธรรมในบางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ อาทิเช่น เทพีไกอา (Gaia) ในตำนานกรีก ซึ่งถือเป็นแม่ธรณีที่สร้างทุกสรรพสิ่งและเป็นต้นกำเนิดของเทพและธรรมชาติ โดยในตำนานกรีกโบราณ ไกอาเป็นแม่ธรณีหรือเทพีแห่งโลกที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับจักรวาล ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด รวมทั้งเทพต่าง ๆ เช่น อูรานัส (เทพแห่งท้องฟ้า) และโพไซดอน (เทพแห่งทะเล) การนับถือไกอาในยุคโบราณสะท้อนผ่านพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกษตรและการขอบคุณโลกเพื่อความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนมักถวายอาหารหรือผลผลิตเพื่อบูชาไกอาให้คอยปกป้องและดูแล
โดยเฉพาะเทพีไกอา (Gaia) ในกรีกโบราณซึ่งถือเป็นแม่ของทุกสรรพสิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับแนวคิด matrilineal (การสืบเชื้อสายฝ่ายแม่) เพราะในตำนาน ลูกหลานของไกอามักได้รับมรดกและพลังจากฝ่ายแม่ นอกจากนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับไกอายังสะท้อนถึงการสืบทอดพลังจากแม่ไปยังลูกหลานในตำนานต่าง ๆ ของกรีก เช่น การกำเนิดของเทพเจ้าและวีรบุรุษที่เกิดจากการรวมกันของพลังธรรมชาติที่ไกอาเป็นผู้สร้าง
พระแม่ธรณีในวัฒนธรรมไทย ที่มีการกราบไหว้และทำพิธีเพื่อให้การเกษตรอุดมสมบูรณ์ ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับผืนดินและความเชื่อในวิญญาณแห่งผืนดิน ที่มีความเชื่อมโยงกับพุทธศานา เช่น ตำนานข้าวที่หายไปจากโลก และพรพุทธเจ้าไปตามให้กลับมา หรือตำนานพิบื่อโหย่วของชาวกะเหรี่ยง ที่เรียกว่ายายข้าว ที่แปลงกายลงมาขอความช่วยเหลือ และมีคนมาช่วยและชาวหนุ่มรับยายแก่มาอยู่ด้วย ได้รับการตอบแทนด้วยข้าวสารในแต่ละวัน เป็นต้น
คนไทยมีความเชื่อว่าพระแม่ธรณีคือผู้ดูแลผืนแผ่นดินและเป็นแหล่งที่มาของความอุดมสมบูรณ์ จึงมีพิธีการไหว้พระแม่ธรณีก่อนเริ่มทำไร่ทำนา เพื่อขอให้พืชผลเจริญเติบโต ตัวอย่างเช่น ในบางชุมชนชาวนาไทยอาจจะจุดธูปกราบไหว้หรือทำพิธีเซ่นไหว้เมื่อจะเริ่มลงมือไถนา หรือก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยเชื่อว่าพระแม่ธรณีจะช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น และปกป้องพืชผลจากภัยพิบัติ
แม่ธรณีของชนพื้นเมืองอเมริกัน หลายเผ่าพันธุ์ที่ถือว่าโลกเป็นแม่ที่คอยดูแลให้ชีวิตแก่ทุกคน และมีพิธีกรรมเพื่อขอขมาและบูชาผืนดิน เช่น แพจามามา (Pachamama) ของชนพื้นเมืองแถบแอนดีส ในวัฒนธรรมแอนดีส เช่น ชนเผ่าควีชัว (Quechua) และไอมารา (Aymara) แพจามามาคือเทพีแห่งโลกและการเกษตรที่เชื่อว่าเป็นผู้มอบชีวิต ความอุดมสมบูรณ์ และความรัก โดยชาวพื้นเมืองมีพิธีกรรมที่เรียกว่า Despacho เพื่อถวายเครื่องบูชา เช่น ธัญพืช ใบโคคา ผลไม้ และสิ่งของที่ทำขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ โดยเครื่องบูชาจะถูกฝังไว้ในดินหรือเผาเพื่อส่งไปยังแพจามามา ถือเป็นการคืนให้แม่ธรณีเพื่อขอบคุณและขอพรให้พืชผลอุดมสมบูรณ์
นอกจากนี้ในหลายเผ่าของชนพื้นเมืองอเมริกัน เช่น นาวาโฮ (Navajo) และโฮปิ (Hopi) มีความเชื่อใน “Mother Earth” หรือแม่ธรณีที่ให้ชีวิตและความอุดมสมบูรณ์ พวกเขามีระบบครอบครัวที่สืบเชื้อสายทางฝ่ายแม่ (matrilineal) ซึ่งลูกจะรับเชื้อสายจากฝ่ายแม่ และสมาชิกหญิงมักเป็นผู้สืบทอดมรดกและการปกครองของครอบครัว การสืบทอดนี้เชื่อมโยงกับความเชื่อที่ว่าผู้หญิงมีพลังในการสร้างและดูแลชีวิตเช่นเดียวกับแม่ธรณี
หรือกรณีเทพีอิซานามิ (Izanami) ในตำนานญี่ปุ่น บอกว่า อิซานามิ เทพีผู้สร้างตามตำนานญี่ปุ่นถือเป็นต้นกำเนิดของเกาะและธรรมชาติบนแผ่นดินญี่ปุ่น มีความเกี่ยวข้องกับพืชพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ ในตำนานเล่าว่าอิซานามิเป็นผู้ให้กำเนิดเทพเจ้าต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทนของธรรมชาติ เช่น น้ำทะเล ภูเขา และป่าไม้ ปัจจุบัน ในวัดและศาลเจ้าหลายแห่งยังมีการบูชาอินซานามิผ่านพิธีกรรมทางศาสนาชินโต เช่น พิธีปลูกข้าว ที่จะขอพรให้พืชผลเติบโตสมบูรณ์และปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ
แม่ธรณีในวัฒนธรรมเซลติก (Celtic)ในคติความเชื่อของชาวเซลติกดั้งเดิม แม่ธรณีเป็นวิญญาณหรือเทพีแห่งธรรมชาติที่ผู้คนเรียกว่า “Mother Earth” เชื่อว่าเป็นผู้ให้ชีวิตและควบคุมพลังของธรรมชาติ เช่น ฝน ดิน และการเติบโตของพืช
โดยมีพิธีกรรมที่เรียกว่า Beltane ซึ่งจัดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ ถือเป็นการเฉลิมฉลองความอุดมสมบูรณ์และการกลับมาของความอบอุ่นในฤดูใบไม้ผลิ ชาวเซลติกจะจุดไฟและเต้นรำเพื่อบูชาแม่ธรณีและขอพรให้ชีวิตในฤดูกาลใหม่เจริญรุ่งเรือง ตัวอย่างเชิงรูปธรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องแม่ธรณีมีรูปแบบและพิธีกรรมที่หลากหลาย แต่ล้วนสะท้อนถึงความเชื่อในพลังของธรรมชาติและการปกป้องที่มนุษย์ได้รับจากโลก
ชาวเซลติกบางกลุ่มมีระบบสืบทอดที่ดินและทรัพย์สินทางฝ่ายแม่ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากความเชื่อใน “Mother Earth” ที่เป็นแหล่งกำเนิดและผู้ดูแลโลก ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงมีพลังพิเศษและสามารถเชื่อมโยงกับธรรมชาติได้โดยตรงทำให้สังคมของพวกเขายอมรับผู้หญิงเป็นผู้สืบทอดเชื้อสายและการจัดการทรัพย์สิน
ในแถบเอเชียตะวะนออกเฉีนงใต้ ชุมชนของชาวมินังกาเบา (Minangkabau) ในอินโดนีเซีย โดยชาวมินังกาเบาซึ่งเป็นชุมชนมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดที่สืบเชื้อสายทางแม่ เชื่อว่าผู้หญิงเป็นรากฐานของครอบครัวและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่แม่ธรณีเป็นผู้ให้ชีวิตและทรัพยากรที่จำเป็น ชาวมินังกาเบามีการถ่ายทอดทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน ผ่านฝ่ายแม่ เนื่องจากเชื่อว่าผู้หญิงมีความเชื่อมโยงกับโลกและธรรมชาติมากกว่า
คงรวมถึงามเชื่อนี้ เช่นเดียวกับในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ของกัมพูชา ลาว และไทย ที่เชื่อว่าดิน เปรียบเสมือนพระแม่ธรณี หรือความเชื่อเรื่องพระแม่ธรณี ในหมู่เกาะมาเลย์ ที่เกี่ยวข้องกับ “Dewi Sri” หรือความเชื่อเรื่องแม่เจ้าข้าวในอินเดียตะวันออก ที่เชื่อมโยงแม่ธรณีกับแผ่นดิน ความอุดมสมบูรณ์ การปกปักดูแล และเรื่องเกษตรกรรม
สรุป ความเชื่อเรื่องแม่ธรณีเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ในหลายวัฒนธรรม และแสดงให้เห็นถึงความเชื่อร่วมกันเกี่ยวกับธรรมชาติและบทบาทของแม่ธรณีในฐานะสัญลักษณ์ของความมั่นคง ความปลอดภัย และความอุดมสมบูรณ์
ดังนั้นความเชื่อเรื่องแม่ธรณีที่ให้ความสำคัญกับฝ่ายแม่จึงเป็นพื้นฐานของการสืบเชื้อสายและการถ่ายทอดมรดกผ่านผู้หญิงในหลายสังคม โดยสะท้อนถึงบทบาทของผู้หญิงในฐานะผู้สร้างชีวิตและผู้ปกปักรักษาทรัพย์สินและทรัพยากรของครอบครัว
Ruether เขียนหนังสือชื่อ Gaia and God: An Ecofeminist Theology of Earth Healing (1993) เสนอว่าการเคลื่อนไหวทางศาสนาที่เน้นความเท่าเทียมทางเพศและความเคารพต่อธรรมชาติสามารถช่วยสร้างสังคมที่ยั่งยืนและเป็นธรรม เธอเชื่อว่าศาสนาและจิตวิญญาณสามารถเป็นแรงผลักดันในการสร้างความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยการมองธรรมชาติเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ควรเคารพและปกป้อง
การฟื้นฟูความศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ โดยมองว่าโลกและสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีคุณค่าในตัวเอง ไม่ใช่เพียงทรัพยากรที่มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ได้ การมองธรรมชาติเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่สมดุลและเคารพต่อ
แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นแม่และธรรมชาติ ความเชื่อมโยงระหว่างบทบาทของผู้หญิงในฐานะแม่และธรรมชาติ โดยแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงมักจะมีบทบาทสำคัญในการปกป้องและรักษาธรรมชาติ เนื่องจากพวกเธอเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับการดูแลชีวิตและทรัพยากรทางธรรมชาติ
**เครดิตภาพบางส่วน ขอบคุณภาพจากคุณรัตนา ภูเหม็น
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น