ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

2. แนวคิดทฤษฎีนิเวศวิทยาการเมือง (Political Ecological Approach) นัฐวุฒิ สิงห์กุล


                แนวคิดเรื่องนิเวศวิทยาการเมืองเข้าใจว่าถูกใช้แรกเริ่มโดย Turshen ในบทความของเขาชื่อ The political ecological of disease ในปีค.ศ. 1997 ที่ได้วางรากฐานทางความคิดในการทำงานที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บในแทนซาเนีย ในทางตรงกันข้ามความคิดดังกล่าวถูกโต้แย้งโดย Grossman (1981) ที่บอกว่าคำว่า นิเวศวิทยาการเมืองถูกผลิตในปีค.ศ.1980 โดยสาระสำคัญของนิเวศวิทยาการเมืองเป็นการเชื่อมโยงระหว่างนิเวศวิทยาวัฒนธรรมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเขาต้องการหาคำตอบของคำถามว่า อะไรเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพและการเชื่อมโยงอย่างสำคัญระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตแบบพอยังชีพไปยังระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตรา ปัจจัยที่เขานำมาพิจารณาก็คือบทบาทเชิงนโยบายของอาณานิคมในการเปลี่ยนแปลงการเกษตรภายใต้กรอบความคิดแบบนิเวศวิทยาวัฒนธรรม ดังนั้นจุดเน้นคือการวิเคราะห์บริบททางสังคม และเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันระดับท้องถิ่น (Local) สู่ระดับโลก (Global) รวมถึงลักษณะสำคัญอื่นๆเช่น การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่น ผลกระทบของนโยบายรัฐและกิจกรรมในระดับของท้องถิ่น และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมบนโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม (Mayer,1996:446-447)
การเกิดขึ้นของแนวคิดนิเวศวิทยากรเมืองเกิดขึ้นจากจุดอ่อนของทฤษฎีนิเวศวิทยาทางการแพทย์ ที่ให้ความสำคัญกับมุมมองทางวัฒนธรรมน้อย มองประเด็นความเจ็บป่วยและทางการแพทย์ที่ติดอยู่กับแนวคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ เชื้อโรคที่คุกคามและเข้ามาทำลายชีวิตของมนุษย์ ทั้งที่ในความเป็นจริงมานุษยวิทยาการแพทย์ไม่สามารถหลีกหนีออกจากอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจไปได้ เนื่องจากประเด็นทางด้านการเมืองมีผลต่อการกำหนดทิศทางและแนวทางการดำเนินงานนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายสุขภาพของประชาชน (Bear,Singer and Susser,1977 อ้างใน พิมพวัลย์,2555:14) เช่นการจัดการปัญหาชาวพื้นเมืองของคนอังกฤษ หากวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีนิเวศวิทยาการเมืองก็จะเห็นว่า  ชาวอังกฤษเลือกใช้แนวคิดทางสังคมแบบลัทธิดาวินนิสต์ (Socail Darwinism) ที่มองว่าตัวเองเข้มแข็ง ฉลาดกว่าและเหนือกว่า ดังนั้นพวกเขาสามารถทำความรุนแรงกับชาวพื้นเมืองได้อย่างชอบธรรม โดยมองข้ามความโหดร้ายและความไร้มนุษยธรรมของตัวเอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิธีคิดทางด้านการปรับตัวให้ชีวิตอยู่รอดของชาวอังกฤษที่ไม่ใช่ด้านบวกแต่เป็นด้านลบเนื่องจากการปรับตัวรวมเข้ากับความเป็นชาตินิยม หรือประเด็นในเรื่องของโรคเอดส์ที่ข้อมูลวิทยาศาสตร์การแพทย์บ่งชี้ถึงความสำเร็จของโปรแกรมการส่งเสริมการใช้เข็มฉีดยาที่ไม่ติดเชื้อเฉพาะคน ช่วยลดการแพร่เชื้อเอชไอวีจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน แต่กลับถูกตั้งคำถามของนักการเมืองและนักปกครองถึงความคุ้นค่าที่จะนำงบประมาณมาใช้ในด้านสาธารณสุขนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า งานทางการแพทย์และงานทางด้านสาธารณสุขไม่สามารถหลุดออกจากประเด็นทางการเมืองได้
หัวใจของแนวคิดนิเวศวิทยาการแพทย์เน้นย้ำและอธิบายเกี่ยวกับโรค (Disease) และตัวปัจเจกบุคคล มีเพียงแนวคิดทางด้านนิเวศวิทยาเท่านั้นที่ครอบคลุมถึงประเด็นทางชีววิทยา (Biological)และปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรม (Socio-cultural Factor) ที่นำมาอธิบายเรื่องโรคภัยไข้เจ็บภายในกรอบความคิดเรื่องการกระตุ้น(Stimulas) และการตอบสนอง (Response) แต่ในขณะเดียวกัน นิเวศวิทยาการแพทย์ก็ไม่ได้เตรียมตัวกับการต่อสู้กับประเด็นทางสิ่งแวดล้อมที่กว้างขวางเช่นความสัมพันธ์กับระบบทุนนิยมที่แผ่ขยายในโลก ดังเช่น งานศึกษาของHuge and Hunter เรื่อง โรคกับการพัฒนา (Disease and Development) ในแอฟริกา โดยใช้แนวความคิดเรื่องนิเวศวิทยาและบริบทของโครงการพัฒนาในแอฟริกา ที่ชี้ให้เห็นภาวะสุขภาพของประเทศด้อยพัฒนา ภายในประเด็นทางภูมิศาสตร์การแพทย์  ความเป็นอาณานิคม เงื่อนไขทางสังคม โภชนาการ การส่งออกเทคโนโลยี การดูแลสุขภาพและการเมืองของโลก (Greenberg and Park,1994:5) ดังนั้น นิเวศวิทยาการเมืองมีความสัมพันธ์กับมิติทางสังคมระดับมหาภาค(Macrosociological perspective)ที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่แตกต่าง ชนชั้นและเชื่อชาติที่เฉพาะที่มีผลต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยที่มีผลกระทบอยู่บนเงื่อนไขทางสิ่งแวดล้อมและการเข้าถึงทรัพยากร (Michael Winkelman,2009:266)
ลักษณะที่น่าสนใจและเป็นจุดแข็งของนิเวศวิทยาการเมือง คือการรวมเอานิเวศวิทยาวัฒนธรรมกับเศรษฐศาสตร์การเมืองเข้าไว้ด้วยกันภายใต้กรอบการวิเคราะห์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน  โดยความสำคัญของประเด็นเรื่องนิเวศวิทยาการเมืองได้นำมาสู่การต่อสู้เคลื่อนไหวภาคประชาชนในประเด็นด้านสุขภาพ เช่นความหลากหลายทางชีวีภาพ การเคลื่อนไหวของแพทย์พื้นบ้านและแพทย์ทางเลือก รวมทั้งการต่อสู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ในการอ้างถึงสิทธิในที่ดินและภูมิปัญญาในการจัดการป่า ถือเป็นประเด็นที่สัมพันธ์กับแนวความคิดนิเวศวิทยาการเมืองในปัจจุบัน
ื่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง