Original Research Libertas
: Academia Freedom to Research
แรงสนับสนุนทางสังคม
และความหวังในบรรดาผู้หญิงอียิปต์ กับมะเร็งเต้านมหลังจากตัดเต้านมทิ้ง (Social
Support and Hope Among Egyptian Woman with Breast Cancer after Mastectomy)
Adel Denewer ,Omar Farouk, and
Karima Elshamy
บทคัดย่อ
บทเกริ่นนำ (Introduction) : มะเร็งเต้านมคือมะเร็งทั่วไปที่พบมากที่สุดในบรรดาผู้หญิงชาวอียิปต์ พวกเรารายงาน
การประเมินลักษณะเฉพาะพิเศษของความหวัง(Hope)และการสนับสนุนทางสังคม
(Social Support)ในผลลัพธ์ของผู้หญิงกับมะเร็งเต้านมหลังจากการผ่าตัดเต้านมทิ้งในชุมชนของอียิปต์
คนไข้และระเบียบวิธี
(Patients and Method) ในระหว่างช่วงเดือนกรกฏาคม 2009 และมิถุนายน 2010 ผู้หญิงจำนาน ผู้หญิงจำนาน 300
คน กับอีก 1 คน ที่เพิ่งได้รับการตรวจวินิจฉัยล่าสุดว่าเป็นมะเร็งเต้านม ร่วมในการวิจัยครั้งนี้ด้วย
ข้อมูลสังคมประชากร (Socio-demographic data) รวมถึงอายุของคนไข้
ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพทางสังคม และที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งที่ถูกรวบรวมโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างที่มีพื้นฐานอยู่บนแบบสอบถามที่เฉพาะ
(Special questionaires) แบบสอบถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่ออกแบบมาเพื่อวัดค่าเกี่ยวกับความหวัง
และการสนับสนุนทางสังคม
ผลลัพทธ์ (Results) ช่วงอายุจาก 21 ถึง 88 ปี ( ค่ามัธยฐาน (Mean) เท่ากับ 45.8 ปี และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ± 13.3 ) ระดับต่ำสุด
(low degree) ของความหวังเป็นสิ่งที่ถูกรายงานในคนไข้จำนวน 103
คน (คิดเป็น 34.2%) ระดับกลาง (moderate
degree)ในคนไข้จำนวน 109 คน (คิดเป็น 36.2%) และระดับสูง (high degree) ในคนไข้จำนวน 89
คน (คิดเป็น 29.6%) ระดับต่ำสุดของการสนับสนุนทางสังคม
เป็นสิ่งที่ถูกรายงานในคนไข้จำนวน 119 คน (คิดเป็น 39.5
%) ระดับกลางในคนไข้จำนวน 101 คน (คิดเป็น 33.6%) และระดับสูงในคนไข้ 81 คน (คิดเป็น 26.9%)
ข้อสรุป (Conclusions) การสนับสนุนทางสังคมคือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางจิตวิทยา
(Psychological Factor) จำนวนมาก ที่ซึ่งสามารถเป็นสิ่งที่ถูกวิเคราะห์ในเชิงปริมาณและมันสามารถพยากรณ์หรือคาดการณ์(predict)เกี่ยวกับความหวัง (hope) อย่างไรก็ตามนี่คือสิ่งที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ระหว่างตัวแปรทางสังคมประชากร (Socio-demographic variables)
ในแง่ของอายุ ระดับการศึกษา ที่อยู่อาศัย และสถานภาพการสมรส
และการสนับสนุนทางสังคม
ความหวังและส่วนประกอบย่อยๆในกลุ่มผู้หญิงอียิปต์ที่เป็นมะเร็งเต้านม
เกริ่นนำ (Introduction)
ในประเทศอียิปต์ก็เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆมากมายของโลก
โรคมะเร็งเต้านมคือชนิดของมะเร็งที่ผู้หญิงเป็นกันมากที่สุด ที่ถูกรายงานเกี่ยวกับภัยคุกคามที่รุนแรงในกลุ่มผู้หญิงอียิปต์ประมาณ
38 % สภาพแวดล้อมทางสังคมอาจจะแสดงให้เห็นการปกป้องคุ้มครองคนไข้จากผลกระทบที่เลวร้ายของความไม่สะดวกสบายที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับโลกมะเร็ง
ซึ่งเป็นสิ่งที่พบว่า
รูปแบบเชิงโครงสร้าง(The Structural Form)ของปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับสังคม
เช่นเดียวกับมิติของความสัมพันธ์ (Relation Dimension) และรูปแบบเชิงหน้าที่(The
Functional Form) เช่นเดียวกับการสนับสนุนเชิงอารมณ์ (Emotional
Support) ซึ่งอาจจะเชื่อมโยงกับอัตราการตายและการมีชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง
การสนับสนุนทางสังคม
แสดงบทบาทที่สำคัญในการลดความกดดัน (Pressure) และการทำให้สุขภาพดีขึ้น (Improving Health) คนไข้โรคมะเร็งผู้ซึ่งขาดการสนับสนุนทางสังคม
อาจจะมองโลกในแง่ร้าย(Pessimistic) และสิ้นหวัง (Desperate) มากกว่า เช่นเดียวกับพวกเขาเป็นที่มองหาความช่วยเหลือจากคนอื่นอย่างต่อเนื่อง
มีการศึกษาจำนวนน้อยมากที่เกิดขึ้นในอียิปต์
กับการประเมินผลลัพธ์ของการสนับสนุนทางสังคมและความหวังในกลุ่มผู้หญิงมะเร็งเต้านมภายหลังจากที่ผ่าตัดเอาเต้านมทิ้ง
นี่คือการศึกษาที่มีเป้าหมายกับการสืบค้นความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและความหวังในกลุ่มผู้หญิงชาวอียิปต์ที่เป็นมะเร็งเต้านมโดยใช้เครื่องมือการวัดเชิงปริมาณ
และการพิจารณาว่าการสนับสนุนทางสังคมและความหวังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสอดคล้องกับตัวแปรทางสังคมประชากร
(Socio-demographic)หรือไม่
คนไข้และวิธีการ (Patients and
Method)
นี่คือ การศึกษาวิจัยแบบไปข้างหน้า (prospective
study) ที่ดำเนินการโดยศูนย์ศึกษาเนื้องอก (The Oncology
Center) ของมหาวิทยาลัย Mansoura ระหว่างเดือนกรกฏาคม
2009 และมิถุนายน 2010 หลังจากการให้ถ้อยคำและการเขียนขออนุญาตของพวกเขาในการศึกษา
ผู้หญิง 301 คน
ที่เพิ่งถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมมีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้
พวกเขาเป็นผู้ถูกฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัด เมื่อยังคงอยู่ในแผนกศัลยกรรม (The
Surgery department) ผู้หญิง 51 คน
ผ่านการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่โดยการทำทันทีพร้อมการตัดเต้านม (Sparing
mastectomy[1] with
immediate[2]
autologous[3]
breast reconstruction) ในขณะที่คนอื่นๆผ่านการผ่าตัดโดยเอาเต้านม
ก้อนมะเร็งและต่อมน้ำเหลือใต้รักแร้ออกไป (modified radical mastectomy[4]) ข้อมูลทางสังคมประชากรรวมทั้งอายุของคนไข้แต่ละคน
ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพทางสังคมและที่อยู่อาศัย
เป็นสิ่งที่ถูกรวบรวมในระหว่างการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
การสัมภาษณ์เหล่านี้มีพื้นฐานอยู่บนแบบสอบถามที่มีความเฉพาะที่ถูกออกแบบมาเพื่อวัดการสนับสนุนทางสังคมและความหวัง
แบบสอบถามเกี่ยวกับความหวัง (The
Hope Questionaire)
แบบสอบถามที่วัดค่าความหวัง หรือ The Hope
Measurement Questionaire (ดังตาราง1) คือสิ่งที่ประกอบด้วย
51ชุดคำถาม (Items) ที่บรรยายหรืออธิบาย
5 กลุ่ม(Domain)ของความหวัง ประกอบด้วย
กายภาพ (Physical) อารมณ์ (Emotional) จิตวิญญาณ
(Spiritual) การแพทย์ (Medical) และอาชีพ
(occupational) ชุดคำถามจะวัดกลุ่มเหล่านี้ที่เป็นการสุ่มตัวอย่างจะถูกกระจายหรือจำแนกไปสู่แบบสอบถามที่ได้รับความเที่ยงตรง
เป็นที่น่าปรารถนาของสังคม
และความพอใจของคนไข้ (ดังตารางที่2)
ชุดของคำถาม ครอบคลุมถึงสิ่งที่ได้หรือสกัดมาจากกรอบทางจิตวิทยาและการศึกษาก่อนหน้า
และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกับตรรกะเชิงเหตุผล ที่ไม่แนะนำหรือบอกเป็นนัย (non-suggestive) ไม่คัดลอก (non-duplicative) ในการให้ความหมาย ความเหมาะสมสำหรับกลุ่มตัวอย่างของการศึกษา
และเหมาะสมสำหรับวัฒนธรรมของคนไข้ และสำหรับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
แต่ละชุดคำถาม เป็นสิ่งที่ให้น้ำหนัก (Weighted) บนมาตรการวัด (Scale) ของ 3 จุด
คือ 1= ไม่เห็นด้วย (Disagree)
2= ไม่แน่ใจ (Not Sure) 3= ฉันเห็นด้วย (I Agree) คะแนนรวมทั้งหมด (The
total score) มีช่วงพิสัย (Range)จาก 51
ถึง 153 นี่คือคะแนนที่บ่งชี้ช่วงพิสัย(Range)ของความหวัง ≤ 70 เท่ากับระดับของความสิ้นหวัง สูง( a high
degree of despair) และ 70-79 เท่ากับ
ระดับของความหวังปานกลาง (moderate degree of hope) และ ≥ 100 เท่ากับระดับของความหวังและความปรารถนาในชีวิตสูง
(high degree of hope and desire in life)
ตารางที่1 แบบสอบถามการวัดค่าความหวัง (Hope Measurement
questionaire)
ข้อ
|
คำถาม
|
เห็นด้วย=
3
|
ไม่แน่ใจ=2
|
ไมเห็นด้วย=1
|
1.
|
I
find difficulty in sleeping.
|
|||
2.
|
I feel worried.
|
|||
3.
|
I
take part in religious ceremonies.
|
|||
4.
|
The
care I should receive is available.
|
|||
5.
|
My
income covers my needs.
|
|||
6.
|
My
friends are always ready to listen to my complaints.
|
|||
7.
|
I
always feel a continous desire to eat.
|
|||
8.
|
I
can express my anger.
|
|||
9.
|
I
help people who may need my help.
|
|||
10.
|
I
am afraid of disease because of money troubles.
|
|||
11.
|
I
expect to reach my happiness.
|
|||
12.
|
My
friends,care makes me feel happy (loved).
|
|||
13.
|
I
usually do not feel like eating.
|
|||
14.
|
I
can express my happiness.
|
|||
15.
|
I
follow religion teachings now more than I used to before.
|
|||
16.
|
The
treatment I receive is useful.
|
|||
17.
|
My
colleagues are keen on visiting me regulary.
|
|||
18.
|
I
feel worried when people do not visit me.
|
|||
19.
|
I
feel pain all over my body.
|
|||
20.
|
I
feel disparates and disappointed.
|
|||
21.
|
I
belive that faith in Allah would improve my condition.
|
|||
22.
|
I
think that doctor co-operate with patients.
|
|||
23.
|
Disease
cost a lot of money.
|
|||
24.
|
Family
support relives my pains.
|
|||
25.
|
I
feel afraid of serious diseases.
|
|||
26.
|
I
feel disabled and incapable of doing anything.
|
|||
27.
|
I
expect I will be cured if I have cancer.
|
|||
28.
|
At
hospital the needs of patients are adequately complied with.
|
|||
29.
|
Friendship
box at work provides me with financial support.
|
|||
30.
|
My
relations with people deteriorated after my illness.
|
|||
31.
|
I
think that nursing care is inadequate.
|
|||
32.
|
My
illness makes me feel lonely.
|
|||
33.
|
I
help others though I have limited resources.
|
|||
34.
|
My
doctors keep me informed with change in my condition.
|
|||
35.
|
I
am afraid if I am ill,I will not do my work efficiently again.
|
|||
36.
|
Illness
increases relation between the patients and others.
|
|||
37.
|
I
face health problems.
|
|||
38.
|
Having
hope in life is half the treatment.
|
|||
39.
|
I
will continues to do all that is good till the last minute of my life.
|
|||
40.
|
Progress
in medicine increases my hope.
|
|||
41.
|
I
hope to do all I missed in the period of my illness.
|
|||
42.
|
I
expect I will enjoy my social life.
|
|||
43.
|
I
feel energetic and ethusiastic.
|
|||
44.
|
I
feel sad most of the time.
|
|||
45.
|
I
am facing a lot of difficulities (problem)
|
|||
46.
|
My
Pains are increasing.
|
|||
47.
|
The
cost of my illness increases my financial burdens.
|
|||
48.
|
I
expect death at any time.
|
|||
49.
|
I
hardy feel despair.
|
|||
50.
|
The state of my health is getting worse.
|
|||
51.
|
I
have almost no goals in life.
|
ตารางที่2 การจำแนกแยกประเภทของชุดคำถามเกี่ยวกับกลุ่มความหวังที่นำไปสู่แบบสอบถามเกี่ยวกับความหวัง
กลุ่มของความหวัง
(Hope
Domain)
|
หมายเลขคำถาม
(Item
Number)
|
รวมทั้งหมด
(Total)
|
กายภาพ
(physical)
|
1,6,11,16,21,26,31,36,41,46
และ51
|
11
|
อารมณ์
(Emotional)
|
2,7,12,17,22,27,32,37,42
และ 47
|
10
|
จิตวิญญาณ
(Spiritual)
|
3,8,13,18,23,28,33,38,43
และ 48
|
10
|
การแพทย์
(medical)
|
4,9,14,19,24,29,34,39,44และ 49
|
10
|
อาชีพ
(Occupational)
|
5,10,15,20,25,30,35,40,45และ 50
|
10
|
51
Items
|
แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม (The
Social Support Questionnaire)
แบบสอบถามการวัดค่าการสนับสนุนทางสังคม (The Socail Support Measurement Questionnaire) ดังตารางที่3 ประกอบด้วยชุดคำถาม 33 ข้อ รวมทั้ง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย จิตวิทยา (psychological) วัตถุ (Material) การแพทย์ (Medical) และสังคม (Social) ตารางที่4 แสดงการสุ่มที่กระจายหรือจำแนกเกี่ยวกับชุดคำถามเหล่านี้
ชุมคำถามที่อ้างถึงในแบบสอบถามเป็นสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาก่อนหน้าส่วนหนึ่งและเป็นสิ่งที่ถูกแก้ไขปรับปรุงในชุดของภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างการวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัย
แต่ละชุดคำถามเป็นสิ่งที่ถูกให้น้ำหนักบนมาตรวัด
(Scale) ของ 3 จุด (1 เท่ากับ ไม่เห็นด้วย 2 เท่ากับ ไม่แน่ใจ 3 เท่ากับ เห็นด้วย)
คะแนนทั้งหมดมีพิสัยจาก 33 ถึง 99 นี่คือคะแนนที่บ่งชี้พิสัยของการสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วยค่าคะแนน ≤ 40 เท่ากับ
ระดับของการสนับสนุนทางสังคมต่ำ (Low
degree of social support)หรือค่าคะแนน 40-65 เท่ากับระดับการสนับสนุนทางสังคมปานกลาง
(moderate degree of social support) และค่าคะแนน ≥ 66 เท่ากับระดับของมิติการสนับสนุนทางสังคมสูง
(a high degree of social support dimensions)
ตารางที่3 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม
Agree Not Sure Disagree
|
|
1.
People’s love is helping me to recover.
|
|
2.
When in need,I always find those who can help.
|
|
3.
Doctors’conduct towards me increases my hopes in recovery.
|
|
4.
My family’s support increses my hope in life.
|
|
5.
My friends’s appreciation increases my hope in life.
|
|
6.
I received many presents on different occasions.
|
|
7.
Doctors’care makes me optimistic.
|
|
8.
My family’s care relieves my pains.
|
|
9.
I feel that my friends are my support in life.
|
|
10.
I belive in the proverb “I’m rich but I like presents.”
|
|
11.
I reality feel that nurses are angels of mercy.
|
|
12.
My friends’visits enhance my feeling of the meaning of life.
|
|
13.
I belive in the provorb “Best friends are the siblings Allah didn’t give us.”
|
|
14. When I became ill, I found financial support.
|
|
15.
I find most of my needs available in hospital.
|
|
16.
The absence of my family makes me feel pain more keenly.
|
|
17. I belive in the saying “ People hould help
each other.”
|
|
18.
My friends’ financial support makes me optimistic.
|
|
19. During my stay in hospital I felt that we
were one family.
|
|
20.
My family does not let me down during troubles.
|
|
21.
People’s visit make me optimistic.
|
|
22.
Treatment is expensive but my family’s support relieves financial pressures.
|
|
23. I feel that all the staff at hospital is
very helpful.
|
|
24.
I love being alone.
|
|
25.
Being away from people is useful.
|
|
26.
I feel disappointed because my family does not give me help.
|
|
27. I think that without doctors’help, my
health will become worse.
|
|
28.
My friends visit me regularly.
|
|
29.
My friends’support gives me power to face difficulties.
|
|
30.
The absence of family support makes me feel disappointed.
|
|
31.
Nurses’ill treatment decreases my hope in recovery.
|
|
32.
The members of my family support me in hard as in good times.
|
|
33.
I feel pessismistic because of the people around me
|
ตารางที่ 4 การจำแนกเกี่ยวกับชุดคำถามของกลุ่มสนับสนุนทางสังคม
ที่นำไปสู่แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม
กลุ่มของการสนับสนุนทางสังคม
(Social Support Domains)
|
หมายเลขชุดคำถาม
(Item
Number)
|
จำนวนรวมทั้งหมด
(Total)
|
จิตวิทยา
(Psychological)
|
1,5,9,13,17,21,25,29
และ33
|
9
|
วัตถุ
(Material)
|
2,6,10,14,18,22,26และ 30
|
8
|
การแพทย์
(Medical)
|
3,7,11,15,19,23,27
และ 31
|
8
|
สังคม
(Socail)
|
4,8,12,16,20,24,28
และ 32
|
8
|
33 Items
|
สมมติฐานของการวิจัย (Research
hypothesis)
1.
ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและความหวังในกลุ่มของคนไข้ที่เป็นมะเร็งเต้านม
2.
การสนับสนุนทางสังคมของคนไข้ที่เป็นมะเร็งเต้านมคือสิ่งที่เชื่อมโยงกับปัจจัยทางจิตวิทยาต่างๆ
ที่ซึ่งสามารถวิเคราะห์ในเชิงปริมาณ (quantitatively analyzed)
3.
ทั้งการสนับสนุนทางสังคมและความหวัง
ผันแปรในคนไข้ที่เป็นมะเร็งเต้านมที่สัมพันธ์สอดคล้องกับตัวแปรทางสังคมประชากร (Socio-demographic)
การวิเคราะห์ผลลัพธ์และการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Results and Statistical Analysis)
ผู้หญิง 301 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม
(breast carcinoma) เป็นสิ่งที่ถูกอ้างถึงในการศึกษานี้
พวกเขาแสดงระดับของสังคมประชากรที่หลากหลายของชนบทอียิปต์ช่วงอายุของพวกเขาจาก 21
ถึง 88 ปี (ค่ามัธยฐานเท่ากับ 45.8 ปี และค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย ± 13.3) ตารางที่5 แสดงลักษณะของสังคมประกร (Socio-demographic features) ในขณะที่ตารางที่ 6 แสดงการจำแนกแยกแยะเกี่ยวกับคนไข้
ที่มีคะแนนของมาตรวัดทั้งการสนับสนุนทางสังคมและความหวัง
ตารางที่5 ลักษณะทางสังคมประชากร (Socio-demographic
features)
Number %
|
Age <45
136
45.2
45-65
137
45.5
> 65
28 9.3
|
Educational
Level ต่ำ
หรือไม่มีการศึกษา (Low or nil*) 159 52.8
กลาง (Middle**) 102 33.9
สูง (High***)
40
13.3
|
Residence หมู่บ้าน
(village)
144
47.8
เมืองใหญ่ (City)
48 15.9
เมือง (Town)
109
36.2
|
Socail
Status ยังไม่แต่งงาน
(not married) 61 20.3
แต่งงาน
64
20.3
หย่าร้าง
107
35.5
เป็นหม้าย 69 22.9
|
ตารางที่6 การจำแนกแยกแยะเกี่ยวกับคะแนนเกี่ยวกับมาตรวัดความหวังและการสนับสนุนทางสังคมของคนไข้
Scale
|
Number
|
%
|
Hope ≤
70 (low degree of
hope)
70-79 (moderate degree of hope)
≥
100 (high degree of hope)
|
103
109
89
|
34.2
36.2
29.6
|
Social
Support ≤
40 (low degree of social support)
40-65 (moderate degree of social support)
≥ 66 ( high degree of social support)
|
119
101
81
|
39.5
33.6
26.9
|
ข้อสมมติฐานแรก
นี่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและความหวังระหว่างคนไข้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม
ดั้งนั้นการทดสอบสมมติฐานที่ถูกต้อง ข้อมูลที่ถูกรวบรวมเป็นสิ่งที่ถูกวิเคราะห์ในสองแนวทางคือ
อันแรก (First)
ทั้งสองอย่าง(การสนับสนุนทางสังคมและความคาดหวัง)
มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (The bilateral
correlation coefficient)[5] ของ
คะแนนของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยเกี่ยวกับการประเมินค่าหรือวัดค่าการสนับสนุนทางสังคมและความหวังคือ
43.0 ที่แสดงให้เห็นสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงบวก[6]
อย่างมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
อันที่สอง (Second)
หลังจากควบคุมตัวแปรทางด้านประชากร (Demographic
Variebles) เกี่ยวกับอายุ (Age) การศึกษา (Education) สถานภาพการสมรส (Marital status) และการตั้งถิ่นฐาน
(Residence) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบแยกส่วน (The partial correlation
coefficient)[7] ของผู้ร่วมวิจัย
(participants) ประชากรจำนวน 301 คน (N=301) เกี่ยวข้องกับการวัดค่าประเมินค่าของการสนับสนุนทางสังคมและความหวัง คือ
44.0 และเป็นค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงบวก
และมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01[8]
ข้อสมติฐานลำดับที่สอง (The Secod
Assumption)
การสนับสนุนทางสังคมกับคนไข้ที่เป็นมะเร็งเต้านม
คือการเชื่อมโยงกับปัจจัยทางจิตวิทยาจำนวนมาก ที่ซึ่งสามารถเป็นสิ่งที่ถูกวิเคราะห์ในเชิงปริมาณ
การทดสอบความถูกต้องของสมมติฐานนี้
การวิเคราะห์ปัจจัย (หลักการของวิธีสกัดปัจจัยหลักหรือแกนหลักเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ
The principle component method) เช่นเดียวกับการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบหมุนแกน
(Varimax rotation method) เป็นสิ่งที่ถูกนำมาประยุกต์กับผู้ร่วมวิจัยที่ตอบสนองต่อชุดคำถาม
(The item of the questionnaire) ที่ถูกใช้ในการศึกษา
ตารางที่7 แสดงให้เห็นข้อมูลที่เป็นผลมาจากการวิเคราะห์ปัจจัยหลังจากการหมุนแกน
(Rotation)[9]
ความอิ่มตัว (Saturation) เป็นสิ่งที่ถูกคำนวณและพบว่าเป็น 3.0
ที่บ่งชี้ การปรากฏหรือการมีอยู่ของ 3 ปัจจัยที่ตามมา
ปัจจัยอันแรก (กลุ่มที่เป็นจิตวิญญาณแห่งความหวัง The Spiritaul domain of hope)
มันรวมถึงกลุ่มของตัวแปร
7 ตัวของจำนวนตัวแปรทั้งหมด 11 ตัวที่แสดงขอบเขตของการศึกษา
(The dpmaims of the study)
ข้อมูลที่ได้รับชี้ให้เห็นความเข้มแข็งของปัจจัยนี้ที่ซึ่งสามารถเป็นสิ่งที่ถูกพิจารณาเช่นเดียวกับสิ่งที่มีความอิ่มตัวอย่างสูงมากที่สุดและเป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์
ระดับของความเข้มข้นของกลุ่มนี้คือ มีความสัมพันธ์ ระดับของความเข้มข้นของกลุ่มนี้(จิตวิญญาณ)คือ
3.32 ติดตามโดยกลุ่มที่เกี่ยวกับร่างกาย(Body) คือ 0.883 องค์ประกอบด้านอารมณ์ (Emotional) คือ 0.882 กลุ่มเชิงจิตวิทยา(Psychological)ในการสนับสนุนทางสังคม คือ 0.875 กลุ่มของวัตถุ (Material)
ระดับรวบยอดของการสนับสนุนทางสังคม (The Total degree of social
support) คือ 0.568 และระดับรวบยอดของความหวัง
คือ 0.565
ปัจจัยลำดับที่สอง
นี่คือปัจจัยที่รวมถึงตัวแปร 8 ตัวของการศึกษา ค่าของการอิ่มตัว (The saturation values) ของปัจจัยนี้มีพิสัยระหว่าง 0.316 สำหรับกลุ่มที่เกี่ยวกับการแพทย์
(Medical domain)
ของการสนับสนุนทางสังคม
นี่คือสิ่งที่สร้างตัวแปรที่อิ่มตัวมากที่สุด
ค่าของการอิ่มตัวของการสนับสนุนทางสังคมคือ 4.91 และเกี่ยวกับกลุ่มร่างกายของความหวัง
(The body domain of hope) คือ 3.76 กลุ่มของอาชีพมีค่าของการอิ่มตัวคือ 0.834
ในขณะที่ระดับจำนวนรวบยอดของความหวังมีค่าอิ่มตัวคือ 0.797 และกลุ่มทางการแพทย์ของความหวัง (The medical domain of hope) คือ 0.778 ค่าความอิ่มตัวของกลุ่มทางจิตวิญญาณ (The
spiritual domain ) เป็นสิ่งที่อยู่ระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกันคือ 0.608
ปัจจัยลำดับที่สาม (The third
factor)
นี่คือปัจจัยที่อ้างถึง 5 ตัวแปร ประกอบด้วย กลุ่มเชิงจิตวิทยา (The psychological domain) ของการสนับสนุนทางสังคม คือ 8.379 กลุ่มเชิงอารมณ์ของความหวัง
(The emotional domain of hope) คือ 5.15 ตามมาด้วย กลุ่มทางสังคมของการสนับสนุนทางสังคม (The social domain
of social support) คือ 0.911 เช่นเดียวกับกลุ่มทางการแพทย์ของการสนับสนุนทางสังคม
(The Medical domain of social support) คือ 0.854 และระดับรวบยอดสุดท้ายของการสนับสนุนทางสังคม (The total degree of
social support) คือ 0.795
ตารางที่7 Rotated Component matrix
Measurement
Factor
|
|||
1
|
2
|
3
|
|
Hope
(Total)
|
0.565
|
0.797
|
|
Body
|
0.883
|
3.76
|
|
Emotional
|
0.822
|
5.15
|
|
Spiritual
|
3.32
|
0.608
|
|
Medical
|
0.778
|
||
Occupation
|
0.843
|
||
Social
Support (Total)
|
0.568
|
4.91
|
0.795
|
Psychological
|
0.875
|
8.379
|
|
Material
|
0.861
|
||
Medical
|
0.316
|
0.854
|
|
Social
|
7.971
|
0.911
|
ข้อสมมุติฐานลำดับที่สาม
(The Third Assumption)
การสนับสนุนทางสังคมสามารถคาดการณ์หรือทำนายความหวังสำหรับคนไข้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม
การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ถดถอย
(The regression coefficient)[10]
เป็นสิ่งที่ถูกใช้ทดสอบความถูกต้องของข้อสมมติฐานนี้ ผลลัพธ์ชี้ให้เห็นว่า
การหาค่าความเที่ยงตรง (t value) ขึ้นไปยัง 8.263 นั่นชี้ให้เห็นว่า การสนับสนุนเชิงจิตวิทยา คาดการณ์หรือทำนายความหวัง
ซึ่งหมายความว่า
การสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายหรือคาดการณ์ความหวังสำหรับคนไข้ที่เป็นมะเร็งเต้านม
ตารางที่8 แสดงให้เห็นความสามารถของการสนับสนุนทางสังคมกับการทำนายหรือคาดการณ์ความหวังในคนไข้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม
ตารางที่ 8 Ability of
social support to predict hope
Model Unstandardized coefficient/Beta Std.error Unstandardized coefficient/Beta t
significance
|
Constannt 45.996 3.731 0.431 12.329 0.000
Social
support 0.614
0.074
8.263 0.000
|
ข้อสมมติฐานลำดับที่สี่
(The Fourth assumption)
ทั้งการสนับสนุนทางสังคมและความคาดหวังที่หลากหลายของคนไข้ที่เป็นมะเร็งเต้านม
สอดคล้องกับตัวแปรทางสังคมประชากร (Socio-demograohic) ความถูกต้องของข้อสมมติฐานนี้เป็นสิ่งที่ทดสอบโดยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว
(The Anova one-way anayisi of variance (Contrast) )[11]
ทดสอบการตอบสนองของผู้ร่วมวิจัยกับการวัดค่าหรือแระเมินค่าเกี่ยวกับการสนับสนุนทางสังคม
ความหวังและส่วนประกอบย่อยของพวกเขา (domains) ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ
อายุ (Age)
การสนับสนุนทางสังคม ความหวังและส่วนประกอบย่อยของพวกเขา
ไม่แปรปรวนหรือผันแปร กับกลุ่มคนไข้ที่เป็นมะเร็งเต้านม
ที่สัมพันธ์กับอายุของพวกเขา (ตารางที่9)
ตารางที่ 9 ความแตกต่างระหว่าง
การสนับสนุนทางสังคม ความหวัง และกลุ่มของพวกเขาที่สอดคล้องสัมพันธ์กับอายุ
Variables
|
Sum of Square[12]
|
df[13]
|
Mean square
|
F[14]
|
Significance
|
Hope Between group[15]
Within group[16]
|
296.979
60538.250
|
2
298
|
148.490
203.148
|
0.731
|
0.482
|
Body Between group
Within group
|
106.294
8906.264
|
2
298
|
53.147
29.887
|
1.778
|
0.171
|
Emotional Between group
Within group
|
49.144
7934.969
|
2
298
|
24.572
26.627
|
0.923
|
0.399
|
Spiritual Between group
Within group
|
26.967
6699.717
|
2
298
|
13.484
22.482
|
0.600
|
0.550
|
Medical Between group
Within group
|
9.562
6559.717
|
2
298
|
4.781
22.013
|
0.217
|
0.805
|
Occupational Between group
Within group
|
47.496
7173.102
|
2
298
|
23.748
24.071
|
0.987
|
0.374
|
Socail
Support Between
group
Within group
|
62.614
29938.615
|
2
298
|
31.307
100.465
|
0.312
|
0.732
|
Psychological Between group
Within group
|
51.758
4831.066
|
2
298
|
25.879
16.212
|
1.596
|
0.204
|
social Between group
Within group
|
20.134
4028.025
|
2
298
|
10.067
13.517
|
0.745
|
0.476
|
Material Between group
Within group
|
33.447
3428.646
|
2
298
|
16.724
11.506
|
1.454
|
0.235
|
Medical Between group
Within group
|
46.464
6832.466
|
2
298
|
23.232
22.928
|
1.013
|
0.364
|
ระดับการศึกษา
ตารางที่10 แสดงความแตกต่างระหว่างการสนับสนุนทางสังคม
ความหวังและกลุ่ม(domain) ของพวกเขาในความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา
นี่คือสิ่งที่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ระหว่างความแตกต่างของระดับการศึกษา ความหวังหรือการสนับสนุนทางสังคม
พร้อมกับกรณียกเว้น
ของกลุ่มทางสังคมเกี่ยวกับการสนับสนุนทางจิตวิทยาที่ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
0.01 การใช้การทดสอบที่เรียกว่า
Scheffe Test[17] กับการบ่งชี้กลุ่มที่มีความแตกต่าง พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผู้หญิงที่ไม่ได้รับการศึกษา(nail) หรือมีระดับการศึกษาต่ำ หรือผู้หญิงที่มีระดับการศึกษาสูง กับเปรียบเทียบกับกลุ่มแรกที่มีระดับเฉลี่ยที่
5.6. และในอีกด้านหนึ่งกลุ่มที่มีการศึกษาสูงมีระดับค่าเฉลี่ยที่
13.7
ตารางที่ 10 ความแตกต่างระหว่าง การสนับสนุนทางสังคม ความหวัง
และกลุ่มของพวกเขาที่สอดคล้องสัมพันธ์กับระดับการศึกษา
Variables
|
Sum of Square
|
df
|
Mean square
|
F
|
Significance
|
Hope Between group
Within group
|
421.508
60413.721
|
2
298
|
210.754
202.731
|
1.040
|
0.355
|
Body Between group
Within group
|
153.114
8859.444
|
2
298
|
76.557
29.730
|
2.575
|
0.078
|
Emotional Between group
Within group
|
117.141
7866.972
|
2
298
|
58.570
2.399
|
2.219
|
0.111
|
Spiritual Between group
Within group
|
157.371
6569.313
|
2
298
|
78.686
22.045
|
3.569
|
0.029
|
Medical Between group
Within group
|
68.880
6500.649
|
2
298
|
34.440
21.814
|
1.579
|
0.208
|
Occupational Between group
Within group
|
9.478
7211.120
|
2
298
|
4.739
24.198
|
0.196
|
0.822
|
Socail
Support Between
group
Within group
|
169.904
29831.325
|
2
298
|
84.952
100.105
|
0.849
|
0.429
|
Psychological Between group
Within group
|
13.844
4868.980
|
2
298
|
6.922
16.339
|
0.424
|
0.655
|
social Between group
Within group
|
127.058
3921.102
|
2
298
|
63.529
13.158
|
4.828
|
0.009
|
Material Between group
Within group
|
10.706
3451.387
|
2
298
|
5.353
11.582
|
0.462
|
0.630
|
Medical Between group
Within group
|
42.633
6836.297
|
2
298
|
21.317
22.941
|
0.929
|
0.396
|
การตั้งถิ่นฐาน (Residence)
ตารางที่11 แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างคะแนนของผู้ร่วมวิจัย ในแบสอบถามเกี่ยวกับการสนับสนุนทางสังคมและความหวังทั้งสองส่วนพร้อมกับกลุ่ม(domain)ของพวกเขาในความสัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐาน
นี่คือความไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการตั้งถิ่นฐานและคะแนนรวยยอดของความหวัง
(The total score of hope) รวมถึง เรื่องของกลุ่มที่เกี่ยวกับอารมณ์
การแพทย์ อาชีพ อย่างไรก็ตามนี่เป็นสิ่งที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ระหว่าง กลุ่มทางกายภาพและทางจิตวิญญาณของความหวัง (Physical and Spiritual
domain of hope)ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งถิ่นฐานที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.01
การใช้ Scheffe Test กับการบ่งชี้กลุ่มที่มีความแตกต่าง พบว่าความแตกต่างในกลุ่มทางกายภาพ
ของความหวังระหว่างคนที่พักอาศัยอยู่ในเมืองศูนย์กลาง (City)
มีระดับคาเฉลี่ยที่ 13.9 กับผู้ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านชนบท (Village) มีระดับค่าเฉลี่ยที่ 11.7 และยังมีความแตกต่างระหว่างผู้ที่พักอาศัยในเขตชานเมือง
(Town) ด้วย ที่มีระดับค่าเฉลี่ยคือ 13.5 กับผู้ที่อาศัยในหมู่บ้านชนบท(Village) ที่มีระดับค่าเฉลี่ยที่
11.7 เมื่อพิจารณากับส่วนประกอบทางด้านจิตวิญญาณ มีความแตกต่างระหว่างชานเมือง (Town) และหมู่บ้านในชนบท (Village) เช่นเดียวกับระหว่างเมืองหลวง(City)กับหมู่บ้านชนบท ที่มีค่าเฉลี่ยที่ 17.4,14.7 และ 15.4
ตามลำดับ
ผลลัพธ์ของความสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคม
ยังชี้ให้เห็นด้วยว่านี่คือสิ่งที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างสถานที่พักอาศัยที่แตกต่างและจำนวนคะแนนรวบยอดทั้งหมดของการสนับสนุนทางสังคมพร้อมกับส่วนประกอบอื่นๆ
ยกเว้นส่วนประกอบที่เกี่ยวกับวัตถุ(Material) ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในตัวแปรนี้ที่ 0.05 ระหว่างชานเมือง(town)และหมู่บ้านชนบท(village) ไปยังเมืองที่ซึ่งระดับค่าเฉลี่ยคือ 9.3 ตรงข้ามหรือใกล้เคียงกับหมู่บ้านชนบทที่มีค่าเฉลี่ย
8.2
ตารางที่ 11 ความแตกต่างระหว่าง การสนับสนุนทางสังคม ความหวัง
และกลุ่มของพวกเขาที่สอดคล้องสัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐาน (residence)
Variables
|
Sum of Square
|
df
|
Mean square
|
F
|
Significance
|
Hope Between group
Within group
|
177.373
60657
|
2
298
|
88.686
203.550
|
0.436
|
0.647
|
Body Between group
Within group
|
285.190
8727.368
|
2
298
|
142.595
29.286
|
4.869
|
0.008
|
Emotional Between group
Within group
|
142.590
7841.523
|
2
298
|
710295
26.314
|
2.709
|
0.068
|
Spiritual Between group
Within group
|
379.667
6347.007
|
2
298
|
189.839
21.299
|
8.913
|
0.000
|
Medical Between group
Within group
|
66.911
6502.617
|
2
298
|
33.455
21.281
|
10533
|
0.218
|
Occupational Between group
Within group
|
41.055
7179.543
|
2
298
|
20.527
24.092
|
0.852
|
0.428
|
Socail
Support Between
group
Within group
|
30.179
29971.050
|
2
298
|
15.090
100574
|
0.150
|
0.861
|
Psychological Between group
Within group
|
83.376
4799.448
|
2
298
|
41.688
16.106
|
2.588
|
0.077
|
social Between group
Within group
|
26.200
4021.959
|
2
298
|
13.100
13.4497
|
0.971
|
0.380
|
Material Between group
Within group
|
82.893
3379.200
|
2
298
|
41.446
11.340
|
3.655
|
0.027
|
Medical Between group
Within group
|
79.849
6799.082
|
2
298
|
39.524
22.816
|
1.750
|
0.176
|
สถานภาพการสมรส (Marital Status)
ตารางที่12 แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างการสนับสนุนทางสังคม
ความหวังและกลุ่มของพวกเขาในความสัมพันธ์ของสถานการสมรส
นี่คือสิ่งที่ไม่แตกต่างอย่างมีนับสำคัญทางสถิติระหว่างสถานภาพการสมรส
และระดับรวบยอดทังหมดของความหวัง (The total degree of hope)
พร้อมกับกลุ่ม(Domain)ของมัน
หรือเกี่ยวกับการสนับสนุนทางสังคมและส่วนประกอบของมัน อย่างไรก็ตามนี่คือสิ่งที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างองค์ประกอบของเกณฑ์ความหวังและสถานภาพการสมรสที่ระดับ
0.01 การใช้ Scheffe Test กับการบ่งชี้กลุ่มที่มีความแตกต่าง
มันคือสิ่งที่พบว่า นี่คือความแตกต่างระหว่างผู้หญิงที่ต่างงานแล้ว
หย่าร้างหรือเป็นหม้าย
ที่มีค่าเฉลี่ยที่ระดับ 15 17.3 และ 17.4 ตามลำดับ
ตารางที่ 12 ความแตกต่างระหว่าง การสนับสนุนทางสังคม ความหวัง
และกลุ่มของพวกเขาที่สอดคล้องสัมพันธ์กับสถานภาพการสมรส
Variables
|
Sum of Square
|
df
|
Mean square
|
F
|
Significance
|
Hope Between group
Within group
|
473.791
60361.439
|
3
297
|
157.930
203.237
|
0.777
|
0.508
|
Body Between group
Within group
|
67.336
8945.223
|
3
297
|
22.445
30.119
|
0.745
|
0.526
|
Emotional Between group
Within group
|
90.930
7893.183
|
3
297
|
30.310
26.576
|
1.140
|
0.333
|
Spiritual Between group
Within group
|
323.702
6402.982
|
3
297
|
107.901
21.599
|
5.005
|
0.002
|
Medical Between group
Within group
|
15.070
6554.548
|
3
297
|
5.023
22.069
|
0.228
|
0.877
|
Occupational Between group
Within group
|
88.707
7313.891
|
3
297
|
29.569
24.013
|
1.231
|
0.298
|
Socail
Support Between
group
Within group
|
214.816
29786.413
|
3
297
|
71.605
100.291
|
0.714
|
0.544
|
Psychological Between group
Within group
|
20.108
4862.716
|
3
297
|
6.703
16.373
|
0.409
|
0.746
|
social Between group
Within group
|
25.712
4022.447
|
3
297
|
8.571
13.544
|
0.633
|
0.594
|
Material Between group
Within group
|
17.872
3444.221
|
3
297
|
5.957
11.597
|
0.514
|
0.673
|
Medical Between group
Within group
|
66.307
6812.623
|
3
297
|
22.102
22.938
|
0.964
|
0.410
|
ข้ออภิปราย (Discussion)
เมื่อผู้หญิงเป็นประเด็นที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดทางจิตวิทยา (Psychological Stress)หรืออารมณ์ (Emotion) ที่พวกขาไม่สามารถเผชิญอย่างใดอย่างหนึ่งได้เนื่องจากความเข้มแข็งรุนแรงของสถานการณ์
(The Strength of situation)
หรือเนื่องจากบุคลิกภาพของพวกเธอเอง (Their Personalities)
พวกเธอกลายเป็นผู้ที่เปราะบางอ่อนไหวกับความเจ็บป่วยที่หลากหลายรวมถึงโรคมะเร็ง ในปัจจุบันผู้หญิงเป็นคนที่เผชิญกับความกดดันมากมาย
เนื่องจากภาระหน้าที่ของการทำงานในพื้นที่ที่แตกต่างในการเพิ่มภาระที่ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับบทบาทของพวกเธอ
ดังเช่นการเป็นแม่บ้าน(housewives)และการเป็นแม่ของลูก (Mothers) ความกดดันเหล่านี้มีผลกระทบที่สัมพันธ์อย่างเป็นธรรมชาติกับโครงสร้างทางกายภาพของผู้หญิง
และการแสดงของพวกเขากับโรคภัยไข้เจ็บและการลดทอนความรู้สึกเกี่ยวกับความหวังของพวกเขา
นี่คือการลดทอนความรู้สึกเกี่ยวกับความหวังในชีวิตที่มีผลกระทบโดยปัจจัยต่างๆ เช่น
ครอบครัว เพื่อน (การสนับสนุนทางสังคม) และความเชื่อทางศาสนาที่ซึ่งทั้งหมดเป็นความสำคัญในการทำให้ปัจเจกบุคคลรู้สึกมีความหวัง
Dekeyser และคณะ ได้ปฎิบัติเพื่อคาดคะเน
การศึกษาเชิงพรรณนาและการศึกษาความสัมพันธ์ (Descriptive and relation
study) ที่ซึ่งมีเป้าหมายในการสืบค้นความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดเชิงจิตวิทยา
(Stress psychological) และความกดดัน (the pressures) ที่ผู้หญิงเผชิญหน้า เช่นเดียวกับผลกระทบของการสูญเสียความหวัง
(ความหมดหวัง / Despair) เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกัน การศึกษากลุ่มตัวอย่างอ้างถึง(N = 35) ผู้หญิง
ในหกคนของกลุ่มตัวอย่างเป็นคนที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากเนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็ง
(malignant tumors) และ 29 คนของผู้หญิงกลุ่มตัวอย่างไม่ได้รับความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยหรือโรคภัยไข้เจ็บในอวัยวะอื่นๆ
(any organic disease) ตัวแปรของการศึกษาคือ
ความกดดันเชิงจิตวิทยา (psychological pressure) การบ่งชี้อาการความเครียดทางจิตวิทยา
(psychological stress symptoms) และความหวัง
ความหวังถูกวัดค่าโดยมาตรวัด
(Scale) ที่ถูกออกแบบกับชุดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม
ความกดดันทางจิตวิทยาโดยรายชื่อบัญชีเกี่ยวกับกลุ่มอาการของโรค (Symptoms) และหน้าที่ของภูมิคุ้มกันโดยระดับของไซโตไคน์ (cytokine) ในเลือด (The blood serum) ผลลัพธ์ของการศึกษาแสดงให้เห็นว่า
นี่เป็นอิทธิพลที่เข้มแข็งของกระบวนการวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง
ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดทางจิตวิทยา การไร้ความหวัง (hopelessness) และการสูญเสียความหวัง(the loss of hope) ปัจจัยเหล่านี้มีผลกระทบทางลบ
(negative effect) เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกัน (The
function of immune system)
มันเป็นสิ่งที่พบด้วยว่า
ประสบการณ์ความกดดันทางจิตวิทยาโดยผู้หญิงในชีวิตของพวกเธอ
ก่อนการวินิจฉัยเกี่ยวกับการเป็นมะเร็งเต้านม
ที่ทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงมากในการสูญเสียระบบภูมิคุ้นกัน (The collapse
of the immune) และทำให้ผู้หญิงเปราะบางและอ่อนแอมากกีบโรคมะเร็ง
ระบบภูมิคุ้มกันของผู้หญิง
ผู้ซึ่งไม่ใช่คนที่เจ็บป่วยกับอวัยวะอื่นๆ มีความสามารถในการจัดการ(cope)กับความเจ็บป่วยอื่นๆ ที่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของเซลล์เม็ดเลือดขาว
พวกเธอจัดการกับความเครียดทางจิตวิทยาได้อย่างเป็นปกติ
เนื่องจากการเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวาของระบบภูมิคุ้มกัน และแสดงออกมาอย่างดี
การสนับสนุนทางสังคมอาจจะเป็นผลกระทบกับผลลัพธ์ของการบำบัดรักษาโรคมะเร็งเต้านม
(breast cancer therapy) Spiegel และคณะ
(1989) ได้ตีพิมพ์งานที่ถือว่าเป็นเครื่องหมายสำคัญของการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงกับการเป็นมะเร็งเต้านมในระยะแพร่กระจาย
(metastatic breast cancer) ผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการแสดงออกการสนับสนุนในกลุ่มของการจัดบริการบำบัดรักษา
ที่ดำรงอยู่สองครั้งเช่นเดียวกับผู้หญิงที่มีสภาพเงื่อนไขที่คล้ายคลึงกัน
การเปรียบเทียบความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิกิริยาตอบสนองกับการมีสุขภาพจิตที่ดี
( patients’healthy
psychological) ของคนไข้กับโรคมะเร็งเต้านม
คือสาระสำคัญที่จำเป็นกับมาตรฐานของการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลและรักษาพาหะของเชื้อโรคสำหรับผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม
ผู้ซึ่งมีสุขภาพจิตที่แข็งแรง (psychologically healthy) และคนอื่นๆผู้ซึ่งได้รับความทุกข์ทรมานจากภาวะเสียระเบียบทางจิตวิทยา
(psychological disorders)ที่ซึ่งอาจจะทำให้ล่าช้าหรือยุ่งยากในการรักษาอย่างสำคัญ
ส่วนหนึ่งของการศึกษายืนยันและยอมรับกับผลลัพธ์ของของการศึกษาปัจจุบันเช่นเดียวกับการปรากฏเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งระหว่างการสนับสนุนทางสังคมที่สัมพันธ์สอดคล้องกับมิติของการสนับสนุนทางสังคม
(social support)และความหวัง(hope)และกลุ่มของมัน(domain)
การศึกษาจำนวนมากยืนยันว่า
การผันแปรของความหวัง (hope varies)
สอดคล้องกับตัวแปรทางด้านประชากร (demographic variables) เช่นเดียวกับ
การศึกษา อายุ
และประสบการณ์ของคนป่วยก่อนที่จะเป็นมะเร็ง การศึกษาเหล่านี้บอกว่า
ระดับการศึกษามีบทบาทในการพัฒนาเกี่ยวกับความรู้สึกเกี่ยวกับความหวัง (a
sense of hope) และแสดงให้เห็นว่าเมื่อไหร่ที่ปัจเจกบุคคลมีการพัฒนาระดับการศึกษา
(Educationally developed) ความรู้สึกและการตระหนักรู้เกี่ยวกับความหวังก็จะเพิ่มขึ้น
(The feeling and awareness of hope increases)
อย่างไรก็ตามในการศึกษานี้
การสนับสนุนทางสังคม ความหวังและส่วนประกอบย่อยของพวกเขา
ไม่ผันแปรในกลุ่มของผู้หญิงอียิปต์ที่เป็นมะเร็งเต้านมที่สอดคล้องสัมพันธ์กับระดับการศึกษาของพวกเธอ
นี่อาจจะเป็นสิ่งที่ถูกอธิบายหรือให้เหตุผลกับปฎิสัมพันธ์ของตัวแปรจำนวนมาก
ส่วนหนึ่งของปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับนิสัยหรือจริต (habit) และธรรมเนียมปฎิบัติ (traditions) ที่ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของวัฒนธรรมในกลุ่มของชาวอียิปต์
โดยเฉพาะผู้หญิง โดยไม่เกี่ยวข้องหรือคำนึงถึงระดับการศึกษาที่พวกเธอได้รับ
ส่วนหนึ่งของการศึกษาก่อนหน้าสรุปว่า
คนไข้ผู้ซึ่งมีภูมิหลังหรือพื้นภูมิอยู่ในวัฒนธรรมชนบท(rural cultural) ที่อาศัยอยู่ห่างไกลจากความเจริญ
มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ความแออัดคับคั่ง และที่ซึ่งวิถีชีวิตของพวกเขา
คือสิ่งที่ถูกทำให้มีลักษณะเฉพะที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องของศาสนา (Religiousity) และเรื่องของจิตวิญญาณ (Spirituality) จะรู้สึกมีความหวังมากกว่าเพื่อนคนอื่นของพวกเขาที่อาศัยอยู่ในเมือง
(city) อย่างไรก็ตามการศึกษาในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า
นี่เป็นสิ่งที่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ระหว่างพื้นที่ของการตั้งถิ่นฐานที่แตกต่างและระดับรวบยอดของความหวัง การสนับสนุนทางสังคมและกลุ่มอื่นๆ(Domain)ของพวกเขา นี่อาจจะเป็นสิ่งที่อธิบายเหตุผลกับกระบวนการกลายเป็นเมืองที่ไม่มีการวางแผน
(unplanned urbanization) ของพื้นที่ชนบทในอียิปต์ที่ซึ่งเป็นผลลัพธ์ในการอพยพขนาดใหญ่ของประชากรในภาคชนบท
(The migration of large rural population)สู่เมือง (urban
town) ในระหว่างช่วงทศวรรษที่แล้ว
นี่คือ ผลลัพธ์ในการผสมของลักษณะทางสังคมประชากรที่หลากหลายระหว่างหมู่บ้านชนบท
เมืองและชานเมืองของอียิปต์
ค่อนข้างจะเห็นได้ชัดว่า
สหสัมพันธ์ของความหวัง (hope correlation) กับตัวแปรทางด้านประชากรคือสิ่งที่ไม่สมบูรณ์เด็ดขาด การแปรผันได้ของตัวแปร (variability) และความแตกต่างของตัวแปรเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและประเด็นนี้ก็ยังคงต้องถกเถียงหาข้อโต้แย้งกันต่อไป
ความรู้สึกเกี่ยวกับความหวัง (The sense of hope) คือสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กับระดับการศึกษาเมื่อมันแสดงการตอบสนองกับสถานการณ์ที่แน่นอนหรือกับการกระตุ้นต่อประสบการณ์ของปัจเจกบุคคล
ประเภทหรือชนิดของการรักษาไม่มีผลกระทบเกี่ยวข้องกับความรู้สึกของความหวัง
คนไข้เหล่านั้นได้รับความทุกข์ทรมานที่เฉพาะจากมะเร็งเต้านม
บ่อยครั้งรู้สึกอันตรายหรือเลวร้ายเพราะว่าความเครียดอย่างเต็มที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วยนี้และการทำให้ปราศจากเชื้อโรคของการรักษา
(The sterility of it’s treatment) การศึกษาอื่นๆสรุปด้วยว่าวัฒนธรรมย่อยและอายุไม่มีผลกระทบกับความรู้สึกเกี่ยวกับความหวัง
(the sense of hope)
ในการพิจารณาสถานภาพของการสมรส
ในการศึกษาปัจจุบัน พบว่านี่เป็นสิ่งที่ไม่แตกต่างอย่างมีนับสำคัญทางสถิติระหว่างสถานภาพของการแต่งงานและระดับรวบยอดของของความหวังและกลุ่มของมันหรือระหว่างสถานภาพการสมรสกับการสนับสนุนทางสังคมและกลุ่มของมัน
นี่อาจจะเป็นสิ่งที่ถูกอธิบายจากปัญหาที่คล้ายคลึงกันในสมาชิกของกลุ่มทั้งหมด
เป็นสิ่งที่ถูกสะท้อนในแบบสอบถามของความหวังและการสนับสนุนทางสังคม ตัวอย่างเช่น
อายุที่ล่าช้าในการแต่งงานกันที่สัมพันธ์กับเกี่ยวข้องกับการดูแลในอนาคต ปัญหาของครอบครัว
และการไม่อยู่ของสามีเนื่องจากการเดินทางไปทำงานที่อื่นหรือการทำงานล่วงเวลา
หรือขาดการสนับสนุนจากสามี การหย่าร้างที่สัมพันธ์กับสังคมของชาวอียิปต์ ในโรคหดหู่ซึมเศร้า (Melamcholy) ในมิติของผู้หญิงที่มีการหย่าร้าง และสัมพันธ์กับภาวะของการเป็นม่าย (Widowhood) พร้อมกับภาระหน้าที่ที่เกิดขึ้นพร้อมกันของการต้องเพิ่มความรับผิดชอบ
ไปจนถึงการเพิ่มขึ้นของเด็กในการไม่ปรากฏการเปรียบเทียบระบบของความเป็นปึกแผ่นของสังคม
(System of social solidarity)
การศึกษาในปัจจุบัน
พิสูจน์ให้เห็นว่าทั้งการสนับสนุนทางสังคมและความหวังเป็นสิ่งที่ไม่ผันแปรในคนไข้ชาวอียิปต์ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม
ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับ การสำรวจตัวแปรทางด้านสังคมประชากรอื่น
ข้อสรุป
(Conclusion)
การสนับสนุนทางสังคมคือสิ่งที่สัมพันธ์กับปัจจัยทางจิตวิทยาอื่นๆมากมาย
ที่สามารถวิเคราะห์ในเชิงปริมาณ ปัจจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นขอบเขต /กลุ่ม(domain) หรือมิติ (dimension) ของความหวัง
ด้วยเหตุนี้ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและความหวัง
ในทางตรงกันข้าม
การสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายหรือคาดคะเนความหวังระหว่างผู้หญิงอียิปต์ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม
แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างตัวแปรทางสังคมประชากร (socio-demographic) ประกอบด้วยอายุ ระดับการศึกษา การตั้งถิ่นฐานและสถานภาพการสมรส
และการสนับสนุนทางสังคม ความหวังและส่วนประกอบย่อยของพวกเขา
[1] การผ่าตัดเต้านมโดยคงเหลือบางส่วนไว้ เช่นผิวหนังทั้งหมด
[2] ทำทันทีพร้อมการตัดเต้านม (Immediate breast reconstruction) ทำในการดมยาสลบผ่าตัดในครั้งเดียวกัน
มีข้อดีมีการผ่าตัดเพียงครั้งเดียวพร้อมกัน
มักจะสามารถทำร่วมกับการตัดเต้านมแบบเก็บอนุรักษ์ผิวหนังบริเวณเต้านม
อาจรวมทั้งหัวนมและลานหัวนมไว้ด้วยได้
การผ่าตัดเพื่อเสริมสร้างเต้านมใหม่เมื่อทำทันทีพร้อมการตัดเต้านมมักได้ผลการรักษาที่สวยงามกว่า
และผู้ป่วยจะมีความเครียดกังวลจากความสูญเสียเต้านมน้อยกว่า
[3] ใช้เนื้อเยื่อจากส่วนอื่นๆของร่างกาย (Autologous technique) เป็นการนำเนื้อจากส่วนอื่นของร่างกายผู้ป่วยเอง เช่นบริเวณหน้าท้อง
แผ่นหลัง และ สะโพกเป็นต้น
อย่างไรก็ดีในผู้ป่วยบางรายอาจเหมาะสมในการใช้ทั้งสองเทคนิคประกอบกันทั้งใช้ถุงเต้านมเทียมและใช้เนื้อเยื่อจากส่วนอื่นๆของร่างกาย
นอกจากนี้ยังมีเทคนิคใหม่ๆในการดูดไขมันนำมาฉีดสร้างเสริมเต้านมใหม่ได้เช่นกัน
[4]
Modified Radical Mastectomy (MRM) คือ การผ่าตัดเอาเต้านม
และต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ออก หากพบว่าเซลล์มะเร็งกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว
[5]
การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กับเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานอยู่แลว การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กับเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานอยู่แลว
มีขั้นตอนดังนี้ 2.1นำเครื่องมือหรือแบบวัดที่สร้างขึ้น กับเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานอยู่แลว ไปเก็บรวมรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน
2.2 นำผลคะแนนที่ไดจากเครื่องมือที่สร้างขึ้นกับเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานอยู่แลว ไปหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
แบบเพียรสัน
(Pearson Product Moment Correlation) 2.3 หากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าตั้งแต่.70 ขึ้นไปก็ถือว่า เครื่องมือหรือแบบวัดที่สร้างขึ้นมีความเที่ยงตรง
[6] สหสัมพันธ์เชิงบวก (Positive Correlations)
ซึ่งหมายความว่า
เมื่อตัวแปรตัวหนึ่งเพิ่มหรือลดลงอีกตัวแปรหนึ่งก็จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปด้วย
สหสัมพันธ์เชิงลบ (Negative Correlations) หมายถึง
เมื่อตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอีกตัวหนึ่งจะมีค่าเพิ่มหรือลดลงตรงข้ามเสมอ
สหสัมพันธ์เป็นศูนย์ (Zero
Correlations) หมายถึง
ตัวแปรสองตัวไม่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
[7] สัมประสิทธิ์สหสัมพันธแบบแยกสวน
เปนวิธีที่ใชวัดความสัมพันธระหวางตัวแปร
หรือขอมูลมากกวา 2 ชุด โดยจะทําการหาความสัมพันธของตัวแปรทีละคู ในขณะที่ทําการขจัดอิทธิพลของตัวแปรที่เหลือออกไป
(ใหตัวแปรที่เหลือคงที่)
เชน ตองการหาความสัมพันธระหวางสวนสูงกับน้ำหนักของผูปวย
โดยทําการขจัดอิทธิพลของตัวแปรอายุของผูปวย
เปนตน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธแบบแยกสวน
มีหลายลําดับ เชน 1.สหสัมพันธแบบแยกสวนลําดับที่หนึ่ง
(first-order partial correlation) เปนการหาความสัมพันธระหวางตัวแปร
2 ตัว โดยใหตัวแปรอีกตัวคงที่ 2. สหสัมพันธแบบแยกสวนลําดับที่สอง
(second-order partial correlation) เปนการหาความสัมพันธระหวางตัวแปร
2 ตัว โดยใหตัวแปรที่เหลืออีกสองตัวคงที
่
[8] ระดับนัยสำคัญทางสถิติจะกำหนดไว้ไม่เกิน
3 ระดับ คือ
ที่ .05, .01 และ .001 ระดับนัยสำคัญที่
.05 หมายถึง โอกาสที่ไม่เป็นไปตามข้อสรุปมีเพียง .05 ใน 1.00 หรือ 5 ส่วนใน 100
ส่วน นั่นคือคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% นั่นเอง
ซึ่งเมื่อมองในมุมกลับก็คือเชื่อได้ไม่ต่ำกว่า 95% ดังนั้น ณ
ระดับนัยสำคัญ .01 และ .001 ก็จะมีความเชื่อมั่นได้
99% และ 99.9% ตามลำดับในการวิจัยทุกประเภทย่อมต้องการผลที่มีความคลาดเคลื่อนต่ำสุด
และมีความเชื่อมั่นสูงสุดเสมอ
[9] เพื่อให้สามารถแปลความหมายของ Factor ได้ง่ายขึ้น โดยพยายามให้ตัวแปรมีความสัมพันธ์กับ
Factor ใด Factor หนึ่งให้มากที่สุดซึ่งวิธีหมุนแกนมี
2 วิธี คือ 1.Orthogonal Rotation คือ
หมุนแกนให้ Factor แต่ละ Factor ตั้งฉากกัน
ทำให้ Factor ไม่สัมพันธ์กัน 2.Oblique Rotation คือ หมุนแกนให้ Factor แต่ละ Factor ท ามุมเป็นมุมแหลม ทำให้ Factor สัมพันธ์กัน
[10] การวิเคราะหการถดถอย (Regression Analysis) เปนการศึกษาความสัมพันธระหวางตัวแปรตาม
ที่เรียกวาตัวเกณฑ กับตัวแปรอิสระหรือตัวแปรตนตัวอื่น
ๆ ที่สัมพันธกัน
ตัง้แต 2 ตัวขึ้นไป ซึ่งเรียกวาตัวพยากรณ
ถามีตัวพยากรณเพียงตัวเดียวจะเรียกการศึกษาความสัมพันธนั้นวา
การวิเคราะหการถดถอยอยางงาย (Simple
Regression Analysis) หรือการวิเคราะหการถดถอยเชิงเสน (Linear
Regression Analysis) แตถามีตัวพยากรณตั้งแต 2
ตัวขึ้นไป โดยมี ตัวเกณฑเพียงตัวเดียว จะเรียกการศึกษาความสัมพันธนั้นวา
การวิเคราะหการถดถอยพหุคูณ
(Multiple Regression Analysis)
[11] การวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยการจำแนกทางเดียว คือการหาความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรคือตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม เช่น การทดสอบว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีเงินเดือนแตกต่างกันหรือไม่
ตัวแปรต้น อิสระ, ต้น : กลุ่มระดับการศึกษา ตัวแปรตาม : เงินเดือน การทดสอบว่าประชาชนอาชีพต่าง ๆ มีทัศนคติต่อการเปิดบ่อนเสรีแตกต่างกันอย่างไรตัวแปรต้น อิสระ, ต้น : กลุ่มอาชีพ ตัวแปรตาม :
ทัศนคติต่อการเปิดบ่อนเสรี
[12] ผลบวกของคะแนนเบี่ยงเบนยกกำลังสอง(The sum
of squares)ในการวิเคราะห์ความแปรปรวน ต้องหา sum of
squares ทั้งหมด 3 ตัว คือ Total sum of
squares (
) ซึ่งนำไปใช้หาความแปรปรวนรวม (Mean square total: MST)
Sum of squares between-groups (
) ซึ่งนำไปใช้หาความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม (Mean square
between-groups: MSB) Sum of squares within-groups
(
) ซึ่งนำไปใช้หาความแปรปรวนภายในกลุ่ม
(Mean square within-groups: MSW)
[13] ค่าองศาอิสระ degree of freedom มันเหมือนกับเป็นจำนวนค่าที่ใช้ในการกำหนดคุณสมบัติที่เป็นอิสระต่อกัน
ยกตัวอย่างเช่นถ้ามีตัวแปร n ตัวแต่มี degree of
freedom =n-1 แปลว่า หากเรารู้ค่าตัวแปร n ตัวเราก็จะรู้ค่าตัวแปรที่เหลืออีกตัวได้ใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน
n ตัว ของเราไปใช้หาค่าเฉลี่ยของประชากร ซึ่งเราไม่รู้ค่า
แต่เรารู้ว่ามันต้องมีค่าอยู่ค่าหนึ่ง ความที่เรารู้ว่ามันมีค่าหนึ่งจึงทำให้ต้องมีการลบหนึ่ง
[14] การทดสอบความแปรปรวน สูตรที่ใช้ในการทดสอบคือ F-ratio โดยเอาความแปรปรวนระหว่างกลุ่มเป็นตัวตั้งหารด้วยความแปรปรวนภายในกลุ่ม แล้วเปรียบเทียบค่า F ที่คำนวณได้กับค่า
F ในตารางค่าวิกฤต F (Critical values of F) เพื่อสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
[15] ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม (Between-groups variance) แสดงขนาดของความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มต่าง
ๆ
ถ้าระหว่างกลุ่มมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันมาก
ค่าความแปรปรวนระหว่างกลุ่มจะมีค่ามากด้วย
[16] ความแปรปรวนภายในกลุ่ม (Within-groups variance) แสดงการกระจายของคะแนนแต่ละตัวภายในแต่ละกลุ่มว่ามีการกระจายมากหรือน้อย
ค่าที่คำนวณได้เรียกว่าความคลาดเคลื่อน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น