ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

1.แนวคิดทฤษฎีนิเวศวิทยาการแพทย์ ( Medical Ecological Approach) นัฐวุฒิ สิงห์กุล


แนวคิดนิเวศวิทยาการแพทย์มองความสัมพันธ์ของระบบสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและระบบสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิธีการที่หลากหลายที่ใช้ในทางมานุษยวิทยาการแพทย์ในการศึกษาปัญหาสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ที่ถักทอ 3 ระเบียบวิธีการศึกษาเข้าด้วยกันคือ มานุษยวิทยา นิเวศวิทยาและการแพทย์ (McElroy and Townsend,1996:7) โดยแนวความคิดนิเวศวิทยาการแพทย์เป็นแนวความคิดที่เน้นเรื่องการปรับตัว (Conception of Adaptative) เป็นหลัก โดยเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมหรือชีวิภาพในระดับปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มเป็นการปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด โดยระดับสุขภาพของกลุ่มคนในสังคมสะท้อให้เห็นความสัมพันธ์ทางธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของกลุ่ม ความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา พืช สัตว์  สุขภาพและอนามัยเป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จของการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม โรคภัยไข้เจ็บ (disease) คือความล้มเหลวของมนุษย์ในการปรับตัว ดังนั้นสุขภาพคือเครื่องมือทางวัฒนธรรมต่อความสำเร็จในการปรับตัว ( McElroy and Townsen, 1996: p.12 อ้างในพิมพวัลย์,2545:12-13) นอกจากนี้ McElroy และ Townsend ได้กล่าวไว้ในหนังสือซึ่งพิมพ์ครั้งที่4 ชื่อ Medical Anthropology in Ecological Perspective (2004) ว่า สิ่งที่เขาเน้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการแพทย์และนิเวศวิทยา คือการอธิบายวิวัฒนาการ (Evolution) และการปรับตัว (Adaptation) ทางพันธุกรรม(Genetic) ทางกายภาพ (Physiological) ทางวัฒนธรรม (Cultural) และทางจิตวิทยา (Psychological) เข้าด้วยกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือ มานุษยวิทยาการแพทย์ ได้รวมเอาเทคนิค แนวคิดและทฤษฎีของการวิจัยจาก 4 สาขาย่อยของวิชาทางมานุษยวิทยาคือ มานุษยวิทยากายภาพ โบราณคดี ภาษาศาสตร์ และมานุษยวิทยาวัฒนธรรม เข้าไว้ด้วยกัน ที่ทำให้เกิด 3 สนามหลักในมานุษยวิทยาการแพทย์ คือชีววิทยาการแพทย์ (Biomediac) ที่ศึกษาการปรับตัวของมนุษย์ ชาติพันธุ์ทางการแพทย์ (Ethnomedical) ที่ศึกษาสุขภาพและการรักษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และมานุษยวิทยาประยุกต์ทางการแพทย์ (Applied Medical Anthropology) ที่นำเอาแนวคิดและวิธีการทางมานุษยวิทยาไปใช้ในงานทางการแพทย์และสาธารณสุข
แนวคิดนิเวศวิทยาการแพทย์ มองภาวะสุขภาพตามหลักทางวิทยาศาสตร์ที่วัดในเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาการปรับตัวของชาว Mano ในประเทศไลบีเรีย ที่โรคมาลาเรียทำให้ผู้คนชนเผ่านี้ล้มตายเป็นจำนวนมากมาเป็นเวลาตั้งแต่หลายร้อยปี โดยในตัวของชาวMano ได้มีการปรับตัวด้านชีววิทยาเกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนส์ (Gene Mutation) มีการปรับตัวด้านเม็ดเลือดที่ทำให้สามารถป้องกันเชื้อ Plasmodium Malaria ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถถ่ายทอดทางยีนส์จากพ่อแม่ เมื่อเป็นมาลาเรียก็จะไม่ถึงกับป่วยหนักหรือเสียชีวิตเหมือนในอดีต ในขณะเดียวกันแนวคิดนิเวศวิทยาการแพทย์ยังมองถึงความซับซ้อนทางวัฒนธรรมที่มีส่วนในการกำหนดระบบสุขภาพของผู้คนในสังคม ที่เรียกว่ากลยุทธ์ปรับตัวทางวัฒนธรรมในสังคม  เช่น การพัฒนาแว่นตาของชนพื้นเมืองแถวอาร์กติกเพื่อป้องกันสายตาของพวกเขาจากแสงที่ตกกระทบน้ำแข็งและหิมะ เป็นต้น
สิ่งที่ทฤษฎีนี้ให้ความสนใจคือเรื่องของการปรับตัว (Adaptation) ที่เป็นเหมือนการเปลี่ยนแปลง (Change) และการดัดแปลง (Modification) ที่เป็นความสามารถของบุคคลหรือกลุ่มกับการดำรงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกกำหนด ซึ่งถือเป็นแกนหลักของทฤษฎีที่สร้างสนามทางนิเวศวิทยาการแพทย์ โดยมองว่าเช่นเดียวกับสัตว์ประเภทอื่น นอกจากมนุษย์จะสามารถปรับตัวไปสู่ความหลากหลายของกลไกลทางชีววิทยา (Biological Mechanism) และยุทธศาสตร์ทางพฤติกรรม (Behavioral Strategies) แต่พวกเขายังพึ่งพาแบบแผนทางวัฒนธรรมของการปรับตัวมากกว่าสปีชี่ส์อื่นๆ มนุษย์ใช้กลไกลการปรับตัวด้านวัฒนธรรมในการผูกโยงและประสานพวกเขาเข้าด้วยกันในความพยายามกับการได้มาซึ่งอาหาร การปกป้องพวกเขาจากสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการเลี้ยงดูและการฝึกสอนลูกหลานของพวกเขาในสังคม
McElroy และ Townsend (1996:24-27) ได้เสนอโมเดลของนิเวศวิทยาและสุขภาพ ที่สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่แสดงให้เห็นสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อมนุษย์สามารถที่จะแยกออกมาได้ แยกออกมาได้ 3 ส่วนคือ 1.สิ่งมีชีวิตทางกายภาพ (Physical) ที่พิจารณาจากตัวประชากรมนุษย์ (Human Population) ลงมาที่ระดับอินทรีย์ของปัจเจกบุคคล (Individual Organism) และลงมาถึงระบบเนื้อเยื่อและเซลล์ (Tissue and Cells)  2. สิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic) ที่ประกอบด้วย สสารต่างๆ สภาพอากาศ และพลังงาน 3. สิ่งแวดล้อม ที่แยกออกมาเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต ( The Biotic Environment) เช่น ผู้ล่า (Predator) สิ่งมีชีวิตอื่นๆที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย (Vector) และตัวทำให้เกิดโรค (Pathogen) และสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม (The Cultural Environment) ที่ประกอบด้วยอุดมการณ์ความคิด การจัดระเบียบทางสังคมและเทคโนโลยี ทั้งหมดทุกส่วนล้วนพึ่งพาระหว่างกันและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรหนึ่งย่อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวแปรอื่นๆ

โมเดลดังกล่าวเมื่อถูกนำมาใช้อธิบายความสัมพันธ์กับระบบการแพทย์และสาธารณสุข จะประกอบด้วย ตัวแปรทางประชากร ปัจจัยทางด้านการถ่ายทอดพันธุ์ ภูมิต้านทางโรคและปัจจัยทางชีวภาพอื่นๆ ลักษณะของโรควัตถุหรือสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดโรคหรือพาหะนำโรค ลักษณะสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม แบบแผนทางความคิด ขนบประเพณีปัจจัยทางด้านการรับรู้และความเข้าใจ องค์กรทางสังคมและการเมือง เทคโนโลยีและการปรับตัวทางสภาพแวดล้อม ทั้งหมดจะสะท้อนความสัมพันธ์ของสุขภาพอนามัยและการเจ็บไข้ได้ป่วยที่เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นการปรับตัวทางชีวะวัฒนธรรมประเภทหนึ่ง และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ดังกรณีของปัญหาเรื่องความเครียดที่ McElroy and Townsend (1996:239-241) ให้ความหมายต่อความเครียดว่า  เป็นกระบวนการตอบสนองของประสาทสรีระวิทยา (Neurophysiologically)ต่อสิ่งแวดล้อม(Environmental)ในการถูกคุกคามการดำรงชีวิตของปัจเจกบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นการกระตุ้นให้เกิดความเครียด (Stressor) ที่มีระดับที่เข้มข้นและการคุกคามที่มากขึ้น ดังเช่นกรณีของความเครียดที่เป็นลักษณะ Acute Stress ตัวอย่าง น้ำท่วม พายุเฮอริเคนหรือสงคามกลางเมือง ซึ่งความกดดันทางสิ่งแวดล้อมดังกล่าวที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของปัจเจกบุคคล หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็จะทำให้เกิดภาวะความเครียดเรื้อรัง(Chronic Stress) ได้ โดยตัวแปรทางด้านบุคคลและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กับการทนทานต่อความเครียดและการจัดการความเครียด (Toterance and Cope of Stress) ดังนั้นความเครียดและการปรับตัวจึงเป็นแนวคิดที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง