ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ผู้หญิงผู้ถือกุญแจห้อง ตอน 1 โดย นุัฐวุฒิ สิงห์กุล

บทบันทึกการต่อสู้ดิ้นรนผ่านการขายเรือนร่างของแม่ญิงลาว ในสถานบริการขายบริการทางเพศ จังหวัดอุดรธานี

ฉากชีวิตข้ามพรมแดนอันรันทดของแม่หญิงลาว
บ้านทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ขนาดความสูงสองชั้น ด้านล่างจะเป็นห้องยาวๆ มีโต๊ะที่เรียงอยู่ภายในจำนวนประมาณเกือบ 20 โต๊ะ แต่ละโต๊ะมีเก้าอี้จำนวน 4 ตัว บริเวณด้านในสุดของบริเวณนี้จะเป็นห้องน้ำรวมชายหญิงแคบๆ สิ่งที่น่าสนใจคือบริเวณด้านหน้าทางเข้าจะมีชายหนุ่ม 2-3 คน นั่งอยู่ตรงประตูทางเข้า ซึ่งเป็นรั้วสังกะสีขนาดใหญ่ปิดอยู่อย่างมิดชิด ด้านในก่อนจะเข้าไปถึงบริเวณประตูทางเข้าไปในห้องที่มีกลุ่มผู้หญิงลาวอายุประมาณ 16 18 ปีขึ้นไปนั่งอยู่ จะมีผู้ชายอีกสองคนนั่งอยู่บนโต๊ะที่มีสมุดจดคล้ายสมุดบัญชี
ผู้สังเกตการณ์พบว่า ระหว่างที่นั่งอยู่จะมีผู้ชายทั้งในลักษณะที่มาคนเดียว มากับกลุ่มเพื่อนสองสามคน จะมานั่งอยู่ในโต๊ะด้านในสุด เพราะโต๊ะบริเวณทางเข้าจะเป็นโต๊ะของกลุ่มผู้หญิงลาวประมาณเกือบยี่สิบคนนั่งอยู่ประมาณ 4 5 โต๊ะ ผู้ชายเหล่านั้นก็จะบอกเด็กผู้หญิงที่คอยเสริฟ์เบียร์หรือเครื่องดื่มที่ลูกค้าสั่งว่า “เอาคนผมยาวนั่งหันหลังเสื้อสายเดี่ยวสีขาว” เอาคนผมสั้นเสื้อสีดำ” ยกเว้นแขกที่มาขาประจำก็จะระบุชื่อ แล้วเดินออกไปเพื่อขึ้นห้อง บางคนที่เป็นแขกขาประจำจะไม่เข้ามาข้างใน แต่จะให้คนที่คุมด้านหน้ามาเรียกเด็กให้ออกมาขึ้นห้องกับแขก กลุ่มคนที่มาเที่ยวมีทั้งคนไทย และคนต่างชาติ  คนต่างชาติส่วนใหญ่เป็นญี่ปุ่น ฮ่องกง ส่วนคนไทยจะเป็นคนที่มีอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป”
ผู้หญิงที่อยู่ในร้านแต่งหน้าแต่งตาสะสวย ใส่เสื้อผ้าที่ทันสมัยดึงดูดใจ ส่วนใหญ่จะเป็นชุดกระโปรงสายเดี่ยว โชว์สัดส่วน หน้าอก แขน และเรียวขา ย้อมผมสีแดง เขียนลบด้วยสีสันที่ดูฉูดฉาด สวมเครื่องประดับวับแวม พร้อมประพรมน้ำหอมกลิ่นฟุ้งไปทั่วห้อง
สาวลาวอายุประมาณ 18 -19 ปี นั่งรวมกันอยู่ที่มุมหนึ่งของห้อง พูดคุยกัน บางคนสนใจกับเพลงที่เปิดผ่านโทรศัพท์มือถือยี่ห้อต่างๆ ระหว่างเสียงผู้ชายที่นั่งคุยกัน และตกลงกันว่าจะเรียกน้องคนไหนออกไปกับตัวเอง เสียงเพลงของศิลปินวัยรุ่นค่ายอาร์เอสก็ทำให้บรรยากาศดูคึกคักมากขึ้น ชาวต่างประเทศบางคนเข้ามานั่งสักครู่ก็ชี้มือไปที่เด็กคนหนึ่งแล้วก็จูงมือกันเดินออกไปนอกห้องเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายบริการทางเพศกัน
เรื่องราวชีวิตเหล่านี้เริ่มต้นขึ้นมาจากเด็กผู้หญิงเหล่านั้นที่เข้ามาเสิร์ฟเบียร์และพูดคุยกับผู้ศึกษา ถึงที่มาของพวกเขาจากลาวเหนือ ลาวใต้ข้ามพรมแดนไทย ความลำบากยากแค้น ค่านิยมทางสังคมและแรงบีบเค้นทางเศรษฐกิจทำให้พวกเธอไม่อาจจะปฎิเสธซึ่งการเข้ามาขายเรือนร่างและนาผืนน้อย อายุ 18 -19 ปีซึ่งอยู่ในวัยสาวแรกรุ่น สามารถลงทุนกับร่างกายของเธอเก็บเกี่ยวเงินกลับบ้านให้พ่อแม่ญาติพี่น้องสบาย บางคนทำอาชีพนี้ประมาณ 5-6 ปี ก็กลับบ้านไปเริ่มต้นชีวิตใหม่กับผู้ชายดีๆสักคน
การขายบริการให้กับแขกครั้งละ 600  บาท ที่จะต้องหักค่านายหน้าให้กับแมงดาที่ควบคุมพวกเธอ ยิ่งรับแขกมากก็จะได้เงินมาก แม้ว่าเธอบอกว่าไม่อาจบอกตัวเลขได้เพราะเป็นความลับ แต่ก็บอกว่าได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับสิ่งที่พวกเธอต้องใช้แลกมันมา กุญแจห้องที่มือของพวกเธอ รอรับแขกคนแล้วคนเล่า และกุญแจดอกนี้ต้องการที่จะเปิดมากกว่าที่จะปิด เพราะการเปิดห้อง หมายถึงการเริ่มต้นทำงาน และเปิดโอกาสให้ท้องของเธอได้เติมเต็มจากเม็ดเงินของแขกที่เข้ามาเที่ยว กุญแจดอกนี้นำไปสู่การทำความเข้าใจชีวิตและแง่มุมของผู้หญิงเหล่านี้ ที่พวกเธอบอกเล่าถึงการอพยพข้ามพรมแดน การปรับตัวให้เข้ากับสังคมสมัยใหม่ ความเจริญต่างๆที่พวกเธอไม่เคยได้สัมผัสแต่มีโอกาสที่จะเอื้อมมือไปสัมผัส ซึ่งเป็นชีวิตที่พวกเธอเลือกและเต็มใจที่จะทำเช่นนั้น ทิ้งความลำบากไว้เบื้องหลัง ความล้มเหลวในชีวิตแต่งงานกับชายหนุ่มที่รักไว้ข้างหลัง และก้าวมาสู่ประตูของเศรษฐกิจที่ใช้ความปรารถนาและความต้องการพื้นฐานของมนุษย์มาสู่เงินตรา
ฉากชีวิตแม่ญิงลาวในเมืองลาว อดีตที่ผ่านไป
ในบทความของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ (อ้างจากปรานี วงษ์เทศ) ในเรื่องพุทธกับไสย์ ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้หญิงในทางพระพุทธศาสนามีน้อยลง  และด้อยกว่าเพศชายเป็นอันมาก เมื่อสิ่งที่เป็นความเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ หรือไร้เหตุผลในการอธิบายที่เรียกว่า ไสย์ ลดน้อยลงไป เนื่องจากการแทนที่ด้วยวิธีคิดในเชิงของเหตุผล พระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกันเป็นเรื่องของเหตุผล ระหว่าง เหตุของปัญหาหรือต้นตอของปัญหา และการแก้ไขปัญหาหรือดับทุกข์ ที่เรียกว่า อริยสัจ4 คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ทำให้เกิดสำนึกว่า ไสย เป็นรองพุทธ ทั้งที่แต่เดิมความเชื่อทั้งสองดำรงอยู่ด้วยกัน
เนื่องจากในอดีต เมื่อชุมชนหมู่บ้านมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ ผู้หญิงถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญและผู้นำในทางพิธีกรรม การติดต่อกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ ผู้หญิงเป็นทั้งคนทรง ม้าทรง ม้าขี้  เค้าผี หรือผู้สืบผีประจำตระกูล เป็นผู้ฟ้อนรำผีฟ้า เป็นหมอตำแย หรือหมออื่นๆที่ต้องใช้พิธีกรรมในการรักษาพยาบาล ดังนั้นบทบาทของผู้ชายและผู้หญิงจึงมีความเท่าเทียมกัน  ในแง่ที่ว่า ผู้หญิงกราบตีนพระ ส่วนผู้ชายก็ต้องกราบผู้หญิงในฐานะร่างทรงเหมือนกัน (ปรานี วงษ์เทศ:2549)  ความเชื่อเรื่องไสย มีอยู่ทั่วไปในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งศาสนาผู้นับถือผีเป็นที่แพร่หลายในหมู่ชาวนาชาวไร่ ชาวชนบทหรือกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ แม้ว่าสายตาของคนเมือง หรือส่วนกลางจะมองว่าเป็นเรื่องงมงาย ไร้เหตุผล หลอกลวงหรือเป็นพิธีกรรมของพวกพ่อมด หมอผี  ก็ตาม แต่คนส่วนใหญ่ในสังคมชาวไร่ชาวนาก็ยังนับถือคู่กับพุทธอยู่ตลอดเวลา
บทบาทของผู้หญิงในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้อนุรักษ์ และผลิตซ้ำความหลากหลายทางชีวภาพในทางการเกษตร  เพราะผู้หญิงเป็นผู้ปกป้องเมล็ดพันธุ์พืชมาหลายพันปี (Seed Custodians) โดยเฉพาะในอินเดีย ผู้หญิงชนบทเป็นผู้มีบทบาทและองค์ความรู้ในการดูแลปศุสัตว์มาช้านาน รวมถึงเรื่องของการเพาะปลูก ซึ่งผู้หญิงจะมีความรู้เรื่องภูมิอากาศ ฤดูกาล  สภาพอากาศ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ และดิน  รวมถึงเรื่องของการคัดเลือกเมล็ดพันธ์ การให้น้ำ การดูแลรักษาโรค ศัตรูพืช การพรวนดิน การตัดแต่งกิ่ง ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ดังนั้นความหลากหลายทางชีวภาพจึงเป็นพื้นฐานทางการเมืองของสตรีและเชิงนิเวศด้วย เมื่อเรื่องการเมืองของผู้หญิงก็เป็นเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพของธรรมชาติ  ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดแบบปิตุลาธิปไตย (Patriarchy) ที่ใช้บรรทัดฐานของผู้ชายในการกำหนดคุณค่าของสิ่งต่างๆ การทำลายความแตกต่างหลากหลายท่ามกลางความเป็นหนึ่งเดียวและให้ความสำคัญกับลำดับชั้น(Hierachy)ทำให้ผู้หญิงตกอยู่ในสภาวะที่ต้อยต่ำและถูกกีดกันออกจากกระบวนการพัฒนาและการตัดสินใจในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ความคิดเกี่ยวกับผู้หญิงในสุวรรณภูมิ

ปรากฏในนิทานปรัมปรา หรือภาพเขียนเกี่ยวกับผู้หญิงในภูมิภาคนี้ จะเน้นลักษณะของความเป็นแม่ ผู้ให้กำเนิดชีวิต สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ หรือเป็นผู้ที่มีอำนาจ   หรือเป็นผู้ที่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติหรือผู้นำพิธี เช่นความเชื่อเรื่องพระแม่โพสพหรือแม่ธรณีของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว
การเปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่ของผู้หญิงในปัจจุบัน กับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ศาสนาสมัยใหม่ รวมทั้งค่านิยมสมัยใหม่ของโลกตะวันตก ภายแนวความคิดเรื่องชายเป็นใหญ่ ลัทธิล่าอาณานิคม รวมถึงกระแสการเรียกร้องของสตรีในการขอมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย และพัฒนาความสามารถให้ทัดเทียมกับผู้ชาย รวมถึงการขอให้เปิดพื้นที่ของผู้ชายให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทและใช้พื้นที่มากขึ้น เช่นในทางการเมือง การปกครอง หรือเศรษฐกิจ ทำให้ความเชื่อและพิธีกรรมที่ผู้นำหรือมีส่วนร่วมในพิธีกรรมส่วนใหญ่ที่เป็นผู้หญิงในประเพณีพิธีกรรมดั้งเดิมของอุษาคเนย์ เช่น การนับถือผีปู่ย่า ผีฟ้า เจ้าแม่นางเทียม  หรือผีนัต การนับถือผีมดผีเม็ง โนรา โรงครูทางภาคใต้ของไทย  เป็นต้น ดังบันทึกที่ปรากฏในนิทานปรัมปราในภูมิภาคนี้ เช่น นางใบมะพร้าว พระทองนางนาค ที่เกี่ยวกับหญิงพื้นเมืองและนางพญาของอาณาจักรฟูนัน (อ้างจากปรานี วงษ์เทศ : 2549) หรือตำนานนางเลือดขาวของภาคใต้ที่ถูกยกให้เป็นแม่อยู่หัวเลือดขาว  ที่มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นแทนตัวนางไว้ที่สทิงพระ จังหวัดสงขลา และมีพิธีกรรมเฉลิมฉลองพระพุทธรูปทุกปี ที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญของผู้หญิงในภาคใต้ ที่เป็นเจ้าของที่ดิน ผู้รับมรดกที่ดินผ่านทางสายแม่ ฐานะของผู้หญิงจึงมีเกียรติและมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อวงศ์ตระกูล  โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากร ควบคุมปริมาณและกำหนดชนิดของสัตว์น้ำที่จะจับ รวมทั้งการดูแลรายรับรายจ่าย เศรษฐกิจของครอบครัว และรักษาสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ

ลาวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง

ภาพแม่ยิงลาวในอดีต ที่บ้านชาวบ้านสามัญชน

การรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ในลาว โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก

สื่อสมัยใหม่ในลาวที่ไม่ใช่สื่อทหาร

วนิตยสารไอ้หนุ่มลาว

นิตยาสารขวัญใจ สำหรับวัยรุ่นลาว

เงินกีบลาว

สแตมป์แสดงให้เห็นความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธืในลาว

แม่ยิงลาวชั้นสูงในวัง

ธุรกิจหาคู่ หาสามีฝรั่ง

สแตมป์ชาติพันธุ์ลาว

ปฎิทินเบียร์ลาว

นิตยสารวัยรุ่น


ผู้ยิงลาวกับการทอผ้า


สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การควบคุมดูแลศาสนาพื้นเมืองของผู้หญิง ที่ตรงกันข้ามกับผู้ชายที่นับถือศาสนาที่มาจากภายนอก ผู้ชายจึงต้องการศาสนาใหม่ ที่จะช่วยให้มีสถานภาพสูงกว่าสถานภาพเดิมในความเชื่อทางประเพณี  ศาสนาใหม่จึงถูกควบคุมด้วยผู้ชาย แตกต่างจากศาสนาผู้หญิงที่มีคำสอนว่าผู้หญิงมีสถานะต่ำกว่าชายและมีมลทิน แต่ก็สามารถผ่านการเชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนาได้ ด้วยความเป็นแม่และการทำบุญ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้หนังสือตัวอักษรของผู้หญิงซึ่งแม้ไม่ไดบวชในพระพุทธสาสนาแต่ก็สามารถท่องบทสวดมนต์ได้

ความเชื่อเรื่องปู่แสะย่าแสะในหลวงพระบาง ผีบรรพบุรุษฝ่ายชายและฝ่ายหญิง

ข้อหามหรือคำเตือนเกียวกับการมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้หญิงลาวที่แต่งงานแล้ว

กลุ่มชาติพันธืในลาวมีเยอะมาก ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มลาวลุ่ม ลาวเทิง ลาวสูง กว่า 100 ชาติพันธุ์


นโยบายด้านสุขภาพ เช่นยาเสพติดของลาวทีสนับสนุนโดยอเมริกา

ภาพบนผนังวัด เกี่ยวกับความสามัคคีความเป็นปึกแผ่นของชนชาติลาว
นิตยสารสาวลาว

วารสารแม่ยิงลาว 
กระบวนการค้ามนุษย์การทำให้ร่างกายเป็นสินค้า
เหตุการณ์ผู้หญิงอินเดียสูญหายจำนวนนับล้านคน จากการสำรวจสำมะโนประชากร อันเนื่องมาจากเหตุผลสำคัญต่างๆ เช่น การทำแท้ง การฆ่าทารกแต่กำเนิดเมื่อรู้ว่าลูกเป็นผู้หญิง หรือการทอดทิ้งลูกผู้หญิงให้อดตาย ตัวเลขของผู้หญิงเอเชียใต้ที่สูญหายในราว 72 ล้านคน  จึงน่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง  หรือกรณีของประเทศจีน ที่พยายามสร้างนโยบายการมีลูกคนเดียว (One Child Policy) ในปี ค.ศ. 1979 เพื่อลดปัญหาจำนวนประชากร ไม่ให้ล้นประเทศ ได้ทำให้ความสมดุลระหว่างเพศสูญหายไป เมื่อครอบครัวจีน ส่วนใหญ่ต้องการมีลูกชายมากกว่าลูกสาว เพราะระบบสังคม มีความเชื่อว่าการมีบุตรชายแห่งมังกรดีกว่าการมีลูกผู้หญิง ที่เหมือนมีส้วมอยู่หน้าบ้าน ทำให้เมื่อมีการนำนโยบายนี้มาใช้ 10 ปี การฆ่าลูกผู้หญิงก็ยังคงดำรงอยู่อย่างรุนแรงมากขึ้น และส่งผลมาถึงปัจจุบัน ที่มีปรากฏการณ์พ่อแม่ที่มีลูกชายประกาศหาลูกสะใภ้หรือหาคู่ให้ลูกชายของตนเอง เพื่อสืบสกุล เนื่องจากเกิดปัญหาขาดแคลนเพศหญิง
ในหลายประเทศของเอเชีย การมีลูกผู้หญิงถือว่ามีค่าน้อยมาก โดยเฉพาะประเทศที่ยากจนและด้อยพัฒนาในแถบเอเชียใต้ ที่การปฏิบัติต่อลูกผู้หญิง มีความแตกต่างจากลูกผู้ชาย ทั้งการเลี้ยงอาหาร การดูแลยามเจ็บป่วย รวมถึงการส่งเสียเลี้ยงดูด้านการศึกษา จากตัวเลขทางสถิติ ประเทศปากีสถาน ผู้หญิงที่รู้หนังสือมีจำนวนเพียง 23 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแตกต่างจากเพศชายมีจำนวนมากกว่า 49 เปอร์เซ็นต์ และในกลุ่มอายุ 1-4 ขวบ อัตราส่วนการเสียชีวิตของเด็กผู้หญิงสูงกว่าเด็กผู้ชาย ประมาณ12 เปอร์เซ็นต์
คนเอเชีย เชื่อถือว่า เด็กและหญิง เป็นคนครอบครัวมาช้านาน แม้ว่าโครงสร้างกฎหมายของหลายๆประเทศยอมรับสิทธิของคนกลุ่มน้อย คนวรรณะต่ำและสตรี แต่ในความเป็นจริงแล้ว อุดมคติหรือแบบแผนทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับผู้หญิงที่ฝังรากลึกในสังคม ตัวอย่างเช่นจีน ภายหลังชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์เมื่อปี ค.ศ. 1949 แม้ว่าจีนจะจำกัดการกดขี่ ความไม่เสมอภาคทางเพศ  การมีภรรยามากกว่า 1 คน การขายบริการทางเพศและการค้าหญิง แม้ว่านโยบายโฆษณาชวนชื่อดังกล่าวจะดูดี แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่เป็นเช่นนั้น การค้าเด็กผู้หญิงในตลาดเสรีก็เพิ่มมากขึ้น เมื่อจีนมีนโยบายผ่อนคลายมาตรการควบคุมทางเศรษฐกิจเมื่อปลายปี 1970
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าผู้หญิงได้รับการปฏิบัติเหมือนทรัพย์สมบัติ และต้องพึ่งพาผู้ชายทั้งทางรายได้และทางสังคม อีกทั้งมีโอกาสน้อยมากในการเลือกทางเดินชีวิตภายนอกขอบเขตของบ้าน สังคมบีบบังคับให้ผู้หญิงยอมรับสภาพทางสังคมของตนเอง  และธรรมชาติทางเพศของตนเอง  สำหรับผู้หญิง การแต่งงานของผู้หญิง กลายเป็นช่องทางนำไปสู่การทำมาหากิน และการเพิ่มสถานภาพทางสังคม ในพื้นที่หลายแห่งที่ด้อยการพัฒนาในเอเชีย เช่น เนปาล ผู้หญิงไม่มีสิทธิในทรัพย์สินพื้นฐานและมรดก หรือแม้แต่จะมีสิทธิทำงานแบบมีเงินเดือน ซึ่งแตกต่างจากผู้หญิงในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีโอกาสที่จะทำงานดีๆข้างนอกบ้าน และได้รับค่าตอบแทนดี
ในประเทศไทย  บุตรสาวเป็นผู้ถูกกำหนดให้ดูแลบ้าน เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อแม่คาดว่าว่าเด็กจะต้องตอบแทนคุณ ผ่านแนวคิดเรื่องค่าน้ำนม หรือ ค่าสินสอด    เช่น ที่ฟิลิปินส์ เด็กผู้หญิงมีความรับผิดชอบต่อการชดใช้หนี้บุญคุณ แก่พ่อแม่ ที่จีน เด็กเป็นหนี้บุญคุณพ่อแม่ที่ให้ชีวิตแก่พวกเขา  ความรับผิดชอบและความสำนึกในหน้าที่ของตัวเองถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ในสังคมไทยเรียกว่า ความกตัญญู ซึ่งต้องตอบแทนด้วยการเลี้ยงดูพ่อแม่  ด้วยการให้เงินจุนเจือครอบครัว หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจกรรมด้านการเกษตร ตัวอย่างเช่น บางชุมชนในไต้หวัน มีทัศนคติให้อภัยกับหญิงสาวที่ให้ความช่วยครอบครัวด้านการเงิน  แม้ว่าเงินเหล่านี้จะได้รับจากการค้าประเวณีก็ตาม ดังนั้น  สถานภาพของผู้หญิงจึงสัมพันธ์กับผู้ชาย คือถ้าไม่เป็นของชายคนใดคนหนึ่ง ก็เป็นของชายทุกคนที่เรียกว่าโสเภณี 
แต่การแต่งงานไม่ใช่ข้อผูกมัดระหว่างคนสองคน เพศชายกับเพศหญิง แต่เป็นการผูกมัดทาง เศรษฐกิจสังคมระหว่างครอบครัว ระบบเครือญาติ ของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง  ดังนั้นความบริสุทธิ์ของผู้หญิงจึงมีค่ามีความสำคัญ ดังเราจะเห็นคำกล่าวที่ว่า อย่าชิงสุกก่อนห่าม รักนวลสงวนตัว ต้องมีความเป็นกุลสตรี
ในสังคมเกาหลีความบริสุทธิ์ของสาวพรหมจารีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในระบบค่านิยมของชาวเอเชีย  ดังสุภาษิตเกาหลีที่ว่า พรหมจรรย์ของผู้หญิงมีค่าเท่าชีวิต ซึ่งคล้ายกับความคิดของชนชั้นกลางในอังกฤษสมัยวิกตอเรียที่จำแนกความสวยความงาม ความดี ความเลว ผู้หญิงดี กับผู้หญิงเลว ซึ่งทำให้ผู้ชายใช้ตราหน้าผู้หญิงได้ว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีหรือโสเภณี รวมทั้งใช้ควบคุมผู้หญิงในสังคม หญิงเลวก็คือผู้หญิงที่อยู่นอกระบบครอบครัว ผู้ชายไม่ว่าใครก็สามารถครอบครอง หรือใช้เธอได้
ในกรณีของผู้หญิงที่มีพรหมจรรย์ย่อมไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้  การสูญเสียพรหมจรรย์จากการแต่งงาน เป็นสัญลักษณ์ของการมีเจ้าของ แต่การสูญเสียพรหมจรรย์นอกการสมรสกลายเป็นพฤติกรรมนอกรีต ได้รับการติเตียนหรือรังเกียจจากคนอื่นในสังคม
ดังนั้นการครอบงำความคิด เกี่ยวกับเรื่องพรหมจรรย์ ศักดิ์ศรี และตำแหน่ง ภายในระดับชั้นทางอำนาจของผู้ชายอย่างแยกไม่ออก ความประพฤติของผู้หญิง ความสามารถของครอบครัวในการปกป้องดูแลเธอ ความสามารถของตัวเธอเองที่จะแต่งงานแบบมีหน้ามีตา ซึ่งเป็นปัจจัยบ่งชี้กำหนดสถานภาพของครอบครัวและอำนาจของผู้ชาย ตัวอย่างเช่นในประเทศปากีสถาน  เกียรติของผู้ชายและครอบครัวของเขาจะต้องธำรงไว้อย่างมั่นคง โดยใช้กระบวนการควบคุมเพศหญิงเป็นฐานสำคัญ ดังนั้นการฆ่าเด็กผู้หญิงโดยพี่ชายหรือน้องชาย หรือพ่อสังหาร จึงเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในปากีสถาน เมื่อรู้ว่ามีเพศสัมพันธ์หรือลักลอบมีเพศสัมพันธ์โดยมิชอบ ดังเช่น เมื่อปีพ.ศ. 1996 มีจำนวนผู้หญิงที่ถูกสังหารถึง 66 ราย
พรหมจรรย์ จึงถือเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ แต่ถ้าถูกข่มขืน ผู้หญิงเหล่านี้ก็จะกลายเป็นสิ่งมีตำหนิหรือกลายเป็นของเสีย แม้แต่การถูกข่มขืน ดังเช่นเหตุการณ์ในประเทศบังคลาเทศ ระหว่างการทำสงครามเพื่อแยกตัวออกจากปากีสถานในช่วงปี ค.ศ.1970 ที่มีรายงานว่า ทหารปากีสถานข่มขืนผู้หญิงและเด็กหญิงชาวบังคลาเทศกว่า 30,000 คน ดังนั้นการข่มขืน กลายเป็นเครื่องมือและยุทธวิธีในการทำสงคราม เนื่องจากผู้หญิงและสตรีเป็นเกียรติยศแห่งสังคมและสถานภาพของผู้ชาย การข่มขืนถือเป็นการโจมตีแกนหลักของสังคมบังคลาเทศ หลังสงครามชาวบังคลาเทศเรียกผู้หญิงเหล่านี้ ว่า บิรังโกนา ซึ่งภายหลังสงครามทางการออกแถลงการณ์ยกย่องพวกเธอว่าเป็นวีรสตรี แต่ในส่วนตัวก็กลายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นผู้หญิงที่ไม่บริสุทธิ์  ครอบครัวบางครอบครัวหันหลังให้ลูกสาว น้องสาว พี่สาว แม่และภรรยา ที่โดยข่มขืน พวกเธอไม่มีบ้านอยู่ เพราะครอบครัว รับไม่ได้กับความอับอายที่จะให้ผู้หญิงซึ่งมีมลทินอยู่ภายใต้ชายเดียวกัน และหลายรายต้องกลายมาเป็นโสเภณี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง