ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวคิด Collective Effervescence หรือ “พลังรวมหมู่“ ของEmile Durkheim โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

หากผมจะอธิบายเรื่องพิธีกรรมสอบถามหนุ่มสาวของชาวกะเหรี่ยงโพล่วด้ายเหลือง ก่อนพิธีกรรมไหว้เจดีย์ ที่จะต้องสร้างความบริสุทธิ์ให้กับเนื้อตัวร่างกาย การรักษาความบริสุทธิ์ พรหมจรรย์ การไม่ล่วงประเวณี ซึ่งหนุ่มสาวที่ยังไม่แต่งงานและจะเข้าร่วมพิธีต้องมาที่บ้านลุงอังคาร ผู้ช่วยเจ้าวัดที่จะเป็นผู้นำพิธีที่บริเวณสะเดิ่งหัวบ้าน ดังนั้น เด็กหนุ่มสาวอายุ 14-15 ปีขึ้นไป รวมทั้งคนวัยกลางคนที่ยังเป็นโสดไม่แต่งงานก็จะเข้าร่วม บางคนมาไม่ได้พ่อแม่ก็มาแทน มาบอกกล่าว ดังนั้นไม่ว่าจะบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์แล้ว สามารถมาบอกกล่าวต่อแม่ธรณีได้ หากปกปิดไม่บอกและเข้ามาร่วมพิธีกรรมไหว้เจดีย์ก็เชื่อว่าจะทำให้เกิดเคราะห์ กับผู้นั้นและครอบครัว รวมถึงเจ้าวัดและแม่ย่าด้วย บางครั้งเกิดอาการผีเข้า ใจสั่น เจ็บป่วย เป็นต้น หากจะอธิบายร่างกายในทางสังคม(Social Body) ร่างกายได้ยกสถานะจากร่างกายของปัจเจก กลายเป็นร่างกายทางสังคม ที่เชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ทางสังคม (Social Symbolic) ความบริสุทธิ์ ความเป็นปึกแผ่น มั่นคง ปลอดภัย ในขณะที่ร่างกายที่ไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์ กลายเป็น Pollute มลทิน มลภาวะ หรือภัยคุกคามกับผู้อื่นและสังคม ดังเช่นงานของ Mary Douglas ในเรื่อง Purity and Dangerous ที่เชื่อมกับคสามเสี่ยงของสังคม(Risk Society) ในหลายสังคมใช้วิธีแยกคนเหล่านี้ออกจากสังคม เช่นในเนปาล ผู้หญิงที่มีประจำเดือนจะถูกแยกออกจากชุมชน ไปอยู่ในป่าใน Hut of Blood ในช่วงมีประจำเดือน เนื่องจากสังคมจะตกอยู่ในภาวะความเสี่ยง เมื่อหายขาดจากประจำเดือน จึงจะกลับเข้ามาในชุมชนได้ เมื่อเชื่อมกับงานของนักสังคมวิทยาอย่าง Emile Durkheim ที่อธิบายแนวคิด Collective Effervescence ซึ่งปรากฏในหนังสือ “The Elementary Forms of Religious Life” (1912) ของ Émile Durkheim ซึ่งเป็นงานศึกษาศาสนาและสังคมวิทยาคลาสสิกที่วิเคราะห์ว่าศาสนาเป็นรากฐานของสังคม งานชื้นนี้บอกเล่าถึงชีวิตในพิธีกรรมกับชีวิตประจำวัน ในพิธีกรรมบุคคลคนนั้นจะแสดงพฤติกรรมที่ผิดแปลกจากชีวิตประจำวัน ที่เรียกว่า Collective Effervescence ที่มีลักษณะเป็นอารมณ์ร่วม ความรู้สึกร่วมในช่วงของการประกอบพิธีกรรม ที่ทำให้เกิดภาวะเข้มข้นของอารมณ์ ดังนั้น Collective Effervescence หรือ “พลังรวมหมู่” จึงหมายถึงสภาวะที่บุคคลจำนวนมากในสังคมรู้สึกถูกปลุกเร้าทางอารมณ์ร่วมกันจนเกิดพลังทางจิตวิญญาณและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดขึ้นเมื่อผู้คนรวมตัวกันในพิธีกรรม งานเทศกาล หรือเหตุการณ์สำคัญ และสัมผัสได้ถึง พลังของกลุ่มที่มากกว่าตัวตนของแต่ละบุคคล
Durkheim มองว่า ศาสนาและพิธีกรรมเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดพลังนี้ ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม Durkheim เล่าถึงบรรยากาศของการเกิด Collective Effervescence ที่กำหนดพิธีกรรมในช่วงกลางคืน อาศัยความมืด เมฆที่ปกคลุม มีเพียงแสงของพระจันทร์สลัวๆ และแสงจากกองไฟ บรรยากาศเหล่านี้ทำให้เกิดความเข้มขลัง เกิดบรรยากาศ เกิดจินตนาการอย่างไร้ขอบเขต ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและตระหนกทางร่างกายและจิตใจ ดังนั้น เงื่อนไขสภาพแวดล้อมของการเกิดพิธีกรรม จึงเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด Collective Effervescence ดังนั้น การกำหนด คือหลักเกณ์ในการประกอบพิธีกรรม ที่ถูกกำหนดจากสังคม นั่นก็หมายความว่า สังคมสร้างความศํกดิ์สิทธิ์ให้ศาสนา และทำให้พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาแตกต่างจากพื้นที่ในชีวิตประจำวันสามัญ การที่หนุ่มสาวเข้ามาล้อมวงใต้สะเดิ่งบริเวณหัวบ้านของผู้ประกอบพิธีกรรมที่ให้ข้อมูล ซักถามเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ ทำให้เกิดภาวะของการ in place ของหนุ่มสาว ที่สร้างภาวะตรงกันข้ามกับการเป็นคนนอก out-ness หรือ out place ที่เชื่อมโยงกับการรักษาสิ่งที่เป็นภาวะภายใน และสิ่งที่เป็นภายนอก การปะทะกันระหว่างโลกดั้งเดิมกับโลกสมัยใหม่ เพื่อธำรงรักษาอัตลักษณ์ตัวตนของชาวกะเหรี่ยงโพล่วด้ายเหลืองท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเชิงรูปธรรมของ Collective Effervescence เมื่อเชื่อมโยงกับกิจกรรมร่วมสมัย 1. พิธีกรรมทางศาสนา ในพิธีกรรมของชนเผ่าพื้นเมือง (เช่น ชาวอะบอริจินในออสเตรเลียที่ Durkheim ศึกษา) มีการรวมตัวกันเพื่อประกอบพิธีกรรมบูชาเทพเจ้า ซึ่งก่อให้เกิดอารมณ์ร่วมและพลังทางจิตวิญญาณ พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีฮัจญ์ของชาวมุสลิม ที่ผู้แสวงบุญจากทั่วโลกมารวมตัวกันที่เมกกะ และรู้สึกถึงพลังร่วมกันในการทำพิธี 2. เทศกาลดนตรีและกีฬา คอนเสิร์ตใหญ่ เช่น เทศกาลดนตรี Coachella หรือ Glastonbury ที่ผู้คนรู้สึกถึงพลังของการรวมตัวกันผ่านเสียงเพลงและจังหวะ การแข่งขันกีฬา เช่น ฟุตบอลโลก หรือโอลิมปิก ที่แฟนบอลและนักกีฬาแชร์อารมณ์ร่วมกันในช่วงเวลาสำคัญ เช่น การเชียร์ทีมชาติในรอบชิงชนะเลิศ 3. การเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วง การเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น Black Lives Matter หรือ การประท้วงประชาธิปไตยในฮ่องกง ที่ผู้เข้าร่วมรู้สึกถึงพลังของกลุ่มที่ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์เดียวกัน หรือเหตุการณ์เช่น การล้มกำแพงเบอร์ลิน ที่ผู้คนมีพลังและอารมณ์ร่วมกันอย่างสูงจนสามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้ 4. พิธีกรรมของแฟนคลับ (Fandom Culture) การรวมตัวของแฟนคลับ K-Pop หรือวงดนตรีระดับโลก เช่น BTS ที่ผู้คนรู้สึกถึงพลังร่วมกันในการเชียร์และร้องเพลงไปพร้อมกัน หรือ งาน Comic-Con ที่แฟนๆ แต่งคอสเพลย์และมีอารมณ์ร่วมในโลกของ Pop Culture ความสำคัญของ Collective Effervescence คือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม ช่วยให้ผู้คนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มและมีอัตลักษณ์ร่วม การกระตุ้นอารมณ์และความศรัทธา ทำให้ศาสนา วัฒนธรรม และอุดมการณ์ทางสังคมดำรงอยู่ การสร้างพลังเปลี่ยนแปลงสังคม สามารถนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางสังคมและการปฏิวัติ สรุป Collective Effervescence เป็นแนวคิดที่อธิบายว่า พลังของกลุ่มสามารถทำให้ผู้คนรู้สึกถึงบางสิ่งที่เหนือกว่าตัวเอง ซึ่งพบได้ใน ศาสนา พิธีกรรม กีฬา ดนตรี การเคลื่อนไหวทางสังคม และวัฒนธรรมแฟนคลับ รวมทั้งเป็นแนวคิดสำคัญที่ช่วยอธิบายว่าทำไมมนุษย์ถึงต้องการ “ความเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม” และอารมณ์ร่วมในการดำรงอยู่ของสังคม ทฤษฎีกับการเชื่อมโยงงานสนาม …ถ่ายเมื่อปี 2562 ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านพุเม้ยง์ ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...