แนวคิดโครงสร้างหน้าที่
NAME OF THE PERSPECTIVE : โครงสร้างหน้าที่
(Structural
and Functional )
SUBJECT MATTER
: สถาบันทางสังคม (social
Institution) ,ความจริงทางสังคม (Social
Fact),การขัดเกลาทางสังคม (SOCIALIZATION),บรรทัดฐานหรือปทัสถานทางสังคม(Social Norm ), บทบาททางสังคม(Social Role)
สถานภาพทางสังคม (Social Status ) โครงสร้างทางสังคม (Social Structure), การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) ,การบูรณาการทางสังคม (Integration), การควบคุมทางสังคม(Regualation), ความเป็นปึกแผ่นเชิงกลไกลและเชิงอินทรีย์ ( Machanisim and Organisism Solidarity)
LOGIC
OF THINGKING : โครงสร้างของสังคม(Social
Structure) เปรียบเสมือนกับสิ่งมีชีวิต (Organism) ที่มีส่วนประกอบต่างๆ(System)อันมีลักษณะเฉพาะของตนเอง
แต่ทั้งหมดทำหน้าที่(Function) ประสานสอดคล้องกันเพื่อให้เกิดความสมดุลและยึดโยงสมาชิกในสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นที่เรียกว่า
Social Solidarity (Shaun Best,2003;22)
โดยระบบของสังคมดังกล่าวเสมือนกรอบหรือแนวทางการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมของคนในสังคม
ลักษณะดังกล่าว อิมิล เดอร์ไคม์ (Emile durkhiem) เรียกว่า Social
Fact ที่หมายถึงสิ่งที่ประกอบสร้างแนวทางของการกระทำและความคิดที่มีความเข้มข้นของอำนาจและบังคับอยู่เหนือปัจเจกบุคคล
(Shaun Best,2003;25) ตัวอย่างเช่น
ภายในสังคมจะมีสถาบันทางสังคมทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการและจำเป็นด้านต่างๆของคนในสังคม
และในสถาบันทางสังคมก็ประกอบด้วยบรรทัดฐาน
กลุ่มสถานภาพ และบทบาทที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่สังคมกำหนดไว้เพื่อให้เกิดความสมดุลและความเป็นปกติของสังคม
ซึ่งเมื่อเกิดความเบี่ยงเบนและความไม่ปกติของโครงสร้างทางสังคม
เช่นการเปลี่ยนแปลงของสถาบันเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วก็ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของบรรทัดฐาน
บทบาทหน้าที่ การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมอุตสาหกรรม
หรือการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบ Machanism ที่ไม่มีความแตกต่างและมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย
ไปสู่สังคมแบบ organism เป็นสังคมที่มีความสลับซับซ้อน
มีความแตกต่างหลากหลายและมีความชำนาญเฉพาะทาง ซึ่งส่งผลต่อภาวะความเป็นปึกแผ่นของสังคมและความสัมพันธ์ในสังคมที่ไม่สอดคล้องกัน
เช่น การเปลี่ยนแปลงของสถาบันเศรษฐกิจที่นำไปสู่ค่านิยมแบบใหม่ การผลิตแบบใหม่
และการเคลื่อนย้ายแรงงาน ความไม่สอดคล้องกันดังกล่าวอาจนำไปสู่ปัญหาการขาดการบูรณาการ(Integration)และการควบคุม(Regulation)ทางสังคมที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางสังคม(Social
Deviant)ได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น