ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปรัชญา (Philosohy)

ปรัชญา คือ ความรู้ และปัญญา  ความรู้หรือความรอบรู้ทำให้เราเราตั้งคำถามและชักนำเราให้ศึกษาหาความจริง ในแง่มุมต่างๆ
แง่มุมแรก ความรู้คืออะไร ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงความรู้นั้นถูกหรือผิดอย่างไร ปัญญาในการหาความรู้ส่วนนี้ถูกเรียกว่า ญาณวิทยา (Epistemology)
แง่มุมที่สอง เกิดจากปัญหาทางปรัชญาว่าที่ว่าด้วยเรื่องของการดำรงอยู่หรือมีอยู่ของสรรพสิ่ง หรือในทางปรัชญาเรียกว่า ภววิทยา (ontology) ที่พูดถึงเรื่องของความมีอยู่ "Existence"  สรรพสิ่งหรือสิ่งที่ปรากฏมีอยู่เป็นอย่างไร แล้วสิ่งที่ไม่มีเป็นอย่างไร ความเท็จเป็นอย่างไร ความถูกต้องเป็นอย่างไร สิ่งใดมีอยู่สิ่งใดไม่มีอยู่ แล้วเรารู้ได้อย่างไรวามันมีอยู่หรือไม่มีอยู่ มีคำถามมากมายว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพเจ้าหรือไม่?
พ้นเลยไปจากภววิทยา ก็จะมาถึงสิ่งที่เรียกว่าคุณวิทยา (Axiology) ที่ว่าด้วยปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าของสรรพสิ่ง ทั้งในแง่ของความงาม (Beauty) และศีลธรรม (Moral) ซึ่งในยุคโบราณปรัชญาแนวนี้คือเรื่องของสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) และแนวคิดว่าด้วยศีลธรรมหรือจริยศาสตร์ (Ethic)
เรามักจะตั้งคำถามว่า เรารู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนั้นคืออะไร ธรรมชาติ โลก ชีวิต ความตาย หรือแม้แต่ตัวตนของเรา
คำถามสำคัญคือ ความรู้มาจากไหน และความรู้นั้นมีธรรมชาติของมันอย่างไร ผิดถูกอย่างไร หรือเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไรบ้าง จึงย้อนกลับมาที่เรื่องของสิ่งที่เรียกว่าญาณวิทยา หัวใจสำคัญของปัญหาในแนวคิดทางปรัชญานี้คือ
"ถ้าเราไม่รู้ว่าความรู้ได้มาอย่างไรแล้วเราจะเชื่อถือมันได้อย่างไร" กลับมาที่การค้นหาต้นตอหรือแหล่งกำเนิดของความรู้
เรามักมีคำตอบต่อคำถามว่าความรู้ของเรามาจากไหน โดยเรามักจะบอกว่าพ่อแม่ ครูอาจารย์ หนังสือ อินเตอร์เน็ต สื่อต่างๆ  ถ้าเราตั้งคำถามต่อไปอีกสักนิด ว่า ครูของเรา พ่อแม่ของเรา สื่อต่างๆ เอาความรู้มาจา่กไหน เช่น ครูอาจได้มาจากตำรา ก็ต้องถามต่อว่า ตำราเกิดจากใคร คนเขียนตำราแล้วเขาได้ความรู้มาจากไหน  มาสอน มาบอก มาเผยแพร่กับเรา มันมาอย่างไร น้อยคนที่จะสามารถตอบได้ และน้อยคนที่จะคิดกับมันให้ลึกซึ้งลงไป
ดังนั้น ผู้แสวงหาความจริงย่อมต้องการความรู้อันเป็นสัจธรรม ต้องรู้ว่าความรู้มาจากไหน ได้มาอย่างไร
ครั้งต่อไปอาจจะเขียนถึงทฤษฎีเก่าๆที่เกี่ยวกับแหล่งที่มาของความรู้ ว่าความรู้ได้มากจากไหน ตั้งแต่พระเจ้าจนถึงยุคของเหตุผล


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง