ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวคิดสตรีนิยมแนวสังคมนิยม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

แนวคิดสตรีนิยมแนวสังคมนิยม
NAME OF THE PERSPECTIVE :  สตรีนิยมแนวสังคมนิยม (Socialist Feminist)
SUBJECT MATTER :   ทุนนิยมชายเป็นใหญ่ผลิตและผลิตซ้ำเพศวิถี  (Patriarchy  Capitalism  Productive  and Reproductive Sexuality ) ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบชายเป็นใหญ่ และการกดขี่โดยระบบทุนนิยมและอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่(Patriarchy and capitalism oppression)
LOGIC OF THINKING : เพศสภาวะและสตรีนิยมมีความสัมพันธ์กับแนวคิดชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) ระบบทุนนิยม(Capitalism)และชนชั้น(Class) ความสัมพันธ์ของระบบทุนนิยม(Capitalism)และความคิดเรื่องชายเป็นใหญ่ (Patriarchy)[1] เกี่ยวข้องกับการผลิต ระบบตลาด การจ้างแรงงาน การทำงาน ชั่วโมงการทำงานและ การขูดรีดมูลค่าส่วนเกินในการผลิต ที่นำไปสู่การแสวหาผลประโยชน์จากร่างกายผู้หญิง การกดขี่ข่มเหงซึ่งนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมในระบบเศรษฐกิจ ด้วยความเชื่อพื้นฐานในความแตกต่างทางกายภาพที่ผู้ชายแข็งแกร่งและเข้มแข็งกว่าผู้หญิง ผู้ชายได้สร้างวัฒนธรรมของความเอาเปรียบและอำนาจที่เหนือผู้หญิง ผู้หญิงถูกใช้ความรุนแรงจากผู้ชายทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงการกีดกันออกจากกิจกรรมอื่นๆทางสังคม นอกจากงานในบ้านและครัวเรือนที่ผู้หญิงจะต้องทำสิ่งเหล่านนั้น อย่างสมบูรณ์  ความแตกต่างทางร่างกายในแง่ของความเข้มแข็ง นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมในการจ้างแรงงาน การแบ่งงาน งานของผู้ชายและงานของผู้หญิงที่มีความแตกต่างกัน การกีดกันและแบ่งแยกที่เกิดจากวิธีคิดเรื่องการแบ่งแยกแรงงาน(Division of Labor) ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ทำให้การทำงานบ้าน หรือที่เรียกว่า Production of household goods and services เช่น การหุงหาอาหาร การทำความสะอาดบ้านเรือน การเลี้ยงเด็ก และอื่นๆ ไม่ถูกมองว่าเป็นงานในระบบทุนนิยม เป็นงานในลักษณะ unpaid work มากกว่าจะเป็น Paid work ในระบบการทำงานที่เป็นภายนอกครัวเรือนหรือครอบครัว(พื้นที่ส่วนตัว/Private) เป็นการทำงานในพื้นที่สาธารณะ(Public) ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของผู้หญิงเข้าสู่พื้นที่สาธารณะมากขึ้น ในขณะเดียวกันการที่ต้องทำงานในส่วนของPrivate ทำให้ผู้หญิงตกอยู่ในสภาวะที่ต้องรับภาระมากขึ้นกว่าผู้ชาย เพราะต้องทำทั้งงานบ้านและรับจ้างแรงงานข้างนอกด้วย ดังนั้นหน้าที่ของผู้หญิงจึงเป็นเรื่องของการผลิต (productive)ที่สัมพันธ์กับการผลิต เศรษฐกิจ อาชีพ การศึกษา หน้าที่ในการผลิตซ้ำ(Reproduction)ความเป็นแม่ การทำหน้าที่ในเรื่องของเพศสัมพันธ์หรือวิถีทางเพศ (Sexuality) การทำงานบ้าน การเลี้ยงลูก ที่สร้างอุดมการณ์และผลิตซ้ำความเชื่อและตัวตนของผู้หญิง รวมทั้งสรีระความแข็งแรงที่แตกต่างจากผู้ชาย กระบวนการทั้งหมดนำมาซึ่งการยินยอมหรือยอมรับในความไม่เท่าเทียมกัน ผ่านเรื่องของค่าจ้างและการเข้าถึงอาชีพซึ่งผู้หญิงอยู่ในสถานะที่เสียเปรียบผู้ชายถูกเอาเปรียบและถูกกดขี่ตลอดเวลา




[1]  แนวคิดเรื่อง Patiarchy มองว่าเป็นความคิดเกี่ยวกับ กฏเกณฑ์ของความเป็นพ่อ (Rule of Father) กฏเกณฑ์ของความเป็นสามี (Rule of Husbands) กฏเกณฑ์ของความเป็นนายจ้างผู้ชาย (Rule of Male Bosses)  เป็นการควบคุมของผู้ชายในสถาบันทางสังคมทั้งในแง่การเมือเมืองและเศรษฐกิจหรือแนวคิดของการครอบงำของผู้ชาย “Male Dominance” (Maria Mies,1991:37)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง