แวะมาดูงานช้างที่สุรินทร์ …นอกจากเห็นขบวนช้างที่มาแสดง ผมยังเห็นสัตว์ชนิดต่างๆที่อยู่ในงาน ทั้งแกะ กระต่าย ปลา หนู นกหงส์หยก ควาย และอื่นๆ …เห็นคนที่เดินมาดู มาสัมผัส มาให้อาหารสัตว์ เห็นคนข่ายอ้อยให้กับช้างที่มาจัดแสดง ..นี่ยังไม่นับตุ๊กตารูปสัตว์นานาชนิดในซุ้มเกม ที่วัยรุ่นหนุ่มสาวเดินถือ ผมตื่นเต้นมากที่ช้างไม่ตื่นคน คนไม่ตื่นช้าง สามารถเข้าไปจับ สัมผัสถ่ายรูป ซื้ออาหารเพื่อให้อาหารมันได้
ผมนึกถึงแนวคิด “Becoming with” ของ Donna Haraway ที่อยู่ในหนังสือ “When Species Meet” (2008) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานที่เธอสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยเน้นว่าเราไม่ได้อยู่แบบแยกขาดจากกัน แต่สร้างตัวตนและความหมายจากการอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในโลกที่เชื่อมโยงถึงกัน (entangled world)
“Becoming with” จึงหมายถึง กระบวนการที่ตัวตนของเรา (หรือสิ่งมีชีวิตใด ๆ) ถูกสร้างและเปลี่ยนแปลงผ่านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งแวดล้อม) แทนที่จะมองมนุษย์หรือสัตว์เป็น “ตัวตน” ที่มีอยู่โดยลำพัง Haraway เสนอว่าเรา “กลายเป็นเรา” ผ่านการปฏิสัมพันธ์ การเรียนรู้ และการใช้ชีวิตร่วมกับสิ่งอื่น ๆ แนวคิดนี้เน้นว่า ไม่มีใครหรือสิ่งใดสามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ตัวอย่างเชิงรูปธรรม เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสุนัขในฐานะสัตว์เลี้ยงหรือคู่หู การเลี้ยงสุนัขไม่ใช่แค่การฝึกให้มันเชื่อฟังคำสั่งของมนุษย์ แต่เป็นการที่มนุษย์เองก็เรียนรู้จากสุนัข เช่น การสังเกตพฤติกรรม การปรับตัวเข้าหากัน และการสร้างความผูกพัน ดังนั้นทั้งมนุษย์และสุนัขต่าง “กลายเป็น” ตัวตนใหม่ผ่านความสัมพันธ์นี้ เช่น สุนัขปรับพฤติกรรมให้เข้ากับบ้านที่มนุษย์สร้าง และมนุษย์ก็เปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อดูแลและตอบสนองความต้องการของสุนัข
หรือความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรกับวัวในฟาร์มซึ่งเกษตรกรไม่ได้เป็นแค่คนที่ดูแลวัวเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เขายังพึ่งพาความรู้และพฤติกรรมของวัวในการจัดการฟาร์ม เช่น การสังเกตสุขภาพวัวเพื่อปรับปรุงวิธีการเลี้ยง ในขณะเดียวกันวัวเองก็ปรับตัวให้เข้ากับระบบฟาร์ม เช่น เวลาให้อาหาร การรีดนม และการอยู่ร่วมกันในพื้นที่จำกัด ดังนัันทั้งเกษตรกรและวัวต่างเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตซึ่งกันและกัน
หรือกรณีระบบนิเวศในป่า ก็สามารถใช้แนวคิด “Becoming with” มาอธิบายความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ เช่น ต้นไม้ แมลง และสัตว์ที่พึ่งพาอาศัยกัน
ตัวอย่างเช่น ผึ้งและดอกไม้ ดอกไม้พัฒนาโครงสร้างเพื่อดึงดูดผึ้งให้มาผสมเกสร ขณะที่ผึ้งเองก็ปรับพฤติกรรมและเส้นทางการหาอาหารให้สอดคล้องกับฤดูกาลที่ดอกไม้บานด้วยเช่นกัน
Donna Haraway เสนอแนวคิด “Becoming with” เพื่อเน้นย้ำว่ามนุษย์และสัตว์ (รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ) มีอัตลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงจากการอยู่ร่วมกัน “Becoming with” คือการเติบโต การเปลี่ยนแปลง และการสร้างตัวตนที่เกิดขึ้นจาก ความสัมพันธ์ที่พึ่งพาอาศัยกัน ระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อย่างเช่น การเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัขและแมว ที่ทำให้เจ้าของไม่เพียงแค่ดูแลสัตว์ แต่ยังปรับวิถีชีวิตและความคิดของตนเองจากการใช้ชีวิตร่วมกัน แนวคิดนี้ชี้ให้เห็นว่าเราไม่ได้อยู่ลำพังในโลก แต่ตัวตนและความหมายของเราถูกสร้างผ่านการอยู่ร่วมและเชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
เฉกเช่นเดียวกับช้างบ้านหรือช้างงาน เติบโตภายใต้การเลี้ยงดูของมนุษย์ตั้งแต่เล็ก ผ่านการฝึกฝนให้คุ้นเคยกับคำสั่งและกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับคน เช่น การลากไม้ พาเที่ยว หรือแสดงในงานเทศกาล ความคุ้นเคยนี้สร้างความผูกพันและทำให้ช้างเลี้ยงสามารถทำงานร่วมกับคนได้อย่างใกล้ชิด ดังนั้นอัตลักษณ์ของช้างเลี้ยงถูกสร้างผ่านกระบวนการ “อยู่ร่วมกับมนุษย์” เช่น ช้างที่เรียนรู้การทำงาน การตอบสนองคำสั่ง หรือแม้แต่การรับรู้ถึงบทบาททางพิธีกรรม เป็นต้น
ช้างงานหรือช้างบ้านถูกเลี้ยงดูและปรับตัวให้อยู่ในระบบวัฒนธรรมของมนุษย์ เช่น การใช้ช้างในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหรือพิธีกรรมทางศาสนา แสดงถึงการหลอมรวมของธรรมชาติ (ร่างกายช้าง) และวัฒนธรรม (ระบบความเชื่อและเศรษฐกิจ)
หากเชื่อมโยงกับปรัชญาแบบ Posthumanism ที่ท้าทายแนวคิดแบบดั้งเดิมที่แบ่งแยกระหว่าง “ธรรมชาติ” (Nature) และ “วัฒนธรรม” (Culture) โดยมองว่าไม่ว่าจะเป็นช้างเลี้ยงและช้างป่าต่างก็เป็นผลผลิตของกระบวนการที่มนุษย์สร้างขึ้น
ช้างในบริบทนี้จึงไม่ใช่เพียง “วัตถุ” ที่มนุษย์สามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ แต่เป็น ตัวแสดงร่วม (co-actor) ที่มีเอเจนซี่ (Agency) และตอบสนองต่อเครือข่ายความสัมพันธ์ในสภาพแวดล้อมของมัน
ช้างเลี้ยงมีการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับคน เช่น การเชื่อง การตอบสนองต่อคำสั่ง และการยอมรับมนุษย์ในฐานะ “ผู้นำฝูง” โดยเฉพาะในกรณีของควาญช้าง พวกมันใช้ชีวิตในพื้นที่ที่ถูกจัดการโดยมนุษย์ เช่น คอกช้าง ฟาร์ม หรือพื้นที่ทำงาน ทำให้มันปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่คนควบคุม
ผมคิดว่าช้างอยู่ในฐานะ “ผู้ร่วมดำรงชีวิต” (co-inhabitants) ที่มีความหมายมากกว่าการเป็นทรัพยากรของมนุษย์ ในหลายพื้นที่ช้างเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและวัฒนธรรม เช่น เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา หรือสัตว์มงคลในพิธีกรรม ความใกล้ชิดนี้สะท้อนผ่านวิธีการดูแลและปฏิบัติต่อช้างที่เปรียบเหมือนสมาชิกในครอบครัว…. ผมเห็นควาญช้าง เรียกลูก เรียกน้องขวัญ น้องฟ้าใส ….ทำให้ผมรู้สึกนึกถึงลูกสาวเลย 555
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น