ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2014

เพลงในความทรงจำ ร็อคบนดินและใต้ดินในยุคนั้น

ถ้าพูดถึงวงร็อคในช่วงสมัยผมเป็นวันรุ่นมีหลายวงที่มีฝีมือและมีเพลงความหมายดีๆ บางวงไม่อยู่ในกระแส เป็นวงใต้ดินบ้าง หรือมีสังกัดในบริษัทเพลงใหญ่บ้าง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือเพลงของพวกเขาถือว่าแปลกใหม่มากในยุคสมัยนั้น วงแรกคือซีเปีย อัลบั้มเกลียดตุ๊ด มีเพลงแรงแรงหลายเพลง เช่นเกลียดตุ๊ค และอื่นๆ เพลงที่ผมชอบคือ ballad of death เสียงกีตาร์เพราะเศร้าๆสออดคล้องกับเนื้อหาของเพลงที่พูดถึงความรักและกำลังจะมีการตัดสินใจทำบางสิ่งในสถานการณ์ที่รักไม่สมหวัง เพลงนี้ในแง่หนึ่งให้กำลังใจว่าเธอยังมีฉันอยู่ทั้งคนอย่าคิดทำอะไรอย่างนั้น อีกวงหนึ่ง ไทร็อค วงนี้ก็มีความน่าสนใจที่นักร้องเสียงแหลมมาก มีเพลงเพราะๆเยอะเช่น แผ่นดิน ขอจง แบบสุขกึ๋น เพลงนี้ก็ค่อนข้างความหมายและดนตรีถือว่าทันสมัยถูกใจวัยรุ่นในยุคนั้น อีกวงหนึ่งเป็นวงที่เนื้อหาของเพลงค่อนข้างแรง ในสมัยนั้นเราจะเจอคำว่าเพลงใต้ดิน ซึ่งแน่นนอนว่าวงนี้เป็นอีกวงหนึ่งที่มีฝีมือ เพลงของพวกเขาสะท้อนปัญหาและความคิดทางสังคม แต่ผมชอบเพลงแผ่นดินมากที่สุดครับ อีกวงหนึ่งที่ผมพอจะจำได้ว่าเคยฟังเพลงของเขาแล้วก็มีความหมายดีคือ วุธ He...

Thee Chaiyadej

พอพูดถึงพี่โอ๋ ธีร์ ไชยเดช ทีไรนึกถึงน้ำเสียงทุ้มๆ ดูอบอุ่น ผมชอบเพลงของพี่โอ๋ในหลายๆอัลบั้ม ตั้งแต่อัลบั้มแรก ที่ชื่อว่า Why ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงภาษาอังกฤษเกือยทุกเพลง มีเพลงไทยไม่กี่เพลง เช่นเพลงรัก "รักนั้นเป็นฉันใด ใครๆบ้างจะรู้ รักคือความเป็นอยู่ คู่ตรงกลางระหว่างหัวใจ  รักคือความใฝ่ฝัน ชั่ววันรักอาจร้างไกล รักแม้เกิดจากใคร... หรือเพลง How can I Feel you ก็เพราะมาก   นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงเพราะอีกหลายเพลงในหลายอัลบั้ม     อัลบั้มแรก Why                                      เพลง If I die      

ดิโอฬารโปรเจ็ค เพลงร็อคในตำนาน

วงดนตรีแนวร็อคเมทัลของไทยอีกวงหนึ่ง ที่ประกอบด้วยสมาชิกนักดนตรีที่มีฝีีมือ อย่างโอฬาร พรหมใจ  ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ พิทักษ์ ศรีสังข์ ซึ่งเพลงของพวกเขาหลายเพลงเป็นที่คุ้นหู ในอัลบั้มต่างๆ เช่นกุมภาพันธ์ 2528  ชุดหูเหล็ก ชุดลิขิตแห่งดวงดาว ชุดดิโอฬารโปรเจ็ค The Rain และมาโนช พุฒตาล จนกระทั่งมาถึงชุดดิโอฬารคลาสสิค อัลบั้มที่ผมชอบคงจะเป็นอัลบั้มแรก กุมภาพันธ์ 2528 มีหลายเพลงใด เช่น อย่างหยุดยั้ง แทนความห่วงใย ไฟปรารถนา  หนทางของคุณ ซึ่งฟังทีไรรู้สึกถึงพลังและความหมายของเพลงเหล่านี้ โดยเฉพาะเสียงร้องของพี่โป่ง ปฐมพงษ์ ถือว่าสุดยอด ชุดต่อมาก็มีเพลงเพราะๆ เช่น เพราะรัก เหนือคำบรรยาย ลองฟังกันดูครับ เพลงแทนความห่วงใย "สุดไกลตาฟ้ากว้างใหญ่เพียงใด ส่งดวงใจถึงกัน  อยู่แห่งหนใดของเพียงบทเพลงนี้แทนถ้อยคำจากหัวใจ เพลงเอยเจ้าจงเป็นตัวแทนความห่วงใยนำไป ให้คนที่ไกลกัน ฝากความรักและความสุขบอกคิดถึงกัน..." เพลงเหนือคำบรรยาย "ยินเสียงเพลงกล่อม หยาดนมที่เคยลิ้ม ใครเล่าใครเลี้ยงดูเรามาจนโตใหญ่ หากแม้นสามารถเรียงร้อยดาวและเดือนด้วยสายรุ้งได้ดังใจเพื่อลูกทุก...

วงตาวัน

วงตาวัน หุ่นกระบอก ผมเขียนเขียนในต้นกับเพลงในความทรงจำ ที่พูดถึงวงตาวันที่่มีเพลงเนื้อหาดีๆหลายเพลง เช่นหุ่นกระบอก เมื่อชีวิตของเราถูกบงการด้วยโครงสร้างบางอย่างที่ทำไม่ให้เป็นตัวเรา หรือเพลงเพราะๆอย่างดูดาว .ฟ้าฟ้าบนฟ้านั้นมีแต่ดาวให้เรานั่งมอง  หรือเพลงเสียงกระซิบจากสายฝน "กระซิบเป็นเพลงลอยลมจากสายฝนพรำ เพื่อเตือนย้ำถึงรักของเรา หวานในเพลงทำนอง..." หรือเพลง ห่วงใย "หมดกำลังไร้เรี่ยวแรงเคยเข้มแข็ง..." หรือเพลง sweetness เสียงกีตาร์เพราะๆ ความหมายดีๆที่เกี่ยวกับชาวราศีพิจิก ชุดแรก ที่มีเพลงหุ่นกระบอก  เสียงกระซิบจากสายฝน ดูดาว มีเธอ ชุดม๊อบ มีเพลงสมาคมคนว่างงาน โองการแช่งน้ำ กาม เพลงสะท้อนภาพสังคมในช่วงนั้นหลายเพลง โองการแช่งน้ำ ชุด 12 ราศรี เนื้อหาของเพลงแต่ละเพลงสัมพันธ์กับบุลิกลักษณะคนในราศีนั้นเพราะหลายเพลง เช่น เพลงห่วงใย กลับบ้าน sweetness ชน ข่าว ยุติธรรม บริสุทธิ์ นักคิด รักเกินใจ การเริ่มต้น  และอื่นๆ ห่วงใย sweetness อัลบั้มที่รวมเพลงของตาวันในชุดที่ผ่านมาครับ

เจย์ซี เธอใช่ไหมและขาดใจ

ผมจำได้ว่าตอนอยู่มหาวิทยาลัย อัลบั้มเพลงแรกที่ผมตัดสินใจซื้อคือ อัลบั้มเจย์ซี ขาดใจ อัลบั้มนี้เพราะทุกเพลงและผมก็ยังคงฟังในปัจจุบัน โดยเฉพาะเพลงเธอใช่ไหม ซึ่งมีเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษชื่อเพลง along the way และในอัลบั้มนี้ทำออกมาในรูปออริจินัลและอคูสติก มีเพลงภาษาอังกฤษ 3 เพลง ส่วนเพลงเธอใช่ไหม ชอบมากครับ น้ำเสียงบาดใจ เหมือนคนร้องจะขาดใจจริงๆ ถ้าอารมณ์เหงาๆซึ้งๆโดนสุดๆ ลองฟังดูครับ

ปุ้มอรรถพงษ์ คงเป็นเธอและไม่ลืม

จำได้ว่าตอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นประมาณปีพ.ศ.2539 มีนักดนตรีคนหนึ่งได้มาเล่นในงานเฟรชชี่ ผมไม่รู้ว่าเขาเป็นใครเพราะไม่เคยได้ยินชื่อ  แต่เพื่อนผมรู้จักบอกว่าชื่อพี่ีปุ้มอรรถพงษ์ เป็นเด็กสาธิตใหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจากนั้นผมก็เลยลองหาเทปพี่แกมาฟังแล้วก็ชื่นชอบหลายเพลง เพราะเขาเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถ แต่งเองร้องเอง เพลงช้าๆหลายเพลงโดนมากในช่วงนั้น ลองฟังดูนะครับถ้าใครไม่รู้จัก เพลงคงเป็นเธอและไม่ลืมครับ เพลงคงเป็นเธอสองเวอร์ชั่นครับออริจินัลกับอะคูสติกครับ ก่อนเคยเงียบเหงาและหว้าเหว่ ก็ใครที่มีหายไป แต่มาบัดนี้เธอใช่ไหม ที่นำเอารักคืนมา ไม่เคยจะรู้ว่าเธออยู่ ปล่อยเธอไม่เคยสนใจ แต่มาบัดนี้ฉันเลยเข้าใจ จะลองลองรักดูสักครา ทะเลกว้างใหญ่สองเราข้ามไป เพราะมีสองใจร่วมกันฟันฝ่า ใช่เธอหรือเปล่าที่เดินเข้ามา แล้วพาความรักฉันไปพร้อมเธอ หรือเพลงไม่ลืม .ความรักนั้นคือเรื่องราวด้วยหัวใจและยืนยัน ก็รักนั้นคือตะวันที่สาดแสงทั่วไป

พาราณศรี ออเครสต้า

พี่ตั้น พาราณสี แต่งเพลงเพราะๆหลายเพลงในอัลบั้มพาราณสี ออเครสต้า เพลง สายเกินไป คนดี และอื่นๆ ผมชอบเพลงสายเกินไป ฉันพบเธอเมื่อสายเกินไป .... ลองฟังดูกันครับ เพลงชุดนี้สังกัดไมลสโตน ในช่วงนั้นค่ายเพลงนี้ค่อนข้างเป็นค่ายที่เปิดรับนักดนตรี แนวเพลงใหม่ๆครับ

ปล่่อยไปกับสายลม The Exiles

มีวงร็อคจากฝั่งลาววงหนึ่งที่อพยพไปอยู่ประเทศแคนาดา และเคยทำอัลบั้มที่แคนาดาแล้วมาจำหน่ายที่เมืองไทย สังกัดจีเอ็มเอ็ม ชื่อ The exiles วงร็อคเมทัล ที่มีเพลงดังหลายๆเพลง เช่นนาฬิกา ยอมจำนน หรือปล่อยไปกับสายลม ที่ผมชอบมากเพราะเป็น   เพ ลงร็อคแนวเศร้าๆเหงาๆ  ลองฟังเพลงนี้ดูครับ

มาโนช พุฒตาล ในทรรศนะของข้าพเจ้า

มาโนช พุฒตาล หรือพี่ซัน เป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขาเกิดในครอบครัวมุสลิม ผมรู้จักและได้ยินชื่อคุณมาโนช จากรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของดนตรี ผมจำว่าคือรายการบันเทงคดี และได้เห็นผลงานเพลงของคุณมาโนช ในอัลบั้มดิโอฬารโปรเจ็ค และ The Rain จนกระทั่งอัลบั้มเดี่ยวของพี่ซัน ในทรรศนะของข้าพเจ้า  ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยซึ่งทำให้ผู้เขียนได้สัมผัสกับเพลงในลักษณะมหากาพย์ เป็นแง่มุมทางปรัชญาและชีวิต มีหลายเพลงที่ผู้เขียนชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น  สายน้ำและความหมาย หมอผีครองเมือง และลำธาร ซึ่งทั้งสามเพลงความหมายดีและเพราะมาก ผมชอบหมอผีครองเมือง เพราะมันสะท้อนให้เห็นความจริงของสังคมในบ้านเมืองของเรา ณ ปัจจุบัน

เพลงของดอนผีบิน

ผมเคยได้เสนอเรื่องราวของวงดนตรี ดอนผีบินที่เป็นกลุ่มพี่น้องที่เล่นดนตรีแนเฮฟวี่เมทัลที่โด่งดังในยุคสมัยหนึ่ง เพลงของพวกเขาไม่ใช่เพลงรักของมนุษย์ปุถุชน แต่เป็นเพลงที่เกี่ยวกับสัจจะของชีวิตและความจริงของธรรมชาติ น่าฟังมากหลายเพลงโดยเฉพาะผมชอบเพลงช้าครับ อย่างเพลงไกลบ้าน “ดวงตะวันถึงการจากลา เสียงนกกาถึงเวลาค่ำลง ส่งเสียงร้องกันขับขาน เตือนสัญญาณคืนวันใกล้จบ... หรือเพลงลีลาลวง ดินแดนใดสดใสสวยงาม ดินแดนใดสดใสเริงร่า ผ่านมาหาไม่มี ผ่านมาหาไม่เจอ ลองฟังกันดูสองเพลงครับ เพลงไกลบ้าน เพลงลีลาลวง

ต้นกับเพลงในความทรงจำ

มีศิลปินวงหนึ่งที่เคยจะเขียนเรื่องราวของเขา คือธิบดี วิชั่น ซึ่งเพลงของเขามีความน่าสนใจในแง่จังหวะดนตรีและน้ำเสียง  โดยเฉพาะในอัลบั้มที่มีเพลงเนื้อหาภาษาอังกฤษปนอยู่หลายเพลง รวมทั้งในยุคนั้นอัลบั้มของเขาถือว่าแนวมาก ถ้าเป็นซีดีก็จะเป็นกล่องเหล็ก ถ้าเป็นเทปก็จะเป็นกระดาษไขมันแบบด้านๆ ที่ถือว่าแปลกกว่าปกเทปคลาสเส็คทั่วไป ผมชอบเพลงเขาหลายเพลง เช่น เพลงสายธารสะท้อนเงา .สายธารใหญ่ ท้องฟ้ากว้างใหญ่ ได้เห็นความจริงหลากหลาย สายธารใหญ่สะท้อนเงาตัวเองให้รู้ให้อยู่ต่อไป สู้อีกทีจะหลบหนีไปใย สู้อีกที... หรือเพลงช้าช้าอย่างเพลง ดวงดาว ท้องฟ้าและสัญญา เป็นเพลงจังหวะช้าๆไม่กี่เพลงของธิบดี ที่เพราะมาก .ค่ำคืนนี้มีดาวอยู่เต็มฟ้า ทอแสงประกายระัยับวาว ... ลองฟังดูกันครับ

ชนเผ่ากำมุ (ขมุ) ชาติพันธุ์ในลาว

ชนเผ่าขมุ (Khamu) เป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในประเทศลาว เป็นกลุ่มลาวเทิง หรือลาวที่อาศัยอยู่บนที่สูง ที่อาศัยอยู่บริเวณ มีภาษาจัดอยู่ในกลุ่มออสโตรเอเชียติกสาขามอญ ในประเทศไทยเราก็มีกลุ่มชาติพันธ์ุนี้อาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือ เช่นจังหวัดน่าน

เออีซีกับอุดรธานี

แม้ว่าจังหวัดอุดรธานีจะไม่มีพรมแดนติดกับปรเทศเพื่อนบ้าน แต่ก็เป็นเมืองที่มีรอยต่อกับจังหวัดหนองคายที่ติดกับประเทศลาวโดยมีแม่นำ้โขงเป็นเส้นแบ่ง แต่ก็เป็นจังหวัดที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่กลายเป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนและแรงงานข้ามชาติเข้ามาในพื้นที่จำนวนมาก

เวียงจันทน์วันนี้

มองลาว การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ที่จะทำให้เราเข้าใจการเติบโตและพัฒนาการของประเทศเพื่อนบ้าน บ้านพี่เมืองน้องของไทย

อิทธิพลสื่อไทยกับพี่น้องลาว

การเคลื่อนไหวของเทคโนโลโยีข้อมูลข่าวสารในโลกยุคไร้พรมแดน ไม่เพียงแต่แค่เรื่องของวัตถุเท่านั้น แต่ยังเผยแพร่ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมข้ามแดนระหว่างกันด้วย

เปิดปม ธุรกิจขายบริการในจังหวัดอุดรธานี

สถานการณ์การค้ามนุษย์ตามจังหวดที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่สัมพันธฺ์กับโลกาภิวัฒน์ และนโยบายอาเซียน ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของผู้คน รวมทั้งวิถีชีวิตมากขึ้น

การค้ามนุษย์ในลาว

วีดีโอชื้นนี้ นำเสนอภาพปัญหาการค้ามนุษย์และการต่ต้านการค้ามนุษย์ในประเทศลาว ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความรุนแรงที่เกิดกับผู้หญิงและเด็กในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศโลกที่สาม

การลดความเปราะบางและการเพิ่มโอกาสให้กับผู้หญิงลาว

วีดีโอสารคดีชี้นนี้ ให้ภาพของผู้หญิงในสังคมลาวที่เชื่อมโยงกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม รวมถึงวัฒนธรรมและค่านิยมในสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการลดทอนความสามารถของผู้หญิง เพ่ืื่อให้เกิดความเข้าใจและมองถึงโอกาสของผู้หญิงลาวในสังคมในอนาคต ที่สำคัญคือเรื่องของโอกาสของผู้หญิงในเรื่องของการศึกษา โดยเฉพาะในชนบทเพราะโอกาสในการศึกษาสามารถทำให้ผู้หญิงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในด้านต่างๆได้อย่างทัดเทียมกับผู้ชายมากขึ้น สารคดีชิ้นนี้จึงนำเสนอมุมมองของผู้หญิงลาว ความคาดหวังและสิ่งที่พวกเธอต้องการได้รับการสนับสนุนในสังคมลาวให้มากขึ้น

เพราะฉันเป็นผู้หญิง ภาพสะท้อนความคิดเกี่ยวกับความเป็นผู้หญิงในสังคมลาว

วีดีโอชิ้นนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นความเป็นผู้หญิงในสังคมลาว และค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ผู้หญิงลาวก็มีบทบาทที่สำคัญเช่นเดียวกับผู้ชายที่สามารถสร้างความภูมิใจให้กับพ่อแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่กลุ่มผู้หญิงในสังคมลาวเรียกร้องและต้องการสร้างค่านิยมใหม่ในสังคม ปรากฏการณ์นี้จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะทำให้เราเข้าใจมิติทางสังคมวัฒนธรรมของสังคมลาวที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต

ปรัชญา (Philosohy)

ปรัชญา คือ ความรู้ และปัญญา  ความรู้หรือความรอบรู้ทำให้เราเราตั้งคำถามและชักนำเราให้ศึกษาหาความจริง ในแง่มุมต่างๆ แง่มุมแรก ความรู้คืออะไร ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงความรู้นั้นถูกหรือผิดอย่างไร ปัญญาในการหาความรู้ส่วนนี้ถูกเรียกว่า ญาณวิทยา (Epistemology) แง่มุมที่สอง เกิดจากปัญหาทางปรัชญาว่าที่ว่าด้วยเรื่องของการดำรงอยู่หรือมีอยู่ของสรรพสิ่ง หรือในทางปรัชญาเรียกว่า ภววิทยา (ontology) ที่พูดถึงเรื่องของความมีอยู่ "Existence"  สรรพสิ่งหรือสิ่งที่ปรากฏมีอยู่เป็นอย่างไร แล้วสิ่งที่ไม่มีเป็นอย่างไร ความเท็จเป็นอย่างไร ความถูกต้องเป็นอย่างไร สิ่งใดมีอยู่สิ่งใดไม่มีอยู่ แล้วเรารู้ได้อย่างไรวามันมีอยู่หรือไม่มีอยู่ มีคำถามมากมายว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพเจ้าหรือไม่? พ้นเลยไปจากภววิทยา ก็จะมาถึงสิ่งที่เรียกว่าคุณวิทยา (Axiology) ที่ว่าด้วยปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าของสรรพสิ่ง ทั้งในแง่ของความงาม (Beauty) และศีลธรรม (Moral) ซึ่งในยุคโบราณปรัชญาแนวนี้คือเรื่องของสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) และแนวคิดว่าด้วยศีลธรรมหรือจริยศาสตร์ (Ethic) เรามักจะตั้งคำถามว่า เรารู้ได้อย่างไร...

แสงกับการมองเห็น

บางทีเราคิดว่า แสงสว่างทำให้เรามองเห็นทุกอย่างชัดเจนถูกต้อง ยิ่งสว่างมาก ก็ยิ่งสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้มาก แต่ในขณะเดียวกัน ยิ่งแสงสว่างมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ตาของเราปวดแสบ พร่ามัว ได้เช่นเดียวกัน ความสว่างจ้าจนพร่ามัวกับดวงตา มันทำให้เรามองเห็นบางสิ่งไม่ชัดเจน หรือบิดเบี้ยว แม้ว่าเราคิดว่าแสงสว่างทำให้เรามองเห็น ทำให้เราเข้าใจสรรพสิ่งต่างๆ ในความเป็นจริง เราอาจมองไม่เห็นหรือเข้าใจอะไรเลยก็ได้ บางครั้งความมืดหรือความสลัว ทำให้เราระมัดระวังมากขึ้น คิดมากขึ้น และทำให้เราเก็บรักษาดวงตาของเรามากขึ้น ต้นตะวันพันดาว

ความไม่แน่นอน

โลกที่เราดำรงอยู่ไม่มีอะไรแน่นอน สิ่งที่มองเห็นด้วยตากับสิ่งที่เป็นจริง อาจต่างกันได้ แม้แต่สิ่งที่เราเรียนรู้ผ่านอายตนะทั้ง 5 สิ่งที่เราเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ ที่ทำให้เราคิดและเชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ บางทีอาจจะไม่ใช่เสมอไป ลมที่เราเชื่อว่าพัดพาความเย็น ความหนาว บางครั้งอาจพัดพาเอาไอร้อนมากระทบเราก็ได้ ท้องฟ้าที่มืดครึ้มไม่ได้หมายความว่าฝนจะต้องตกเสมอ น้ำตกสูงมหึมาอาจไม่ได้เกิดจากสำธารหรือแม่นำ้สายใหญ่ แต่อาจจะเริ่มต้นจากตานำ้เล็กๆที่ผุดขึ้นมา ดังนั้นในเมื่อสิ่งที่เราเห็นกับสิ่งที่เป็นมันอาจไม่เหมือนกัน  หรือไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ก็อย่าไปยึดติดหรือถือมั่น เชื่อมั่นว่ามันจะต้องเป็นอย่างนี้เสมอ เหตุอย่างนี้อาจจะไม่ให้ผลอย่างนี้ก็ได้ ....ต้นตะวัน

ความว่างเปล่า

ในความว่างเปล่า ไม่ใช่ความไม่มีอะไร แต่ในความว่างเปล่า มันทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจ ให้เราคิดว่าเราจะเขียนหรือแต่งเติมความว่างเปล่าได้อย่างไร  กระดาษเปล่าย่อมสร้างจินตนาการให้เราอยากจะเขียน อยากจะวาด หรือระบายอะไรลงไป เราจะพบว่า ในความว่างเปล่า มันมีอะไรมากมายที่ทำให้เราได้ครุ่นคิด และเขียนถึงมันมากมาย เรามักจะค้นพบสิ่งต่างๆในความว่างเปล่า  .............ต้นตะวันพันดาว

อดีต part2

มนุษย์เราส่วนหนึ่งมักจมอยู่กับอดีต เพราะอดีตเป็นที่รวมของประสบการณ์และสิ่งที่เราพบเจอมาในชีวิต อดีตจึงมีเรื่องราวให้เราคิดถึงมันมากมาย อดีตจึงเป็นชิ้นส่วนของประสบการณ์ในชีวิตที่วางซ้อนทับและปะติดปะต่อกันอย่างหนาเตอะ เราสามารถคิดได้กับอดีต แต่อย่าให้อดีตกลืนกินหรือดึงเราให้จมปลักอยู่กับเรื่องราวที่ผ่านมาแล้ว สิ่งที่ทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ ดังนั้นชีวิตของเราต้องก้าวเดินต่อไป และให้สิ่งดีๆในอดีตเป็นเครื่่องหล่อเลี้ยงและแต่งเติมชีวิตข้างหน้าของเรา ต้ตะวันพันดาว กลางคืนฝนพรำ กรกฏาคม 2556

อดีต ปัจจุบัน อนาคต

อดีต ปัจจุบัน อนาคต Part 1 อดีตเป็นสิ่งที่เหนี่ยงรั้งอนาคต อนาคตเป็นสิ่งที่ก้าวข้ามจากอดีต ปัจจุบันทำให้เราอยู่กับสิ่งที่เป็นและสิ่งที่จริง เราอาจมองย้อนหลัง หรือคิดออกไปในอนาคตได้ จากมุมที่ยืนอยู่ ณ ปัจจุบัน แต่เราจะต้องรู้ตัวเสมอว่า ณ ตอนนี้ เรากำลังอยู่กับปัจจุบัน ....... ( ต้นตะวันพันดาว ณ กลางฤดูฝน   กรกฏาคม 56)

5. แนวคิดทฤษฎีมานุษยวิทยาการแพทย์เชิงวิพากษ์ (Critical Medical Anthropology Approach) นัฐวุฒิ สิงห์กุล

                แนวคิดมานุษยวิทยาเชิงวิพากษ์ พัฒนามาจากการวิพากษ์จุดอ่อนของมานุษยวิทยาการตีความ ซึ่งเน้นอยู่ที่การมองระบบวัฒนธรรมสุขภาพในลักษณะดุลยภาพในองค์ประกอบที่ก่อร่างเป็นวัฒนธรรมสุขภาพ โดยละเลยความสัมพันธ์ในเชิงของอำนาจที่ดำรงอยู่ในความจริงทางการแพทย์ที่ถูกประกอบสร้างขึ้นมารวมทั้งขาดการพิจาณาการดำรงอยู่ของการครอบงำอุดมการณ์ทางการแพทย์ในสังคม เพราะอำนาจและความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบบวัฒนธรรมสัมพันธ์กับโครงสร้างที่กำหนดให้กลุ่มหรือสถาบันในสังคมมีอำนาจแตกต่างกัน (โกมาตร, 2549:27 ) ดังเช่นที่ Bear ( 1997 ) ยืนยันถึงการขาดความใส่ใจในการพิจารณาโครงสร้างเชิงสังคมของประสบการณ์และการตีความหมายที่เป็นปัญหาในการอธิบายของ Good การมองที่ยึดมั่นความเป็นองค์ประธานของความรู้ ( Subject of Knowledge ) มากกว่าที่จะมองว่าความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างให้มีสถานะเป็นวัตถุแห่งความรู้ ( Object of Knowledge )และขุมขังเอาไว้ในประสบการณ์ของมนุษย์ ที่ทำให้การตีความการเจ็บป่วยมีลักษณะของประสบการณ์การตีความภายในตัวขององค์ประธาน...

4.แนวคิดทฤษฎีมานุษยวิทยาการตีความหมาย (Interpretive Anthrolology Approach) นัฐวุฒิ สิงห์กุล

                แนวคิดมานุษยวิทยาระลึกรู้เป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์และความคิดของมนุษย์ (พิมพวัลย์, 2555 ) ในขณะเดียวกันนักมานุษยวิทยากลุ่มหนึ่งสนใจสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์และการตีความหมายที่สะท้อนให้เห็นความสนใจศึกษาวัฒนธรรมในความหมายที่มากกว่าการเป็นวัตถุของการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ แต่ให้ความสำคัญกับความคิดและมุมมองของผู้คน ในทัศนะแบบคนใน โดยเฉพาะการทำความเข้าใจระบบความคิด การให้ความหมายต่อผู้คน สุขภาพและความเจ็บป่วยในวัฒนธรรมต่างๆ ในฐานะที่สุขภาพและความเจ็บป่วยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ที่วัฒนธรรมไม่ได้เป็นแค่ความคิดที่อยู่ในหัวของมนุษย์แต่แทรกตัวอยู่ในสัญลักษณ์ต่างๆที่อยู่รอบตัวมนุษย์ Clifford Geertz ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับสัญลักษณ์ว่า สัญลักษณ์คืออะไรก็ตาม การกระทำ เหตุการณ์คุณลักษณะหรือความสัมพันธ์ ที่ใช้เป็นสื่อแนวความคิด ( Conception ) ซึ่งแนวความคิดคือ ความหมายของสัญลักษณ์ (อคิน, 2551:77 ) ดังนั้นสัญลักษณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในทางสังคมทุกรูปแบบ  เพราะเป็นรูปแบบ...

3. แนวคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองด้านสุขภาพ (Political Economy of Health) นัฐวุฒิ สิงห์กุล

แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองของสุขภาพ เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสังคมระดับมหภาคที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพิจารณาถึงโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่วางอยู่บนพื้นฐานของการผลิตทางสังคมเกี่ยวกับความเจ็บป่วย ( The social production of disease )   Morgan นิยาม แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองของสุขภาพว่าคือการวิเคราะห์ระดับมหภาค การวิพากษ์และมุมมองทางประวัติศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์เกี่ยวกับการกระจายของโรคและการบริการทางสุขภาพ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่หลากหลาย พร้อมกับเน้นย้ำเกี่ยวกับผลกระทบของการแบ่งชนชั้นทางสังคม ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ภายในระบบเศรษฐกิจโลก ( Morgan,1984:132 อ้างในพิมพวัลย์ บุญมงคล 2555:12 )  แม้ว่าเศรษฐศาสตร์การเมืองของสุขภาพ จะเกี่ยวข้องกับความหลากหลายของระบบเศรษฐกิจ  กระบวนการพัฒนาและการแผ่ขยายของระบบทุนนิยมโลก และแนวทางของแพทย์แบบชีวะ( Biomedicine ) ที่ดำเนินการภายในบริบทเหล่านี้ ดังที่ Baer ( 1997:28 ) ได้กล่าวว่า ผลกำไรสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการแพทย์แบบชีวะ ไปยังระบบทุนนิยมแบบเข้มข้น พร้อมความพยายามอย่างหนักในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีชั้นสูง การใช้ประ...

2. แนวคิดทฤษฎีนิเวศวิทยาการเมือง (Political Ecological Approach) นัฐวุฒิ สิงห์กุล

                แนวคิดเรื่องนิเวศวิทยาการเมืองเข้าใจว่าถูกใช้แรกเริ่มโดย Turshen ในบทความของเขาชื่อ The political ecological of disease ในปีค.ศ. 1997 ที่ได้วางรากฐานทางความคิดในการทำงานที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บในแทนซาเนีย ในทางตรงกันข้ามความคิดดังกล่าวถูกโต้แย้งโดย Grossman ( 1981 ) ที่บอกว่าคำว่า นิเวศวิทยาการเมืองถูกผลิตในปีค.ศ. 1980 โดยสาระสำคัญของนิเวศวิทยาการเมืองเป็นการเชื่อมโยงระหว่างนิเวศวิทยาวัฒนธรรมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเขาต้องการหาคำตอบของคำถามว่า อะไรเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพและการเชื่อมโยงอย่างสำคัญระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตแบบพอยังชีพไปยังระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตรา ปัจจัยที่เขานำมาพิจารณาก็คือบทบาทเชิงนโยบายของอาณานิคมในการเปลี่ยนแปลงการเกษตรภายใต้กรอบความคิดแบบนิเวศวิทยาวัฒนธรรม ดังนั้นจุดเน้นคือการวิเคราะห์บริบททางสังคม และเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันระดับท้องถิ่น ( Local ) สู่ระดับโลก ( Global ) รวมถึงลักษณะสำคัญ...