ระหว่างพานักศึกษาสนทนากับเจ้าวัด ผมนึกถึงหลายประเด็นในหัว
เช่น แนวคิด “Posthuman” หรือ “ภาวะหลังมนุษย์” เป็นแนวคิดที่พัฒนาโดยนักวิชาการหลายคน โดยมี Donna Haraway และ N. Katherine Hayles เป็นบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลในด้านนี้ แนวคิดนี้มีเป้าหมายหลักคือการทบทวนความหมายของการเป็น “มนุษย์” ในยุคที่เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และสภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
Donna Haraway นำเสนอแนวคิดในงาน A Cyborg Manifesto โดยเสนอให้มองมนุษย์เป็น “ไซบอร์ก” หรือเป็นการผสมผสานระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร เธอใช้ภาพลักษณ์นี้เพื่อท้าทายความคิดดั้งเดิมที่แยกความเป็นมนุษย์และสิ่งอื่นๆ ออกจากกัน อีกทั้งยังใช้แนวคิดไซบอร์กเพื่อเสริมสร้างการตระหนักถึงบทบาทของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน และเพื่อเสนอการทำลายเส้นแบ่งระหว่างเพศ ชนชั้น และสปีชีส์
N. Katherine Hayles ในงาน How We Became Posthuman อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลได้ส่งผลให้ขอบเขตของการเป็นมนุษย์ไม่ชัดเจนเหมือนเดิม Hayles พูดถึง “information pattern” หรือรูปแบบของข้อมูลว่าได้เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนที่ “embodiment” หรือร่างกายของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดนี้นำไปสู่การทบทวนว่าการมี “ตัวตน” ของมนุษย์จะต้องพิจารณาถึงสิ่งที่มากกว่าแค่ร่างกายของมนุษย์แต่รวมถึงข้อมูล ความคิด และปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีด้วย
สาระสำคัญของแนวคิด Posthuman คือการทบทวนความเป็นมนุษย์ (Redefinition of Humanity): แนวคิดนี้ตั้งคำถามถึงขอบเขตของการเป็นมนุษย์ เช่น อะไรทำให้เราเป็น “มนุษย์” และบทบาทของร่างกายในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า และการละทิ้งขอบเขต (Transcending Boundaries) การทำลายเส้นแบ่งระหว่างมนุษย์และสิ่งอื่นๆ เช่น สัตว์ พืช และปัญญาประดิษฐ์ แนวคิดนี้ยังตั้งคำถามถึงอัตลักษณ์ทางเพศและเชื้อชาติด้วย
ผมลองนำแนวคิด Posthuman มาอธิบายจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยง โดยเน้นการเชื่อมโยงระหว่างคนกับธรรมชาติ วิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับธรรมชาติและดินแดน ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดที่ว่ามนุษย์ไม่ได้แยกออกจากสภาพแวดล้อม แต่เป็นส่วนหนึ่งของมัน
แนวคิด Posthuman กับจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยงคือ การละทิ้งหรือละเว้นขอบเขตระหว่างคนและธรรมชาติ โดยชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ คล้ายกับแนวคิดของ Haraway ในการทำลายเส้นแบ่งระหว่างมนุษย์กับสิ่งอื่นๆ ซึ่งรวมถึงสัตว์ พืช และจิตวิญญาณธรรมชาติ แนวคิดนี้สะท้อนถึงการที่ชาวกะเหรี่ยงมองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ ไม่ใช่ผู้ครอบครอง
เทคโนโลยีของชาวกะเหรี่ยงไม่ใช่เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แต่เป็นเทคโนโลยีพื้นบ้านที่สะท้อนถึงการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ เช่น การปลูกพืชแบบหมุนเวียน การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการรักษาโรค หรือการปลูกข้าวไร่แบบดั้งเดิม ซึ่งอาจสอดคล้องกับแนวคิดของ Hayles ที่มองการบูรณาการวิถีชีวิตแบบองค์รวมเข้ากับเทคโนโลยีที่เรียบง่าย
การทบทวนความหมายของจิตวิญญาณและตัวตน (Spirit and Identity) จิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยงมีความยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งอาจถูกมองในมุมมอง Posthuman ว่าเป็น “information pattern” หรือรูปแบบของข้อมูลที่มีการส่งผ่านระหว่างคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า จิตวิญญาณของพวกเขาจึงไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่กับรูปแบบเดิม แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม
ในอนาคตของจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยงในโลกที่เปลี่ยนแปลง ในยุคที่วัฒนธรรมและความเชื่อดั้งเดิมถูกท้าทายโดยกระแสการพัฒนาและเทคโนโลยี แนวคิด Posthuman สามารถนำมาใช้ในการมองว่าวิถีชีวิตและจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยงอาจปรับตัวได้อย่างไร เช่น การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโดยยังคงรักษาจิตวิญญาณและความเชื่อไว้
การใช้ Posthumanism ในการทำความเข้าใจจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยงช่วยเปิดมุมมองให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจช่วยในการรักษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในอนาคต
ชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับสัตว์ ธรรมชาติ และวิญญาณ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพวกเขา โดยมีความเชื่อว่าทุกสิ่งในธรรมชาติล้วนมีวิญญาณ (animism) หรือ “จิตวิญญาณ” ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ หรือสัตว์ ซึ่งการเคารพในวิญญาณเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาความสมดุลและความสงบ และความสุขในชีวิต
ความเชื่อเรื่องวิญญาณธรรมชาติและสัตว์ในวัฒนธรรมกะเหรี่ยง ดังเช่น การเคารพและบูชาวิญญาณธรรมชาติโดย ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ภูเขา ป่าไม้ หรือแม่น้ำ มีวิญญาณที่ควรได้รับการเคารพ การทำพิธีกรรม เช่น การเซ่นไหว้หรืออุทิศสิ่งของให้กับวิญญาณธรรมชาติ เป็นวิธีแสดงความเคารพและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนถึงการเห็นว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่ผู้ที่อยู่เหนือธรรมชาติ ปรากฏารณ์เลือกพื้นที่เพาะปลูก ผ่านความเชื่อเรื่องฟ้าฟ่า เรื่องฝันร้าย หรือเสียงเก้งร้องทัก ทำให้ผู้ทำไร่ต้องทบทวนหรือการสร้างพื้นที่เพาะปลูก
ในเรื่องเสียงสัตว์ร้องทัก หรือการไม่กินสัตว์บางชนิด ทำให้สามารถเชื่อมโยงเรื่องวิญญาณสัตว์และความเชื่อเรื่องสัตว์ผู้พิทักษ์ สัตว์บางชนิด เช่น เสือ หรือนกชนิดต่างๆ ถูกมองว่าเป็นผู้พิทักษ์หรือสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณ ซึ่งบางครั้งก็ถือว่าเป็น “ผู้ส่งสาร” จากโลกของวิญญาณ ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าสัตว์เหล่านี้มีความสำคัญในการนำทางหรือปกป้องพวกเขาจากอันตราย
พิธีกรรมและการรักษาด้วยจิตวิญญาณ โดยการรักษาโรคโดยพึ่งพาจิตวิญญาณของธรรมชาติ เช่น การอัญเชิญวิญญาณเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการรักษาแบบพื้นบ้าน โดยมองว่าการเจ็บป่วยอาจเป็นผลจากความไม่สมดุลระหว่างมนุษย์และวิญญาณธรรมชาติ การทำพิธีเพื่อคืนความสมดุลให้กับวิญญาณธรรมชาติและผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่เกิดขึ้นจากการละเมิดธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติ
การสืบทอดความเชื่อเรื่องวิญญาณธรรมชาติผ่านชุมชน ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ได้รับการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นผ่านการเล่าเรื่อง พิธีกรรม และการใช้ชีวิตประจำวัน ชาวกะเหรี่ยงมองว่าจิตวิญญาณของธรรมชาติและสัตว์มีบทบาทในการสอนและเตือนใจให้เคารพต่อสิ่งรอบตัว พิธีกรรมและความเชื่อเหล่านี้ยังสร้างความสัมพันธ์เชิงจิตวิญญาณที่ลึกซึ้งระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เช่น พิธีกรรมไหว้เจดีย์ พิธีปักสะเดิ่งในไร่ ในนาข้าว ในลำห้วย รวมถึงพิธีกินข้าวใหม่ พิธีทำบุญให้สัตว์ในไร่นา ที่เสียชีวิต การให้ข้าวใหม่กับข้าวของเครื้องวข้ทำกิน เช่น มีด เสียม จอบ เตาไฟ ขวาน และอื่นๆ
ความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงที่มีต่อวิญญาณของสัตว์และธรรมชาติเหล่านี้จึงสะท้อนถึงการเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็นการเคารพหรือการรักษาความสัมพันธ์อันดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยรักษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของพวกเขา
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น