แนวคิดระบาดวิทยา
NAME OF THE PERSPECTIVE : ระบาดวิทยา
(
Epidemiology)
SUBJECT MATTER : สิ่งแวดล้อม (Environment) เจ้าบ้าน (Host) พาหะนำโรค (Agent)
LOGIC
OF THINKING : แนวคิดทางด้านสาธารณสุขและระบาดวิทยามีลักษณะที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน โดยในช่วงเริ่มแรกที่แนวคิดด้านการแพทย์ยังมีมุมมองและความเข้าใจต่อเรื่องเชื้อโรคและพาหะนำโรคที่ไม่ชัดเจน รวมทั้งแนวคิดด้านสาธารณสุขที่เน้นอยู่บนมิติทางสิ่งแวดล้อมเรื่องเดียว
เมื่อสิ่งแวดล้อมทำให้ป่วยก็จะเน้นเรื่องการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น
การทำให้เกิดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี อากาศ อาหารและน้ำที่สะอาด
ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาความรู้ที่ว่าด้วยระบาดวิทยา
ที่สามารถชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อโรคและความเจ็บป่วยได้อย่างชัดเจน โดยแนวคิดระบาดวิทยาอธิบายสุขภาพและความเจ็บป่วยด้วยสามเหลี่ยมความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าบ้าน
(Host) คือมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรค
โดยปัจจัยทางชีวภาพได้แก่โครงสร้างร่างกาย อายุ เพศ เชื้อชาติ กรรมพันธุ์ จิตใจ
ความเครียด ฯลฯ สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (Agent) ประกอบด้วยปัจจัยทางกายภาพ
เช่น แสง สี เสียง ความร้อน ความเย็น ปัจจัยทางเคมี เช่น สารพิษ ยา สารเคมี
และมลพิษ ปัจจัยทางสรีระวิทยา เช่น อาหาร พันธุกรรม สารเคมีในร่างกาย ช่วงวัยและภาวะการตั้งครรภ์
และสุดท้ายเชื้อโรค เช่นไวรัส แบคทีเรีย รา และสิ่งที่เป็นพาหะของโรค
รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่พาหะและเจ้าบ้านอาศัยอยู่
องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรค เช่น ภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพาหะ
(Agent )หรือตัวสิ่งแวดล้อมทำให้มนุษย์ไวต่อการติดเชื้อและการเกิดโรค
สิ่งแวดล้อมที่ทำให้บุคคลสัมผัสกับพาหะ (Agent )
โดยเชื้อโรคไม่สามารถเข้ามาสู่ร่างกายและทำให้เจ็บป่วยได้ถ้าไม่มีพาหะและพาหะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ถ้าไม่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ดังนั้นการเกิดโรคมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบทั้งสาม
Agent,
Host, Environment ที่ไม่สมดุลเหมาะสม
อาจมีตัวใดตัวหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป ก็จะเกิดภาวะของโรคและความเจ็บป่วยขึ้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น