แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม
NAME OF THE PERSPECTIVE : แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม
(Post-Structuralism )
SUBJECT MATTER : วาทกรรม (Discourse) และ
ปฏิบัติการของวาทกรรม (Discursive Practice) ความเป็นชายขอบ
(Marginalization) ความรู้ (Knowledge)
อำนาจ (Power) มายาคติ (Mythology)
LOGIC
OF THINKING : วาทกรรมคือชุดของความรู้
ความจริงและอำนาจที่ทำงานผ่านโครงสร้างของภาษาที่กำหนด ควบคุม ครอบงำ ความคิดและการกระทำของเราอย่างเป็นธรรมชาติ
(Normalization) โดยแนวความคิดหลังโครงสร้างนิยมพัฒนามาจากแนวความคิดโครงสร้างนิยมที่ได้รับอิทธิพลจากนักภาษาศาสตร์ชาวสวิสฯชื่อ
Ferdinance De Saussure และนักมานุษยวิทยาอย่าง Clude
Levi-Straussที่มองว่า ภาษาเป็นตัวกำหนดและควบคุมโครงสร้างความคิดและพฤติกรรมของคนและทำให้คนกระทำตามโครงสร้างทางภาษานั้น
ซึ่งต่อมาแนวคิดดังกล่าวได้พัฒนามาสู่การเชื่อมโยงกับเรื่องของอำนาจ
เพราะภาษาเข้ามาครอบงำความคิดและการกระทำของมนุษย์ในสังคม ในแนวคิดเรื่องวาทกรรมของมิเชล
ฟูโก (Michel Foucault)
และการวิเคราะห์ของฟูโกเกี่ยวข้องกับเรื่องของความรู้และอำนาจ
ในการมองอำนาจในลักษณะเชิงลบ ที่อำนาจเป็นประเด็นเกี่ยวกับการกีดกัน บังคับ
สกัดกั้น ควบคุม ตัดตอน ปิดบัง
สัมพันธภาพทางอำนาจจึงอยู่ในแนวตั้งฉาก จากจุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่ง จากบนลงล่าง
โดยก้าวไปสู่แนวความคิดเรื่องอำนาจที่ปรากฏในรูปของอำนาจในลักษณะเชิงบวก มองอำนาจในลักษณะแนวระนาบ
ที่สำคัญก็คือการมองอำนาจในเชิงบวกที่เป็นเรื่องของความมีประสิทธิภาพของความจริงที่ปรากฏอยู่
“อำนาจผลิตความจริง(ความรู้)ก่อนที่จะบีบบังคับควบคุม” (อ้างจาก Deluze Gilles :1988 :39) อำนาจจึงอยู่ทุกหนแห่ง
และขับเคลื่อนตัวเองผ่านวาทกรรมในแต่ละชุด เพื่อเข้ามาควบคุม ครอบครอง
เหนือชีวิตของผู้คน ความรู้เป็นเพียงผลผลิตของอำนาจ ที่เบียดบัง สกัดกลั้น
หรือเบียดขับ ความรู้ย่อยอื่นๆให้อยู่ภายในขอบเขตของความไม่น่าเชื่อถือ
และการไม่ถูกยอมรับ
รวมทั้งกระบวนการทำให้วาทกรรมกระแสหลักนั้นกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาจนได้รับการยอมรับและเชื่อกันในสังคม ดังนั้นวาทกรรมของความรู้และความจริงที่ทำงานผ่านภาษา
อาจจะสร้างมายาคติ อัตลักษณ์ตัวตนภายใต้วาทกรรม
เบียดขับและควบคุมให้คนบางกลุ่มตกอยู่ภายใต้วาทกรรมแห่งอำนาจและการกลายเป็นคนชายขอบที่นำมาสู่ปัญหาในสังคมหรือสร้างให้พวกเขากลายเป็นปัญหาแน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น