ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2025

หนังสือ “The Order of Things: An Archaeology of the Human Sciences ของ Michel Foucault โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

“The Order of Things: An Archaeology of the Human Sciences” (ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส: Les Mots et les Choses) โดย Michel Foucault เป็นหนึ่งในงานเขียนที่สำคัญและซับซ้อนที่สุดของเขา ซึ่งเน้นการสำรวจว่าความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ได้ถูกสร้างขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในประวัติศาสตร์หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1966 ประเด็นสำคัญที่Foucault ชี้ให้เห็นคือ การเปลี่ยนแปลงของกรอบความคิด (episteme) ที่กำหนดวิธีการมองโลกและมนุษย์ในแต่ละยุค เป้าหมายในงายชิ้นนี้คือ วิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของ “วิทยาศาสตร์มนุษย์” (human sciences) เช่น ชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ และภาษาศาสตร์ โดยไม่ใช่การเล่าเรื่องเชิงเส้น แต่เป็นการเปิดเผย “ระเบียบ” หรือ “โครงสร้าง” ของความคิดในแต่ละช่วงเวลา แนวคิดสำคัญที่ Foucault นำเสนอคือ 1. Episteme (กรอบความคิด) โดย Foucault ใช้คำนี้เพื่ออธิบายระบบความรู้และความเชื่อที่เป็นตัวกำหนดว่ามนุษย์ในยุคหนึ่ง ๆ มองเห็นความเป็นจริงและสร้างความรู้เกี่ยวกับโลกอย่างไร ตัวอย่างเช่น กรอบความคิดในยุคกลางถูกครอบงำด้วยมุมมองทางศาสนา แต่ในยุคสมัยใหม่ ความรู้เริ่มเน้นไปที่วิทยาศาสตร์และ...

แนวคิด Collective Effervescence หรือ “พลังรวมหมู่“ ของEmile Durkheim โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

หากผมจะอธิบายเรื่องพิธีกรรมสอบถามหนุ่มสาวของชาวกะเหรี่ยงโพล่วด้ายเหลือง ก่อนพิธีกรรมไหว้เจดีย์ ที่จะต้องสร้างความบริสุทธิ์ให้กับเนื้อตัวร่างกาย การรักษาความบริสุทธิ์ พรหมจรรย์ การไม่ล่วงประเวณี ซึ่งหนุ่มสาวที่ยังไม่แต่งงานและจะเข้าร่วมพิธีต้องมาที่บ้านลุงอังคาร ผู้ช่วยเจ้าวัดที่จะเป็นผู้นำพิธีที่บริเวณสะเดิ่งหัวบ้าน ดังนั้น เด็กหนุ่มสาวอายุ 14-15 ปีขึ้นไป รวมทั้งคนวัยกลางคนที่ยังเป็นโสดไม่แต่งงานก็จะเข้าร่วม บางคนมาไม่ได้พ่อแม่ก็มาแทน มาบอกกล่าว ดังนั้นไม่ว่าจะบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์แล้ว สามารถมาบอกกล่าวต่อแม่ธรณีได้ หากปกปิดไม่บอกและเข้ามาร่วมพิธีกรรมไหว้เจดีย์ก็เชื่อว่าจะทำให้เกิดเคราะห์ กับผู้นั้นและครอบครัว รวมถึงเจ้าวัดและแม่ย่าด้วย บางครั้งเกิดอาการผีเข้า ใจสั่น เจ็บป่วย เป็นต้น หากจะอธิบายร่างกายในทางสังคม(Social Body) ร่างกายได้ยกสถานะจากร่างกายของปัจเจก กลายเป็นร่างกายทางสังคม ที่เชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ทางสังคม (Social Symbolic) ความบริสุทธิ์ ความเป็นปึกแผ่น มั่นคง ปลอดภัย ในขณะที่ร่างกายที่ไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์ กลายเป็น Pollute มลทิน มลภาวะ หรือภัยคุกคามกับผู...

ความตายใครกำหนด และความตายกลายเป็นมหรสพ แนวคิดThanatopolitics, Necropolitics และ Homo Sacer โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

แนวคิด Thanatopolitics มาจาก Michel Foucault ในหนังสือ Society Must Be Defended ที่รวมการบรรยายของเขา และได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมโดยนักคิดร่วมสมัย เช่น Giorgio Agamben และ Achille Mbembe แนวคิด Thanatopolitics ฃอง Michel Foucault Foucault ได้เสนอแนวคิดเรื่อง Biopolitics ซึ่งเป็นแนวคิดว่าด้วยอำนาจที่รัฐใช้ควบคุมชีวิตของประชาชนผ่านสถาบันต่างๆ เช่น โรงพยาบาล ระบบกฎหมาย และระบบเศรษฐกิจ ต่อมามีการขยายแนวคิดนี้ไปสู่ Thanatopolitics ซึ่งหมายถึง “การเมืองแห่งความตาย” คือ อำนาจของรัฐที่ไม่ได้ควบคุมแค่การดำรงชีวิต แต่ยังรวมถึงการตัดสินว่าใครสมควรตาย แนวคิดนี้เชื่อมโยงกับประโยคของ Foucault ว่า “อำนาจอธิปไตยดั้งเดิมคืออำนาจในการทำให้มีชีวิต หรือปล่อยให้ตาย” (Make live or let die) ตัวอย่างเช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การปล่อยให้กลุ่มคนบางกลุ่มถูกทอดทิ้งจนเสียชีวิต, หรือการทำสงครามเพื่อผลประโยชน์ของรัฐ เป็นต้น ต่อมา Agamben พัฒนาแนวคิด Thanatopolitics เพิ่มเติมโดยใช้กรณีของ Homo Sacer (บุคคลที่สามารถถูกฆ่าได้โดยไม่ถือเป็นอาชญากรรม) Agamben วิเคราะห์ว่า ค่ายกักกันของนาซีและสถานการณ์ฉุกเฉิ...

การหลงทางในชีวิตเพื่อสร้างการเติบโต ผ่านแนวคิดของ Rebecca Solnit โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

การหลงทางเพื่อการเติบโต…. ผมนึกถึงจุดเริ่มต้นของผมหลายสิ่งเกิดจากการหลงทาง..บางครั้งผมได้พบเจอสนามและผู้คนที่เป็นครูของผมในสนามจากการหลงทาง …ผมเดาไปในที่ที่ไม่เคยไป พื้นที่ที่โทรศัพท์ติดต่อไม่ได้ ผมใช้การถามไปเรื่อย หลงทางบ้างไม่เจอบ้าง จนเจอชุมชนที่ใช่สำหรับอาชีพหรือการทำงานของตัวเอง ผมก็เคยหลงทางมาก่อน เผชิญกับความไม่แน่นอนในชีวิต กับเส้นทางชีวิตที่ผมไม่ได้ตั้งเป้าหมายอย่าชัดเจน หรือตั้งความคาดหวังเอาไว้ในตอนแรก แต่นั่นกลับทำให้พบได้พบเส้นทางในชีวิต พบเพื่อน พบมิตรภาพ และพบการเติบโตจากภายในของตัวเอง ผมชอบประโยคจากหนังสือเล่มหนึ่งที่บอกว่า … “การหลงทางเป็นกระบวนการที่มนุษย์ต้องเผชิญ เพื่อให้เราพบสิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิต นั่นคือ การเติบโต และ ความหมายใหม่ ๆ ของตัวตนและโลกใบนี้”(Rebecca Solnit,2005) “การหลงทางคือการมอบตัวเองให้กับบางสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวเราเอง”(Rebecca Solnit,2005) “สิ่งที่เราไม่รู้สำคัญกว่าสิ่งที่เรารู้ มันคือพื้นที่แห่งความเป็นไปได้ใหม่ๆ”(Rebecca Solnit,2005 ) ผมกำลังพูดถึงงานของ Rebecca Solnit เธอเป็นนักเขียน, นักประวัติศาสตร์ และนักเคลื่อนไหวทางสังคมชา...

ประวัติศาสตร์ของปัจจุบัน ในแนวคิดของ Michel Foucault โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

เช้านี้ คิดถึงงานชิ้นนี้ของฟูโกต์ขึ้นมาเลยเพราะกำลังคิดว่าสังคมปัจจุบันกลับมาอ้างถึงความเป็นOriginalของบางอย่าง เพื่ออ้างความชอบธรรมบางอย่างให้กับตัวเอง และพยามผูกขาดความรู้ความจริงเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง นักทฤษฎีอย่างฟูโกปฏิเสธความมีออร์ริจินัลแต่เชื่อว่ามีสิ่งที่ออกมาจากออร์ริจิ้น ความดั้งเดิมหรือต้นฉบับ... ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน (History of present ) โดยมิเชล ฟูโกต์ สำหรับประวัติปัจจุบัน ของมิเชล ฟูโกต์ นั้นมีความแตกต่างจากการเขียนประวัติศาสตร์ทั่วไป การเปลี่ยนแปลงของ Foucault จากรูปแบบการวิจัยและการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ที่คิดว่าเป็น ''โบราณคดี'' (Archaeology of knowledge) เป็นแบบที่เข้าใจกันในชื่อ ''ลำดับวงศ์ตระกูล'' “วงศาวิทยา “หรือ”สาแหรกของความรู้” (Genealogy) แล้วแต่จะเรียกกัน ก็ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากเช่นกัน แสดงให้เห็นว่าประวัติศาสตร์ในปัจจุบันใช้การสืบหาลำดับวงศ์ตระกูลของความรู้และการเปิดเผยความขัดแย้งและบริบทที่ซ่อนอยู่อย่างไร เป็นวิธีการประเมินคุณค่าของปรากฏการณ์ร่วมสมัย และการวิพากษ์ปรากฏการณ์ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นจุดเริ่มต้...

มลพิษทางอากาศ ฝุ่นPM2.5 กับมุมมองทางมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

….คุณภาพอากาศก็ยังแย่อีก แล้วคุณภาพชีวิตที่ดีจะเป็นไปได้อย่างไร ชีวิตจะเป็นอย่างไรหากเจ็บป่วย ไม่สบาย… ด้วยความเป็นนักมานุษยวิทยาอดไม่ได้ที่ตั้งคำถามกับวิกฤตการณ์ด้านอากาศ…กับสถานการณ์ที่หลายพื้นที่เริ่มตื่นตัวกับเรื่องฝุ่น บางคนที่มีฐานะและพอที่จะมีเงินซื้อเครื่องฟอกอากาศก็ซื้อเครื่องฟอกอากาศมาใช้ที่บ้านหรือที่ทำงาน และขณะที่บางคนที่ไม่มีเงินในการซื้อสิ่งเหล่านี้หรือไม่มีที่อยู่อาศัยที่มิดชิดต้องใช้ชีวิตอยู่กลางแจ้งอย่างเช่นคนเร่ร่อนไร้บ้านที่ผมผ่านไปพบเจอในทุกเช้าที่บริเวณสนามหลวง คนเหล่านี้ส่วนใหญ่นอนอยู่ข้างถนนและไม่มีหน้ากากแน่นอนว่าการรับรู้จากเรื่องปัญหาและผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ของคนเหล่านี้อาจจะไม่มีเลยก็ได้ ในทางมานุษยวิทยาสิ่งเหล่านี้ ผมเรียกว่า สิทธิทางอากาศ หรือ การเมืองของการหายใจหรือ Politics of Breathing ที่มีจุดเน้นของศึกษาโดยการตั้งคำถามว่าการหายใจในเมืองที่มีฝุ่น PM 2.5 สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร? คำถามข้อต่อไปคือคือ รัฐบาล องค์กร และประชาชนมองปัญหามลพิษในเชิงวัฒนธรรมและการเมืองอย่างไร ? และข้อสุดท้ายผู้คน “รู้สึก” หรือ “สัมผัส” ...

การซึมซับและการบรรจบกันระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

แนวคิดเรื่องการซึมผ่านและการบรรจบกันของมนุษย์กับสิ่งอื่น (Permeability & Intersectionality) แนวคิดนี้เน้นไปที่การสำรวจ ความสัมพันธ์และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งอื่น ที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น วัตถุ เทคโนโลยี ธรรมชาติ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการที่ เส้นแบ่งหรือขอบเขต ระหว่างมนุษย์และสิ่งอื่น ๆ ถูกทำลายหรือเลือนหายไป ส่งผลให้เกิดการ ซึมผ่าน (permeability) และ การบรรจบกัน (intersectionality) ซึ่งสร้าง ความคลุมเครือและความจริงแบบใหม่ ขึ้นมา องค์ประกอบหลักของแนวคิด คือ 1. Permeability (การซึมผ่าน) หมายถึง ความสามารถในการที่เส้นแบ่งหรือขอบเขตระหว่างมนุษย์และสิ่งอื่นถูกทำลายหรือเลือนราง จนเกิดการไหลเวียนหรือส่งผ่านคุณลักษณะ ประสบการณ์ หรือความเป็นตัวตนระหว่างกัน ตัวอย่างเช่น การที่มนุษย์สวมอุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น อวัยวะเทียมหรือ VR ทำให้ขอบเขตระหว่างร่างกายมนุษย์กับเครื่องจักรเลือนราง ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ เช่น การมองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่ไม่แยกขาด 2. Intersectionality (การบรรจบกัน) หมายถึง การที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์และความสัมพันธ์หลากหลายมิติที่...

แก๊งวัยรุ่น ( Gangs ) กับมุมมองทางมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

กำลังอินกับสถานการณ์วัยรุ่นตอนนี้ …. การศึกษาอาชญากรรมและความรุนแรงของเด็กและเยาวชน มีงานวิจัยหลายชิ้น ที่ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่าความยากจน การขาดการศึกษา การว่างงาน ความผิดปกติหรือความแตกแยกขัดแย้งของครอบครัว และการเผชิญกับความรุนแรง มีส่วนทำให้เกิดวัฒนธรรมย่อยแบบนี่นี้ในหมู่เยาวชน ทั้งนี้สถานการณ์เหล่านี้กำลังผลักดันให้วัยรุ่นบางคนแสวงหาความรู้สึกถึงตัวตน ความเป็นเจ้าของและอำนาจจากโครงสร้างของแก๊ง (Gang) ในขณะเดียวกันก็สะท้อนความจริงที่ว่าประเทศชาติก็กำลังล้มเหลวในการจัดหาแนวทางเลือกที่ดีขึ้นให้กับเด็กและเยาวชนของพวกเรา ที่ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวครั้งใหญ่ของสังคมเรา โดยเฉพาะการที่คนหนุ่มสาวมักเผชิญกับความรุนแรงและทำให้ความรุนแรงกลายเป็นเรื่องปกติที่เด็กและเยาวชนสามารถจะกระทำความรุนแรงแบบนี้ต่อคนอื่นได้ สิ่งนี้น่าจะทำให้สังคมควรจะต้องมีความวิตกกังวลและพิจารณาต่อเรื่องนี้ให้มากขึ้น การวิจัยโดยส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมการเกิดแก๊งของวัยรุ่นนั้น มีผลกระทบทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญ การปรากฏตัวของแก๊งต่างๆมากขึ้น ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความหวาดกล...

โลกสองใบ การนอกใจและความเป็นชู้ กับมุมมองทางมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ลองตั้งคำถามและประเด็น …ที่น่าสนใจจากปรากกฏการณ์ทางสังคม การสร้าง “โลกสองใบ” ในบริบทความสัมพันธ์ยุคใหม่ กับสิ่งที่เรียกว่า “ความลับในความสัมพันธ์” โดยเฉพาะการสร้างโลกคู่ขนานเพื่อซ่อนการนอกใจ โดยวิเคราะห์ผ่านมุมมองทางจิตวิทยาเบื้องหลังการสร้าง “โลกสองใบ” รวมถึงวิธีที่บุคคลปรับตัวและสร้างเรื่องราวให้คนรอบข้างเชื่อ ภายใต้การโกหกและการสร้างชีวิตคู่ขนาน ทำไมมนุษย์ถึงนอกใจ ปัจจัยทางจิตวิทยาและชีววิทยา มีผลไหม เช่น การตอบสนองต่อแรงกระตุ้น การค้นหาความรักนอกกรอบเดิม และผลกระทบของการนอกใจในเชิงสังคม การนอกใจและการเป็นชู้ในสังคมต่าง ๆ ถูกตีความและจัดการอย่างไร ความหมายของการทรยศในความสัมพันธ์ ไม่เพียงแต่ในฐานะการทำลายความไว้วางใจ แต่ยังเป็นสัญญาณของความซับซ้อนในความต้องการของมนุษย์ เช่น การแสวงหาความตื่นเต้นหรือความเปลี่ยนแปลง มุมมองของการนอกใจในฐานะการแสวงหาอิสรภาพทางอารมณ์ในกลุ่มผู้ชาย ผู้หญิงและเพศอื่นๆ ผมนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Infidelity: Why Men and Women Cheat ของ Kenneth Paul Rosenberg ได้นำเสนอการสำรวจเชิงลึกเกี่ยวกับ การนอกใจ ในความสัมพันธ์ผ่านมุมมอ...

เกมกับพฤติกรรมมนุษย์มองผ่าน Jagat Coin Hunt โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ระหว่างเดินทาง ดูข่าวเกี่ยวกับ วัยรุ่นตามหาเหรียญที่เชียงใหม่ เคยเห็นในTikTok ไม่คิดว่าจะมีจริง…. เกมตามล่าหาสมบัติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมมนุษย์ ที่สามารถเชื่อมโยงกับมิติทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา และสังคมวิทยา โดยแสดงให้เห็นว่ากลไกในเกมบางเกม สะท้อนหรือกระตุ้นพฤติกรรมและแรงจูงใจของมนุษย์ในหลากหลายแง่มุม อย่างแรก คือ การกระตุ้นแรงจูงใจของมนุษย์ เกมตามล่าหาสมบัติสร้างความท้าทายและรางวัลที่กระตุ้นพฤติกรรมมนุษย์ในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่า แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation) การสำรวจ การค้นพบ และความพึงพอใจเมื่อสามารถไขปริศนาได้สำเร็จ เป็นสิ่งที่สร้างความสนุกให้กับผู้เล่น และแรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motivation) ที่เชื่อมโยงกับรางวัลในเกม เช่น สมบัติ คะแนน หรือการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ช่วยกระตุ้นให้ผู้เล่นลงมือทำ ทำให้ผู้เล่นรู้สึกถึงความสำเร็จส่วนบุคคลผ่านกระบวนการค้นหา อย่างที่สองสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์มีสัญชาตญาณในการแสวงหาและสะสมสิ่งของ ดังนั้นเกมตามล่าหาสมบัติ หาขุมทรัพย์ อย่าง Jagat Coin Hunt สามารถกระตุ้นพฤติกรรมนี้ได้ ภายใต้การเล่นที่มีล...