ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประสบการณ์ภาคสนาม ชุมชนกะเหรียงป่าหมาก 2 นัฐวุฒิ สิงห์กุล

มุมมองของคนนอก การสร้างความหมายของคำว่า ชุมชน หมู่บ้าน

ตอนเช้าพวกเราเริ่มโครงการอบรมชาติพันธุ์วรรณาเกี่ยวกับการถ่ายภาพ โดยผู้เขียนได้รับผิดชอบให้ชวนคุยเรื่องชุมชน ความคิดเกี่ยวกับหมู่บ้าน ซึ่งผู้เขียนก็ไม่แน่ใจว่าจะสอดคล้องกับประสบการณ์ของพวกเขาหรือไม่ ผู้เขียนเลยชวนลุงแดง ซึ่งเป็นผู้นำเผ่าหรือจิตวิญญาณของชุมชนกะเหรี่ยง (ตำแหน่งนี้ไม่ใช่ตำแหน่งที่เป็นทางการแต่เป็นตำแหน่งที่คนในชุมชนแต่งตั้งหรือยอมรับร่วมกันแตกต่างกับตำแหน่งทางการที่ทางรัฐเป็นผู้ตั้งให้ ซึ่งผู้ใหญ่บ้านและอบต.มักจะเป็นคนไทยที่มาแต่งงานกับสาวชาวกะเหรี่ยงและสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ก็จะได้รับเลือกให้เป็นผู้นำชุมชน ในกรณีของลุงแดงผู้เขียนมองว่าแกเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของกลุ่มกะเหรี่ยงพุทธ ที่อาศัยอยู่บริเวณทิศตะวันออกของโรงเรียน มากกว่ากะเหรี่ยงคริสต์ที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกของโรงเรียนมากกว่า สิ่งที่น่าสนใจคือความทรงจำของคุณลุงแดง เป็นคนละชุดกับเด็ก เด็กไม่รู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของตัวเอง และดูสนใจกับนิทานของลุงแดงมากกว่าจะสนใจเรื่องเรื่องราวของชุมชนในอดีต ความยากลำบากในการดำรงชีวิตที่พ่อแม่พวกเขาต้องประสบ หรือพิธีกรรมสำคัญ ไหว้พระที่นั่งพระพุทธเจ้า  การทำเกษตรแบบไร่เลื่อนลอยในอดีต โดยเฉพาะเรื่องพิธีกรรมไหว้ที่นั่งพระพุทธเจ้า เด็กไม่รู้จักและไม่ได้ปฏิบัติกันแล้ว ดูเหมือนว่ากลุ่มนักศึกษาจะเป็นคนที่สนใจและซักถามเรื่องราวของชุมชนกะเหรี่ยงแห่งนี้มากกว่าเด็กๆที่เป็นลูกหลานชาวกะเหรี่ยงของลุงแดง แต่อาจเป็นเพราะความแตกต่างทางด้านความเชื่อ จึงทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งที่เป็นคริสต์ ไม่เข้าใจพิธีกรรมดังกล่าวมากนัก รวมถึงเด็กกะเหรี่ยงพุทธที่ไม่รู้จักพิธีกรรมนี้แล้ว แต่คนข้างนอก เช่น ตชด. หรือชาวบ้านคนอื่นๆก็จะมองว่า พิธีดังกล่าวคือพิธีไหว้พระจันทร์ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ลุงแดงเรียกชื่อว่า เป็นพิธีไหว้ที่นั่งพระพุทธเจ้า ซึ่งผู้เขียนมองว่า พิธีดังกล่าวทำในช่วงวันพระที่เป็นช่วงของพระจันทร์เต็มดวง คือขึ้น 15 ค่ำ จึงทำให้ถูกมองจากคนนอกว่าเป็นพิธีไหว้พระจันทร์ ทั้งที่การไหว้ไม่ได้ทำกลางแจ้งแต่อย่างใด แต่พิธีกรรมดังกล่าวจะทำที่บ้านของชาวกะเหรี่ยงที่มีหิ้งบูชาที่นั่งพระพุทธเจ้าเท่านั้น ซึ่งในชุมชนป่าหมากแห่งนี้มีเหลืออยู่เพียง 2 หลังเท่านั้น
บ้านของลุงแดงชาวไทยกระเหรี่ยง ด้านบน

บ้านลุงแดงาวไทกะเหรี่ยงตรงด้านในบ้าน

ภาพถ่ายลุงแดงและลุงเงิน เมื่อครั้งพระเทพเสด็จพระราชดำเนินมาโรงเรียนตชด.บ้านป่าหมาก

ภาพเมื่อครั้งสมเด็จพระพี่นางฯเสร็จมา

กิจกรรมสันทนาการเด็กๆ

ภาพลุงแดงเล่าเรื่องอดีตของชุมชน

พี่ๆนักศึกษาและตัวผู้เขียนชวนคุยเรื่องชุมชนของเรา

สิ่งที่เด็กๆสะท้อนสิ่งที่เขามองความเป็นชุมชนป่าหมาก
จากนั้นผู้เขียนก็ชวนคุยเรื่องชุมชน หมู่บ้าน ซึ่งเป็นกรอบคิดของผู้เขียนเอง ที่มีต่อเรื่องชุมชนในทางมานุษยวิทยา แต่เมื่อพูดคุยกับเด็กๆกับพบว่าความเป็นชุมชนของเด็กที่นี่จะมองออกมาในลักษณะที่เหมือนกัน เรื่องของโรงเรียน ป่าไม้ ภูเขา  โบสถ์ วัด ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวพวกเขา ซึ่งก็ไม่แปลกที่เด็กอายุระหว่าง 10-12 ปี (ป.4- ป.6) จะมองอย่างนั้น ผู้เขียนจึงลองให้เด็กแบ่งกลุ่มกันออกมาแล้วให้แต่ละกลุ่มมีนักศึกษาคอยเป็นพี่เลี้ยงเพื่อชวนพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องชุมชน เพื่อให้เขามองชุมชนได้ลึกและกว้างมากขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้ สิ่งที่เด็กสะท้อนความเป็นชุมชนออกมาจึงมีลักษณะดังนี้
น้ำตก ที่อยู่บริเวณวัดพุทธ ซึ่งเป็นน้ำตกสายเล็กๆ และเป็นแหล่งต้นน้ำ  ในฤดูแล้งน้ำจะเริ่มแห้ง น้ำบริเวณนี้เป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับ
สถานที่สำคัญทางศาสนา เช่น วัดของกะเหรี่ยงพุทธ โบสถ์ของกะเหรี่ยงคริสต์ ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาและเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
พื้นที่ทำการเกษตร เช่น ไร่กาแฟ สวนผัก หรือนาข้าว ที่เป็นส่วนหนึ่งของอาชีพของชาวกะเหรี่ยง ทั้งอาชีพดั้งเดิม เช่น การปลูกข้าว ปลูกฝักเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือพืชชนิดใหม่ มาแรง ราคาดีอย่างกาแฟ ที่นิยมปลูกกันมากขึ้นในปัจจุบัน
งานหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง เช่น การทอผ้า ทำย่าม เสื้อ ที่ทำจากผ้าฝ้ายย้อมสี การจักสานทำตะกร้าใส่สับปะรด ทำเปลนอน อู่สำหรับเด็ก ที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ที่มีอยู่มากในป่า ซึ่งเป็นอาชีพเสริมของกะเหรี่ยงในชุมชน

นอกจากนี้ก็จะมีสถานที่สำคัญในชุมชน เช่น โรงเรียน อนามัย หรือธนาคารข้าว หรือสัตว์ต่างๆ เช่น หมูป่า กระต่าย รวมถึงกล้วยไม้และดอกไม้ชนิดต่างๆ ที่สัมพันธ์กับชีวิตของเด็กที่นี่ ที่แวดล้อมไปด้วยสภาพแวดล้อมอันสมบูรณ์








ผู้เขียนสัมภาษณ์พระที่วัดในหมู

สินค้าของหมู่บ้านย่าม และเข่ง

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง