การหลงทางเพื่อการเติบโต….
ผมนึกถึงจุดเริ่มต้นของผมหลายสิ่งเกิดจากการหลงทาง..บางครั้งผมได้พบเจอสนามและผู้คนที่เป็นครูของผมในสนามจากการหลงทาง …ผมเดาไปในที่ที่ไม่เคยไป พื้นที่ที่โทรศัพท์ติดต่อไม่ได้ ผมใช้การถามไปเรื่อย หลงทางบ้างไม่เจอบ้าง จนเจอชุมชนที่ใช่สำหรับอาชีพหรือการทำงานของตัวเอง ผมก็เคยหลงทางมาก่อน เผชิญกับความไม่แน่นอนในชีวิต กับเส้นทางชีวิตที่ผมไม่ได้ตั้งเป้าหมายอย่าชัดเจน หรือตั้งความคาดหวังเอาไว้ในตอนแรก แต่นั่นกลับทำให้พบได้พบเส้นทางในชีวิต พบเพื่อน พบมิตรภาพ และพบการเติบโตจากภายในของตัวเอง
ผมชอบประโยคจากหนังสือเล่มหนึ่งที่บอกว่า …
“การหลงทางเป็นกระบวนการที่มนุษย์ต้องเผชิญ เพื่อให้เราพบสิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิต นั่นคือ การเติบโต และ ความหมายใหม่ ๆ ของตัวตนและโลกใบนี้”(Rebecca Solnit,2005)
“การหลงทางคือการมอบตัวเองให้กับบางสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวเราเอง”(Rebecca Solnit,2005)
“สิ่งที่เราไม่รู้สำคัญกว่าสิ่งที่เรารู้ มันคือพื้นที่แห่งความเป็นไปได้ใหม่ๆ”(Rebecca Solnit,2005 )
ผมกำลังพูดถึงงานของ Rebecca Solnit เธอเป็นนักเขียน, นักประวัติศาสตร์ และนักเคลื่อนไหวทางสังคมชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง เธอการเขียนหนังสือเกี่ยวกับหัวข้อที่หลากหลาย เช่น ประวัติศาสตร์, การเมือง, สิ่งแวดล้อม, สตรีนิยม, และวัฒนธรรมร่วมสมัย เธอเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีอิทธิพลในโลกวรรณกรรมและความคิดร่วมสมัย โดยผลงานของเธอมักเน้นการตั้งคำถามเกี่ยวกับสังคมและการสำรวจแนวคิดที่หลุดพ้นจากกรอบเดิม ๆ
Rebecca Solnit เกิดในปีค.ศ. 1961 ที่เมือง Bridgeport ในรัฐ Connecticut ประเทศสหรัฐอเมริกา เธอเรียนที่มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก (University of San Francisco) และต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (UC Berkeley)
Solnit ถือเป็นนักเขียนที่เชี่ยวชาญในการผสมผสานหัวข้อที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน เช่น ธรรมชาติ, สังคม, และศิลปะ ผ่านมุมมองที่ลึกซึ้งและเต็มไปด้วยปรัชญา เธอมีวิธีเขียนที่กระตุ้นให้ผู้อ่านตั้งคำถามกับโลกทัศน์และวิธีที่เราเข้าใจตัวเอง ผลงานที่สำคัญของเธอที่ผมชอบคือหนังสือ A Field Guide to Getting Lost (2005) ซึ่งเป็นหนังสือที่สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับการหลงทางในชีวิตและการยอมรับความไม่รู้ และ Hope in the Dark (2004) ซึ่งเป็นหนังสือที่ให้กำลังใจเกี่ยวกับพลังของความหวังในยุคที่ดูเหมือนมืดมน โดย Solnit ถือเป็นนักสตรีนิยมที่มีอิทธิพลอย่างมาก เธอมักจะเขียนเกี่ยวกับการที่ผู้หญิงถูกกดขี่และการสร้างพื้นที่ให้กับเสียงของผู้หญิงในสังคม และเธอก็เป็นนักเคลื่อนไหวด้วยโดยเฉพาะประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม, ความยุติธรรมทางสังคมและสิทธิมนุษยชน
Solnit มีชื่อเสียงในด้านความสามารถในการเขียนเชิงปรัชญาและบทความที่มีพลังทางปัญญาสูง อีกทั้งเธอได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในเสียงที่สำคัญที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยงานของเธอมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีที่คนมองเห็นโลก เธอไม่เพียงแต่ตั้งคำถามเกี่ยวกับความคิดดั้งเดิมที่เรายึดถือและเชื่อว่ามันเป็นแบบนั้น แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านกล้าที่จะหลงทางเพื่อค้นพบความหมายใหม่ในชีวิตและสังคมด้วย ซึ่งถือเป็นมุมมองที่น่าสนใจ
หนังสือ “A Field Guide to Getting Lost มีลักษณะเป็นบทความเชิงปรัชญา, บันทึกส่วนตัว และสำรวจธรรมชาติของการหลงทางที่น่าสนใจ โดยหนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทความและบทสะท้อนความคิดที่ต้องการสำรวจเกี่ยวกับ การหลงทาง ไม่เพียงแค่ในแง่ของการหลงทางทางกายภาพ แต่ยังรวมถึงการหลงทางในชีวิต หลงทางในความสัมพันธ์ และหลงทางใน ตัวตนของมนุษย์
โดยแนวคิดเรื่อง การหลงทาง ของ Solnit ถูกนำเสนอในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะการมองว่าการหลงทางเป็นกระบวนการที่มีคุณค่า ไม่ใช่แค่ความสูญเสีย แต่เป็นโอกาสให้เราเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทั้งในเชิงสถานที่ ชีวิต และตัวตนของเราเอง
แนวคิดสำคัญที่ผมได้จากในหนังสือเล่มนี้คือ
1. การหลงทางในฐานะประสบการณ์ที่มีคุณค่า โดย Solnit มองว่าการหลงทางไม่ใช่สิ่งที่ควรกลัว แต่กลับเป็นโอกาสในการเรียนรู้ ต่อความไม่แน่นอน และ การเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ที่เราไม่คาดคิด โดยเธอเปรียบเทียบความหลงทางกับการปล่อยตัวเองออกจากความคุ้นเคย เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับการค้นพบ ตัวตนใหม่ และ โลกใหม่
2. การยอมรับความไม่รู้ (Embracing the Unknown) Solnit เชิญชวนผู้อ่านให้ยอมรับว่าการไม่รู้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่มีความงดงาม และกระบวนการหลงทางคือสิ่งที่นำเราไปสู่สิ่งที่ลึกซึ้งกว่าในชีวิตของเรา นั่นหมายความว่าคนที่ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด และชัดเจน โดยคิดว่าตัวเองรู้ จะมองไม่เห็น หรือไม่ได้สัมผัสประสบการณ์แบบนี้ จากการไม่รู้หรือคาดเดาไม่ได้
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่กับตัวตน โดยเธอสำรวจความเชื่อมโยงระหว่าง สถานที่ กับ ความทรงจำ และ อารมณ์ โดยการหลงทางในสถานที่ใหม่ๆ ช่วยให้เราตั้งคำถามถึงความคุ้นเคยและสิ่งที่เราเคยยึดติดและเปิดรับต่อความไม่คุ้นเคย ตัวตนแบบใหม่ๆ และรับรู้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่
4. การหลงทางในเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งหนังสือเน้นความหมายเชิงปรัชญาของการหลงทาง เช่น การเปิดรับความซับซ้อนของชีวิต และการเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนในความสัมพันธ์
ตัวอย่างเชิงรูปธรรมที่น่าสนใจจากหนังสือ อาทิเช่น
1. Solnit พูดถึงการเดินทางเข้าสู่พื้นที่ที่เราไม่คุ้นเคย ซึ่งการหลงทางในทางกายภาพช่วยให้เรา เผชิญกับความไม่รู้ และเปิดโอกาสให้เรามองโลกด้วยสายตาใหม่หรือมุมมองใหม่ เช่น การเดินเข้าไปในป่าหรือทะเลทราย โดยไม่มีแผนที่ ผ่านเรื่องราวของศิลปินและนักสำรวจ โดย Solnit อ้างถึงศิลปินและนักสำรวจที่ยอมหลงทางเพื่อสร้างผลงานที่แตกต่าง ไม่เหมือนใครหรือค้นพบสิ่งใหม่ เช่น การใช้ชีวิตในพื้นที่รกร้างเพื่อค้นหาแรงบันดาลใจ ดังตัวอย่างเช่นนักสำรวจและนักเดินเรือในอดีตอย่าง Christopher Columbus ที่หลงทางในมหาสมุทรแอตแลนติกและค้นพบทวีปอเมริกาโดยบังเอิญ เป็นต้น
2. ความหลงทางในความทรงจำ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม Solnit เล่าถึงการเดินทางของผู้บุกเบิกในอดีตและการหลงทางในวัฒนธรรม เช่น ชนพื้นเมืองอเมริกันที่ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ ใช้ธรรมชาติเป็นเครื่องนำทางชีวิต หรือในเรื่องความทรงจำ Solnit เชื่อว่าความทรงจำมักหลอกลวงเรา และการหลงทางในความทรงจำช่วยให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่เรายึดติด หรือค้นพบความจริงใหม่เกี่ยวกับอดีต ตัวอย่างเช่น การกลับไปสถานที่ที่เราเคยใช้ชีวิตในวัยเด็ก แต่พบว่าสถานที่นั้นเปลี่ยนไป ไม่เหมือนกับความทรงจำในหัวอีกต่อไป และเกิดการยอมรับว่าทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงไม่ควรไปยึดติดมัน
3. การหลงทางในความสัมพันธ์ โดย Solnit แบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับความรักและการสูญเสีย เพื่อแสดงให้เห็นว่าการหลงทางในความสัมพันธ์อาจนำไปสู่การเติบโตและการเยียวยาตัวเอง ซึ่งการหลงทางในความรักหรือความสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติในชีวิต ซึ่ง Solnit มองว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ว่าใครที่เราควรเก็บไว้หรือปล่อยไปจากชีวิตเรา ตัวอย่างเช่น คนที่ต้องจบความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ เมื่อผ่านกระบวนการหลงทางและสูญเสียในตอนแรก อาจพบว่าตัวเองแข็งแกร่งขึ้น เข้าใจโลกและเข้มแข็งกับชีวิตมากขึ้น
4. การหลงทางในตัวตน โดย Solnit เน้นถึงความสำคัญของการยอมให้ตัวเองหลุดพ้นจากความคุ้นเคยและตัวตนที่เราสร้างขึ้น การหลงทางในตัวตนช่วยให้เรา ค้นพบตัวตนใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงตัวเอง ตัวอย่างเช่น ในช่วงวิกฤติชีวิต (Midlife Crisis) หลายคนพบว่าตัวเองรู้สึกหลงทางในชีวิตและไม่รู้ว่าควรเดินหน้าต่อไปอย่างไร แต่กระบวนการนี้ทำให้หลายคนค้นพบเป้าหมายหรืออาชีพใหม่ เช่น การเริ่มต้นทำสิ่งที่รักในวัยเกษียณ การออกเดินทางเพื่อสร้างความสุขในบั้นปลาย เป็นต้น
5. การหลงทางในความไม่รู้ โดยSolnit เชื่อว่าการยอมรับความไม่รู้และการเปิดใจให้กับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ทำให้เราขยายพรมแดนแห่งความรู้ ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการทดลองโดยไม่มีคำตอบแน่นอน เช่น Alexander Fleming ผู้ค้นพบเพนิซิลลินโดยบังเอิญในระหว่างการทดลอง
การเชื่อมโยงการหลงทางกับชีวิตจริงที่เราต้องเผชิญ เช่น
1. การหลงทางในงานวิจัยหรือกระบวนการเรียนรู้ โดย การหลงทางช่วยให้เราเปิดรับแนวคิดใหม่ๆ ที่อาจนำไปสู่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ เช่น นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบสิ่งใหม่ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ
2. การหลงทางในชีวิตประจำวัน คือการปล่อยตัวเองให้หลุดพ้นจากความคาดหวังและแผนการ อาจช่วยให้ค้นพบความสุขหรือความสงบในสิ่งที่เราไม่เคยคาดคิด
3. การยอมรับความไม่รู้ ซึ่ง Solnit เชื่อว่าการเผชิญหน้ากับความไม่รู้ทำให้เรารู้จักตัวเองดีขึ้น และช่วยให้เราอยู่กับปัจจุบันอย่างแท้จริง
โดยสรุป “A Field Guide to Getting Lost” เป็นหนังสือที่สะท้อนถึงความหมายของการหลงทางทั้งในเชิงกายภาพและเชิงจิตวิญญาณ โดย Rebecca Solnit นำเสนอว่าการหลงทางไม่ใช่ความล้มเหลว แต่เป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจชีวิตและตัวตนมากขึ้น หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้อ่านที่ต้องการแรงบันดาลใจในการเผชิญกับความไม่แน่นอนในชีวิตและเรียนรู้ที่จะโอบกอดความไม่รู้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางในชีวิต
*** ข้อค้นพบและบทเรียนจากการหลงทาง***
การหลงทางเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราพบความหมายใหม่ ๆ ในชีวิต เช่น การอยู่ในที่ที่ไม่มีอะไรเลยิหรือไร้ความทันสมัย แต่ทำให้เราสุขที่สุด สงบที่สุด ฟังเสียงสิ่งที่อยู่รอบตัวชัดที่สุด ดังที่ Solnit เล่าถึงวิถีชีวิตของชนพื้นเมืองอเมริกันที่สามารถใช้การหลงทางเป็นโอกาสในการเรียนรู้ธรรมชาติ เช่น การใช้ดวงดาวและทิศทางลมในการนำทางของคนพื้นเมือง
การหลงทางนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ เช่น ศิลปินและนักเขียนที่ปล่อยให้ตัวเองหลุดพ้นจากโครงสร้างเดิม ๆ เช่น นักเขียนที่เขียนเรื่องราวใหม่ ๆ โดยไม่อิงกับแผนที่วางไว้ แต่ทำให้เกิดงานสร้างสรรค์ใหม่ๆ น่าสนใจมีความแปลกและแหวกแนวจากขนบที่เคยทำมา ดังนั้น การหลงทางมันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ที่จะ “ปล่อย” สิ่งที่เรายึดติด และเปิดพื้นที่ให้กับสิ่งที่คาดไม่ถึง
การหลงทางไม่ได้หมายถึงความล้มเหลว แต่คือโอกาสที่เราจะตั้งคำถามและเติบโต รวมถึงการเข้าใจตัวเอง โดย Solnit เล่าถึงการหลงทางในทะเลทรายที่ไม่ได้มีแค่ความท้าทายทางกายภาพ แต่ยังทำให้คนที่เดินทางต้องเผชิญหน้ากับตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติอย่างสมถะ เช่นเดียวกับสิ่งที่ Solnit อ้างถึงงานศิลปะของ Yves Klein ที่เต็มไปด้วยสีฟ้าสด (International Klein Blue) ซึ่งสื่อถึงความลึกลับของ “ความเวิ้งว้าง” และ “ความไม่มีจุดจบ” ซึ่งเปรียบได้กับประสบการณ์การหลงทางในเชิงจิตวิญญาณ
ผมว่าการเปิดมุมมองแบบนี้ ทำให้ผมมองในมุมมองใหม่ๆและทบทวนชีวิตของตัวผมเอง ที่หลงทางจากบ้านมาตลอดช่วงชีวิตหนึ่ง เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน ใช้ชีวิตกับมัน และสุดท้ายมันจะทำฝหทให้ผมตัดสินใจอบ่างชัดเจนว่าที่ไหนมี่ผมควรจะอยู่ ที่ไหนเป็นบ้านของผมและเป็นตัวตนของผมที่ชัดเจนที่สุด…
ใครว่าหลงทางจะเสียเวลาเสมอไป ความรู้จำนวนหนึ่งก็มาจากความไม่รู้ ถ้าไม่เห็นความมืดมิดแล้วจะเห็นคุณค่าของความสว่างได้อย่างไร
ผมอาจจะหลงทางกับหลายอย่างในชีวิต แต่ก็พบวิถีทางการสร้างความสุขอความสนุกกับชีวิตของตัวกับblog และยูทูบ ทำให้ผมอ่านมากขึ้น ไปที่ต่างๆมากขึ้น กล้าพูดผ่านกล้องมากขึ้น …
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น